ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คาดว่าในปีนี้อัตราดอกเบี้ยจะลดลงได้อีกร้อยละ 0.50 นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กก.ผจก. ธ.กรุงไทย กล่าวว่า หลังจากที่
ธปท. ประกาศผ่อนผันมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 และมีแนวโน้มจะยกเลิกในเร็ว ๆ นี้ จะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศลดลง
รวมถึงการที่เศรษฐกิจชะลอตัว โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ทำให้อัตราการขยายตัวของสินเชื่อในระบบ ธ.พาณิชย์ลดลงมาก สภาพคล่อง
ในตลาดเงินสูงจึงทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงได้อีก ซึ่งคาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งหน้าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยอีก
ทั้งนี้ ประเมินว่าปีนี้ทั้งปีอัตราดอกเบี้ยจะลดลงได้อีกประมาณร้อยละ 0.50 เป็นการลดดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ แต่เงินกู้จะลดช้ากว่าเงิน
ฝากประมาณ 3 เดือน ด้านนายสมชาย สัญลักษณ์ศิริ ผู้ช่วย กก.ผจก. ธ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แนวโน้มดอกเบี้ยเป็นขาลงชัดเจน ประกอบกับ
เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัวจะทำให้สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวสูงกว่าสินเชื่อประเภทอื่น แต่ก็อาจจะทำให้คุณภาพหนี้ของ ธ.พาณิชย์ด้อยลง
ในขณะที่ นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กก.ผจก.สายงานวิจัย บล.ภัทร กล่าวว่า แนวโน้มดอกเบี้ยจะลดลง โดยถ้าคำนวณจากตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ
1.5 ดอกเบี้ยควรจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วัน อยู่ที่ร้อยละ 4.75 จึงคาดว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ยลง 2-3 ครั้ง
แต่คาดว่าดอกเบี้ยอาร์/พี จะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 4 ไม่ลงมากอย่างที่คิด (โพสต์ทูเดย์)
2. คาดว่าการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลปีนี้จะลดลง นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ได้รับรายงานจาก
เจ้าหน้าที่สรรพากรว่า การจัดเก็บรายได้ภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภงด.54 ลดลง โดยเฉพาะกรณีบริษัทของ สรอ. ที่เข้ามา
ลงทุนในไทยมีการส่งกำไรกลับประเทศจำนวนมาก เนื่องจาก สรอ. ได้ออกกฎหมายพิเศษที่จะลดภาษีให้กับผู้ประกอบการที่นำผลตอบแทนจากกา
รลงทุนในต่างประเทศส่งกลับเข้าไปลงทุนในประเทศ ทำให้ยอดจัดเก็บรายได้ในส่วนนี้ติดลบจากเป้าหมายที่ตั้งไว้เฉลี่ย 1 พันล้านบาทต่อเนื่อง
นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศปีนี้ยังได้รับผลกระทบจากการตั้งสำรองตามมาตรฐานบัญชีใหม่ ไอเอเอส 39 ของ ธปท.
ส่งผลให้สถาบันการเงินจะต้องนำกำไรไปตั้งสำรองเพิ่มขึ้น ทำให้ภาพรวมรายได้ของ ธ.พาณิชย์ปีนี้จะปรับตัวลดลง กระทบต่อยอดภาษีที่ต้องส่ง
ให้กรมสรรพากร คาดว่าจะลดลงประมาณ 1.6 — 2.0 หมื่นล้านบาท ขณะที่แนวโน้มการจัดเก็บภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
คาดว่าจะปรับตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเช่นเดียวกับแนวโน้มการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะภาษีที่เก็บจากสินค้านำ
เข้าได้ปรับตัวลดลงเนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการนำเข้าติดต่อกันหลายเดือนและใช้วัตถุดิบในสต็อกผลิตสินค้าไปก่อน แต่ขณะนี้เชื่อว่าวัตถุดิบใน
สต็อกเริ่มหมดแล้วจะต้องมีการนำเข้าอาจส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม คาดว่า ผลการจัดเก็บรายได้เดือน มี.ค. จะปรับตัวดี
ขึ้นเนื่องจากจะมีรายได้หัก ณ ที่จ่ายจากการที่รัฐบาลอนุมัติจ่ายค่าวิทยฐานะให้ครูทั่วประเทศ จำนวน 2 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นใน
เดือนนี้ประมาณ 2 พันล้านบาท ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังยังไม่ลดเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรในปี งปม.50 ที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.14 ล้านล้านบาท (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. ธปท. ควรมีมาตรการควบคุมเงินทุนระยะสั้นต่อไป นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการ
พัฒนาประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่ ธปท. จะยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 โดยคงวิธีการกันสำรองแบบเต็มจำนวนไว้ว่า ธปท.
