คำแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 11
วันที่ 5 เมษายน 2550 ณ จังหวัดเชียงใหม่
คำแปล (ไม่เป็นทางการ)
บทนำ
1. เรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 11 ที่เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 4-5 เมษายน 2550 โดยมี ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของประเทศไทย เป็นประธานของการประชุม
2. เรายินดีต้อนรับการเข้าร่วมของคณะทรอยก้า (troika) (ประกอบด้วยผู้ว่าการธนาคารกลางในอาเซียนที่เป็นประธานการประชุมปีก่อนหน้า-ปีปัจจุบัน-ปีถัดไป) ซึ่งได้ให้ข้อมูลด้านสภาวะเศรษฐกิจและการเงินในระยะที่ผ่านมา รวมถึงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเงินของอาเซียน
3. เราได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภูมิภาค และหารือกันถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแผนการรวมตัวทางการเงินในอาเซียน และกับประเทศอื่น เรายังได้หารือว่าความร่วมมือด้านการเงินสามารถที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างแท้จริงในปี 2558
การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
4. เรารู้สึกยินดีที่ได้ทราบว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคยังคงเข้มแข็ง อันเป็นผลมาจากการมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี มีการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคที่รอบคอบ และมีการปฏิรูปโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การส่งออกยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปีที่ผ่านมาเท่ากับร้อยละ 5.8 ยิ่งไปกว่านั้นอัตราการเติบโตดังกล่าวมีความสมดุลมากขึ้นระหว่างอุปสงค์ภายในและภายนอก นอกจากนี้ ระบบการเงินที่เข้มแข็งของเรายังแสดงถึงการมีภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการเพื่อพัฒนาตลาดการเงินในภูมิภาคในเชิงลึกมากขึ้น
5. เรายังได้หารือกันถึงความท้าทายจากภายนอกที่มีต่อภูมิภาคอันเกิดขึ้นมาจากภาวะความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจของโลกและการผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน เรายังคงเฝ้าติดตามปัจจัยความเสี่ยงเหล่านี้ และตัดสินใจที่จะดำเนินนโยบายการเงินและการคลังอย่างเข้มแข็ง พร้อมกับการดำเนินนโยบายที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับอุปสงค์ภายในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
6. เราได้หารือกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย นายฮารูฮิโกะ คุโรดะ ซึ่งได้รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจและประเด็นเชิงนโยบายสำหรับภูมิภาคอาเซียน เราซาบซึ้งสำหรับการสนับสนุนของธนาคารพัฒนาเอเชียที่มีต่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
7. กว่าทศวรรษของการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน เราได้เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาคโดยได้พัฒนาตลาดทุนในภูมิภาคในเชิงลึก และดำเนินมาตรการเปิดเสรีบริการด้านการเงินอย่างค่อยไปค่อยไป ทั้งนี้ เราตกลงที่จะมีความร่วมมือด้านการเงินเพื่อบรรลุการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคให้สูงขึ้นและพัฒนาอาเซียนให้เท่าเทียมกัน ดังนั้น เราตกลงที่จะมอบหมายเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อทบทวนและระบุบริการด้านการเงินในสาขาที่สำคัญก่อนเพื่อเร่งรัดการไปสู่เป้าหมายข้างต้น เรายังคงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างขีดความสามารถในภาคการเงินโดยลดช่องว่างของการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
การสร้างความเข้มแข็งแก่ตลาดทุน
8. เรารับทราบความคืบหน้าในการพัฒนาตลาดทุน เราตกลงที่จะจัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางตราสารหนี้ในอาเซียน (ASEAN bond portal) ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมราคาซื้อขายพันธบัตรจากตลาดตราสารหนี้แต่ละประเทศสมาชิกในอาเซียน ศูนย์ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นก้าวแรกของการอำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงตลาดพันธบัตรของภูมิภาคในเชิงลึกยิ่งขึ้นเนื่องจากตลาดตราสารหนี้ในอาเซียนได้เริ่มนำระบบการซื้อขายตราสารหนี้ทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น (e-bond trading platforms) ในการนี้ ประเทศไทยและสิงคโปร์ตกลงที่จะร่วมมือกันในการจัดตั้งระบบการซื้อขายตราสารหนี้ทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน
9. เราตกลงที่จะสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการหารือระหว่างกรอบการประชุมด้านการเงินอาเซียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอาเซียน อันจะช่วยให้การพัฒนาตลาดทุนมีความทันสมัย และทำให้มั่นใจว่าตลาดของเราสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ออกตราสาร นักลงทุน และผู้ค้าตราสารได้
การเปิดเสรีบริการด้านการเงิน
