EXIM BANK มีผลการดำเนินงานที่น่าพอใจมากในปี 2549 โดยสมัครใจกันสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์ IAS 39 เต็มทั้งจำนวนในปี 2549 แทนการทยอยกันสำรอง พร้อมเดินหน้าพัฒนาบริการสนับสนุนการส่งออกครบวงจรและช่องทางขยายฐานการค้าและการลงทุนไทยทั่วโลก รวมทั้งปรับโครงสร้างองค์กรและพัฒนาบุคลากรรองรับการขยายสินเชื่อแบบเน้นคุณภาพเพื่อลดและป้องกัน NPLs
ดร.อภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ในปี 2549 EXIM BANK มีผลการดำเนินงานที่น่าพอใจและเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ท่ามกลางสถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยมีกำไรสุทธิหลังจากกันเงินสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์ปกติ 699 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 จากปี 2548 แต่ภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มี
นโยบายให้ธนาคารพาณิชย์ทยอยกันสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 39 (International Accounting Standard 39 : IAS 39) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2550 EXIM BANK ได้ตัดสินใจกันสำรองตามเกณฑ์ IAS 39 เต็มทั้งจำนวน 2,045 ล้านบาทในปี 2549 แทนการทยอยกันสำรองในปี 2549 และ 2550 ทำให้ EXIM BANK มีผลการดำเนินงานปี 2549 ขาดทุนสุทธิ 1,346 ล้านบาท การตัดสินใจกันสำรองตามเกณฑ์ IAS 39 ดังกล่าวแสดงถึงความมุ่งมั่นของ EXIM BANK ที่จะดำเนินธุรกิจธนาคารภายใต้หลักการกำกับดูแลที่ดีและหลักปฏิบัติตามมาตรฐานสากล อันจะส่งผลดีต่อแผนการระดมทุนของ EXIM BANK ในปี 2550 ทั้งนี้ เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ของ EXIM BANK ณ สิ้นเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 14.3
ในปี 2549 EXIM BANK อนุมัติวงเงินสินเชื่อและวงเงินรับประกันการส่งออกให้แก่ผู้ส่งออกจำนวน 24,014 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ร้อยละ 8 และอนุมัติวงเงินสินเชื่อและค้ำประกันจำนวน 5,576 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ร้อยละ 12 ให้แก่นักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนหรือให้บริการงานในต่างประเทศรวม 18 ประเทศ นอกจากนี้ ยังได้เริ่มบทบาทพัฒนาตลาดทุนในเอเชีย โดย EXIM BANK ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับการไฟฟ้าแห่ง สปป.ลาวเพื่อออกพันธบัตรเอเชียสกุลเงินบาทจำนวน 1,500 ล้านบาทสำหรับโครงการสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำน้ำงึม 2 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ EXIM BANK ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดอบรมสัมมนาให้แก่ผู้ส่งออก นักลงทุน และผู้สนใจทั่วไปจำนวนทั้งสิ้น 6,123 รายในปี 2549
ความสำเร็จของ EXIM BANK ในช่วงปีที่ผ่านมา คือ การได้รับปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวโดยบริษัท ฟิทซ์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด จาก AA+(tha) เป็น AAA (tha) ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด มีความเสี่ยงต่ำสุด มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและคืนเงินต้นในเกณฑ์สูงสุด นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลประเภท "คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น" ในงาน "รัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2549" ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า นอกจากการให้บริการทางการเงินแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยในต่างประเทศ ในปี 2550 EXIM BANK ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการพัฒนาและให้บริการสนับสนุนการส่งออกอย่างครบวงจรซึ่งแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป พร้อมชูบทบาทในการเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยในต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการให้บริการทางการเงินสำหรับผู้ให้บริการการส่งออก (Service Providers for Exports) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการไทยในธุรกิจคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า ตลอดจนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) รวมทั้งบริการประกันการส่งออกและบริการประกันความเสี่ยงการลงทุนที่จะช่วยให้นักธุรกิจไทยบุกเบิกหรือขยายฐานการค้าและการลงทุนไทยในตลาดต่างประเทศได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ในปี 2550 EXIM BANK จะพัฒนาช่องทางขยายฐานการค้าและการลงทุนของไทยในตลาดต่างประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะภูมิภาคตะวันออกกลาง อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รัสเซีย เอเชียกลาง และอาเซียน อาทิ การจัดตั้งบริษัท EXIM International เพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางในการลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าให้แก่ผู้ส่งออกไทยในตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงแต่ระบบการชำระเงินยังไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าระหว่างประเทศ
ดร.อภิชัย กล่าวว่า ในปีนี้ EXIM BANKจะดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพสินเชื่อควบคู่ไปกับการพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มรายได้และลดโอกาสการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของ
EXIM BANK รวมทั้งชูบทบาทของธนาคารในการสร้างและสนับสนุนผู้ส่งออกและนักลงทุนที่ช่วยสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศของไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในขณะเดียวกัน โดยจะมีการแยกงานวิเคราะห์สินเชื่อออกจากงานด้านการตลาดที่มุ่งเน้นขยายฐานลูกค้า เพื่อให้ฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่กลางปีนี้ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าโดยอิสระด้วยความรอบคอบและเป็นมืออาชีพก่อนนำเสนอผู้บริหารพิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้แก่ลูกค้ารายนั้น ขณะที่ฝ่ายวาณิชธนกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อต้นปีนี้จะทำงานร่วมกับลูกหนี้ NPLs โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพในการดำเนินงานและเติบโต เพื่อหาแนวทางแปลงหนี้เสียกลับมาเป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ของ EXIM BANK ในอนาคต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-