ควรมีมาตรการเพื่อควบคุมเงินทุนต่อไป โดยต้องทำให้ตลาดเห็นว่า ธปท. มีนโยบายที่พร้อมจะนำมาตรการควบคุมเงินทุนมาใช้อีกในสถานการณ์เ
ช่นไร ซึ่ง ธปท. ต้องชี้แจงให้ชัดเจนถึงเหตุผลที่จะผ่อนคลายมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ด้วย โดย ธปท. ควรดำเนินการควบคุมเงินทุนระสั้น
ที่เข้ามาเก็งกำไรด้วยวิธีการลดอัตราดอกเบี้ย แต่การลดอัตราดอกเบี้ยจะต้องลดในอัตราที่สูงและลดเพียงครั้งเดียว เพื่อไม่ให้ตลาดเกิดความ
คาดหวังว่าดอกเบี้ยจะลดลงอีก ซึ่งการทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งละไม่มากจะทำให้เงินทุนไหลเข้ามากดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก เนื่อง
จากภาวะเศรษฐกิจไทยชะลอตัวในขณะที่สภาพคล่องมีจำนวนมาก (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลการค้าลดลงร้อยละ 3.8 ในเดือน ม.ค.50 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 9 มี.ค.50 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน ม.ค.50 มีจำนวน 59.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.8 จากเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่ากา
รคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวน 59.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากการส่งออกขยายตัวร้อยละ 1.1 เป็นจำนวน
126.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวสูงเป็นประวัติการณ์คือ สินค้าประเภททุน โดยเฉพาะเครื่องบินพลเรือน คอมพิวเตอร์
และเครื่องจักรอุตสาหกรรมต่างๆ ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 0.5 เป็นจำนวน 185.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากราคาน้ำมันนำเข้า
ที่ลดลงเหลือบาร์เรลละ 52.23 ดอลลาร์ สรอ. ลดลงถึง 1.61 ดอลลาร์จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายประเทศคู่ค้าที่สำคัญพบว่า
สรอ.ขาดดุลการค้ากับจีนสูงสุดเป็นจำนวน 21.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ขณะที่ขาดดุลการค้ากับสหภาพยุโรปต่ำสุดในรอบ
3 ปีเป็นจำนวน 6.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตโรงงานของอังกฤษลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ม.ค.50 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 9 มี.ค.50 The Office for
National Statistics (ONS) เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงาน (Manufacturing output) ของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ
0.2 ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ต.ค.49 ตรงข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และสวนทาง
กับผลการสำรวจก่อนหน้านี้ของ 2 สถาบันชั้นนำ (PMI และ CBI) ซึ่งบ่งชี้ในทิศทางตรงข้ามว่าภาคการผลิตของอังกฤษจะฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
ต่อเนื่องตลอดปี 50 สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial production) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่ำกว่าการคาดการณ์เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ONS เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากการเปิดบ่อน้ำมันใหม่จะช่วยให้ผลผลิตน้ำมันและก๊าซขยายตัวหลังจากที่ชะลอตัวในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของอังกฤษในรอบ 3 เดือนถึงเดือน ก.พ.50 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 10 มี.ค.50
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (The National Institute of Economic and Social Research — NIESR)
คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของอังกฤษในรอบ 3 เดือนถึงเดือน ก.พ.50 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ซึ่งนับเป็นการชะลอตัวต่ำสุด
ในรอบ 1 ปีครึ่ง (ตั้งแต่ช่วงฤดูร้อน 48) หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 ในรอบ 3 เดือนถึงเดือน ม.ค.50 (ตัวเลขที่ทบทวนแล้ว) ขณะที่เมื่
ไตรมาสสุดท้ายของปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง ทั้งนี้ สาเหตุที่ส่งผลให้อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากผลผลิตสาธารณะและธุรกิจบริการของภาคเอกชนชะลอตัว และหากยังคงชะลอตัวเช่นนี้ต่อไปอาจทำให้ลดแรงกดดันต่อ
ธ.กลางอังกฤษในการที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง อนึ่ง การประชุมครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธ.กลางอังกฤษมี
มติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 เช่นเดิม หลังจากที่ปรับเพิ่มมาแล้วถึง 3 ครั้งตั้งแต่เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ผู้อำนวยการ
NIESR กล่าวว่า มีสัญญาณบางอย่างบ่งชี้ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของอังกฤษที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.5 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 49 สูงสุดในรอบ 3 ปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ
12 มี.ค.50 เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 49 และขยายตัวร้อยละ 5.5
เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปี 48 ขยายตัวในอัตราสูงสุดเมื่อเทียบต่อปีนับตั้งแต่ขยายตัวร้อยละ 6.3 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 46 และสูงกว่า
ตัวเลขเบื้องต้นก่อนหน้านี้ที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบต่อไตรมาสและร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากการใช้จ่
ยลงทุนของภาคเอกชนซึ่ง ก.คลังรายงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 49 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้าย
ปี 48 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดราคาสินค้าของภาคธุรกิจหรือ CGPI ซึ่งชี้แนวโน้มราคาสินค้าขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.พ.50 เมื่อเทียบ
เดือน ก.พ.49 ชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันจากร้อยละ 2.2 ในเดือน ม.ค.50 สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังก้าวพ้นจากภาวะ
เงินฝืดในอัตราที่ช้ามาก นักวิเคราะห์จึงคาดว่าในการประชุมในวันที่ 19 — 20 มี.ค.50 ที่จะถึงนี้ ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
หลังจากเพิ่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 0.50 ต่อปีเมื่อเดือน ก.พ.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 มี.ค. 50
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.225 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.0006/35.3252 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63313 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 671.17/7.93 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.84 57.63 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.19*/23.34** 27.19*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 มี.ค. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. คาดว่าในปีนี้อัตราดอกเบี้ยจะลดลงได้อีกร้อยละ 0.50 นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กก.ผจก. ธ.กรุงไทย กล่าวว่า หลังจากที่
ธปท. ประกาศผ่อนผันมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 และมีแนวโน้มจะยกเลิกในเร็ว ๆ นี้ จะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศลดลง
รวมถึงการที่เศรษฐกิจชะลอตัว โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ทำให้อัตราการขยายตัวของสินเชื่อในระบบ ธ.พาณิชย์ลดลงมาก สภาพคล่อง
ในตลาดเงินสูงจึงทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงได้อีก ซึ่งคาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งหน้าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยอีก
ทั้งนี้ ประเมินว่าปีนี้ทั้งปีอัตราดอกเบี้ยจะลดลงได้อีกประมาณร้อยละ 0.50 เป็นการลดดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ แต่เงินกู้จะลดช้ากว่าเงิน
ฝากประมาณ 3 เดือน ด้านนายสมชาย สัญลักษณ์ศิริ ผู้ช่วย กก.ผจก. ธ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แนวโน้มดอกเบี้ยเป็นขาลงชัดเจน ประกอบกับ
เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัวจะทำให้สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวสูงกว่าสินเชื่อประเภทอื่น แต่ก็อาจจะทำให้คุณภาพหนี้ของ ธ.พาณิชย์ด้อยลง
ในขณะที่ นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กก.ผจก.สายงานวิจัย บล.ภัทร กล่าวว่า แนวโน้มดอกเบี้ยจะลดลง โดยถ้าคำนวณจากตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ
1.5 ดอกเบี้ยควรจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วัน อยู่ที่ร้อยละ 4.75 จึงคาดว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ยลง 2-3 ครั้ง
แต่คาดว่าดอกเบี้ยอาร์/พี จะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 4 ไม่ลงมากอย่างที่คิด (โพสต์ทูเดย์)
2. คาดว่าการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลปีนี้จะลดลง นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ได้รับรายงานจาก
เจ้าหน้าที่สรรพากรว่า การจัดเก็บรายได้ภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภงด.54 ลดลง โดยเฉพาะกรณีบริษัทของ สรอ. ที่เข้ามา
ลงทุนในไทยมีการส่งกำไรกลับประเทศจำนวนมาก เนื่องจาก สรอ. ได้ออกกฎหมายพิเศษที่จะลดภาษีให้กับผู้ประกอบการที่นำผลตอบแทนจากกา
รลงทุนในต่างประเทศส่งกลับเข้าไปลงทุนในประเทศ ทำให้ยอดจัดเก็บรายได้ในส่วนนี้ติดลบจากเป้าหมายที่ตั้งไว้เฉลี่ย 1 พันล้านบาทต่อเนื่อง
นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศปีนี้ยังได้รับผลกระทบจากการตั้งสำรองตามมาตรฐานบัญชีใหม่ ไอเอเอส 39 ของ ธปท.