10. เราเน้นย้ำถึงข้อผูกพันของเราที่จะสนับสนุนการค้าและการลงทุนภายในอาเซียนโดยการเปิดเสรีภาคบริการด้านการเงินระหว่างกันเพิ่มขึ้นตามลำดับ เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เราให้คำมั่นว่าจะสรุปการเจรจาเปิดเสรีบริการด้านการเงินรอบที่สี่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการในอาเซียน (AFAS) ภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ เรามอบหมายให้คณะทำงานเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินของอาเซียนสนับสนุนการเจรจาเปิดเสรีบริการด้านการเงินระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา ซึ่งรวมถึงจีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
การส่งเสริมการจัดหาเงินทุนให้แก่โครงสร้างพื้นฐาน
11. เนื่องจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยเร่งรัดการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เราเชื่อว่าการจัดตั้งกลไกใหม่เพื่อจัดหาเงินทุนให้แก่โครงสร้างพื้นฐานจะบรรลุเป้าหมายได้ก็ด้วยการระดมเงินออมจากในภูมิภาคเพื่อการพัฒนาในภูมิภาค ทั้งนี้ ในการส่งเสริมปริมาณการลงทุนในโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียนให้สูงขึ้น เราตกลงจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารายละเอียดของการจัดตั้งกลไกใหม่ในการสนับสนุนทางการเงินแก่โครงสร้างพื้นฐาน
การพัฒนาเพื่อยกระดับหลักทรัพย์ของอาเซียนให้มีคุณภาพสากล
12. จากความสำเร็จในการจัดสัมมนานักลงทุนภายใต้กรอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนก่อนหน้านี้ เราตกลงจัดสัมมนานักลงทุนในครั้งที่ 4 ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ในเดือนตุลาคม 2550 เพื่อส่งเสริมอาเซียนในฐานะจุดหมายของการลงทุนที่น่าสนใจ
ความร่วมมือด้านภาษีอากร
13. เราตกลงที่จะสร้างความร่วมมือกันด้านภาษีอากรให้เข้มแข็งภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน เพื่อเร่งรัดการจัดทำความตกลงทวิภาคีเพื่อยกเว้นภาษีซ้อนและความร่วมมือด้านภาษีอื่นๆ ในการนี้ เราตกลงที่จะจัดตั้งเวทีความร่วมมือด้านภาษีอากรในอาเซียนในระดับหัวหน้าหน่วยงานบริหารด้านภาษีจากประเทศสมาชิกอาเซียน
14. เราแสดงความซาบซึ้งต่อรัฐบาลและประชาชนของราชอาณาจักรไทยสำหรับการจัดการประชุมที่ดีเลิศและการต้อนรับอย่างอบอุ่นที่มีให้แก่ผู้แทนทุกท่าน ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 12 มีกำหนดการเบื้องต้นว่าจะจัดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน 2551 ที่ประเทศเวียดนาม
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 26/2550 5 เมษายน 50--
วันที่ 5 เมษายน 2550 ณ จังหวัดเชียงใหม่
คำแปล (ไม่เป็นทางการ)
บทนำ
1. เรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 11 ที่เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 4-5 เมษายน 2550 โดยมี ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของประเทศไทย เป็นประธานของการประชุม
2. เรายินดีต้อนรับการเข้าร่วมของคณะทรอยก้า (troika) (ประกอบด้วยผู้ว่าการธนาคารกลางในอาเซียนที่เป็นประธานการประชุมปีก่อนหน้า-ปีปัจจุบัน-ปีถัดไป) ซึ่งได้ให้ข้อมูลด้านสภาวะเศรษฐกิจและการเงินในระยะที่ผ่านมา รวมถึงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเงินของอาเซียน
3. เราได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภูมิภาค และหารือกันถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแผนการรวมตัวทางการเงินในอาเซียน และกับประเทศอื่น เรายังได้หารือว่าความร่วมมือด้านการเงินสามารถที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างแท้จริงในปี 2558
การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
4. เรารู้สึกยินดีที่ได้ทราบว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคยังคงเข้มแข็ง อันเป็นผลมาจากการมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี มีการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคที่รอบคอบ และมีการปฏิรูปโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การส่งออกยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปีที่ผ่านมาเท่ากับร้อยละ 5.8 ยิ่งไปกว่านั้นอัตราการเติบโตดังกล่าวมีความสมดุลมากขึ้นระหว่างอุปสงค์ภายในและภายนอก นอกจากนี้ ระบบการเงินที่เข้มแข็งของเรายังแสดงถึงการมีภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการเพื่อพัฒนาตลาดการเงินในภูมิภาคในเชิงลึกมากขึ้น
5. เรายังได้หารือกันถึงความท้าทายจากภายนอกที่มีต่อภูมิภาคอันเกิดขึ้นมาจากภาวะความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจของโลกและการผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน เรายังคงเฝ้าติดตามปัจจัยความเสี่ยงเหล่านี้ และตัดสินใจที่จะดำเนินนโยบายการเงินและการคลังอย่างเข้มแข็ง พร้อมกับการดำเนินนโยบายที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับอุปสงค์ภายในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
