ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ที่ประชุมเครดิตบูโรมีมติไม่ปรับเปลี่ยนการจัดเก็บข้อมูลเครดิต ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ ธปท.
ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า วานนี้ (18 มิ.ย.) ที่ประชุมผู้แทนหน่วยงานด้านข้อมูลเครดิตบูโร ประกอบด้วย
บริษัทข้อมูลเครดิต สมาคมธนาคารไทย ชมบัตรเครดิต ชมรมเช่าซื้อ สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ และตัวแทนจาก
คณะกรรมการข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ได้ข้อสรุปจากการหารือเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการจัดเก็บข้อมูลเครดิต โดยให้คงระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูล
ลูกหนี้ไว้ที่ 3 ปีเท่าเดิม รวมทั้งให้คงข้อมูลของผู้ที่มีหนี้สินต่ำกว่า 20,000 บาทไว้ตามเดิม สำหรับสาเหตุที่ไม่เปลี่ยนแปลงวิธีจัดเก็บข้อมูลเนื่องจาก
เห็นว่า การจัดเก็บแบบเดิมมีข้อดีในแง่ของความเพียงพอและความต่อเนื่องของข้อมูลมากกว่า โดยเฉพาะในการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์
ค้ำประกัน เช่น สินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ที่หากมีข้อมูลน้อยจะทำให้การพิจารณาสินเชื่อทำได้ยากมากขึ้น หรือสินเชื่อบางประเภท
ที่มีระยะเวลาในการกู้ยืมยาว เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย ก็จำเป็นที่จะต้องดูประวัติลูกหนี้ระยะเวลายาว โดยจะรายงานให้คณะกรรมการข้อมูลเครดิต
แห่งชาติทราบต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์, มติชน)
2. ธปท.ปรับเกณฑ์การซื้อขายตราสารหนี้ผ่านตลาดซื้อคืน ธปท. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้มีหนังสือ
เวียนแจ้งไปยังสถาบันที่เป็นสมาชิกตลาดซื้อคืน (อาร์/พี) เพื่อแจ้งการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับจำนวนเงินขั้นต่ำและค่าธรรมเนียมในการเสนอซื้อ
หรือขายตราสารหนี้ที่ตลาดซื้อคืน ธปท. โดยได้เพิ่มจำนวนเงินที่สมาชิกสามารถเสนอซื้อหรือขายตราสารหนี้จากไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท/รายการ
เป็นไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท/รายการ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินวางแผนการบริหารสภาพคล่องล่วงหน้า และเตรียมความพร้อมในการ
บริหารสภาพคล่องผ่านหน้าต่างการลงทุนอื่นๆ ก่อนการปิดตลาดซื้อคืน นอกจากนี้ ยังเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมในการซื้อหรือขายตราสารหนี้ในตลาด
ซื้อคืน ธปท.จากเดิมที่คิด 0.03% ต่อปีเป็น 0.06% ต่อปี ทั้งนี้ ธปท.กำหนดที่จะปิดตลาดซื้อคืน ธปท.ในปลายปี 2550 ทำให้ต้องทยอยลดบทบาท
ของตลาดซื้อคืน ธปท.อย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมผ่านตลาดซื้อคืนภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น (มติชน)
3. ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า วันที่ 18 มิ.ย.50 ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นจนปิดตลาดที่ระดับ 766.20 จุด เพิ่มขึ้น 21.95 จุด หรือ 2.95%
มูลค่าการซื้อขายจำนวน 23,155.803 ล.บาท เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลต่อเหตุการณ์ชุมนุมช่วงปลายสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้ความเชื่อมั่น
กลับคืนมา เป็นปัจจัยบวกให้นักลงทุนเข้ามาซื้อขายหุ้นอย่างร้อนแรง โดยเฉพาะหลายฝ่ายยังเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ใน
ช่วงปลายปีนี้ตามที่กำหนดไว้ (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรรายวัน, ไทยโพสต์, ข่าวสด)
4. ผลการสำรวจพบว่านักลงทุนต่างชาติยังคงเชื่อมั่นต่อการลงทุนในไทย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
เปิดเผยว่า บีโอไอได้มอบหมายให้สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำรวจความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย
ประจำปี 2549-2550 เมื่อเดือน ก.พ.-มี.ค.50 ผลการสำรวจพบว่า นักลงทุนต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา
ยังมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศไทย โดย 43% จะรักษาระดับธุรกิจที่ดำเนินกิจการในประเทศไทยเท่ากับปัจจุบัน และ 35% จะขยาย
การลงทุนเพิ่มขึ้น และมีนักลงทุนเพียง 4% เท่านั้นที่อาจจะลดขนาดธุรกิจ หรืออยู่ระหว่างตัดสินใจลงทุนในประเทศอื่น นอกจากนี้ เมื่อประเมิน
ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยกับประเทศคู่แข่งสำคัญ 4 ประเทศ คือ จีน อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซียนั้น ส่วนใหญ่ยังมองว่า