ส่งผลให้สถาบันการเงินจะต้องนำกำไรไปตั้งสำรองเพิ่มขึ้น ทำให้ภาพรวมรายได้ของ ธ.พาณิชย์ปีนี้จะปรับตัวลดลง กระทบต่อยอดภาษีที่ต้องส่ง
ให้กรมสรรพากร คาดว่าจะลดลงประมาณ 1.6 — 2.0 หมื่นล้านบาท ขณะที่แนวโน้มการจัดเก็บภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
คาดว่าจะปรับตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเช่นเดียวกับแนวโน้มการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะภาษีที่เก็บจากสินค้านำ
เข้าได้ปรับตัวลดลงเนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการนำเข้าติดต่อกันหลายเดือนและใช้วัตถุดิบในสต็อกผลิตสินค้าไปก่อน แต่ขณะนี้เชื่อว่าวัตถุดิบใน
สต็อกเริ่มหมดแล้วจะต้องมีการนำเข้าอาจส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม คาดว่า ผลการจัดเก็บรายได้เดือน มี.ค. จะปรับตัวดี
ขึ้นเนื่องจากจะมีรายได้หัก ณ ที่จ่ายจากการที่รัฐบาลอนุมัติจ่ายค่าวิทยฐานะให้ครูทั่วประเทศ จำนวน 2 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นใน
เดือนนี้ประมาณ 2 พันล้านบาท ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังยังไม่ลดเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรในปี งปม.50 ที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.14 ล้านล้านบาท (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. ธปท. ควรมีมาตรการควบคุมเงินทุนระยะสั้นต่อไป นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการ
พัฒนาประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่ ธปท. จะยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 โดยคงวิธีการกันสำรองแบบเต็มจำนวนไว้ว่า ธปท.
ควรมีมาตรการเพื่อควบคุมเงินทุนต่อไป โดยต้องทำให้ตลาดเห็นว่า ธปท. มีนโยบายที่พร้อมจะนำมาตรการควบคุมเงินทุนมาใช้อีกในสถานการณ์เ
ช่นไร ซึ่ง ธปท. ต้องชี้แจงให้ชัดเจนถึงเหตุผลที่จะผ่อนคลายมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ด้วย โดย ธปท. ควรดำเนินการควบคุมเงินทุนระสั้น
ที่เข้ามาเก็งกำไรด้วยวิธีการลดอัตราดอกเบี้ย แต่การลดอัตราดอกเบี้ยจะต้องลดในอัตราที่สูงและลดเพียงครั้งเดียว เพื่อไม่ให้ตลาดเกิดความ
คาดหวังว่าดอกเบี้ยจะลดลงอีก ซึ่งการทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งละไม่มากจะทำให้เงินทุนไหลเข้ามากดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก เนื่อง
จากภาวะเศรษฐกิจไทยชะลอตัวในขณะที่สภาพคล่องมีจำนวนมาก (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลการค้าลดลงร้อยละ 3.8 ในเดือน ม.ค.50 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 9 มี.ค.50 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน ม.ค.50 มีจำนวน 59.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.8 จากเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่ากา
รคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวน 59.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากการส่งออกขยายตัวร้อยละ 1.1 เป็นจำนวน
126.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวสูงเป็นประวัติการณ์คือ สินค้าประเภททุน โดยเฉพาะเครื่องบินพลเรือน คอมพิวเตอร์
และเครื่องจักรอุตสาหกรรมต่างๆ ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 0.5 เป็นจำนวน 185.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากราคาน้ำมันนำเข้า
ที่ลดลงเหลือบาร์เรลละ 52.23 ดอลลาร์ สรอ. ลดลงถึง 1.61 ดอลลาร์จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายประเทศคู่ค้าที่สำคัญพบว่า
สรอ.ขาดดุลการค้ากับจีนสูงสุดเป็นจำนวน 21.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ขณะที่ขาดดุลการค้ากับสหภาพยุโรปต่ำสุดในรอบ
3 ปีเป็นจำนวน 6.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตโรงงานของอังกฤษลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ม.ค.50 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 9 มี.ค.50 The Office for
National Statistics (ONS) เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงาน (Manufacturing output) ของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ
0.2 ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ต.ค.49 ตรงข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และสวนทาง
