สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดการณ์ตลาดเนื้อสัตว์ปี 50 จะฟื้นตัวอีกครั้ง โดยขึ้นอยู่กับความคืบหน้าของการยกเลิกการระงับการนำเข้าของประเทศผู้นำเข้าต่าง ๆ รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการระบาดของโรคที่อาจเกิดขึ้นอีก ด้านค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์นมในรูปเงินดังกล่าวมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย
นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตและปัญหาเกษตรของโลก ภายหลังการเข้าร่วมประชุม Committee on Commodity Problems ครั้งที่ 66 เมื่อปลายเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ณ เอฟ.เอ.โอ. กรุงโรม ประเทศอิตาลี สรุปได้ว่า
ตลาดเนื้อสัตว์ในปี 2550 คาดว่า จะฟื้นตัวเป็นลำดับ ภายหลังจากได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดในช่วง 2 — 3 ปีที่ผ่านมา โดยจะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าของการยกเลิกการระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์ของประเทศผู้นำเข้าต่าง ๆ รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการระบาดของโรคที่อาจเกิดขึ้นอีก
ส่วนราคาผลิตภัณฑ์นมของโลกในช่วงต้นปีนี้ อยู่ในระดับที่สูงมาก ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ราคาผลิตภัณฑ์นมก็สูงขึ้นมาโดยตลอด สาเหตุหนึ่งเนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์นมในรูปเงินดังกล่าวสูงขึ้น นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตของผลิตภัณฑ์นมยังขยายตัวไม่ทันกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศในแถบเอเชียและอัฟริกา สาเหตุสำคัญเนื่องจาก นโยบายการปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป ซึ่งลดความจูงใจด้านราคา
ประกอบกับในช่วง 2 — 3 ปีที่ผ่านมา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ประสบปัญหาภัยแล้งทำให้ทุ่งหญ้าเสียหาย ราคาธัญพืชอาหารสัตว์ที่อยู่ในระดับสูง ณ ปัจจุบันจะมีผลกระทบต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์นมในประเทศที่ใช้อาหารข้น ซึ่งประกอบด้วยธัญพืชอาหารสัตว์ร่วมกับอาหารหยาบ คือ หญ้าหรือผลพลอยได้จากการเกษตรอื่นๆ ในการเลี้ยงโคนมเช่นเดียวกับประเทศไทย เพราะมีต้นทุนการผลิตสูง แต่จะส่งผลดีต่อประเทศที่เลี้ยงโคนมในทุ่งหญ้าเป็นหลัก เช่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และคาดว่าราคาผลิตภัณฑ์นมจะยังคงสูงต่อไป
สำหรับข้าวและธัญพืช ในปี 2545 — 2546 ราคาข้าวในตลาดโลกตกต่ำ เมื่อประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน และอินเดีย เทอุปทานปริมาณมากเข้าสู่ตลาดโลก เพื่อลดปริมาณสต๊อกในประเทศ หลังการปรับตัวของทั้งสองประเทศ ราคาข้าวได้ดีดตัวกลับในปี 2547 การฟื้นตัวของราคาข้าวดังกล่าว ทำให้ราคามีแนวโน้มทรงตัวจนถึงปี 2549
ประกอบกับไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก รัฐบาลได้ใช้นโยบายรับจำนำข้าวส่งผลให้ราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ด้านการนำเข้าในปี 2549 ตลาดค้าข้าวกลับมาคึกคักใหม่ หลังจากมีความต้องการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอัฟริกา อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดที่ช่วยกระตุ้นราคาซึ่งเกิดจากผู้ซื้อรายใหญ่ เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งข้อจำกัดด้านอุปทานของผู้ส่งออกบางราย เช่น เวียตนาม ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
