ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เงินบาทแข็งค่าจากการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก ไม่ใช่การเก็งกำไรค่าเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ
ธปท. เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ที่แข็งค่าขึ้นในช่วงนี้มีสาเหตุจากการที่ผู้ส่งออกทยอยขายเงินดอลลาร์ สรอ. ออก
มา ไม่ใช่การเก็งกำไรค่าเงิน ธปท. จึงไม่ได้เข้าไปทำอะไรเป็นพิเศษ ส่วนการดูแลค่าเงินบาทได้ให้เจ้าหน้าที่ดูแลเป็นปรกติ และเชื่อว่าวันที่
15 มี.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันแรกที่ให้เลือกทำป้องกันความเสี่ยงแทนการกันสำรองร้อยละ 30 จะไม่ทำให้ตลาดตื่นตระหนกและส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท
โดยมาตรการกันสำรองยังมีอยู่ ไม่ใช่การผ่อนคลายหรือยกเลิก ซึ่งวันนี้จะหารือกับ รมว.คลังเรื่องมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ด้วย
(โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ฐานะการคลัง 5 เดือนแรก ขาดดุล 1.35 แสนล้านบาท นายสมชัย สัจจพงษ์ รอง ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผย
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามกระแสเงินสดในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 50 ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 4.89 แสนล้านบาท สูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.7 ขณะที่มีการใช้จ่ายเงิน 5.97 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.1 ทำให้ดุลเงินงบ
ประมาณในช่วงดังกล่าวขาดดุล 1.08 แสนล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.67 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 25.24 และเมื่อ
รวมดุลเงินงบประมาณกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 2.64 หมื่นล้านบาท ทำให้ดุลการคลังหรือดุลเงินสดของรัฐบาลขาดดุล 1.35 แสนล้าน
บาท ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของนโยบายการคลังในการเริ่มกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้เติบโตในระดับที่เหมาะสม สำหรับการขาดดุล 1.35 แสนล้าน
บาท รัฐบาลได้ชดเชยด้วยการใช้เงินคงคลังและการออกพันธบัตร ในขณะที่รายได้ที่นำส่งคลังมีเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมาจากภาษีเงิน
ได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ ภาษีสุรา และภาษีเบียร์ ส่วนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจในช่วงดังกล่าวสูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้านรายจ่ายที่เบิกจ่ายได้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนเพียงร้อยละ 1.1 มีสาเหตุจาก พรบ.งบประมาณรายจ่ายปี
50 เพิ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค.50 โดยมีรายจ่ายรวมในช่วง 5 เดือนแรก จำนวน 5.97 แสนล้านบาท แบ่งเป็นงบรายจ่ายประจำ
4.49 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.82 รายจ่ายลงทุน 8.64 หมื่นล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.81 และราย
จ่ายจากงบประมาณปีก่อน 6.13 หมื่นล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.86 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
3. รัฐบาลให้ส่วนราชการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2551 แบบพอเพียง นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รอง นรม. และ รมว.
อุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมสัมมนาเรื่อง การเตรียมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 สำหรับส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยขอให้ส่วนราชการต่าง ๆ จัดทำงบประมาณโดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้สอด
คล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยใช้หลักสำคัญ 3 ประการ คือ ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน และให้ยึดหลักความซื่อสัตย์โปร่งใส พร้อม
ให้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณในโครงการต่าง ๆ ขอให้คำนึงถึงชุมชนและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการแก้ไข
ปัญหาภัยธรรมชาติและมลภาวะในปัจจุบัน ให้เน้นทั้งการให้งบประมาณช่วยเหลือและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง (มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 14 มี.ค.50 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ.ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ลดลงเป็นจำนวน 195.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่
3 ของปี 48 ที่ขาดดุลจำนวน 183.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. แต่ยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของบรรดานักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะขาดดุลจำนวน 204
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยยอดขาดดุลฯ คิดเป็นร้อยละ 5.8 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดปี 49 ขาดดุลจำนวน 856.7
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 791.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในปี 48 หรือคิดเป็นร้อยละ 6.5 ของจีดีพี สำหรับสาเหตุที่ดุลบัญชีเดินสะพัดใน
ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขาดดุลลดลง เป็นผลจากการนำเข้าลดลงเป็นจำนวน 464.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากจำนวน 480.2 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันที่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ชะลอลง ประกอบกับการส่งออก
ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 266.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากจำนวน 261.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าประเภททุน อาทิ