ดร.อภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ในปี 2549 EXIM BANK มีผลการดำเนินงานที่น่าพอใจและเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ท่ามกลางสถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยมีกำไรสุทธิหลังจากกันเงินสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์ปกติ 699 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 จากปี 2548 แต่ภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มี
นโยบายให้ธนาคารพาณิชย์ทยอยกันสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 39 (International Accounting Standard 39 : IAS 39) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2550 EXIM BANK ได้ตัดสินใจกันสำรองตามเกณฑ์ IAS 39 เต็มทั้งจำนวน 2,045 ล้านบาทในปี 2549 แทนการทยอยกันสำรองในปี 2549 และ 2550 ทำให้ EXIM BANK มีผลการดำเนินงานปี 2549 ขาดทุนสุทธิ 1,346 ล้านบาท การตัดสินใจกันสำรองตามเกณฑ์ IAS 39 ดังกล่าวแสดงถึงความมุ่งมั่นของ EXIM BANK ที่จะดำเนินธุรกิจธนาคารภายใต้หลักการกำกับดูแลที่ดีและหลักปฏิบัติตามมาตรฐานสากล อันจะส่งผลดีต่อแผนการระดมทุนของ EXIM BANK ในปี 2550 ทั้งนี้ เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ของ EXIM BANK ณ สิ้นเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 14.3
ในปี 2549 EXIM BANK อนุมัติวงเงินสินเชื่อและวงเงินรับประกันการส่งออกให้แก่ผู้ส่งออกจำนวน 24,014 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ร้อยละ 8 และอนุมัติวงเงินสินเชื่อและค้ำประกันจำนวน 5,576 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ร้อยละ 12 ให้แก่นักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนหรือให้บริการงานในต่างประเทศรวม 18 ประเทศ นอกจากนี้ ยังได้เริ่มบทบาทพัฒนาตลาดทุนในเอเชีย โดย EXIM BANK ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับการไฟฟ้าแห่ง สปป.ลาวเพื่อออกพันธบัตรเอเชียสกุลเงินบาทจำนวน 1,500 ล้านบาทสำหรับโครงการสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำน้ำงึม 2 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ EXIM BANK ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดอบรมสัมมนาให้แก่ผู้ส่งออก นักลงทุน และผู้สนใจทั่วไปจำนวนทั้งสิ้น 6,123 รายในปี 2549
ความสำเร็จของ EXIM BANK ในช่วงปีที่ผ่านมา คือ การได้รับปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวโดยบริษัท ฟิทซ์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด จาก AA+(tha) เป็น AAA (tha) ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด มีความเสี่ยงต่ำสุด มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและคืนเงินต้นในเกณฑ์สูงสุด นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลประเภท "คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น" ในงาน "รัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2549" ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า นอกจากการให้บริการทางการเงินแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยในต่างประเทศ ในปี 2550 EXIM BANK ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการพัฒนาและให้บริการสนับสนุนการส่งออกอย่างครบวงจรซึ่งแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป พร้อมชูบทบาทในการเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยในต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการให้บริการทางการเงินสำหรับผู้ให้บริการการส่งออก (Service Providers for Exports) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการไทยในธุรกิจคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า ตลอดจนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) รวมทั้งบริการประกันการส่งออกและบริการประกันความเสี่ยงการลงทุนที่จะช่วยให้นักธุรกิจไทยบุกเบิกหรือขยายฐานการค้าและการลงทุนไทยในตลาดต่างประเทศได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ในปี 2550 EXIM BANK จะพัฒนาช่องทางขยายฐานการค้าและการลงทุนของไทยในตลาดต่างประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะภูมิภาคตะวันออกกลาง อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รัสเซีย เอเชียกลาง และอาเซียน อาทิ การจัดตั้งบริษัท EXIM International เพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางในการลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าให้แก่ผู้ส่งออกไทยในตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงแต่ระบบการชำระเงินยังไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าระหว่างประเทศ
ดร.อภิชัย กล่าวว่า ในปีนี้ EXIM BANKจะดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพสินเชื่อควบคู่ไปกับการพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มรายได้และลดโอกาสการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของ
EXIM BANK รวมทั้งชูบทบาทของธนาคารในการสร้างและสนับสนุนผู้ส่งออกและนักลงทุนที่ช่วยสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศของไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในขณะเดียวกัน โดยจะมีการแยกงานวิเคราะห์สินเชื่อออกจากงานด้านการตลาดที่มุ่งเน้นขยายฐานลูกค้า เพื่อให้ฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่กลางปีนี้ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าโดยอิสระด้วยความรอบคอบและเป็นมืออาชีพก่อนนำเสนอผู้บริหารพิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้แก่ลูกค้ารายนั้น ขณะที่ฝ่ายวาณิชธนกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อต้นปีนี้จะทำงานร่วมกับลูกหนี้ NPLs โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพในการดำเนินงานและเติบโต เพื่อหาแนวทางแปลงหนี้เสียกลับมาเป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ของ EXIM BANK ในอนาคต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-