ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. รอเวลาเหมาะสมขายหุ้น ธ.พาณิชย์ 3 แห่ง ที่ถืออยู่ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ในฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูฯ
กล่าวถึงแผนในการขายหุ้น ธ.พาณิชย์ 3 แห่ง ที่ ธปท. ถืออยู่คือ ธ.กรุงไทย ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ไทยธนาคาร โดยยืนยันว่ารัฐบาลและ
ธปท. ไม่มีนโยบายที่จะถือหุ้นไว้ แต่จะดูจังหวะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ราคาดี โดยกองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมจะเปิดรับข้อเสนอจากผู้สนใจเข้าซื้อหุ้น
ดังกล่าว แต่หากเป็นรายย่อยก็จะต้องรวมกลุ่มมาเจรจาซื้อเพราะการขายจะพิจารณาที่ราคาเป็นสำคัญ สำหรับหุ้นของ ธ.ไทยธนาคารตอนนี้กองทุน
ฟื้นฟูฯ ถืออยู่ประมาณร้อยละ 33 ของหุ้นทั้งหมดจากเดิมร้อยละ 40 ซึ่ง ธปท. อาจจะทยอยขายหุ้นออกโดยจะดูช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมและ
วงเงินของผู้เสนอซื้อด้วย หากเสนอซื้อหุ้นในราคาสูงก็จะขายเพื่อนำเงินคืน ก.คลังที่เป็นผู้สนับสนุนเงินให้ ธ.ไทยธนาคารก่อนหน้านี้ ส่วนการที่
ธ.ไทยธนาคารสามารถหาพันธมิตรมาร่วมเพิ่มทุนได้สำเร็จก็ดีใจ เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าธนาคารเคยมีฐานะไม่ดีมาก่อน ซึ่งการเพิ่มทุนและ
การควบรวมกิจการในลักษณะดังกล่าวคงไม่ได้เกิดเฉพาะกับ ธ.ไทยธนาคารเพียงแห่งเดียว แต่คงจะเกิดขึ้นกับระบบ ธ.พาณิชย์ เพราะต่อไปนี้
พรมแดนได้หายไปแล้ว และเมื่อธุรกิจของธนาคารขยายตัวไปในประเทศระดับหนึ่งก็อาจจะต้องมีสะดุด ดังนั้น เมื่อการขยายตัวในประเทศเต็มที่
แล้วคงต้องมีการขายตัวไปในภูมิภาคมากขึ้น โดย ธปท. มีแผนสนับสนุนให้ธนาคารสามารถแข่งขันได้เพื่อออกไปแข่งขันข้างนอก และปัจจุบันต้อง
ยอมรับว่าการเพิ่มทุนมีข้อติดขัดบ้าง เช่น พรบ. ในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท. เตือนประชาชนให้ระวังธนบัตรปลอมระบาดมากขึ้น ร.ต.ยอดชาย ชูศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธปท.
