กรุงเทพ--12 ก.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. โครงการนิทรรศการภาพถ่ายประวัติศาสตร์เคลื่อนที่ ในโอกาสครบรอบ 100 ปี และ 110 ปี แห่งการเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี 2550
กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทยในยุโรปจัดโครงการนิทรรศการภาพถ่ายประวัติศาสตร์เคลื่อนที่ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครบรอบ 100 ปี สำหรับการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 เมื่อปี 2440 และครบรอบ 110 ปี สำหรับการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปี 2450 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระมหากษัตริย์ไทย ผู้มีบทบาทสำคัญด้านการต่างประเทศ โดยเฉพาะการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคยุโรป
โครงการดังกล่าว จะหมุนเวียนไปจัดแสดงในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคยุโรปตามเส้นทางเสด็จประพาส โดยเริ่มที่นอร์เวย์เป็นประเทศแรก โดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงออสโล ร่วมกับทางการท้องถิ่นเมืองนอร์ดเคปป์และพิพิธภัณฑ์นอร์ดเคปป์จัดนิทรรศการฯ และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยที่ศาลาไทย เมืองนอร์ดเคปป์ และได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นประธานเปิดงานในวันที่ 9 กรกฎาคม 2550 จากนั้น จะมีการจัดแสดงที่ประเทศ สวีเดน เดนมาร์ก โปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส โมนาโก สเปน เยอรมนี และสหราชอาณาจักรตามลำดับ ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม — กันยายน 2550
การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย และประวัติความสัมพันธ์ทางการทูตของไทยกับหลายประเทศในยุโรป เป็นการสะท้อนถึงวิเทโศบายด้านการต่างประเทศของพระองค์ที่นำพาประเทศสยามในขณะนั้นให้รอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจในยุโรป ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของการนำความรู้และวิทยาการต่าง ๆ จากมหาอำนาจในยุโรปมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ
2. เหตุการณ์ยิงต่อสู้ที่สุเหร่าแดง (Lal Masjid) ในกรุงอิสลามาบัด
ปัจจุบันมีชาวไทยและนักเรียนไทยพำนักอยู่ในกรุงอิสลามาบัดประมาณ 200 คน และตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด ได้ติดตามความคืบหน้าของเหตุการณ์อย่างใกล้ชิดต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พร้อมทั้งแจ้งคนไทยในกรุงอิสลามาบัดให้รับทราบสถานการณ์และเตือนให้หลีกเลี่ยงพื้นที่เกิดเหตุ กระทรวงการต่างประเทศขอยืนยันว่าคนไทยทุกคนที่อิสลามาบัดปลอดภัย และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด
3. กิจกรรมฉลองครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-มาเลเซีย
ในวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ไทยและมาเลเซียจะฉลองครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ในโอกาสนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมกับหน่วยงานราชการและภาคเอกชนจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ ดังนี้
1) การจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ภาษาไทยและอังกฤษชื่อ “ราชพฤกษ์และบุหงารายา :
ห้าสิบปีแห่งมิตรภาพไทย-มาเลเซีย 2500-2550” และ “Rajaphruek and Bunga Raya: Fifty Years of Everlasting Friendship between Thailand and Malaysia 1957-2007” ซึ่งกำหนดแจกจ่ายครั้งแรกในงานเลี้ยงรับรองและงานแสดงวัฒนธรรมฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในช่วงต้นเดือนกันยายน ศกนี้ หลังจากนั้นจะแจกจ่ายให้กับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย
2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและภริยาจะเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงรับรองเนื่องในโอกาสการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย—มาเลเซีย ครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 3 กันยายน 2550 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยจะมีบุคคลสำคัญทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจของประเทศไทยและมาเลเซียเข้าร่วมงาน
3) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ร่วมกับสถาบันการทูตและการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย จัดการบรรยายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทย—มาเลเซีย ในช่วงเดือนธันวาคม 2550ที่สถาบันการทูตและการต่างประเทศมาเลเซีย กรุงกัวลาลัมเปอร์
4) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์เตรียมจัดสัปดาห์ฉายภาพยนตร์ไทยในช่วง prime time ของโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก (เคเบิลทีวี) มาเลเซีย เป็นเวลา 1 สัปดาห์
5) ในระหว่างวันที่ 25-27 กรกฏาคม 2550 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์จะเชิญคณะบุคคลสำคัญทางการทูตของไทยไปเยือนมาเลเซียเพื่อพบปะหารือและกระชับความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญทางการทูตของมาเลเซีย
6) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้จัดทำตราประทับบนซองจดหมายเป็นข้อความประชาสัมพันธ์การฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ
7) ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2550 สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมกันจัดสัมมนาทางวิชาการ “ห้าทศวรรษความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย” โดยเชิญนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมการบรรยาย
8) สมาคมไทย-มาเลเซียจัดโครงการมอบทุนการศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งในปีฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ นี้ สมาคมฯ จะเริ่มมอบทุนการศึกษาฯ จำนวน 112 ทุน รวมมูลค่าประมาณ 2 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคใต้ของไทย (HRD Fund) เพื่อสนับสนุนการศึกษาในสายอาชีพในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาของเยาวชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
มาเลเซียนับเป็นประเทศแรกที่ไทยจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission: JC) เพื่อดูแลและส่งเสริมความร่วมมือในทุกสาขา และเป็นต้นแบบการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกับประเทศอื่น ๆ
4. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่ออบรมมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกสำหรับประเทศที่ได้รับผลกระทบในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ รัฐบาลอียิปต์ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) และรัฐบาลฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการป้องกันการระบาดของไข้หวัดนกให้แก่กลุ่มประเทศแอฟริกาและตะวันออกกลาง ในระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2550 ณ กรุงไคโร สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
ผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว คาดว่าจะมีผู้เข้ารับการอบรมจากประเทศในทวีปแอฟริกาและตะวันออกกลาง ประมาณ 40 คน อาทิ อัฟกานิสถาน แคเมอรูน กินี ไนจีเรีย มาลี เซเนกัล ชาด บูร์กินาฟาโซ เบนิน ซูดาน จิบูตี คูเวต ซาอุดิอาระเบีย อิรัก ตุรกี และอิหร่าน
ผู้จัดงานหวังว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ จะทำให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ แนวทางการปฏิบัติในการควบคุมและป้องกันไข้หวัดนกของไทยซึ่งได้รับการยอมรับจากนานาประเทศเพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการเปรียบเทียบและปรับใช้ในประเทศของตนให้เหมาะสมต่อไป
การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมในลักษณะเดียวกันที่ได้เคยจัดขึ้นที่ประเทศไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อเดือนมกราคม 2550 ซึ่งได้มีการบรรยายสรุปและการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการเตรียมการรับมือการระบาดของไข้หวัดนก ตลอดจนได้มีการเดินทางไปศึกษาดูงานมาตรการป้องกันและควบคุมการป้องกันไข้หวัดนกที่จังหวัดสระบุรีด้วย
การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้เป็นการส่งเสริมความร่วมมือ และการให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในกรอบความร่วมมือใต้-ใต้ (South-South Cooperation) ในกรอบความร่วมมือไทยกับสหภาพแอฟริกา (African Union - AU) และกรอบความร่วมมือองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference-OIC)
นอกจากความร่วมมือกันในการร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ประเทศไทย กับ AU และ OIC ยังมีความร่วมมือ และการให้ความช่วยเหลือกันในอีกหลายลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการเกษตรและการสาธารณสุข อาทิ การผลิตอาหารฮาลาล การป้องกันและควบคุมโรคระบาด เป็นต้น
5. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยี่ยมจังหวัดน่าน แพร่ และลำปาง ตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะเดินทางไปจังหวัดน่าน แพร่ และลำปาง ระหว่างวันที่ 18-21 กรกฎาคม 2550 เพื่อเยี่ยมเยียนและพบปะหารือกับประชาชนตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดของรัฐบาล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะเข้ารับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในรายจังหวัด ตลอดจนเยี่ยมหมู่บ้านที่ดำเนินโครงการอยู่ดีมีสุข พบปะหารือกับชาวบ้านและผู้แทนชุมชน เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรค และความต้องการของชาวบ้านในการดำเนินโครงการต่าง ๆ พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการ ”กงสุลสัญจร” รวมทั้งติดตามการดำเนินการของโรงเรียนต่าง ๆ ภายใต้โครงการยุวทูตความดีฯ ในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าวอีกด้วย
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถปรับตัวช่วยเหลือและพึ่งพาตนเองได้ โดยอาศัยศักยภาพของตนเองด้านการบริหารจัดการให้มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (ปี 2550-2554) ซึ่งเน้น “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และมุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข”
6. โครงการเชิญผู้แทนนักศึกษากัมพูชาเยือนไทยวันที่ 1 — 7 กรกฎาคม 2550
กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ร่วมกันจัดโครงการเชิญผู้แทนนักศึกษากัมพูชาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 1-7 กรกฎาคม 2550
คณะผู้แทนนักศึกษากัมพูชาที่ร่วมโครงการ จำนวน 15 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่กระทรวงการต่างประเทศจัดให้ รวมทั้งการเข้าเยี่ยมคารวะนายเตช บุนนาค อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และประธานสมาคมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชาเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรม ศึกษาดูงานสถานที่ต่าง ๆ และพบปะกับนักศึกษาไทยและนักศึกษากัมพูชาที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
จากการประเมินผลโครงการ พบว่า นักศึกษากัมพูชามีความยินดีที่ได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทยโดยตรง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และรู้สึกประทับใจการเยือนครั้งนี้มาก
7. ช้างไทยกินดีอยู่ดีในสวนสัตว์ซิดนีย์
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ว่า เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ กงสุลใหญ่ฯ ได้นำนายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะ ตรวจเยี่ยมสภาพความเป็นอยู่ของช้างไทย 5 เชือกที่อาศัยอยู่ในสวนสัตว์ Taronga นครซิดนีย์ ซึ่งถูกส่งมาภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนสัตว์ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ จากการตรวจเยี่ยมพบว่าช้างไทยเหล่านี้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและได้รับการดูแลอย่างดีมาก