เช่น เครื่องบินส่วนตัว อนึ่ง ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นเครื่องชี้ภาวะการค้าของ สรอ. ที่ครอบคลุมการค้าขายสินค้า บริการ และการลงทุน ซึ่งการขาด
ดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ.ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ Euro zone ในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 ต่างจากที่คาดว่าจะสูง
ขึ้น รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 14 มี.ค.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานผลผลิตอุตสาหกรรมหลังปรับตัวเลขตามฤดู
กาลแล้วใน 13 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือนในเดือน ม.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ต่อปีเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.49 ในขณะที่ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือนและ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากผลผลิตของฝรั่งเศสและอิตาลีที่ลดลงร้อยละ 0.3 และร้อยละ 1.4 ต่อเดือนตามลำดับ ในขณะที่
ผลผลิตของเยอรมนีกลับเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งร้อยละ 1.7 ต่อเดือน ทั้งที่ก่อนหน้านี้คาดว่าจะลดลงจากผลกระทบของการขึ้นอัตราภาษี VAT อีกร้อย
ละ 3.0 ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมา ทั้งนี้มีเพียงสินค้าทุนที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค.50 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในขณะที่สินค้าคงทนสำหรับผู้
บริโภคและพลังงานมีผลผลิตลดลงร้อยละ 1.5 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจ Euro zone จะยังคง
ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อไปในปี 50 โดยอาจชะลอตัวลงเล็กน้อยในช่วงต้นปีก่อนที่จะขยายตัวดีขึ้นจากการขยายตัวของความต้องการในประเทศ
และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้เป็นที่คาดกันว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.0
ต่อปีภายในเดือน มิ.ย.50 นี้ หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 3.75 ต่อปีเมื่อวันที่ 8 มี.ค.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. ค่าแรงในอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในช่วง ต.ค.49 - ม.ค.50 สูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากลอนดอน เมื่อ 14 มี.ค.50
สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานรายได้ค่าแรงโดยเฉลี่ยในช่วง ต.ค.49 - ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า (ก.ย.- ธ.ค.49) และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 แต่อย่างไรก็ดี หากไม่มีรายได้ในส่วนที่เป็นโบนัสแล้ว รายได้ค่าแรงโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในช่วง ต.ค.49 - ม.ค.50 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.7 ในช่วง ก.ย. - ธ.ค.49 ทั้งนี้ ธ.กลาง
อังกฤษกังวลว่าคนงานอาจเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค.50 เพื่อชดเชยกับราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้อัตราเงิน
เฟ้อสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้อยู่แล้ว อนึ่งมีรายงานผลสำรวจบางฉบับคาดว่าค่าแรงในอังกฤษจะเริ่มสูงขึ้นในปี 50
เพื่อชดเชยกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 ชะลอลงจากร้อยละ 5.3 เมื่อปีที่แล้ว รายงานจากปารีส เมื่อ
วันที่ 14 มี.ค. 50 ในร่างคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจโลกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่จะตีพิมพ์ในกลางเดือน เม.ย. นี้
ชี้ว่าเศรษฐกิจโลกในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มการเติบโตที่ดีที่สุดในช่วง 3 ทศวรรษ และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.
จะอยู่ในภาวะชะลอตัวก็ตาม โดยจากข้อมูลของ IMF คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 2.6 ส่วนปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ซึ่ง
สอดคล้องกับข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนา (OECD) ที่ชี้ว่าเศรษฐกิจสรอ.กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว ขณะที่เศรษฐกิจของยุโรปเติบโต
อย่างต่อเนื่องคาดว่าทั้งในปีนี้และปีหน้าเศรษฐกิจจะเติบโตที่ร้อยละ 2.3 จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นแนวโน้มการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจอย่างมากที่สุดในรอบ 6 ปีของยุโรป เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในยุโรปอาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ และอิตาลี มีแนวโน้ม
การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี ส่วนญี่ปุ่นนั้น IMF คาดว่าเศรษกิจจะเติบโตร้อยละ 2.2 ในปี 50 และร้อยละ 1.9 ในปี 51 หลังจากที่ขยายตัวร้อย
ละ 2.2 ในปี 49 ส่วนจีนนั้น IMF คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวถึงร้อยละ 10 และชะลอลงเหลือร้อยละ 9.5 ในปีหน้าตามนโยบายของทาง
การจีนที่ต้องการให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ สำหรับอินเดียคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 8.3 และชะลอลงเหลือร้อยละ
7.8 ในปีหน้าหลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.3 เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 มี.ค. 50 14 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.073 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.8797/35.2028 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 670.62/9.24 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.66 55.44 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 50 27.59*/23.74* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เงินบาทแข็งค่าจากการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก ไม่ใช่การเก็งกำไรค่าเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ
