บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๒ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเชิญ พระบรมราชโองการ ประกาศรัฐมนตรีลาออก
ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี คือ
๑. นายสุชัย เจริญรัตนกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลาออกจากตำแหน่ง
๒. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี คือ
นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี
๓. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสุชัย เจริญรัตนกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๒) นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘
ได้พิจารณาและรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๔๖ ของสถาบันพระปกเกล้า
๒. ประธานสภาผู้แทนราษฎรอนุญาตให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาภัยแล้ง
ขยายเวลาพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าวออกไปอีก ๑๒๐ วัน ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๙๗ วรรคสอง
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. ....
ออกไปเป็นกรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๘ ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำร่างพระราช บัญญัติการยางแห่งประเทศไทย
พ.ศ. .... โดยเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๒๐
(สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๘ ขึ้นมาพิจารณาต่อ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ซึ่ง
นายอาคม เอ่งฉ้วน กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร
เพียงเกษ) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
0๑. นายอดิศร เพียงเกษ 0๒. นายวีระ มุสิกพงศ์
0๓. นายขจรธน จุดโต 0๔. นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
0๕. นางสาวผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์ 0๖. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ
0๗. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ 0๘. นายกฤษ ศรีฟ้า
0๙. นายคงกฤช หงษ์วิไล ๑๐. พลตำรวจตรี พยุง ตรงสวัสดิ์
๑๑. นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ ๑๒. นางสาวอรุณี ชำนาญยา
๑๓. นายประทวน เขียวฤทธิ์ ๑๔. นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ
๑๕. นายณรงค์กร ชวาลสันตติ ๑๖. นายศุภชัย โพธิ์สุ
๑๗. นายสงกรานต์ คำพิไสย์ ๑๘. นายธีระชัย แสนแก้ว
๑๙. นายกริช กงเพชร ๒๐. นายเจริญ จรรย์โกมล
๒๑. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ๒๒. นายมุข สุไลมาน
๒๓. นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ๒๔. นายประเสริฐ บุญเรือง
๒๕. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ ๒๖. นายชวลิต มหาจันทร์
๒๗. นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ ๒๘. นายอาคม เอ่งฉ้วน
๒๙. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ๓๐. นายอิสสระ สมชัย
๓๑. นายเชน เทือกสุบรรณ ๓๒. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
๓๓. นายวินัย เสนเนียม ๓๔. นายกูเฮง ยาวอหะซัน
๓๕. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราช บัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบ ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
ตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบด้วยกับการเพิ่มข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนในลำดับถัดไป
คือ ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเรียกตัว คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ไปทำการสอบสวนในคดีอาญา ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุญาตให้สอบสวนคดีอาญา ในระหว่างสมัยประชุม
โดยในระหว่างการพิจารณาเรื่องนี้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๔ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
*********************************
ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๒ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเชิญ พระบรมราชโองการ ประกาศรัฐมนตรีลาออก
ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี คือ
๑. นายสุชัย เจริญรัตนกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลาออกจากตำแหน่ง
๒. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี คือ
นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี
๓. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสุชัย เจริญรัตนกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๒) นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘
ได้พิจารณาและรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๔๖ ของสถาบันพระปกเกล้า
๒. ประธานสภาผู้แทนราษฎรอนุญาตให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาภัยแล้ง
ขยายเวลาพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าวออกไปอีก ๑๒๐ วัน ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๙๗ วรรคสอง
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. ....
ออกไปเป็นกรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๘ ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำร่างพระราช บัญญัติการยางแห่งประเทศไทย
พ.ศ. .... โดยเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๒๐
(สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๘ ขึ้นมาพิจารณาต่อ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ซึ่ง
นายอาคม เอ่งฉ้วน กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร
เพียงเกษ) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
0๑. นายอดิศร เพียงเกษ 0๒. นายวีระ มุสิกพงศ์
0๓. นายขจรธน จุดโต 0๔. นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
0๕. นางสาวผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์ 0๖. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ
0๗. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ 0๘. นายกฤษ ศรีฟ้า
0๙. นายคงกฤช หงษ์วิไล ๑๐. พลตำรวจตรี พยุง ตรงสวัสดิ์
๑๑. นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ ๑๒. นางสาวอรุณี ชำนาญยา
๑๓. นายประทวน เขียวฤทธิ์ ๑๔. นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ
๑๕. นายณรงค์กร ชวาลสันตติ ๑๖. นายศุภชัย โพธิ์สุ
๑๗. นายสงกรานต์ คำพิไสย์ ๑๘. นายธีระชัย แสนแก้ว
๑๙. นายกริช กงเพชร ๒๐. นายเจริญ จรรย์โกมล
๒๑. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ๒๒. นายมุข สุไลมาน
๒๓. นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ๒๔. นายประเสริฐ บุญเรือง
๒๕. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ ๒๖. นายชวลิต มหาจันทร์
๒๗. นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ ๒๘. นายอาคม เอ่งฉ้วน
๒๙. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ๓๐. นายอิสสระ สมชัย
๓๑. นายเชน เทือกสุบรรณ ๓๒. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
๓๓. นายวินัย เสนเนียม ๓๔. นายกูเฮง ยาวอหะซัน
๓๕. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราช บัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบ ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
ตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบด้วยกับการเพิ่มข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนในลำดับถัดไป
คือ ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเรียกตัว คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ไปทำการสอบสวนในคดีอาญา ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุญาตให้สอบสวนคดีอาญา ในระหว่างสมัยประชุม
โดยในระหว่างการพิจารณาเรื่องนี้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๔ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
*********************************