เรื่อง การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ พันตำรวจเอกยุทธบูล ดิสสะมาน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ร่วมลงนามในบันทึกความตกลงความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในการกำกับ ดูแลสถาบันการเงินและเพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ในช่วงที่ผ่านมา มีความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หลายประการ ได้แก่ การเข้าร่วม เป็นกรรมการในคณะกรรมการ ปปง. ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมี รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีเลขาธิการคณะกรรมการ ปปง. และผู้ว่าการ ธปท. เป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่ง คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ที่สำคัญคือการนำเสนอมาตรการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินต่อคณะรัฐมนตรีและส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการต่อต้านการฟอกเงินและสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งมีเลขาธิการคณะกรรมการ ปปง. เป็นประธานและมีผู้แทนจาก ธปท. รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานย่อย ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงาน ปปง. ธปท. และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกันพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าเพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันการเงินปฏิบัติ
นอกจากความร่วมมือกันในระดับคณะกรรมการและคณะทำงานดังกล่าวแล้ว สำนักงาน ปปง. และ ธปท. ยังได้ร่วมมือกันสืบสวน สอบสวน และดำเนินคดีเกี่ยวกับความผิดของผู้บริหารสถาบัน การเงินที่เข้าข่ายความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และเพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินมีมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ธปท. ได้ออกประกาศ หลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติในการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าและ ดำเนินการตรวจสอบสถาบันการเงินในด้านการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุน ทางการเงินแก่การก่อการร้าย รวมทั้งแต่งตั้งผู้ตรวจสอบของ ธปท. เป็นเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นต้น
การร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงาน ปปง. และ ธปท. ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การประสานงานระหว่างหน่วยงานทั้งสองมีความชัดเจน โปร่งใส และเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ เกี่ยวกับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการ ดำเนินคดี และการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีมาตรการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. ในกรณีที่ ธปท. พบการกระทำความผิดตามกฎหมายภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ธปท.จะรายงานให้สำนักงาน ปปง.ทราบตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การประสานงานในการปฏิบัติหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 พ.ศ.2544 และกฎหมายอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งสำนักงาน ปปง. จะดำเนินการต่อไปและแจ้งผลการดำเนินการให้ ธปท. ทราบ
2. สำนักงาน ปปง. และ ธปท. จะให้ความร่วมมือในการสนับสนุนแลกเปลี่ยนข้อมูลที่แต่ละหน่วยงานจัดทำขึ้น เพื่อใช้ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน การสืบสวน สอบสวน หรือป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายภายใต้กรอบกฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของทั้งสองหน่วยงาน โดยการใช้ประโยชน์และการเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารที่ได้มา ตามบันทึกความตกลงนี้ จะต้องพึงกระทำด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งใช้เป็นพยานหลักฐานเฉพาะในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายเท่านั้น
3. สำนักงาน ปปง. และ ธปท.จะให้การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาบุคลากร การใช้บุคลากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ หรือการดำเนินการอื่นใด รวมทั้งการตรวจสอบ ภายใต้อำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานทั้งสอง เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การร้ายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย
20 กุมภาพันธ์ 2550
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ พันตำรวจเอกยุทธบูล ดิสสะมาน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ร่วมลงนามในบันทึกความตกลงความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในการกำกับ ดูแลสถาบันการเงินและเพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ในช่วงที่ผ่านมา มีความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หลายประการ ได้แก่ การเข้าร่วม เป็นกรรมการในคณะกรรมการ ปปง. ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมี รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีเลขาธิการคณะกรรมการ ปปง. และผู้ว่าการ ธปท. เป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่ง คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ที่สำคัญคือการนำเสนอมาตรการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินต่อคณะรัฐมนตรีและส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการต่อต้านการฟอกเงินและสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งมีเลขาธิการคณะกรรมการ ปปง. เป็นประธานและมีผู้แทนจาก ธปท. รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานย่อย ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงาน ปปง. ธปท. และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกันพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าเพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันการเงินปฏิบัติ
นอกจากความร่วมมือกันในระดับคณะกรรมการและคณะทำงานดังกล่าวแล้ว สำนักงาน ปปง. และ ธปท. ยังได้ร่วมมือกันสืบสวน สอบสวน และดำเนินคดีเกี่ยวกับความผิดของผู้บริหารสถาบัน การเงินที่เข้าข่ายความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และเพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินมีมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ธปท. ได้ออกประกาศ หลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติในการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าและ ดำเนินการตรวจสอบสถาบันการเงินในด้านการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุน ทางการเงินแก่การก่อการร้าย รวมทั้งแต่งตั้งผู้ตรวจสอบของ ธปท. เป็นเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นต้น
การร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงาน ปปง. และ ธปท. ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การประสานงานระหว่างหน่วยงานทั้งสองมีความชัดเจน โปร่งใส และเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ เกี่ยวกับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการ ดำเนินคดี และการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีมาตรการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. ในกรณีที่ ธปท. พบการกระทำความผิดตามกฎหมายภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ธปท.จะรายงานให้สำนักงาน ปปง.ทราบตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การประสานงานในการปฏิบัติหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 พ.ศ.2544 และกฎหมายอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งสำนักงาน ปปง. จะดำเนินการต่อไปและแจ้งผลการดำเนินการให้ ธปท. ทราบ
2. สำนักงาน ปปง. และ ธปท. จะให้ความร่วมมือในการสนับสนุนแลกเปลี่ยนข้อมูลที่แต่ละหน่วยงานจัดทำขึ้น เพื่อใช้ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน การสืบสวน สอบสวน หรือป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายภายใต้กรอบกฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของทั้งสองหน่วยงาน โดยการใช้ประโยชน์และการเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารที่ได้มา ตามบันทึกความตกลงนี้ จะต้องพึงกระทำด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งใช้เป็นพยานหลักฐานเฉพาะในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายเท่านั้น
3. สำนักงาน ปปง. และ ธปท.จะให้การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาบุคลากร การใช้บุคลากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ หรือการดำเนินการอื่นใด รวมทั้งการตรวจสอบ ภายใต้อำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานทั้งสอง เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การร้ายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย
20 กุมภาพันธ์ 2550
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--