ธปท. เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ที่แข็งค่าขึ้นในช่วงนี้มีสาเหตุจากการที่ผู้ส่งออกทยอยขายเงินดอลลาร์ สรอ. ออก
มา ไม่ใช่การเก็งกำไรค่าเงิน ธปท. จึงไม่ได้เข้าไปทำอะไรเป็นพิเศษ ส่วนการดูแลค่าเงินบาทได้ให้เจ้าหน้าที่ดูแลเป็นปรกติ และเชื่อว่าวันที่
15 มี.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันแรกที่ให้เลือกทำป้องกันความเสี่ยงแทนการกันสำรองร้อยละ 30 จะไม่ทำให้ตลาดตื่นตระหนกและส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท
โดยมาตรการกันสำรองยังมีอยู่ ไม่ใช่การผ่อนคลายหรือยกเลิก ซึ่งวันนี้จะหารือกับ รมว.คลังเรื่องมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ด้วย
(โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ฐานะการคลัง 5 เดือนแรก ขาดดุล 1.35 แสนล้านบาท นายสมชัย สัจจพงษ์ รอง ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผย
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามกระแสเงินสดในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 50 ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 4.89 แสนล้านบาท สูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.7 ขณะที่มีการใช้จ่ายเงิน 5.97 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.1 ทำให้ดุลเงินงบ
ประมาณในช่วงดังกล่าวขาดดุล 1.08 แสนล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.67 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 25.24 และเมื่อ
รวมดุลเงินงบประมาณกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 2.64 หมื่นล้านบาท ทำให้ดุลการคลังหรือดุลเงินสดของรัฐบาลขาดดุล 1.35 แสนล้าน
บาท ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของนโยบายการคลังในการเริ่มกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้เติบโตในระดับที่เหมาะสม สำหรับการขาดดุล 1.35 แสนล้าน
บาท รัฐบาลได้ชดเชยด้วยการใช้เงินคงคลังและการออกพันธบัตร ในขณะที่รายได้ที่นำส่งคลังมีเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมาจากภาษีเงิน
ได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ ภาษีสุรา และภาษีเบียร์ ส่วนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจในช่วงดังกล่าวสูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้านรายจ่ายที่เบิกจ่ายได้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนเพียงร้อยละ 1.1 มีสาเหตุจาก พรบ.งบประมาณรายจ่ายปี
50 เพิ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค.50 โดยมีรายจ่ายรวมในช่วง 5 เดือนแรก จำนวน 5.97 แสนล้านบาท แบ่งเป็นงบรายจ่ายประจำ
4.49 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.82 รายจ่ายลงทุน 8.64 หมื่นล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.81 และราย
จ่ายจากงบประมาณปีก่อน 6.13 หมื่นล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.86 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
3. รัฐบาลให้ส่วนราชการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2551 แบบพอเพียง นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รอง นรม. และ รมว.
อุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมสัมมนาเรื่อง การเตรียมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 สำหรับส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยขอให้ส่วนราชการต่าง ๆ จัดทำงบประมาณโดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้สอด
คล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยใช้หลักสำคัญ 3 ประการ คือ ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน และให้ยึดหลักความซื่อสัตย์โปร่งใส พร้อม
ให้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณในโครงการต่าง ๆ ขอให้คำนึงถึงชุมชนและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการแก้ไข
ปัญหาภัยธรรมชาติและมลภาวะในปัจจุบัน ให้เน้นทั้งการให้งบประมาณช่วยเหลือและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง (มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 14 มี.ค.50 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ.ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ลดลงเป็นจำนวน 195.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่
3 ของปี 48 ที่ขาดดุลจำนวน 183.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. แต่ยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของบรรดานักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะขาดดุลจำนวน 204
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยยอดขาดดุลฯ คิดเป็นร้อยละ 5.8 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดปี 49 ขาดดุลจำนวน 856.7
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 791.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในปี 48 หรือคิดเป็นร้อยละ 6.5 ของจีดีพี สำหรับสาเหตุที่ดุลบัญชีเดินสะพัดใน
ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขาดดุลลดลง เป็นผลจากการนำเข้าลดลงเป็นจำนวน 464.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากจำนวน 480.2 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันที่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ชะลอลง ประกอบกับการส่งออก
ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 266.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากจำนวน 261.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าประเภททุน อาทิ
