กรุงเทพ--27 ส.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ มีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.การประชุมระดับรัฐมนตรีและการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ณ นครซิดนีย์ เครื่อรัฐออสเตรเลีย
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting) ครั้งที่ 19 วันที่ 5-6 กันยายน 2550 จากนั้นจะร่วมคณะนายกรัฐมนตรีในการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting) ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2550 ณ นครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย
หัวข้อหลักของการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ การเสริมสร้างความแข็งแรงของประชาชาติ และการสร้างอนาคตอันยั่งยืน “Strengthen Our Community, Building a Sustainable Future” โดยมีเป้าหมายผลักดันความร่วมมือระหว่างสมาชิกเอเปคในด้านต่าง ๆ อาทิ การปรับปรุงและส่งเสริมการหารือนโยบายเศรษฐกิจ การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การพัฒนายุทธศาสตร์ของเอเปคด้านความมั่นคงพลังงานและพลังงานสะอาด และการปฏิรูปเอเปคอย่างต่อเนื่อง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยเตรียมผลักดันความร่วมมือสำคัญในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) การรับรองเอกสารผู้นำเรื่อง Regional Economic Integration (REI) 2) การประกาศแถลงการณ์แยกของผู้นำเรื่อง Climate Change, Energy Security and Clean Development 3) การเสนอประเด็นปฏิรูปเอเปค ที่เกี่ยวกับ การแต่งตั้ง Executive Director อาชีพ การจัดตั้ง Policy Support Unit และการเพิ่มค่าสมาชิกประจำปี 30% เท่าเทียมกันทุกเขตเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ประเทศไทยคาดว่าจะสามารถจัดทำ Model Measures for Regional Trade Agreement (RTA)/Free Trade Agreement (FTA) ให้แล้วเสร็จเพิ่มเติมอีก 3 — 5 ฉบับด้วย
ภายหลังการประชุมเอเปคแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ตามคำเชิญของ ASIA Society และ Australia-Thailand Business Council ที่นครเมลเบิร์น ในวันที่ 11 กันยายน 2550 ในโอกาสดังกล่าว จะเข้าพบปะหารือกับนาย John Brumby มุขมนตรีรัฐวิกตอเรียคนใหม่ด้วย
2. ออสเตรเลียขยายโควต้าผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนภายใต้ Work and Holiday Visas ไทย — ออสเตรเลีย
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2550 นาง Teresa Gambaro (Assistant Minister for Immigration and Citizenship) ได้ออกแถลงข่าวว่า ออสเตรเลียตกลงที่จะเพิ่มโควต้าผู้เข้าร่วมโครงการจากไทยมากขึ้น จากเดิม 100 คน เป็น 200 คน ต่อปี เนื่องจากมีผู้สนใจจำนวนมาก และผู้เข้าร่วมโครงการจากไทยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเป็นอย่างดี และได้พิจารณาเปลี่ยนสถานที่พิจารณาดำเนินการวีซ่า WHV ดังกล่าว จากเดิมที่ต้องส่งใบสมัครไปที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นการดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียที่กรุงเทพฯ นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 เป็นต้นไป
3. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก จัดโครงการ Thailand Roadshow 2007 ในหลายเมืองสำคัญของชิลี
สถานเอกอัคคราชทูต ณ กรุงซันติอาโก และกระทรวงพาณิชย์ ในนามของทีมประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ หอการค้าเอเซียแปซิฟิค และกรมการส่งเสริมการส่งออกของชิลี ได้จัดโครงการ Thailand Roadshow 2007 ใน 3 เมืองหลักของชิลี เพื่อให้ประชาชนในเมืองหลักทั่วประเทศชิลีได้รู้จักสินค้า แหล่งท่องเที่ยวและศิลปะวัฒนธรรมของไทยมากยิ่งขึ้น
โดยในปีนี้ จัดโครงการขึ้นครั้งแรกที่เมือง Vi?a del mar/Valparaiso เมืองท่าอันดับหนึ่งของชิลี เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และจะจัดครั้งที่ 2 ณ เมือง Concepcion เมืองธุรกิจสำคัญในภาคกลางตอนใต้ของชิลี ในวันที่ 28 สิงหาคม 2550 และครั้งที่ 3 ณ เมือง Iquique เมืองท่าปลอดภาษีทางเหนือ ในวันที่ 4 กันยายน 2550
4. กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการช่วยเหลือลูกเรือที่ถูกทางการอินเดียจับในข้อหาทำการประมงและบุกรุกน่านน้ำ
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตารายงานว่า เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2550 เจ้าหน้าที่ชายฝั่งทะเลอินเดียได้จับกุมเรือไทย ชื่อ “พรวารี” (Phorwali) พร้อมลูกเรือ รวม 31 คน ที่เมืองพอร์ตแบลร์ เป็นคนไทย 3 คน เป็นชาวเล (มอร์แกน)19 คน ที่เหลืออีก
