นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้แถลงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนกรกฎาคม 2550 ซึ่งต่ำกว่าประมาณการ 4,280 ล้านบาท (ร้อยละ 4.7) และได้ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 -กรกฎาคม 2550) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลต่ำกว่าประมาณการ 234 ล้านบาท แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 65,435 ล้านบาท
1. เดือนกรกฎาคม 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 87,069 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,280 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.2) โดยมีสาเหตุสำคัญจากภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,180 และ 425 ล้านบาท ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 450 ล้านบาท นอกจากนี้การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 484 ล้านบาท เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งไม่ได้นำส่งรายได้ และรัฐวิสาหกิจบางแห่งได้เลื่อนการนำส่งไปเดือนหน้า
อย่างไรก็ดี มีภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษียาสูบ และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจำนวน 892 754 และ 727 ล้านบาท ตามลำดับ
2. ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — กรกฎาคม 2550)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,130,375 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 234 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.02 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.1) เป็นผลจากกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท และการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าเป้าหมาย ในขณะที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการและรัฐบาลได้รับรายได้พิเศษจากส่วนเกินการจำหน่ายพันธบัตร
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 869,788 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 8,671 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.7) ภาษีที่เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 20,325 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 3.9) เป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าลดลง แต่อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคในประเทศยังมีการขยายตัวสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 9.2 นอกจากนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,979 ล้านบาท ส่วนภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 7,083 และ 6,706 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.4 และ 4.2 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 21.0 และ 14.1 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 242,107 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร
งบประมาณ 1,603 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.9) หากไม่รวมภาษีโทรคมนาคมที่ได้ประกาศลดอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 แล้ว จะสูงกว่าประมาณการ 7,175 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.0 โดยภาษียาสูบ เบียร์ และสุราจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,773 4,376 และ 2,914 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.6 11.0 และ 11.4 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการชะลอการใช้จ่ายของประชาชนเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการจำนวน 5,551 และ 358 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.7 และ 20.2 ตามลำดับ (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.9 และ 16.2 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 74,620 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 965 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.3 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.3) เนื่องจากอากรขาเข้าและรายได้อื่นจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 524 และ 367 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 และ 29.0 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้ 82,280 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการเอกสารงบประมาณ11,254 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 24.7) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจหลายแห่งนำส่งส่งรายได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้ที่สำคัญ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การท่าอากาศยานไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2.5 หน่วยงานอื่นนำส่งรายได้รวม 70,589 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,114 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.8) เนื่องจากได้รับเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล (Premium) จำนวน 11,000 ล้านบาท แต่รายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมและเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 5,900 ล้านบาท (ผลกระทบจากค่าเงินบาท)
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2550
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 แม้ว่าการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรจะต่ำกว่าเป้าหมาย และการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าเป้าหมายจำนวนค่อนข้างสูง แต่จากการที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ และรัฐบาลได้รับรายได้พิเศษจากส่วนเกินการจำหน่ายพันธบัตร (Premium) ทำให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลโดยรวมต่ำกว่าเป้าหมายเพียงเล็กน้อยจำนวน 234 ล้านบาทอย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาแนวโน้มรายได้รัฐบาลในช่วง 2 เดือนที่เหลือ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินบาท การกันสำรองสินเชื่อเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนการนำส่งรายได้ของ ทศท. และ กสท. เพื่อชดเชยการยกเลิกการจัดเก็บภาษีกิจการโทรคมนาคมตามมติคณะรัฐบาล กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.42 ล้านล้านบาท) แต่จะไม่เกินร้อยละ 1.5
สำนักนโยบายการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9020 ต่อ 3728 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 70/2550 8 สิงหาคม 50--
1. เดือนกรกฎาคม 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 87,069 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,280 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.2) โดยมีสาเหตุสำคัญจากภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,180 และ 425 ล้านบาท ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 450 ล้านบาท นอกจากนี้การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 484 ล้านบาท เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งไม่ได้นำส่งรายได้ และรัฐวิสาหกิจบางแห่งได้เลื่อนการนำส่งไปเดือนหน้า
อย่างไรก็ดี มีภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษียาสูบ และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจำนวน 892 754 และ 727 ล้านบาท ตามลำดับ
2. ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — กรกฎาคม 2550)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,130,375 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 234 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.02 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.1) เป็นผลจากกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท และการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าเป้าหมาย ในขณะที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการและรัฐบาลได้รับรายได้พิเศษจากส่วนเกินการจำหน่ายพันธบัตร
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 869,788 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 8,671 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.7) ภาษีที่เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 20,325 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 3.9) เป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าลดลง แต่อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคในประเทศยังมีการขยายตัวสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 9.2 นอกจากนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,979 ล้านบาท ส่วนภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 7,083 และ 6,706 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.4 และ 4.2 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 21.0 และ 14.1 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 242,107 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร
งบประมาณ 1,603 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.9) หากไม่รวมภาษีโทรคมนาคมที่ได้ประกาศลดอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 แล้ว จะสูงกว่าประมาณการ 7,175 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.0 โดยภาษียาสูบ เบียร์ และสุราจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,773 4,376 และ 2,914 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.6 11.0 และ 11.4 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการชะลอการใช้จ่ายของประชาชนเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการจำนวน 5,551 และ 358 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.7 และ 20.2 ตามลำดับ (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.9 และ 16.2 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 74,620 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 965 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.3 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.3) เนื่องจากอากรขาเข้าและรายได้อื่นจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 524 และ 367 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 และ 29.0 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้ 82,280 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการเอกสารงบประมาณ11,254 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 24.7) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจหลายแห่งนำส่งส่งรายได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้ที่สำคัญ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การท่าอากาศยานไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2.5 หน่วยงานอื่นนำส่งรายได้รวม 70,589 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,114 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.8) เนื่องจากได้รับเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล (Premium) จำนวน 11,000 ล้านบาท แต่รายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมและเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 5,900 ล้านบาท (ผลกระทบจากค่าเงินบาท)
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2550
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 แม้ว่าการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรจะต่ำกว่าเป้าหมาย และการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าเป้าหมายจำนวนค่อนข้างสูง แต่จากการที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ และรัฐบาลได้รับรายได้พิเศษจากส่วนเกินการจำหน่ายพันธบัตร (Premium) ทำให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลโดยรวมต่ำกว่าเป้าหมายเพียงเล็กน้อยจำนวน 234 ล้านบาทอย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาแนวโน้มรายได้รัฐบาลในช่วง 2 เดือนที่เหลือ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินบาท การกันสำรองสินเชื่อเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนการนำส่งรายได้ของ ทศท. และ กสท. เพื่อชดเชยการยกเลิกการจัดเก็บภาษีกิจการโทรคมนาคมตามมติคณะรัฐบาล กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.42 ล้านล้านบาท) แต่จะไม่เกินร้อยละ 1.5
สำนักนโยบายการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9020 ต่อ 3728 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 70/2550 8 สิงหาคม 50--