เปิดเผยว่า ในระยะนี้ ธปท. เตือนประชาชนให้ระวังและตรวจสอบธนบัตรปลอมมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มมิจฉาชีพมีการปรับเปลี่ยนวิธีการออกใช้
ธนบัตรปลอม จากเดิมที่จะใช้เพื่อการซื้อขายในตลาดกลางหรือตลาดบน เช่น ในการซื้อขายวัว ไนต์คลับ ปั๊มน้ำมัน แต่กลับมาสร้างความเสียหาย
ในตลาดระดับล่างมากขึ้น โดยเฉพาะใช้ซื้อสินค้าในตลาดสด โดยธนบัตรปลอมที่พบมากที่สุดคือ ประเภทราคา 1,000 บาท รองลงมาเป็นราคา
100 บาท ด้าน นายสมชาย ศฤงคารินกุล ผอ.ฝ่ายวางแผนและสนับสนุนการบริหาร ธปท. กล่าวว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้มีการตรวจพบ
ธนบัตรปลอมทั้งประเทศรวม 4,558 ฉบับ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ตรวจพบ 8,843 ฉบับ โดยเป็นการพบจากการตรวจนับของ ธ.พาณิชย์
2,276 ฉบับ หรือร้อยละ 49.9 และจากการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2,282 ฉบับ หรือร้อยละ 50.1 ส่วนใหญ่พบในพื้นที่เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มากที่สุดถึงร้อยละ 46.2 รองลงมาคือ ภาคกลางร้อยละ 42.6 ภาคเหนือร้อยละ 6.9 ส่วนใหญ่เป็นธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท ร้อยละ 59
และชนิดราคา 100 บาท ร้อยละ 24.6 ซึ่งสาเหตุที่มีการปลอมธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท และ 100 บาท มาก เพราะธนบัตรที่หมุนเวียน
ในระบบยังมีแบบที่ไม่ได้ติดแถบฟอยด์สีเงินหมุนเวียนอยู่ในปริมาณพอสมควร ทำให้ปลอมได้ง่ายกว่าแบบที่มีแถบฟอยด์ ซึ่ง ธปท. กำลังเร่งทำลาย
ธนบัตรที่ไม่มีแถบฟอยด์และปล่อยธนบัตรแบบใหม่ออกไปหมุนเวียนแทน แต่คงใช้เวลาอีกเป็นปีกว่าที่จะหมดจากระบบ (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
3. รัฐบาลให้บีโอไอชี้แจงนักลงทุนต่างชาติเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รอง นรม.
และ รมว.อุตสหากรรม กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองในขณะนี้รัฐบาลต้องพยายามทำให้เกิดความเข้าใจในหมู่นักลงทุนว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น
เรื่องระยะสั้นเท่านั้น และโดยภาพรวมแล้วต่างชาติเข้าใจ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีภารกิจในการชี้แจงกับนักลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งได้หารือกับบีโอไอ
ที่จะต้องทำงานมากขึ้นในการเตรียมออกเดินทางไปชี้แจงนักลงทุนต่างชาติภายในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่าขณะนี้ไทยอยู่
ในระยะของการเปลี่ยนผ่าน คงจะไม่มีอะไรที่จะกระทบถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยสถานการณ์ในขณะนี้ยังอยู่ในกรอบที่ออกแบบไว้คือ
เศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้เติบโตได้ตามที่คาดการณ์ไว้ และไตรมาส 2 คาดว่าน่าจะเติบโตใกล้เคียงกับร้อยละ 4 ส่วนไตรมาสถัดไปการใช้จ่าย
ภายในประเทศน่าจะขยับตัวดีขึ้นไปอีก ขณะที่ในไตรมาสสุดท้ายคงจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ด้านนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยหลัก ๆ
แล้วรัฐบาลคงต้องดำเนินการต่อเนื่อง เช่น การหามาตรการมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจเรื่องแรกที่ออกแบบไว้คือ เน้นการเร่งรัดเบิกจ่าย งปม.ปี 50
ซึ่งตัวเลขการใช้จ่ายภาครัฐที่ออกมาทำได้ดีขึ้นมากและการใช้จ่ายในภาพรวมขณะนี้เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้วแต่ไม่มากนักประมาณร้อยละ 1-2
แสดงว่ามาตรการดังกล่าวเริ่มดีขึ้นตามลำดับ (แนวหน้า, บ้านเมือง)
4. สถานการณ์ทางการเมืองทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจหลายรายการต่ำสุดในรอบ 5-7 ปี นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภา
หอการค้าไทย เปิดเผยว่า โครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่ง แต่ขณะนี้เกิดความไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้ตัวเลข
เศรษฐกิจไทยหลายรายการทำสถิติต่ำสุดในรอบ 5 — 7 ปี เช่น การบริโภคภาคเอกชนปัจจุบันขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่ำสุดในรอบ 7 ปี
การลงทุนลดลงร้อยละ 2.4 ต่ำสุดในรอบ 5 ปี การก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.7 เครื่องจักรขยายตัวลดลงร้อยละ 2.9 การใช้จ่ายของภาครัฐ
มีการใช้จ่ายเพียงร้อยละ 50 สำหรับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีมุมมองขยายตัวที่ระดับร้อยละ 3.5 — 4.0 แต่ต้องขึ้นอยู่ภายใต้