การลงทุนในไทยมีความได้เปรียบหลายเรื่อง เช่น โครงสร้างพื้นฐานในการลงทุน โลจิสติกส์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนปัจจัยเรื่อง
สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน ไทยอาจเสียเปรียบจีน แต่อยู่ในระดับทัดเทียมกับเวียดนาม และได้เปรียบเมื่อเทียบกับอินเดียและมาเลเซีย
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ไทยเสียเปรียบประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยด้านราคาน้ำมัน มาตรการทางการเงิน และเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน
เงินตราต่างประเทศ (มติชน)
5. แนวโน้มธุรกิจทองคำในช่วงครึ่งหลังปี 50 ยังคงหดตัว นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยถึงแนวโน้มการดำเนินธุรกิจร้านค้า
ทองในครึ่งหลังปี 2550 ว่า แนวโน้มกำลังซื้อไม่สดใส คาดว่ายังอยู่ในภาวะหดตัวเช่นเดียวกับครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ซึ่งมีอัตราการหดตัวของกำลังซื้อ
25-30% แต่จะสวนทางกับแนวโน้มราคาทองคำที่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นและอาจปรับตัวต่อเนื่องไปถึงบาทละ 12,000 บาท จากปัจจุบันอยู่ที่
10,700 บาท เนื่องจากราคาต้นทุนสูงขึ้นจากการอ่อนตัวของอัตราแลกเปลี่ยน โดยแม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่แนวโน้มราคาทองในตลาดโลก
จะขยับขึ้นตามราคาน้ำมัน นอกจากนี้ สถานการณ์การเมือง การโจรกรรมและความไม่ปลอดภัยของร้านค้าทอง จะทำให้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น และ
เป็นปัจจัยให้ราคาปรับสูงขึ้น สำหรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะยังคงซบเซาต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังปี 50 จะส่งผลกระทบต่อสินค้า
ทองที่ไม่ใช่สินค้าจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน แต่คงไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าทองมากจนต้องปิดกิจการ โดยปัจจุบัน ร้านค้าทองขนาดเล็กทั่วประเทศ
มีประมาณ 10,000 แห่ง (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF เน้นการติดตามดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมากขึ้น รายงานจาก Montreal เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 50
นาย Rodrigo Rato ผอ. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวในที่ประชุมเศรษฐกิจที่ Montreal ว่า ได้อนุมัติเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์
ที่ IMF ใช้ติดตามดูแลการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศสมาชิก และเตือนรัฐบาลของประเทศสมาชิกให้หลีกเลี่ยงการใช้
กลยุทธ์ที่จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนไม่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีที่ IMF ให้แนวทางในการติดตามดูแล
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้มีความชัดเจนรวมทั้งวิธีการที่บรรดาประเทศสมาชิกจะดำเนินการกับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของตน
ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า IMF ปฏิบัติต่อประเทศสมาชิกอย่างดีที่สุดในการติดตามดูแลนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งนโยบาย
เศรษฐกิจในประเทศของบรรดาประเทศสมาชิก ขณะเดียวกัน IMF ยังคงเฝ้าจับตาการเข้าแทรกแซงค่าเงินในตลาดการเงินด้วยเพื่อให้แน่ใจ
ว่าประเทศสมาชิกจะหลีกเลี่ยงการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่จะทำให้ภายนอกประเทศไม่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้นาย Rodrigo กล่าวว่าการ
ทบทวนแนวทางการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวมิได้เป็นการกดดันประเทศใดประเทศหนึ่งแต่ประการใด (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.50 มาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ
19 มิ.ย.50 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจจากผลสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการทั้งในภาคการผลิตและที่ไม่ใช่ภาคการผลิต
โดย Reuters หรือที่เรียกว่า Reuters Tankan ในช่วงระหว่างวันที่ 30 พ.ค.ถึง 14 มิ.ย.50 ปรากฎว่าความเชื่อมั่นผู้ประกอบการใน
ภาคการผลิตซึ่งได้รับผลดีจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +31 สูงสุดในรอบ 5 เดือน ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ
ในภาคบริการเช่นผู้ค้าปลีกลดลงมาอยู่ที่ระดับ +4 ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากอยู่ที่ระดับ +20 ในเดือน พ.ค.50 และระดับ +18