กับผลการสำรวจก่อนหน้านี้ของ 2 สถาบันชั้นนำ (PMI และ CBI) ซึ่งบ่งชี้ในทิศทางตรงข้ามว่าภาคการผลิตของอังกฤษจะฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
ต่อเนื่องตลอดปี 50 สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial production) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่ำกว่าการคาดการณ์เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ONS เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากการเปิดบ่อน้ำมันใหม่จะช่วยให้ผลผลิตน้ำมันและก๊าซขยายตัวหลังจากที่ชะลอตัวในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของอังกฤษในรอบ 3 เดือนถึงเดือน ก.พ.50 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 10 มี.ค.50
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (The National Institute of Economic and Social Research — NIESR)
คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของอังกฤษในรอบ 3 เดือนถึงเดือน ก.พ.50 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ซึ่งนับเป็นการชะลอตัวต่ำสุด
ในรอบ 1 ปีครึ่ง (ตั้งแต่ช่วงฤดูร้อน 48) หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 ในรอบ 3 เดือนถึงเดือน ม.ค.50 (ตัวเลขที่ทบทวนแล้ว) ขณะที่เมื่
ไตรมาสสุดท้ายของปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง ทั้งนี้ สาเหตุที่ส่งผลให้อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากผลผลิตสาธารณะและธุรกิจบริการของภาคเอกชนชะลอตัว และหากยังคงชะลอตัวเช่นนี้ต่อไปอาจทำให้ลดแรงกดดันต่อ
ธ.กลางอังกฤษในการที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง อนึ่ง การประชุมครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธ.กลางอังกฤษมี
มติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 เช่นเดิม หลังจากที่ปรับเพิ่มมาแล้วถึง 3 ครั้งตั้งแต่เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ผู้อำนวยการ
NIESR กล่าวว่า มีสัญญาณบางอย่างบ่งชี้ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของอังกฤษที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.5 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 49 สูงสุดในรอบ 3 ปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ
12 มี.ค.50 เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 49 และขยายตัวร้อยละ 5.5
เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปี 48 ขยายตัวในอัตราสูงสุดเมื่อเทียบต่อปีนับตั้งแต่ขยายตัวร้อยละ 6.3 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 46 และสูงกว่า
ตัวเลขเบื้องต้นก่อนหน้านี้ที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบต่อไตรมาสและร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากการใช้จ่
ยลงทุนของภาคเอกชนซึ่ง ก.คลังรายงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 49 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้าย
ปี 48 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดราคาสินค้าของภาคธุรกิจหรือ CGPI ซึ่งชี้แนวโน้มราคาสินค้าขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.พ.50 เมื่อเทียบ
เดือน ก.พ.49 ชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันจากร้อยละ 2.2 ในเดือน ม.ค.50 สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังก้าวพ้นจากภาวะ
เงินฝืดในอัตราที่ช้ามาก นักวิเคราะห์จึงคาดว่าในการประชุมในวันที่ 19 — 20 มี.ค.50 ที่จะถึงนี้ ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
หลังจากเพิ่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 0.50 ต่อปีเมื่อเดือน ก.พ.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 มี.ค. 50
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.225 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.0006/35.3252 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63313 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 671.17/7.93 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.84 57.63 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.19*/23.34** 27.19*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 มี.ค. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--