เช่น เครื่องบินส่วนตัว อนึ่ง ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นเครื่องชี้ภาวะการค้าของ สรอ. ที่ครอบคลุมการค้าขายสินค้า บริการ และการลงทุน ซึ่งการขาด
ดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ.ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ Euro zone ในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 ต่างจากที่คาดว่าจะสูง
ขึ้น รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 14 มี.ค.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานผลผลิตอุตสาหกรรมหลังปรับตัวเลขตามฤดู
กาลแล้วใน 13 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือนในเดือน ม.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ต่อปีเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.49 ในขณะที่ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือนและ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากผลผลิตของฝรั่งเศสและอิตาลีที่ลดลงร้อยละ 0.3 และร้อยละ 1.4 ต่อเดือนตามลำดับ ในขณะที่
ผลผลิตของเยอรมนีกลับเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งร้อยละ 1.7 ต่อเดือน ทั้งที่ก่อนหน้านี้คาดว่าจะลดลงจากผลกระทบของการขึ้นอัตราภาษี VAT อีกร้อย
ละ 3.0 ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมา ทั้งนี้มีเพียงสินค้าทุนที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค.50 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในขณะที่สินค้าคงทนสำหรับผู้
บริโภคและพลังงานมีผลผลิตลดลงร้อยละ 1.5 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจ Euro zone จะยังคง
ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อไปในปี 50 โดยอาจชะลอตัวลงเล็กน้อยในช่วงต้นปีก่อนที่จะขยายตัวดีขึ้นจากการขยายตัวของความต้องการในประเทศ
และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้เป็นที่คาดกันว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.0
ต่อปีภายในเดือน มิ.ย.50 นี้ หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 3.75 ต่อปีเมื่อวันที่ 8 มี.ค.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. ค่าแรงในอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในช่วง ต.ค.49 - ม.ค.50 สูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากลอนดอน เมื่อ 14 มี.ค.50
สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานรายได้ค่าแรงโดยเฉลี่ยในช่วง ต.ค.49 - ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า (ก.ย.- ธ.ค.49) และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 แต่อย่างไรก็ดี หากไม่มีรายได้ในส่วนที่เป็นโบนัสแล้ว รายได้ค่าแรงโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในช่วง ต.ค.49 - ม.ค.50 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.7 ในช่วง ก.ย. - ธ.ค.49 ทั้งนี้ ธ.กลาง
อังกฤษกังวลว่าคนงานอาจเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค.50 เพื่อชดเชยกับราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้อัตราเงิน
เฟ้อสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้อยู่แล้ว อนึ่งมีรายงานผลสำรวจบางฉบับคาดว่าค่าแรงในอังกฤษจะเริ่มสูงขึ้นในปี 50
เพื่อชดเชยกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 ชะลอลงจากร้อยละ 5.3 เมื่อปีที่แล้ว รายงานจากปารีส เมื่อ
วันที่ 14 มี.ค. 50 ในร่างคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจโลกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่จะตีพิมพ์ในกลางเดือน เม.ย. นี้
ชี้ว่าเศรษฐกิจโลกในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มการเติบโตที่ดีที่สุดในช่วง 3 ทศวรรษ และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.
จะอยู่ในภาวะชะลอตัวก็ตาม โดยจากข้อมูลของ IMF คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 2.6 ส่วนปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ซึ่ง
สอดคล้องกับข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนา (OECD) ที่ชี้ว่าเศรษฐกิจสรอ.กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว ขณะที่เศรษฐกิจของยุโรปเติบโต
อย่างต่อเนื่องคาดว่าทั้งในปีนี้และปีหน้าเศรษฐกิจจะเติบโตที่ร้อยละ 2.3 จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นแนวโน้มการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจอย่างมากที่สุดในรอบ 6 ปีของยุโรป เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในยุโรปอาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ และอิตาลี มีแนวโน้ม
การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี ส่วนญี่ปุ่นนั้น IMF คาดว่าเศรษกิจจะเติบโตร้อยละ 2.2 ในปี 50 และร้อยละ 1.9 ในปี 51 หลังจากที่ขยายตัวร้อย
ละ 2.2 ในปี 49 ส่วนจีนนั้น IMF คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวถึงร้อยละ 10 และชะลอลงเหลือร้อยละ 9.5 ในปีหน้าตามนโยบายของทาง
การจีนที่ต้องการให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ สำหรับอินเดียคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 8.3 และชะลอลงเหลือร้อยละ
7.8 ในปีหน้าหลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.3 เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 มี.ค. 50 14 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.073 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.8797/35.2028 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 670.62/9.24 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.66 55.44 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 50 27.59*/23.74* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--