ในเดือน มี.ค.50 สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกำลังลดลงอันเป็นผลจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นและภาระภาษีบำรุงท้องที่ที่คาดว่าจะสูงขึ้น
ในเดือน มิ.ย.50 แต่อย่างไรก็ดี ทั้งผู้ประกอบการในภาคการผลิตและที่ไม่ใช่ภาคการผลิตต่างมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะขยายตัว
ต่อไป ทั้งนี้ Reuters Tankan ซึ่งเป็นผลสำรวจรายเดือนได้ถูกออกแบบเพื่อติดตามทิศทางของดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นจากผลสำรวจโดย ธ.กลาง
ญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า BOJ Tankan ซึ่งรายงานเป็นรายไตรมาสและมีกำหนดจะรายงานครั้งต่อไปในวันที่ 2 ก.ค.50 ที่จะถึงนี้ โดยในการคำนวณ
ดัชนีดังกล่าวจะนำจำนวนร้อยละของผู้ถูกสำรวจที่ตอบว่าสถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบันไม่ดีมาลบออกจากจำนวนร้อยละของผู้ที่ตอบว่าดี (รอยเตอร์)
3. มาเลเซียยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเวลานี้ รายงานจากกรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ
วันที่ 18 มิ.ย.50 Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย กล่าวว่า มาเลเซียยังไม่ความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในเวลานี้ โดยรัฐบาลและ ธ.กลางมาเลเซียมีความเชื่อมั่นตรงกันว่าเศรษฐกิจของมาเลเซียในปีนี้จะเติบโตได้ร้อยละ 6 ตามเป้าหมาย
ที่วางไว้ แต่นักเศรษฐศาสตร์มีมุมมองแตกต่างไปเล็กน้อย โดยคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 5.5 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ของมาเลเซียที่ระดับร้อยละ 3.50 ในปัจจุบัน ถือว่าเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่มีการนำมาใช้ในปี 47 แต่ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ย
นโยบายต่ำสุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่ง ธ.กลางมาเลเซียได้ส่งสัญญาณว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแม้ว่าการเติบโต
ทางเศรษฐกิจจะกำลังชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าอาจจะเป็นสาเหตุให้ทางการผ่อนคลายนโยบาย
การเงินลง รวมทั้งเตือนว่าราคาอาหารและสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย
กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะมาเลเซียเชื่อว่าเศรษฐกิจสามารถเติบโตได้ดีในอัตราดอกเบี้ยระดับนี้
เว้นแต่ว่าปัจจัยภายนอกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะสำคัญ ด้านนักเศรษฐศาสตร์คาดว่ามาเลเซียจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปตลอดปี 50
แต่ก็ยังมีความกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับราคาพลังงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อรายปีเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 1.5 ในเดือน มี.ค. และ เม.ย.50 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.50 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.6 (รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงาน
จากสิงคโปร์เมื่อ 18 มิ.ย.50 ยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.50 มีจำนวน 13.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ต่ำกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อเดือน แต่หากเทียบต่อปีแล้วยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมัน
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของยอด
ส่งออกดังกล่าวมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน อันเป็นผลจากราคาที่ลดลงในตลาดโลก ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ยาซึ่งมีสัดส่วน
ประมาณร้อยละ 10 ของยอดส่งออกมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 76.1 หลังจากลดลงมากในเดือน เม.ย.50 ทั้งนี้ ยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ยา
จะค่อนข้างผันผวน เนื่องจากมีการปิดโรงงานเพื่อทำความสะอาดหรือเพื่อเปลี่ยนไปผลิตยาตัวใหม่อยู่เสมอ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 มิ.ย. 50 18 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.610 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4016/34.7389 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.67656 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 766.20/23.16 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.59 67.16 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ที่ประชุมเครดิตบูโรมีมติไม่ปรับเปลี่ยนการจัดเก็บข้อมูลเครดิต ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ ธปท.
ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า วานนี้ (18 มิ.ย.) ที่ประชุมผู้แทนหน่วยงานด้านข้อมูลเครดิตบูโร ประกอบด้วย
บริษัทข้อมูลเครดิต สมาคมธนาคารไทย ชมบัตรเครดิต ชมรมเช่าซื้อ สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ และตัวแทนจาก
คณะกรรมการข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ได้ข้อสรุปจากการหารือเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการจัดเก็บข้อมูลเครดิต โดยให้คงระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูล
ลูกหนี้ไว้ที่ 3 ปีเท่าเดิม รวมทั้งให้คงข้อมูลของผู้ที่มีหนี้สินต่ำกว่า 20,000 บาทไว้ตามเดิม สำหรับสาเหตุที่ไม่เปลี่ยนแปลงวิธีจัดเก็บข้อมูลเนื่องจาก
เห็นว่า การจัดเก็บแบบเดิมมีข้อดีในแง่ของความเพียงพอและความต่อเนื่องของข้อมูลมากกว่า โดยเฉพาะในการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์
ค้ำประกัน เช่น สินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ที่หากมีข้อมูลน้อยจะทำให้การพิจารณาสินเชื่อทำได้ยากมากขึ้น หรือสินเชื่อบางประเภท
ที่มีระยะเวลาในการกู้ยืมยาว เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย ก็จำเป็นที่จะต้องดูประวัติลูกหนี้ระยะเวลายาว โดยจะรายงานให้คณะกรรมการข้อมูลเครดิต
แห่งชาติทราบต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์, มติชน)
2. ธปท.ปรับเกณฑ์การซื้อขายตราสารหนี้ผ่านตลาดซื้อคืน ธปท. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้มีหนังสือ
เวียนแจ้งไปยังสถาบันที่เป็นสมาชิกตลาดซื้อคืน (อาร์/พี) เพื่อแจ้งการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับจำนวนเงินขั้นต่ำและค่าธรรมเนียมในการเสนอซื้อ
หรือขายตราสารหนี้ที่ตลาดซื้อคืน ธปท. โดยได้เพิ่มจำนวนเงินที่สมาชิกสามารถเสนอซื้อหรือขายตราสารหนี้จากไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท/รายการ
เป็นไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท/รายการ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินวางแผนการบริหารสภาพคล่องล่วงหน้า และเตรียมความพร้อมในการ
บริหารสภาพคล่องผ่านหน้าต่างการลงทุนอื่นๆ ก่อนการปิดตลาดซื้อคืน นอกจากนี้ ยังเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมในการซื้อหรือขายตราสารหนี้ในตลาด
ซื้อคืน ธปท.จากเดิมที่คิด 0.03% ต่อปีเป็น 0.06% ต่อปี ทั้งนี้ ธปท.กำหนดที่จะปิดตลาดซื้อคืน ธปท.ในปลายปี 2550 ทำให้ต้องทยอยลดบทบาท
ของตลาดซื้อคืน ธปท.อย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมผ่านตลาดซื้อคืนภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น (มติชน)
3. ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า วันที่ 18 มิ.ย.50 ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นจนปิดตลาดที่ระดับ 766.20 จุด เพิ่มขึ้น 21.95 จุด หรือ 2.95%
มูลค่าการซื้อขายจำนวน 23,155.803 ล.บาท เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลต่อเหตุการณ์ชุมนุมช่วงปลายสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้ความเชื่อมั่น
กลับคืนมา เป็นปัจจัยบวกให้นักลงทุนเข้ามาซื้อขายหุ้นอย่างร้อนแรง โดยเฉพาะหลายฝ่ายยังเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ใน
ช่วงปลายปีนี้ตามที่กำหนดไว้ (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรรายวัน, ไทยโพสต์, ข่าวสด)
4. ผลการสำรวจพบว่านักลงทุนต่างชาติยังคงเชื่อมั่นต่อการลงทุนในไทย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
เปิดเผยว่า บีโอไอได้มอบหมายให้สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำรวจความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย
ประจำปี 2549-2550 เมื่อเดือน ก.พ.-มี.ค.50 ผลการสำรวจพบว่า นักลงทุนต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา
ยังมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศไทย โดย 43% จะรักษาระดับธุรกิจที่ดำเนินกิจการในประเทศไทยเท่ากับปัจจุบัน และ 35% จะขยาย
การลงทุนเพิ่มขึ้น และมีนักลงทุนเพียง 4% เท่านั้นที่อาจจะลดขนาดธุรกิจ หรืออยู่ระหว่างตัดสินใจลงทุนในประเทศอื่น นอกจากนี้ เมื่อประเมิน
ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยกับประเทศคู่แข่งสำคัญ 4 ประเทศ คือ จีน อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซียนั้น ส่วนใหญ่ยังมองว่า
การลงทุนในไทยมีความได้เปรียบหลายเรื่อง เช่น โครงสร้างพื้นฐานในการลงทุน โลจิสติกส์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนปัจจัยเรื่อง
สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน ไทยอาจเสียเปรียบจีน แต่อยู่ในระดับทัดเทียมกับเวียดนาม และได้เปรียบเมื่อเทียบกับอินเดียและมาเลเซีย
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ไทยเสียเปรียบประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยด้านราคาน้ำมัน มาตรการทางการเงิน และเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน
เงินตราต่างประเทศ (มติชน)
5. แนวโน้มธุรกิจทองคำในช่วงครึ่งหลังปี 50 ยังคงหดตัว นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยถึงแนวโน้มการดำเนินธุรกิจร้านค้า
ทองในครึ่งหลังปี 2550 ว่า แนวโน้มกำลังซื้อไม่สดใส คาดว่ายังอยู่ในภาวะหดตัวเช่นเดียวกับครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ซึ่งมีอัตราการหดตัวของกำลังซื้อ
25-30% แต่จะสวนทางกับแนวโน้มราคาทองคำที่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นและอาจปรับตัวต่อเนื่องไปถึงบาทละ 12,000 บาท จากปัจจุบันอยู่ที่
10,700 บาท เนื่องจากราคาต้นทุนสูงขึ้นจากการอ่อนตัวของอัตราแลกเปลี่ยน โดยแม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่แนวโน้มราคาทองในตลาดโลก
จะขยับขึ้นตามราคาน้ำมัน นอกจากนี้ สถานการณ์การเมือง การโจรกรรมและความไม่ปลอดภัยของร้านค้าทอง จะทำให้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น และ
เป็นปัจจัยให้ราคาปรับสูงขึ้น สำหรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะยังคงซบเซาต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังปี 50 จะส่งผลกระทบต่อสินค้า
ทองที่ไม่ใช่สินค้าจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน แต่คงไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าทองมากจนต้องปิดกิจการ โดยปัจจุบัน ร้านค้าทองขนาดเล็กทั่วประเทศ
มีประมาณ 10,000 แห่ง (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF เน้นการติดตามดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมากขึ้น รายงานจาก Montreal เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 50
นาย Rodrigo Rato ผอ. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวในที่ประชุมเศรษฐกิจที่ Montreal ว่า ได้อนุมัติเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์
ที่ IMF ใช้ติดตามดูแลการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศสมาชิก และเตือนรัฐบาลของประเทศสมาชิกให้หลีกเลี่ยงการใช้
กลยุทธ์ที่จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนไม่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีที่ IMF ให้แนวทางในการติดตามดูแล
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้มีความชัดเจนรวมทั้งวิธีการที่บรรดาประเทศสมาชิกจะดำเนินการกับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของตน
ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า IMF ปฏิบัติต่อประเทศสมาชิกอย่างดีที่สุดในการติดตามดูแลนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งนโยบาย
เศรษฐกิจในประเทศของบรรดาประเทศสมาชิก ขณะเดียวกัน IMF ยังคงเฝ้าจับตาการเข้าแทรกแซงค่าเงินในตลาดการเงินด้วยเพื่อให้แน่ใจ
ว่าประเทศสมาชิกจะหลีกเลี่ยงการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่จะทำให้ภายนอกประเทศไม่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้นาย Rodrigo กล่าวว่าการ
ทบทวนแนวทางการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวมิได้เป็นการกดดันประเทศใดประเทศหนึ่งแต่ประการใด (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.50 มาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ
19 มิ.ย.50 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจจากผลสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการทั้งในภาคการผลิตและที่ไม่ใช่ภาคการผลิต
โดย Reuters หรือที่เรียกว่า Reuters Tankan ในช่วงระหว่างวันที่ 30 พ.ค.ถึง 14 มิ.ย.50 ปรากฎว่าความเชื่อมั่นผู้ประกอบการใน
ภาคการผลิตซึ่งได้รับผลดีจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +31 สูงสุดในรอบ 5 เดือน ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ
ในภาคบริการเช่นผู้ค้าปลีกลดลงมาอยู่ที่ระดับ +4 ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากอยู่ที่ระดับ +20 ในเดือน พ.ค.50 และระดับ +18