ผู้อำนวยการสวนสัตว์ฯ นำคณะเยี่ยมชมโรงช้างและพื้นที่อยู่อาศัยของช้าง ซึ่งใช้เงินทุนก่อสร้างไปกว่า 14 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และชี้แจงเพิ่มเติมว่ามีค่าใช้จ่ายในการดูแลช้างประมาณหนึ่งแสนดอลลาร์ออสเตรเลียต่อเชือกต่อปี
ช้างไทยทั้ง 5 เชือก ได้แก่ กุ้ง ผักบุ้ง ทองดี แตงโม และพรทิพย์ ซึ่งสวนสัตว์ฯ เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมสวนสัตว์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ ที่ตั้งใจเข้ามาชมช้าง โดยเฉพาะ “กุ้ง” ซึ่งเป็นช้างเพศผู้ เป็นที่ชื่นชอบมากเป็นพิเศษ เพราะบุคลิกลักษณะที่ซุกซน โดยสวนสัตว์ได้จัดทำตุ๊กตาช้าง “Gung” จำหน่ายในร้านขายของที่ระลึกด้วย ในอนาคตอันใกล้นี้ สวนสัตว์ฯ จะใช้งบประมาณอีก 7 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อขยายพื้นที่อยู่อาศัยและโรงช้างให้กว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่
กงสุลใหญ่ฯ กล่าวเสริมเกี่ยวกับความสำคัญของช้างไทยว่า สวนสัตว์ Taronga ได้มีการแลกเปลี่ยนสัตว์จากต่างประเทศมาแล้วหลายครั้ง แต่ช้างไทยเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวที่ทางสวนสัตว์ได้จัดสร้างและตกแต่งพื้นที่ให้เป็นพิเศษ โดยอยู่ใกล้กับศาลาไทยซึ่งรัฐบาลไทยได้บริจาคเงินสร้างให้เมื่อปี 2548 ชาวออสเตรเลียที่เข้ามาชมช้างจึงไม่เพียงได้ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของช้างเท่านั้น แต่จะได้รับทราบถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับออสเตรเลียด้วย
สำหรับโครงการแลกเปลี่ยนสัตว์ระหว่างไทยกับออสเตรเลียนั้น ออสเตรเลียได้ส่งหมีโคอาล่าให้สวนสัตว์เชียงใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในอนาคตอันใกล้จะส่งจิงโจ้แดงและวอมแบ็ตให้ไทยต่อไป
8. ต่างชาติแสดงความเข้าใจต่อสถานการณ์การเมืองไทยดีขึ้น
คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ยอมรับว่า แม้ที่ผ่านมาฝ่ายสหภาพยุโรปจะไม่เห็นด้วยกับวิธีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น แต่เมื่อได้รับฟังการอธิบายตามแนวทางเอกสารการชี้แจงที่กระทรวงฯจัดทำขึ้น ทำให้บุคคลสำคัญในระดับสูงของเบลเยี่ยม และสหภาพยุโรปมีความพอใจต่อสถานการณ์การเมืองไทยดีขึ้น มีความเชื่อมั่นและความหวังว่ารัฐบาลไทยจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ประกาศไว้ โดยเฉพาะกำหนดการเลือกตั้งภายในปีนี้ ทั้งนี้ หลายประเทศในสหภาพยุโรป เช่น โปรตุเกส และกรีซ แสดงความพร้อมในการสานต่อความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวกับไทย หลังจากมีความชัดเจนทางการเมืองอย่างเต็มที่
ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน รายงานว่าท่าทีของสหรัฐในขณะนี้ พอใจกับพัฒนาการทางการเมืองของไทย แม้ว่าที่ผ่านมาอาจมีความไม่ราบรื่นอยู่บ้าง แต่ก็มองเห็นจุดหมายที่แน่ชัด นั่นคือ การกลับเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตย โดยทั่วไปรัฐสภาสหรัฐฯ มีความเข้าใจต่อสถานการณ์การเมืองในไทยเป็นอย่างดี และในช่วงวันที่ 5-8 กรกฎาคม ที่ผ่านมา วุฒิสมาชิก James Webb ซึ่งเดินทางมาเยือนไทยก็แสดงความประทับใจกับความคืบหน้าทางการเมืองของไทย และจะกลับไปรายงานรัฐสภาและภาคธุรกิจ ต่อไป
นอกจากนี้ คณะทูตถาวร ณ นครนิวยอร์ก ได้รายงานถึงท่าทีของผู้บริหารระดับสูงของสหประชาชาติว่า มีความสนใจต่อสถานการณ์การเมืองไทยลดลง ขณะนี้กำลังเฝ้าติดตามกระบวนการทางการเมืองต่าง ๆ ของไทยตามกำหนดเวลา
สามารถกล่าวได้ว่าปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มีท่าทีต่อประเทศไทยดีขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการชี้แจงสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยของกระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง หลายประเทศพร้อมจะมองไปข้างหน้า ในการกลับเข้าสู่ประชาธิปไตยของไทย โดยเฉพาะการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในช่วงปลายปี 2550
* สามารถดูรายละเอียดของแต่ละหัวข้อข่าวเพิ่มเติมได้ที่ "ข่าวสารนิเทศ"