ปิดท้ายที่ผลผลิตข้าวสาลี ได้ลดลงอย่างมากเป็นปีที่สองติดต่อกัน เนื่องจากผลผลิตของประเทศผู้ส่งออกเกือบทั้งหมดลดลง ส่งผลให้เกิดช่วงตึงตัวที่สุดของอุปสงค์และอุปทานในรอบ 2 ทศวรรษ ในปี 2549 ผลผลิตลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2537 เนื่องจากผลผลิตโลกลดลงมากและอุปทานตึงตัวของสหรัฐฯ ที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ที่สุด ประกอบกับมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบ เช่น เอทานอล ทำให้สต๊อกปลายปี 2550 ลดลง ส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้นและตลาดมีความเคลื่อนไหวมาก นางนารีณัฐ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตและปัญหาเกษตรของโลก ภายหลังการเข้าร่วมประชุม Committee on Commodity Problems ครั้งที่ 66 เมื่อปลายเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ณ เอฟ.เอ.โอ. กรุงโรม ประเทศอิตาลี สรุปได้ว่า
ตลาดเนื้อสัตว์ในปี 2550 คาดว่า จะฟื้นตัวเป็นลำดับ ภายหลังจากได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดในช่วง 2 — 3 ปีที่ผ่านมา โดยจะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าของการยกเลิกการระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์ของประเทศผู้นำเข้าต่าง ๆ รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการระบาดของโรคที่อาจเกิดขึ้นอีก
ส่วนราคาผลิตภัณฑ์นมของโลกในช่วงต้นปีนี้ อยู่ในระดับที่สูงมาก ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ราคาผลิตภัณฑ์นมก็สูงขึ้นมาโดยตลอด สาเหตุหนึ่งเนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์นมในรูปเงินดังกล่าวสูงขึ้น นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตของผลิตภัณฑ์นมยังขยายตัวไม่ทันกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศในแถบเอเชียและอัฟริกา สาเหตุสำคัญเนื่องจาก นโยบายการปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป ซึ่งลดความจูงใจด้านราคา
ประกอบกับในช่วง 2 — 3 ปีที่ผ่านมา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ประสบปัญหาภัยแล้งทำให้ทุ่งหญ้าเสียหาย ราคาธัญพืชอาหารสัตว์ที่อยู่ในระดับสูง ณ ปัจจุบันจะมีผลกระทบต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์นมในประเทศที่ใช้อาหารข้น ซึ่งประกอบด้วยธัญพืชอาหารสัตว์ร่วมกับอาหารหยาบ คือ หญ้าหรือผลพลอยได้จากการเกษตรอื่นๆ ในการเลี้ยงโคนมเช่นเดียวกับประเทศไทย เพราะมีต้นทุนการผลิตสูง แต่จะส่งผลดีต่อประเทศที่เลี้ยงโคนมในทุ่งหญ้าเป็นหลัก เช่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และคาดว่าราคาผลิตภัณฑ์นมจะยังคงสูงต่อไป
สำหรับข้าวและธัญพืช ในปี 2545 — 2546 ราคาข้าวในตลาดโลกตกต่ำ เมื่อประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน และอินเดีย เทอุปทานปริมาณมากเข้าสู่ตลาดโลก เพื่อลดปริมาณสต๊อกในประเทศ หลังการปรับตัวของทั้งสองประเทศ ราคาข้าวได้ดีดตัวกลับในปี 2547 การฟื้นตัวของราคาข้าวดังกล่าว ทำให้ราคามีแนวโน้มทรงตัวจนถึงปี 2549
ประกอบกับไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก รัฐบาลได้ใช้นโยบายรับจำนำข้าวส่งผลให้ราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ด้านการนำเข้าในปี 2549 ตลาดค้าข้าวกลับมาคึกคักใหม่ หลังจากมีความต้องการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอัฟริกา อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดที่ช่วยกระตุ้นราคาซึ่งเกิดจากผู้ซื้อรายใหญ่ เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งข้อจำกัดด้านอุปทานของผู้ส่งออกบางราย เช่น เวียตนาม ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
ปิดท้ายที่ผลผลิตข้าวสาลี ได้ลดลงอย่างมากเป็นปีที่สองติดต่อกัน เนื่องจากผลผลิตของประเทศผู้ส่งออกเกือบทั้งหมดลดลง ส่งผลให้เกิดช่วงตึงตัวที่สุดของอุปสงค์และอุปทานในรอบ 2 ทศวรรษ ในปี 2549 ผลผลิตลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2537 เนื่องจากผลผลิตโลกลดลงมากและอุปทานตึงตัวของสหรัฐฯ ที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ที่สุด ประกอบกับมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบ เช่น เอทานอล ทำให้สต๊อกปลายปี 2550 ลดลง ส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้นและตลาดมีความเคลื่อนไหวมาก นางนารีณัฐ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-