ในเดือน มี.ค.50 สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกำลังลดลงอันเป็นผลจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นและภาระภาษีบำรุงท้องที่ที่คาดว่าจะสูงขึ้น
ในเดือน มิ.ย.50 แต่อย่างไรก็ดี ทั้งผู้ประกอบการในภาคการผลิตและที่ไม่ใช่ภาคการผลิตต่างมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะขยายตัว
ต่อไป ทั้งนี้ Reuters Tankan ซึ่งเป็นผลสำรวจรายเดือนได้ถูกออกแบบเพื่อติดตามทิศทางของดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นจากผลสำรวจโดย ธ.กลาง
ญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า BOJ Tankan ซึ่งรายงานเป็นรายไตรมาสและมีกำหนดจะรายงานครั้งต่อไปในวันที่ 2 ก.ค.50 ที่จะถึงนี้ โดยในการคำนวณ
ดัชนีดังกล่าวจะนำจำนวนร้อยละของผู้ถูกสำรวจที่ตอบว่าสถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบันไม่ดีมาลบออกจากจำนวนร้อยละของผู้ที่ตอบว่าดี (รอยเตอร์)
3. มาเลเซียยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเวลานี้ รายงานจากกรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ
วันที่ 18 มิ.ย.50 Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย กล่าวว่า มาเลเซียยังไม่ความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในเวลานี้ โดยรัฐบาลและ ธ.กลางมาเลเซียมีความเชื่อมั่นตรงกันว่าเศรษฐกิจของมาเลเซียในปีนี้จะเติบโตได้ร้อยละ 6 ตามเป้าหมาย
ที่วางไว้ แต่นักเศรษฐศาสตร์มีมุมมองแตกต่างไปเล็กน้อย โดยคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 5.5 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ของมาเลเซียที่ระดับร้อยละ 3.50 ในปัจจุบัน ถือว่าเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่มีการนำมาใช้ในปี 47 แต่ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ย
นโยบายต่ำสุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่ง ธ.กลางมาเลเซียได้ส่งสัญญาณว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแม้ว่าการเติบโต
ทางเศรษฐกิจจะกำลังชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าอาจจะเป็นสาเหตุให้ทางการผ่อนคลายนโยบาย
การเงินลง รวมทั้งเตือนว่าราคาอาหารและสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย
กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะมาเลเซียเชื่อว่าเศรษฐกิจสามารถเติบโตได้ดีในอัตราดอกเบี้ยระดับนี้
เว้นแต่ว่าปัจจัยภายนอกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะสำคัญ ด้านนักเศรษฐศาสตร์คาดว่ามาเลเซียจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปตลอดปี 50
แต่ก็ยังมีความกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับราคาพลังงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อรายปีเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 1.5 ในเดือน มี.ค. และ เม.ย.50 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.50 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.6 (รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงาน
จากสิงคโปร์เมื่อ 18 มิ.ย.50 ยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.50 มีจำนวน 13.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ต่ำกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อเดือน แต่หากเทียบต่อปีแล้วยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมัน
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของยอด
ส่งออกดังกล่าวมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน อันเป็นผลจากราคาที่ลดลงในตลาดโลก ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ยาซึ่งมีสัดส่วน
ประมาณร้อยละ 10 ของยอดส่งออกมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 76.1 หลังจากลดลงมากในเดือน เม.ย.50 ทั้งนี้ ยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ยา
จะค่อนข้างผันผวน เนื่องจากมีการปิดโรงงานเพื่อทำความสะอาดหรือเพื่อเปลี่ยนไปผลิตยาตัวใหม่อยู่เสมอ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 มิ.ย. 50 18 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.610 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4016/34.7389 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.67656 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 766.20/23.16 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.59 67.16 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--