9 คน เป็นชาวพม่า สถานกงสุลใหญ่ฯ จึงได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการอินเดีย เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกเรือประมงทั้ง 31 คน
ขณะนี้ เจ้าหน้าที่เมืองพอร์ตแบลร์ได้ส่งคำขอ Clearance ไปยังรัฐบาลอินเดียที่กรุงนิวเดลี เพื่อให้อนุญาตส่งตัวลูกเรือที่พ้นโทษทั้งหมด (รวม 30 คน ยกเว้นนายอมรวิทย์ รักวงศ์ไทย กัปตันเรือ) กลับประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสถานกงสุลใหญ่ฯ จะมอบหมายให้ เจ้าหน้าที่เดินทางไปรับมอบตัวลูกเรือทันทีที่ได้รับอนุญาตจากกรุงนิวเดลี
5. ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia—Latin America Cooperation : FEALAC) ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ระหว่างวันที่ 22 — 23 สิงหาคม 2550
เมื่อวันที่ 22 - 23 สิงหาคม 2550 นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีการต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของเวทีความร่วมมือเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา(Forum of East Asia and Latin America Cooperation - FEALAC ) ณ กรุงบราซิเลีย โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ 33 ประเทศ จากสองภูมิภาคเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้
ในโอกาสนี้ นายสวนิตฯ ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมฯ โดยเน้นย้ำความปรารถนาของไทยที่ต้องการจะส่งเสริมความร่วมมือกับภูมิภาคลาตินอเมริกาให้มีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้านการส่งเสริมการติดต่อระหว่างประชาชนผ่านการท่องเที่ยว และย้ำเจตนารมณ์ของไทยที่จะร่วมมือกับ FEACLA ในการรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ อาทิ สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การพัฒนาด้านพลังงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ นายสวนิตฯ ยังเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา ได้แก่ การหารือทวิภาคีไทย — ปานามา และ การหารือทวิภาคีไทย — คิวบา
6.คณะผู้แทนไทยเยือนมอริเตเนียและโมร็อกโกหารือความร่วมมือทางวิชาการสร้างสัมพันธ์ และขยายโอกาสความร่วมมือทางการค้าการลงทุนในอนาคต
ระหว่างวันที่ 5 — 15 กรกฎาคม 2550 คณะผู้แทนไทย นำโดย นางจิตริยา ปิ่นทอง ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) กระทรวงการต่างประเทศ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศมอริเตเนีย และโมร็อกโก
คณะผู้แทนไทย ได้เข้าพบหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ 5 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ กระทรวงประมง และหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน (เทียบเท่ากระทรวง) ซึ่งจากการหารือดังกล่าวทราบว่าฝ่ายมอริเตเนียมีความต้องการรับความช่วยเหลือจากไทยในด้านต่าง ๆ คือ ด้านการเกษตร ด้านการลงทุน ด้านสาธารณสุข ด้านประมง ด้านการเกษตรและการพัฒนาชนบท ด้านการศึกษาและฝึกอบรม ด้านพลังงาน โดยสิ่งที่น่าสนใจคือ มอริเตเนียเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของโลก และต้องการพัฒนาศักยภาพในเรื่องที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย จึงต้องการหาคู่ร่วมมือในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซรายใหม่ด้วย
7. การประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก ประจำปี 2550 ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม — 1 กันยายน 2550
กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกประจำปี 2550 ขึ้น ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม — 1 กันยายน 2550 รวม 7 วัน โดยจะมีเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยจำนวน 91 คน เข้าร่วมการประชุมฯ โดยในวันที่ 27 สิงหาคม 2550 พล. อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ ในวันที่ ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นำคณะเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในวันที่ 29 สิงหาคม 2550 นอกจากนั้น คณะเอกอัครราชทูต และกงสุลใหญ่จะเดินทางไปเยี่ยมชมและศึกษาโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ จ.จันทบุรี และรับฟังการบรรยายสรุปเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการในพระราชดำริ จาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา หัวข้อหลักของการประชุมฯ ครั้งนี้ คือ การทูตเพื่อสนับสนุนวาระแห่งชาติ รวมทั้งจะได้รับฟังนโยบายและข้อเท็จจริงจากทั้งนายกรัฐมนตรี และผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานความมั่นคง ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญ กำลังจะเข้าสู่การเลือกตั้ง และก้าวต่อไปของประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ มีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.การประชุมระดับรัฐมนตรีและการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ณ นครซิดนีย์ เครื่อรัฐออสเตรเลีย