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. โครงการนิทรรศการภาพถ่ายประวัติศาสตร์เคลื่อนที่ ในโอกาสครบรอบ 100 ปี และ 110 ปี แห่งการเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี 2550
กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทยในยุโรปจัดโครงการนิทรรศการภาพถ่ายประวัติศาสตร์เคลื่อนที่ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครบรอบ 100 ปี สำหรับการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 เมื่อปี 2440 และครบรอบ 110 ปี สำหรับการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปี 2450 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระมหากษัตริย์ไทย ผู้มีบทบาทสำคัญด้านการต่างประเทศ โดยเฉพาะการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคยุโรป
โครงการดังกล่าว จะหมุนเวียนไปจัดแสดงในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคยุโรปตามเส้นทางเสด็จประพาส โดยเริ่มที่นอร์เวย์เป็นประเทศแรก โดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงออสโล ร่วมกับทางการท้องถิ่นเมืองนอร์ดเคปป์และพิพิธภัณฑ์นอร์ดเคปป์จัดนิทรรศการฯ และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยที่ศาลาไทย เมืองนอร์ดเคปป์ และได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นประธานเปิดงานในวันที่ 9 กรกฎาคม 2550 จากนั้น จะมีการจัดแสดงที่ประเทศ สวีเดน เดนมาร์ก โปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส โมนาโก สเปน เยอรมนี และสหราชอาณาจักรตามลำดับ ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม — กันยายน 2550
การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย และประวัติความสัมพันธ์ทางการทูตของไทยกับหลายประเทศในยุโรป เป็นการสะท้อนถึงวิเทโศบายด้านการต่างประเทศของพระองค์ที่นำพาประเทศสยามในขณะนั้นให้รอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจในยุโรป ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของการนำความรู้และวิทยาการต่าง ๆ จากมหาอำนาจในยุโรปมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ
2. เหตุการณ์ยิงต่อสู้ที่สุเหร่าแดง (Lal Masjid) ในกรุงอิสลามาบัด
ปัจจุบันมีชาวไทยและนักเรียนไทยพำนักอยู่ในกรุงอิสลามาบัดประมาณ 200 คน และตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด ได้ติดตามความคืบหน้าของเหตุการณ์อย่างใกล้ชิดต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พร้อมทั้งแจ้งคนไทยในกรุงอิสลามาบัดให้รับทราบสถานการณ์และเตือนให้หลีกเลี่ยงพื้นที่เกิดเหตุ กระทรวงการต่างประเทศขอยืนยันว่าคนไทยทุกคนที่อิสลามาบัดปลอดภัย และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด
3. กิจกรรมฉลองครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-มาเลเซีย
ในวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ไทยและมาเลเซียจะฉลองครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ในโอกาสนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมกับหน่วยงานราชการและภาคเอกชนจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ ดังนี้
1) การจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ภาษาไทยและอังกฤษชื่อ “ราชพฤกษ์และบุหงารายา :
ห้าสิบปีแห่งมิตรภาพไทย-มาเลเซีย 2500-2550” และ “Rajaphruek and Bunga Raya: Fifty Years of Everlasting Friendship between Thailand and Malaysia 1957-2007” ซึ่งกำหนดแจกจ่ายครั้งแรกในงานเลี้ยงรับรองและงานแสดงวัฒนธรรมฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในช่วงต้นเดือนกันยายน ศกนี้ หลังจากนั้นจะแจกจ่ายให้กับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย
2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและภริยาจะเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงรับรองเนื่องในโอกาสการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย—มาเลเซีย ครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 3 กันยายน 2550 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยจะมีบุคคลสำคัญทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจของประเทศไทยและมาเลเซียเข้าร่วมงาน
3) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ร่วมกับสถาบันการทูตและการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย จัดการบรรยายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทย—มาเลเซีย ในช่วงเดือนธันวาคม 2550ที่สถาบันการทูตและการต่างประเทศมาเลเซีย กรุงกัวลาลัมเปอร์
4) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์เตรียมจัดสัปดาห์ฉายภาพยนตร์ไทยในช่วง prime time ของโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก (เคเบิลทีวี) มาเลเซีย เป็นเวลา 1 สัปดาห์
5) ในระหว่างวันที่ 25-27 กรกฏาคม 2550 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์จะเชิญคณะบุคคลสำคัญทางการทูตของไทยไปเยือนมาเลเซียเพื่อพบปะหารือและกระชับความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญทางการทูตของมาเลเซีย
6) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้จัดทำตราประทับบนซองจดหมายเป็นข้อความประชาสัมพันธ์การฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ
7) ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2550 สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมกันจัดสัมมนาทางวิชาการ “ห้าทศวรรษความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย” โดยเชิญนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมการบรรยาย
8) สมาคมไทย-มาเลเซียจัดโครงการมอบทุนการศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งในปีฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ฯ นี้ สมาคมฯ จะเริ่มมอบทุนการศึกษาฯ จำนวน 112 ทุน รวมมูลค่าประมาณ 2 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคใต้ของไทย (HRD Fund) เพื่อสนับสนุนการศึกษาในสายอาชีพในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาของเยาวชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
มาเลเซียนับเป็นประเทศแรกที่ไทยจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission: JC) เพื่อดูแลและส่งเสริมความร่วมมือในทุกสาขา และเป็นต้นแบบการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกับประเทศอื่น ๆ
4. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่ออบรมมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกสำหรับประเทศที่ได้รับผลกระทบในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ รัฐบาลอียิปต์ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) และรัฐบาลฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการป้องกันการระบาดของไข้หวัดนกให้แก่กลุ่มประเทศแอฟริกาและตะวันออกกลาง ในระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2550 ณ กรุงไคโร สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
ผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว คาดว่าจะมีผู้เข้ารับการอบรมจากประเทศในทวีปแอฟริกาและตะวันออกกลาง ประมาณ 40 คน อาทิ อัฟกานิสถาน แคเมอรูน กินี ไนจีเรีย มาลี เซเนกัล ชาด บูร์กินาฟาโซ เบนิน ซูดาน จิบูตี คูเวต ซาอุดิอาระเบีย อิรัก ตุรกี และอิหร่าน
ผู้จัดงานหวังว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ จะทำให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ แนวทางการปฏิบัติในการควบคุมและป้องกันไข้หวัดนกของไทยซึ่งได้รับการยอมรับจากนานาประเทศเพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการเปรียบเทียบและปรับใช้ในประเทศของตนให้เหมาะสมต่อไป
การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมในลักษณะเดียวกันที่ได้เคยจัดขึ้นที่ประเทศไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อเดือนมกราคม 2550 ซึ่งได้มีการบรรยายสรุปและการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการเตรียมการรับมือการระบาดของไข้หวัดนก ตลอดจนได้มีการเดินทางไปศึกษาดูงานมาตรการป้องกันและควบคุมการป้องกันไข้หวัดนกที่จังหวัดสระบุรีด้วย
การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้เป็นการส่งเสริมความร่วมมือ และการให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในกรอบความร่วมมือใต้-ใต้ (South-South Cooperation) ในกรอบความร่วมมือไทยกับสหภาพแอฟริกา (African Union - AU) และกรอบความร่วมมือองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference-OIC)
นอกจากความร่วมมือกันในการร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ประเทศไทย กับ AU และ OIC ยังมีความร่วมมือ และการให้ความช่วยเหลือกันในอีกหลายลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการเกษตรและการสาธารณสุข อาทิ การผลิตอาหารฮาลาล การป้องกันและควบคุมโรคระบาด เป็นต้น
5. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยี่ยมจังหวัดน่าน แพร่ และลำปาง ตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะเดินทางไปจังหวัดน่าน แพร่ และลำปาง ระหว่างวันที่ 18-21 กรกฎาคม 2550 เพื่อเยี่ยมเยียนและพบปะหารือกับประชาชนตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดของรัฐบาล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะเข้ารับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในรายจังหวัด ตลอดจนเยี่ยมหมู่บ้านที่ดำเนินโครงการอยู่ดีมีสุข พบปะหารือกับชาวบ้านและผู้แทนชุมชน เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรค และความต้องการของชาวบ้านในการดำเนินโครงการต่าง ๆ พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการ ”กงสุลสัญจร” รวมทั้งติดตามการดำเนินการของโรงเรียนต่าง ๆ ภายใต้โครงการยุวทูตความดีฯ ในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าวอีกด้วย
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถปรับตัวช่วยเหลือและพึ่งพาตนเองได้ โดยอาศัยศักยภาพของตนเองด้านการบริหารจัดการให้มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (ปี 2550-2554) ซึ่งเน้น “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และมุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข”
6. โครงการเชิญผู้แทนนักศึกษากัมพูชาเยือนไทยวันที่ 1 — 7 กรกฎาคม 2550
กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ร่วมกันจัดโครงการเชิญผู้แทนนักศึกษากัมพูชาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 1-7 กรกฎาคม 2550
คณะผู้แทนนักศึกษากัมพูชาที่ร่วมโครงการ จำนวน 15 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่กระทรวงการต่างประเทศจัดให้ รวมทั้งการเข้าเยี่ยมคารวะนายเตช บุนนาค อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และประธานสมาคมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชาเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรม ศึกษาดูงานสถานที่ต่าง ๆ และพบปะกับนักศึกษาไทยและนักศึกษากัมพูชาที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
จากการประเมินผลโครงการ พบว่า นักศึกษากัมพูชามีความยินดีที่ได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทยโดยตรง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และรู้สึกประทับใจการเยือนครั้งนี้มาก
7. ช้างไทยกินดีอยู่ดีในสวนสัตว์ซิดนีย์
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ว่า เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ กงสุลใหญ่ฯ ได้นำนายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะ ตรวจเยี่ยมสภาพความเป็นอยู่ของช้างไทย 5 เชือกที่อาศัยอยู่ในสวนสัตว์ Taronga นครซิดนีย์ ซึ่งถูกส่งมาภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนสัตว์ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ จากการตรวจเยี่ยมพบว่าช้างไทยเหล่านี้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและได้รับการดูแลอย่างดีมาก
