กระทรวงการคลังสั่งการกรมศุลกากรและกรมสรรพากร ร่วมกันกำหนดนโยบายควบคุม ตรวจสอบผู้ประกอบการที่ทุจริตสำแดงราคาสินค้านำเข้าต่ำกว่าความเป็นจริง วางมาตรการเด็ดขาดกับผู้กระทำผิด หลีกเลี่ยงภาษีอากร ทั้งในเรื่องการสำแดงราคาต่ำ หรือการหลีกเลี่ยงภาษีอากรประการใดก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการที่สุจริต และเพื่อผลประโยชน์ในการจัดเก็บรายได้ของประเทศ
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ประเทศไทยใช้ราคาในการคำนวณค่าภาษีอากรที่เรียกว่าระบบราคาแกตต์ (GATT Valuation) ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ในการกำหนดราคาสินค้าขาเข้าสำหรับการคำนวณค่าภาษีอากร จะอยู่บนพื้นฐานของราคาซื้อขายของที่นำเข้าซึ่งเป็นราคาที่ผู้ซื้อจ่ายหรือพึงจ่ายจริงให้กับผู้ขายในต่างประเทศ แต่ปรากฏว่ามีผู้ประกอบการบางรายใช้ช่องว่างทางกฎหมาย โดยการสำแดงราคานำเข้าต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อหวังผลประโยชน์ทางภาษีอากร หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากร และบางรายเป็นการจดทะเบียนสถานประกอบการ โดยไม่มีสถานที่ประกอบการจริง ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของประเทศ
กระทรวงการคลังจึงได้สั่งการให้กรมศุลกากร และกรมสรรพากร วางแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว และให้ทั้ง 2 หน่วยงานร่วมกันตรวจสอบการเสียภาษีอากรให้ถูกต้องและเป็นธรรม โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกรมศุลกากรและกรมสรรพากร เพื่อดำเนินการตรวจสอบและกำกับดูแลสินค้าที่นำเข้าตามจุดต่างๆ ตลอดจนส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสถานประกอบการของผู้นำเข้าที่สำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดการฉ้อฉลทางภาษีอากร ทั้งในส่วนของอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับคณะกรรมการร่วมชุดดังกล่าว จะประกอบด้วยรองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพากร เป็นรองประธาน และผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งของกรมศุลกากร และกรมสรรพากรเป็นกรรมการ โดยมีสำนักสืบสวนและปราบปราม สำนักตรวจสอบอากร กรมศุลกากร สำนักตรวจสอบภาษีกลาง กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานที่ร่วมปฏิบัติ โดยคณะกรรมการจะมีหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทาง และวิธีการปฏิบัติร่วมกันระหว่างกรมศุลกากรและกรมสรรพากร ตลอดจนพิจารณากลั่นกรองข้อมูลการหลีกเลี่ยงภาษีอากร และกำหนดวิธีตรวจสอบผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากร ให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส มีมาตรฐานและวิธีการที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง และให้ผู้ปฏิบัติมีการดำเนินการตามนโยบายและแนวปฏิบัติอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 27/2550 9 เมษายน 50--
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ประเทศไทยใช้ราคาในการคำนวณค่าภาษีอากรที่เรียกว่าระบบราคาแกตต์ (GATT Valuation) ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ในการกำหนดราคาสินค้าขาเข้าสำหรับการคำนวณค่าภาษีอากร จะอยู่บนพื้นฐานของราคาซื้อขายของที่นำเข้าซึ่งเป็นราคาที่ผู้ซื้อจ่ายหรือพึงจ่ายจริงให้กับผู้ขายในต่างประเทศ แต่ปรากฏว่ามีผู้ประกอบการบางรายใช้ช่องว่างทางกฎหมาย โดยการสำแดงราคานำเข้าต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อหวังผลประโยชน์ทางภาษีอากร หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากร และบางรายเป็นการจดทะเบียนสถานประกอบการ โดยไม่มีสถานที่ประกอบการจริง ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของประเทศ
กระทรวงการคลังจึงได้สั่งการให้กรมศุลกากร และกรมสรรพากร วางแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว และให้ทั้ง 2 หน่วยงานร่วมกันตรวจสอบการเสียภาษีอากรให้ถูกต้องและเป็นธรรม โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกรมศุลกากรและกรมสรรพากร เพื่อดำเนินการตรวจสอบและกำกับดูแลสินค้าที่นำเข้าตามจุดต่างๆ ตลอดจนส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสถานประกอบการของผู้นำเข้าที่สำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดการฉ้อฉลทางภาษีอากร ทั้งในส่วนของอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับคณะกรรมการร่วมชุดดังกล่าว จะประกอบด้วยรองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพากร เป็นรองประธาน และผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งของกรมศุลกากร และกรมสรรพากรเป็นกรรมการ โดยมีสำนักสืบสวนและปราบปราม สำนักตรวจสอบอากร กรมศุลกากร สำนักตรวจสอบภาษีกลาง กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานที่ร่วมปฏิบัติ โดยคณะกรรมการจะมีหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทาง และวิธีการปฏิบัติร่วมกันระหว่างกรมศุลกากรและกรมสรรพากร ตลอดจนพิจารณากลั่นกรองข้อมูลการหลีกเลี่ยงภาษีอากร และกำหนดวิธีตรวจสอบผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากร ให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส มีมาตรฐานและวิธีการที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง และให้ผู้ปฏิบัติมีการดำเนินการตามนโยบายและแนวปฏิบัติอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 27/2550 9 เมษายน 50--