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting) ครั้งที่ 19 วันที่ 5-6 กันยายน 2550 จากนั้นจะร่วมคณะนายกรัฐมนตรีในการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting) ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2550 ณ นครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย
หัวข้อหลักของการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ การเสริมสร้างความแข็งแรงของประชาชาติ และการสร้างอนาคตอันยั่งยืน “Strengthen Our Community, Building a Sustainable Future” โดยมีเป้าหมายผลักดันความร่วมมือระหว่างสมาชิกเอเปคในด้านต่าง ๆ อาทิ การปรับปรุงและส่งเสริมการหารือนโยบายเศรษฐกิจ การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การพัฒนายุทธศาสตร์ของเอเปคด้านความมั่นคงพลังงานและพลังงานสะอาด และการปฏิรูปเอเปคอย่างต่อเนื่อง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยเตรียมผลักดันความร่วมมือสำคัญในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) การรับรองเอกสารผู้นำเรื่อง Regional Economic Integration (REI) 2) การประกาศแถลงการณ์แยกของผู้นำเรื่อง Climate Change, Energy Security and Clean Development 3) การเสนอประเด็นปฏิรูปเอเปค ที่เกี่ยวกับ การแต่งตั้ง Executive Director อาชีพ การจัดตั้ง Policy Support Unit และการเพิ่มค่าสมาชิกประจำปี 30% เท่าเทียมกันทุกเขตเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ประเทศไทยคาดว่าจะสามารถจัดทำ Model Measures for Regional Trade Agreement (RTA)/Free Trade Agreement (FTA) ให้แล้วเสร็จเพิ่มเติมอีก 3 — 5 ฉบับด้วย
ภายหลังการประชุมเอเปคแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ตามคำเชิญของ ASIA Society และ Australia-Thailand Business Council ที่นครเมลเบิร์น ในวันที่ 11 กันยายน 2550 ในโอกาสดังกล่าว จะเข้าพบปะหารือกับนาย John Brumby มุขมนตรีรัฐวิกตอเรียคนใหม่ด้วย
2. ออสเตรเลียขยายโควต้าผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนภายใต้ Work and Holiday Visas ไทย — ออสเตรเลีย
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2550 นาง Teresa Gambaro (Assistant Minister for Immigration and Citizenship) ได้ออกแถลงข่าวว่า ออสเตรเลียตกลงที่จะเพิ่มโควต้าผู้เข้าร่วมโครงการจากไทยมากขึ้น จากเดิม 100 คน เป็น 200 คน ต่อปี เนื่องจากมีผู้สนใจจำนวนมาก และผู้เข้าร่วมโครงการจากไทยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเป็นอย่างดี และได้พิจารณาเปลี่ยนสถานที่พิจารณาดำเนินการวีซ่า WHV ดังกล่าว จากเดิมที่ต้องส่งใบสมัครไปที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นการดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียที่กรุงเทพฯ นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 เป็นต้นไป
3. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก จัดโครงการ Thailand Roadshow 2007 ในหลายเมืองสำคัญของชิลี
สถานเอกอัคคราชทูต ณ กรุงซันติอาโก และกระทรวงพาณิชย์ ในนามของทีมประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ หอการค้าเอเซียแปซิฟิค และกรมการส่งเสริมการส่งออกของชิลี ได้จัดโครงการ Thailand Roadshow 2007 ใน 3 เมืองหลักของชิลี เพื่อให้ประชาชนในเมืองหลักทั่วประเทศชิลีได้รู้จักสินค้า แหล่งท่องเที่ยวและศิลปะวัฒนธรรมของไทยมากยิ่งขึ้น
โดยในปีนี้ จัดโครงการขึ้นครั้งแรกที่เมือง Vi?a del mar/Valparaiso เมืองท่าอันดับหนึ่งของชิลี เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และจะจัดครั้งที่ 2 ณ เมือง Concepcion เมืองธุรกิจสำคัญในภาคกลางตอนใต้ของชิลี ในวันที่ 28 สิงหาคม 2550 และครั้งที่ 3 ณ เมือง Iquique เมืองท่าปลอดภาษีทางเหนือ ในวันที่ 4 กันยายน 2550
4. กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการช่วยเหลือลูกเรือที่ถูกทางการอินเดียจับในข้อหาทำการประมงและบุกรุกน่านน้ำ
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตารายงานว่า เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2550 เจ้าหน้าที่ชายฝั่งทะเลอินเดียได้จับกุมเรือไทย ชื่อ “พรวารี” (Phorwali) พร้อมลูกเรือ รวม 31 คน ที่เมืองพอร์ตแบลร์ เป็นคนไทย 3 คน เป็นชาวเล (มอร์แกน)19 คน ที่เหลืออีก
9 คน เป็นชาวพม่า สถานกงสุลใหญ่ฯ จึงได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการอินเดีย เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกเรือประมงทั้ง 31 คน