ผู้อำนวยการสวนสัตว์ฯ นำคณะเยี่ยมชมโรงช้างและพื้นที่อยู่อาศัยของช้าง ซึ่งใช้เงินทุนก่อสร้างไปกว่า 14 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และชี้แจงเพิ่มเติมว่ามีค่าใช้จ่ายในการดูแลช้างประมาณหนึ่งแสนดอลลาร์ออสเตรเลียต่อเชือกต่อปี
ช้างไทยทั้ง 5 เชือก ได้แก่ กุ้ง ผักบุ้ง ทองดี แตงโม และพรทิพย์ ซึ่งสวนสัตว์ฯ เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมสวนสัตว์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ ที่ตั้งใจเข้ามาชมช้าง โดยเฉพาะ “กุ้ง” ซึ่งเป็นช้างเพศผู้ เป็นที่ชื่นชอบมากเป็นพิเศษ เพราะบุคลิกลักษณะที่ซุกซน โดยสวนสัตว์ได้จัดทำตุ๊กตาช้าง “Gung” จำหน่ายในร้านขายของที่ระลึกด้วย ในอนาคตอันใกล้นี้ สวนสัตว์ฯ จะใช้งบประมาณอีก 7 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อขยายพื้นที่อยู่อาศัยและโรงช้างให้กว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่
กงสุลใหญ่ฯ กล่าวเสริมเกี่ยวกับความสำคัญของช้างไทยว่า สวนสัตว์ Taronga ได้มีการแลกเปลี่ยนสัตว์จากต่างประเทศมาแล้วหลายครั้ง แต่ช้างไทยเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวที่ทางสวนสัตว์ได้จัดสร้างและตกแต่งพื้นที่ให้เป็นพิเศษ โดยอยู่ใกล้กับศาลาไทยซึ่งรัฐบาลไทยได้บริจาคเงินสร้างให้เมื่อปี 2548 ชาวออสเตรเลียที่เข้ามาชมช้างจึงไม่เพียงได้ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของช้างเท่านั้น แต่จะได้รับทราบถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับออสเตรเลียด้วย
สำหรับโครงการแลกเปลี่ยนสัตว์ระหว่างไทยกับออสเตรเลียนั้น ออสเตรเลียได้ส่งหมีโคอาล่าให้สวนสัตว์เชียงใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในอนาคตอันใกล้จะส่งจิงโจ้แดงและวอมแบ็ตให้ไทยต่อไป
8. ต่างชาติแสดงความเข้าใจต่อสถานการณ์การเมืองไทยดีขึ้น
คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ยอมรับว่า แม้ที่ผ่านมาฝ่ายสหภาพยุโรปจะไม่เห็นด้วยกับวิธีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น แต่เมื่อได้รับฟังการอธิบายตามแนวทางเอกสารการชี้แจงที่กระทรวงฯจัดทำขึ้น ทำให้บุคคลสำคัญในระดับสูงของเบลเยี่ยม และสหภาพยุโรปมีความพอใจต่อสถานการณ์การเมืองไทยดีขึ้น มีความเชื่อมั่นและความหวังว่ารัฐบาลไทยจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ประกาศไว้ โดยเฉพาะกำหนดการเลือกตั้งภายในปีนี้ ทั้งนี้ หลายประเทศในสหภาพยุโรป เช่น โปรตุเกส และกรีซ แสดงความพร้อมในการสานต่อความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวกับไทย หลังจากมีความชัดเจนทางการเมืองอย่างเต็มที่
ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน รายงานว่าท่าทีของสหรัฐในขณะนี้ พอใจกับพัฒนาการทางการเมืองของไทย แม้ว่าที่ผ่านมาอาจมีความไม่ราบรื่นอยู่บ้าง แต่ก็มองเห็นจุดหมายที่แน่ชัด นั่นคือ การกลับเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตย โดยทั่วไปรัฐสภาสหรัฐฯ มีความเข้าใจต่อสถานการณ์การเมืองในไทยเป็นอย่างดี และในช่วงวันที่ 5-8 กรกฎาคม ที่ผ่านมา วุฒิสมาชิก James Webb ซึ่งเดินทางมาเยือนไทยก็แสดงความประทับใจกับความคืบหน้าทางการเมืองของไทย และจะกลับไปรายงานรัฐสภาและภาคธุรกิจ ต่อไป
นอกจากนี้ คณะทูตถาวร ณ นครนิวยอร์ก ได้รายงานถึงท่าทีของผู้บริหารระดับสูงของสหประชาชาติว่า มีความสนใจต่อสถานการณ์การเมืองไทยลดลง ขณะนี้กำลังเฝ้าติดตามกระบวนการทางการเมืองต่าง ๆ ของไทยตามกำหนดเวลา
สามารถกล่าวได้ว่าปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มีท่าทีต่อประเทศไทยดีขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการชี้แจงสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยของกระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง หลายประเทศพร้อมจะมองไปข้างหน้า ในการกลับเข้าสู่ประชาธิปไตยของไทย โดยเฉพาะการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในช่วงปลายปี 2550
* สามารถดูรายละเอียดของแต่ละหัวข้อข่าวเพิ่มเติมได้ที่ "ข่าวสารนิเทศ"
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-