กรุงเทพ--30 ส.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ในนามของกระทรวงการต่างประเทศ กระผมขอขอบพระคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่ได้สละเวลามาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก ประจำปี 2550 ในวันนี้
กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประชุมนี้เป็นประจำทุกปี เพื่อเปิดโอกาสให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับมอบนโยบายจากท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล รับทราบพัฒนาการด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของไทย และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนเกี่ยวกับ การผลักดันนโยบายต่างประเทศเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งวางแผนการดำเนินงานด้านต่างประเทศในระยะต่อไป ในปีนี้ มีเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่จำนวนทั้งสิ้น 91 คนที่ประจำการอยู่ทั่วโลก เข้าร่วมการประชุมฯ เป็นระยะเวลา 7 วัน นับตั้งแต่เมื่อวานนี้ซึ่งคณะเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ได้เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่จังหวัดจันทบุรี และจะประชุมกันต่อไปจนถึงวันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2550
ในรอบปีที่ผ่านมา ภารกิจของเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ดำเนินไปอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการผลักดันวาระสำคัญด้านการต่างประเทศคือ การสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างประเทศ และการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาคใต้โดยสันติวิธี นอกเหนือจากการสานต่อยุทธศาสตร์การต่างประเทศที่ดีและเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศและประชาชน
ในด้านของการสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ กระทรวงการต่างประเทศได้เน้นการใช้โอกาสที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และแสวงโอกาสเพิ่มเติมในการสร้างความเชื่อมั่นกับต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี คงจะทราบเป็นอย่างดีเนื่องจากท่านนายกรัฐมนตรีเองได้มีส่วนสำคัญในการดำเนินงาน ทั้งการเยือนประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน การเยือนประเทศสำคัญอย่างจีนและอินเดีย และการเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศวาระสำคัญ เช่น การประชุมเอเปคที่กรุงฮานอย ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่แสดงว่า สหรัฐอเมริกาเข้าใจสถานการณ์ภายในของไทย หลังจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกได้นำไปต่อยอด ขยายผลในการสร้างความเชื่อมั่น โดยเฉพาะประเทศตะวันตก ทั้งในสหรัฐฯ เองและในสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีท่าทีลบกับไทยอย่างมากในช่วงแรกภายหลังการปฏิรูปการปกครอง
นอกเหนือจากการใช้โอกาสและแสวงโอกาสในการชี้แจงสร้างความเชื่อมั่นแล้ว กระทรวงการต่างประเทศได้จัดหาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองไทยและคำชี้แจงในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ และนำส่งให้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกซึ่งเป็นแขนขาของเราในต่างประเทศใช้ในการชี้แจงกับภาครัฐ เอกชน และประชาชนของต่างประเทศ อย่างต่อเนื่องและทันท่วงที ควบคู่ไปกับการบรรยายสรุปคณะทูตเป็นระยะๆ ที่กรุงเทพฯ นอกจากนั้นยังเน้นการชี้แจงให้สื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศได้เข้าใจและนำเสนอข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอด้วย
อาจกล่าวได้ว่า ณ เวลานี้ ประเด็นเรื่องการปฏิรูปการปกครองได้ผ่านพ้นจุดวิกฤติไปแล้ว ต่างประเทศมีความ เข้าใจสถานการณ์การเมืองไทยมากขึ้นเป็นลำดับ และยินดีที่เห็นรัฐบาลไทยภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามตารางเวลาที่จะนำประเทศกลับสู่กระบวนการประชาธิปไตย ล่าสุด การลงประชามติได้ผ่านพ้นไปด้วยดี และจะตามมาด้วยการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม ศกนี้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยกลับสู่เส้นทางประชาธิปไตยอีกครั้งและได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่จากประชาคมระหว่างประเทศ สถานการณ์ต่างๆ น่าที่จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม
สำหรับการดำเนินงานด้านต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาคใต้นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ผลักดันในทุกทาง โดยการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับมาเลเซีย จนทำให้ความสัมพันธ์ที่เคยห่างเหินกลับมาใกล้ชิดแน่นแฟ้น ความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศมุสลิมอื่นๆ ก็ดีขึ้นตามลำดับ โดยประเทศเหล่านี้เข้าใจสถานการณ์ภาคใต้ของไทยและเป็นพันธมิตรที่ดีของไทยในองค์การการประชุมอิสลามหรือ OIC ซึ่งมีส่วนช่วยไม่ให้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ นอกจากเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่จะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ว ยังดำเนินงานเพื่อดูแลลูกหลานชาวไทยมุสลิมที่ศึกษาอยู่ในประเทศต่างๆ จำนวนกว่า 4,000 คนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เขาเหล่านั้นกลับมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศและช่วยพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต
ในส่วนของการต่างประเทศในด้านอื่นๆ ยังคงดำเนินไปตามปกติ โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนซึ่งเป็นเสาหลักของการต่างประเทศไทยมาโดยตลอด และท่านนายกรัฐมนตรีได้ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านตั้งแต่วันแรกๆ ของการเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้พยายามกระชับความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี สานต่อแนวนโยบายที่ดีเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของไทยกับเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง
การประชุมในครั้งนี้นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกจะได้รับโอวาทจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี รวมทั้งรับทราบทัศนะของท่านนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานในด้านการต่างประเทศในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินยุทธศาสตร์การต่างประเทศที่ควรจะดำเนินต่อไปในช่วงที่เหลืออยู่ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพื่อวางรากฐานสำหรับรัฐบาลชุดต่อไป
ในโอกาสนี้ กระผมขอกราบเรียนเชิญ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการประชุมและให้โอวาท รวมทั้งมอบแนวนโยบายแก่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมอันจะเป็นประโยชน์ต่อ ประเทศและประชาชนต่อไป
ขอกราบเรียนเชิญครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ในนามของกระทรวงการต่างประเทศ กระผมขอขอบพระคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่ได้สละเวลามาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก ประจำปี 2550 ในวันนี้
กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประชุมนี้เป็นประจำทุกปี เพื่อเปิดโอกาสให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับมอบนโยบายจากท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล รับทราบพัฒนาการด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของไทย และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนเกี่ยวกับ การผลักดันนโยบายต่างประเทศเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งวางแผนการดำเนินงานด้านต่างประเทศในระยะต่อไป ในปีนี้ มีเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่จำนวนทั้งสิ้น 91 คนที่ประจำการอยู่ทั่วโลก เข้าร่วมการประชุมฯ เป็นระยะเวลา 7 วัน นับตั้งแต่เมื่อวานนี้ซึ่งคณะเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ได้เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่จังหวัดจันทบุรี และจะประชุมกันต่อไปจนถึงวันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2550
ในรอบปีที่ผ่านมา ภารกิจของเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ดำเนินไปอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการผลักดันวาระสำคัญด้านการต่างประเทศคือ การสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างประเทศ และการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาคใต้โดยสันติวิธี นอกเหนือจากการสานต่อยุทธศาสตร์การต่างประเทศที่ดีและเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศและประชาชน
ในด้านของการสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ กระทรวงการต่างประเทศได้เน้นการใช้โอกาสที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และแสวงโอกาสเพิ่มเติมในการสร้างความเชื่อมั่นกับต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี คงจะทราบเป็นอย่างดีเนื่องจากท่านนายกรัฐมนตรีเองได้มีส่วนสำคัญในการดำเนินงาน ทั้งการเยือนประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน การเยือนประเทศสำคัญอย่างจีนและอินเดีย และการเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศวาระสำคัญ เช่น การประชุมเอเปคที่กรุงฮานอย ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่แสดงว่า สหรัฐอเมริกาเข้าใจสถานการณ์ภายในของไทย หลังจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกได้นำไปต่อยอด ขยายผลในการสร้างความเชื่อมั่น โดยเฉพาะประเทศตะวันตก ทั้งในสหรัฐฯ เองและในสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีท่าทีลบกับไทยอย่างมากในช่วงแรกภายหลังการปฏิรูปการปกครอง
นอกเหนือจากการใช้โอกาสและแสวงโอกาสในการชี้แจงสร้างความเชื่อมั่นแล้ว กระทรวงการต่างประเทศได้จัดหาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองไทยและคำชี้แจงในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ และนำส่งให้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกซึ่งเป็นแขนขาของเราในต่างประเทศใช้ในการชี้แจงกับภาครัฐ เอกชน และประชาชนของต่างประเทศ อย่างต่อเนื่องและทันท่วงที ควบคู่ไปกับการบรรยายสรุปคณะทูตเป็นระยะๆ ที่กรุงเทพฯ นอกจากนั้นยังเน้นการชี้แจงให้สื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศได้เข้าใจและนำเสนอข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอด้วย
อาจกล่าวได้ว่า ณ เวลานี้ ประเด็นเรื่องการปฏิรูปการปกครองได้ผ่านพ้นจุดวิกฤติไปแล้ว ต่างประเทศมีความ เข้าใจสถานการณ์การเมืองไทยมากขึ้นเป็นลำดับ และยินดีที่เห็นรัฐบาลไทยภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามตารางเวลาที่จะนำประเทศกลับสู่กระบวนการประชาธิปไตย ล่าสุด การลงประชามติได้ผ่านพ้นไปด้วยดี และจะตามมาด้วยการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม ศกนี้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยกลับสู่เส้นทางประชาธิปไตยอีกครั้งและได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่จากประชาคมระหว่างประเทศ สถานการณ์ต่างๆ น่าที่จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม
สำหรับการดำเนินงานด้านต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาคใต้นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ผลักดันในทุกทาง โดยการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับมาเลเซีย จนทำให้ความสัมพันธ์ที่เคยห่างเหินกลับมาใกล้ชิดแน่นแฟ้น ความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศมุสลิมอื่นๆ ก็ดีขึ้นตามลำดับ โดยประเทศเหล่านี้เข้าใจสถานการณ์ภาคใต้ของไทยและเป็นพันธมิตรที่ดีของไทยในองค์การการประชุมอิสลามหรือ OIC ซึ่งมีส่วนช่วยไม่ให้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ นอกจากเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่จะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ว ยังดำเนินงานเพื่อดูแลลูกหลานชาวไทยมุสลิมที่ศึกษาอยู่ในประเทศต่างๆ จำนวนกว่า 4,000 คนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เขาเหล่านั้นกลับมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศและช่วยพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต
ในส่วนของการต่างประเทศในด้านอื่นๆ ยังคงดำเนินไปตามปกติ โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนซึ่งเป็นเสาหลักของการต่างประเทศไทยมาโดยตลอด และท่านนายกรัฐมนตรีได้ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านตั้งแต่วันแรกๆ ของการเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้พยายามกระชับความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี สานต่อแนวนโยบายที่ดีเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของไทยกับเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง
การประชุมในครั้งนี้นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกจะได้รับโอวาทจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี รวมทั้งรับทราบทัศนะของท่านนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานในด้านการต่างประเทศในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินยุทธศาสตร์การต่างประเทศที่ควรจะดำเนินต่อไปในช่วงที่เหลืออยู่ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพื่อวางรากฐานสำหรับรัฐบาลชุดต่อไป
ในโอกาสนี้ กระผมขอกราบเรียนเชิญ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการประชุมและให้โอวาท รวมทั้งมอบแนวนโยบายแก่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมอันจะเป็นประโยชน์ต่อ ประเทศและประชาชนต่อไป
ขอกราบเรียนเชิญครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-