ขณะนี้ เจ้าหน้าที่เมืองพอร์ตแบลร์ได้ส่งคำขอ Clearance ไปยังรัฐบาลอินเดียที่กรุงนิวเดลี เพื่อให้อนุญาตส่งตัวลูกเรือที่พ้นโทษทั้งหมด (รวม 30 คน ยกเว้นนายอมรวิทย์ รักวงศ์ไทย กัปตันเรือ) กลับประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสถานกงสุลใหญ่ฯ จะมอบหมายให้ เจ้าหน้าที่เดินทางไปรับมอบตัวลูกเรือทันทีที่ได้รับอนุญาตจากกรุงนิวเดลี
5. ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia—Latin America Cooperation : FEALAC) ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ระหว่างวันที่ 22 — 23 สิงหาคม 2550
เมื่อวันที่ 22 - 23 สิงหาคม 2550 นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีการต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของเวทีความร่วมมือเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา(Forum of East Asia and Latin America Cooperation - FEALAC ) ณ กรุงบราซิเลีย โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ 33 ประเทศ จากสองภูมิภาคเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้
ในโอกาสนี้ นายสวนิตฯ ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมฯ โดยเน้นย้ำความปรารถนาของไทยที่ต้องการจะส่งเสริมความร่วมมือกับภูมิภาคลาตินอเมริกาให้มีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้านการส่งเสริมการติดต่อระหว่างประชาชนผ่านการท่องเที่ยว และย้ำเจตนารมณ์ของไทยที่จะร่วมมือกับ FEACLA ในการรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ อาทิ สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การพัฒนาด้านพลังงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ นายสวนิตฯ ยังเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา ได้แก่ การหารือทวิภาคีไทย — ปานามา และ การหารือทวิภาคีไทย — คิวบา
6.คณะผู้แทนไทยเยือนมอริเตเนียและโมร็อกโกหารือความร่วมมือทางวิชาการสร้างสัมพันธ์ และขยายโอกาสความร่วมมือทางการค้าการลงทุนในอนาคต
ระหว่างวันที่ 5 — 15 กรกฎาคม 2550 คณะผู้แทนไทย นำโดย นางจิตริยา ปิ่นทอง ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) กระทรวงการต่างประเทศ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศมอริเตเนีย และโมร็อกโก
คณะผู้แทนไทย ได้เข้าพบหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ 5 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ กระทรวงประมง และหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน (เทียบเท่ากระทรวง) ซึ่งจากการหารือดังกล่าวทราบว่าฝ่ายมอริเตเนียมีความต้องการรับความช่วยเหลือจากไทยในด้านต่าง ๆ คือ ด้านการเกษตร ด้านการลงทุน ด้านสาธารณสุข ด้านประมง ด้านการเกษตรและการพัฒนาชนบท ด้านการศึกษาและฝึกอบรม ด้านพลังงาน โดยสิ่งที่น่าสนใจคือ มอริเตเนียเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของโลก และต้องการพัฒนาศักยภาพในเรื่องที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย จึงต้องการหาคู่ร่วมมือในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซรายใหม่ด้วย
7. การประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก ประจำปี 2550 ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม — 1 กันยายน 2550
กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกประจำปี 2550 ขึ้น ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม — 1 กันยายน 2550 รวม 7 วัน โดยจะมีเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยจำนวน 91 คน เข้าร่วมการประชุมฯ โดยในวันที่ 27 สิงหาคม 2550 พล. อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ ในวันที่ ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นำคณะเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในวันที่ 29 สิงหาคม 2550 นอกจากนั้น คณะเอกอัครราชทูต และกงสุลใหญ่จะเดินทางไปเยี่ยมชมและศึกษาโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ จ.จันทบุรี และรับฟังการบรรยายสรุปเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการในพระราชดำริ จาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา หัวข้อหลักของการประชุมฯ ครั้งนี้ คือ การทูตเพื่อสนับสนุนวาระแห่งชาติ รวมทั้งจะได้รับฟังนโยบายและข้อเท็จจริงจากทั้งนายกรัฐมนตรี และผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานความมั่นคง ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญ กำลังจะเข้าสู่การเลือกตั้ง และก้าวต่อไปของประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-