6. เราได้หารือกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย นายฮารูฮิโกะ คุโรดะ ซึ่งได้รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจและประเด็นเชิงนโยบายสำหรับภูมิภาคอาเซียน เราซาบซึ้งสำหรับการสนับสนุนของธนาคารพัฒนาเอเชียที่มีต่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
7. กว่าทศวรรษของการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน เราได้เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาคโดยได้พัฒนาตลาดทุนในภูมิภาคในเชิงลึก และดำเนินมาตรการเปิดเสรีบริการด้านการเงินอย่างค่อยไปค่อยไป ทั้งนี้ เราตกลงที่จะมีความร่วมมือด้านการเงินเพื่อบรรลุการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคให้สูงขึ้นและพัฒนาอาเซียนให้เท่าเทียมกัน ดังนั้น เราตกลงที่จะมอบหมายเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อทบทวนและระบุบริการด้านการเงินในสาขาที่สำคัญก่อนเพื่อเร่งรัดการไปสู่เป้าหมายข้างต้น เรายังคงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างขีดความสามารถในภาคการเงินโดยลดช่องว่างของการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
การสร้างความเข้มแข็งแก่ตลาดทุน
8. เรารับทราบความคืบหน้าในการพัฒนาตลาดทุน เราตกลงที่จะจัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางตราสารหนี้ในอาเซียน (ASEAN bond portal) ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมราคาซื้อขายพันธบัตรจากตลาดตราสารหนี้แต่ละประเทศสมาชิกในอาเซียน ศูนย์ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นก้าวแรกของการอำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงตลาดพันธบัตรของภูมิภาคในเชิงลึกยิ่งขึ้นเนื่องจากตลาดตราสารหนี้ในอาเซียนได้เริ่มนำระบบการซื้อขายตราสารหนี้ทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น (e-bond trading platforms) ในการนี้ ประเทศไทยและสิงคโปร์ตกลงที่จะร่วมมือกันในการจัดตั้งระบบการซื้อขายตราสารหนี้ทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน
9. เราตกลงที่จะสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการหารือระหว่างกรอบการประชุมด้านการเงินอาเซียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอาเซียน อันจะช่วยให้การพัฒนาตลาดทุนมีความทันสมัย และทำให้มั่นใจว่าตลาดของเราสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ออกตราสาร นักลงทุน และผู้ค้าตราสารได้
การเปิดเสรีบริการด้านการเงิน
10. เราเน้นย้ำถึงข้อผูกพันของเราที่จะสนับสนุนการค้าและการลงทุนภายในอาเซียนโดยการเปิดเสรีภาคบริการด้านการเงินระหว่างกันเพิ่มขึ้นตามลำดับ เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เราให้คำมั่นว่าจะสรุปการเจรจาเปิดเสรีบริการด้านการเงินรอบที่สี่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการในอาเซียน (AFAS) ภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ เรามอบหมายให้คณะทำงานเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินของอาเซียนสนับสนุนการเจรจาเปิดเสรีบริการด้านการเงินระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา ซึ่งรวมถึงจีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
การส่งเสริมการจัดหาเงินทุนให้แก่โครงสร้างพื้นฐาน
11. เนื่องจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยเร่งรัดการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เราเชื่อว่าการจัดตั้งกลไกใหม่เพื่อจัดหาเงินทุนให้แก่โครงสร้างพื้นฐานจะบรรลุเป้าหมายได้ก็ด้วยการระดมเงินออมจากในภูมิภาคเพื่อการพัฒนาในภูมิภาค ทั้งนี้ ในการส่งเสริมปริมาณการลงทุนในโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียนให้สูงขึ้น เราตกลงจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารายละเอียดของการจัดตั้งกลไกใหม่ในการสนับสนุนทางการเงินแก่โครงสร้างพื้นฐาน
การพัฒนาเพื่อยกระดับหลักทรัพย์ของอาเซียนให้มีคุณภาพสากล
12. จากความสำเร็จในการจัดสัมมนานักลงทุนภายใต้กรอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนก่อนหน้านี้ เราตกลงจัดสัมมนานักลงทุนในครั้งที่ 4 ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ในเดือนตุลาคม 2550 เพื่อส่งเสริมอาเซียนในฐานะจุดหมายของการลงทุนที่น่าสนใจ
ความร่วมมือด้านภาษีอากร
13. เราตกลงที่จะสร้างความร่วมมือกันด้านภาษีอากรให้เข้มแข็งภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน เพื่อเร่งรัดการจัดทำความตกลงทวิภาคีเพื่อยกเว้นภาษีซ้อนและความร่วมมือด้านภาษีอื่นๆ ในการนี้ เราตกลงที่จะจัดตั้งเวทีความร่วมมือด้านภาษีอากรในอาเซียนในระดับหัวหน้าหน่วยงานบริหารด้านภาษีจากประเทศสมาชิกอาเซียน
14. เราแสดงความซาบซึ้งต่อรัฐบาลและประชาชนของราชอาณาจักรไทยสำหรับการจัดการประชุมที่ดีเลิศและการต้อนรับอย่างอบอุ่นที่มีให้แก่ผู้แทนทุกท่าน ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 12 มีกำหนดการเบื้องต้นว่าจะจัดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน 2551 ที่ประเทศเวียดนาม
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 26/2550 5 เมษายน 50--