ปัจจัยที่รัฐบาลคุมสถานการณ์ทางการเมืองได้ ไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง ด้าน นายดุสิต นนทะนาคร รองกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า
ภาวะเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งหลังของปีนี้น่าเป็นห่วงมากและน่าจะเลวร้ายกว่าที่คาดไว้ เพราะปัญหาทางการเมืองยังไม่คลี่คลายและมีแนวโน้ม
ว่าเหตุการณ์จะมีความรุนแรงบานปลายมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดเศรษฐกิจให้ทรุดลง ขณะที่ปัจจัยลบเดิมยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้ง
ค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำลังการผลิตของภาคเอกชนที่ลดลง การบริโภคภายในชะลอตัว และการส่งออกได้รับ
ผลกระทบจากค่าเงินบาททำให้รายได้ลดลง (เดลินิวส์, มติชน, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 14 มิ.ย.50 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 มิ.ย.50 ไม่
เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าอยู่ที่จำนวน 311,000 คน (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า
จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 312,000 คน อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีความผันผวนน้อยกว่า เพิ่มขึ้นอยู่ที่
จำนวน 311,250 คน จากจำนวน 307,500 ในสัปดาห์ก่อน ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มิ.ย.50
(ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่มีข้อมูลล่าสุด) ลดลงจำนวน 43,000 คน อยู่ที่จำนวน 2.49 ล้านคน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่จำนวน 2.51 ล้านคน
(รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 14 มิ.ย.50 ก.แรงงาน
สรอ. เปิดเผยว่า ผลจากการที่ต้นทุนพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิต สรอ. (ซึ่งเป็นตัวเลขบ่งชี้ถึงต้นทุนที่ผู้ประกอบการ
และผู้ค้าส่งใน สรอ.ใช้จ่าย) ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงาน) เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญจากราคาพลังงานในเดือน พ.ค.เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.1 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจาก
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ราคาอาหารลดลงร้อยละ 0.2 อันเป็น
ครั้งแรกที่ลดลงตั้งแต่เดือน ต.ค.49 (รอยเตอร์)
3. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 14 มิ.ย. 50 บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยผลการสำรวจว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะ 30 ปี ในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 สูงที่สุดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในรอบเกือบปีนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. 49 ที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่เฉลี่ย
ร้อยละ 6.80 ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.74 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.53 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจาก
ความวิตกเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการใช้จ่ายของธุรกิจที่เป็นไปอย่างแข็งแกร่ง เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปี
เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 6.43 จากร้อยละ 6.22 และอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ก.ค. ปีที่แล้วที่ร้อยละ 6.44 ทั้งนี้นาย
Frank Nothaft ประธาน บ. Freddie Mac กล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองเหล่านี้ต่างเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับผลตอบแทน
ตั๋วเงินคลัง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และการที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองสูงอาจมีสาเหตุจากตลาดบ้านฟื้นตัวอย่าง
ต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการที่อยู่อาศัยยังคงมีเสถียรภาพอยู่ เช่นเดียวกับสต็อกบ้านใหม่ยังคงมีมาก ทำให้ลดแรงกดดันในการก่อสร้างและราคา
อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 1 ปี (ARM) อยู่ที่ร้อยละ 5.75 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.65 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และจากร้อยละ 5.66
เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ทรงตัวตามเป้าหมาย รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ
14 มิ.ย.50 European Union statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป
ที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน พ.ค.50 ขยายตัวร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน และขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี โดยอัตราการ
ขยายตัวเมื่อเทียบต่อปี เป็นไปตามเป้าหมายของ ธ.กลางและการคาดการณ์ของตลาดและทรงตัวต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 เดือนติดต่อกัน
สาเหตุจากราคาพลังงานและค่าโทรศัพท์ลดลง สำหรับอัตราเงินเฟ้อซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน (อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน)
ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือนและร้อยละ 1.9 เทียบต่อปีเช่นกัน นอกจากนี้ Eurostat เปิดเผยตัวเลขต้นทุนแรงงานในช่วงไตรมาสแรก
ปี 50 ว่าขยายตัวร้อยละ 2.2 ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่รายได้ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 2.3 จากไตรมาส
ก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยอัตราการขยายตัวของรายได้เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่ระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยูโรโซนขยายตัวต่ำ
สุดเพียงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ทั้งนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปต้องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้เป็น
ไปตามเป้าหมายคือต่ำกว่าระดับร้อยละ 2 และได้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
ท่ามกลางภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน โดยล่าสุดได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 4.0 เมื่อสัปดาห์ที่ก่อน
ซึ่งตลาดต่างคาดการณ์ว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ก.ย.และอีกครั้งหลังจากนั้น โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะต้องปรับขึ้น
ไปถึงระดับร้อยละ 4.5 เพื่อลดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของสินเชื่อและรายได้ที่เชื่อว่าจะมีการขยายตัวเหนือ
ความคาดหมาย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 มิ.ย. 50 14 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.648 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4306/34.7694 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66672 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 734.93/10.88 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.78 65.21 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. รอเวลาเหมาะสมขายหุ้น ธ.พาณิชย์ 3 แห่ง ที่ถืออยู่ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ในฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูฯ
กล่าวถึงแผนในการขายหุ้น ธ.พาณิชย์ 3 แห่ง ที่ ธปท. ถืออยู่คือ ธ.กรุงไทย ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ไทยธนาคาร โดยยืนยันว่ารัฐบาลและ
ธปท. ไม่มีนโยบายที่จะถือหุ้นไว้ แต่จะดูจังหวะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ราคาดี โดยกองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมจะเปิดรับข้อเสนอจากผู้สนใจเข้าซื้อหุ้น
ดังกล่าว แต่หากเป็นรายย่อยก็จะต้องรวมกลุ่มมาเจรจาซื้อเพราะการขายจะพิจารณาที่ราคาเป็นสำคัญ สำหรับหุ้นของ ธ.ไทยธนาคารตอนนี้กองทุน
ฟื้นฟูฯ ถืออยู่ประมาณร้อยละ 33 ของหุ้นทั้งหมดจากเดิมร้อยละ 40 ซึ่ง ธปท. อาจจะทยอยขายหุ้นออกโดยจะดูช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมและ
วงเงินของผู้เสนอซื้อด้วย หากเสนอซื้อหุ้นในราคาสูงก็จะขายเพื่อนำเงินคืน ก.คลังที่เป็นผู้สนับสนุนเงินให้ ธ.ไทยธนาคารก่อนหน้านี้ ส่วนการที่
ธ.ไทยธนาคารสามารถหาพันธมิตรมาร่วมเพิ่มทุนได้สำเร็จก็ดีใจ เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าธนาคารเคยมีฐานะไม่ดีมาก่อน ซึ่งการเพิ่มทุนและ
การควบรวมกิจการในลักษณะดังกล่าวคงไม่ได้เกิดเฉพาะกับ ธ.ไทยธนาคารเพียงแห่งเดียว แต่คงจะเกิดขึ้นกับระบบ ธ.พาณิชย์ เพราะต่อไปนี้
พรมแดนได้หายไปแล้ว และเมื่อธุรกิจของธนาคารขยายตัวไปในประเทศระดับหนึ่งก็อาจจะต้องมีสะดุด ดังนั้น เมื่อการขยายตัวในประเทศเต็มที่
แล้วคงต้องมีการขายตัวไปในภูมิภาคมากขึ้น โดย ธปท. มีแผนสนับสนุนให้ธนาคารสามารถแข่งขันได้เพื่อออกไปแข่งขันข้างนอก และปัจจุบันต้อง
ยอมรับว่าการเพิ่มทุนมีข้อติดขัดบ้าง เช่น พรบ. ในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท. เตือนประชาชนให้ระวังธนบัตรปลอมระบาดมากขึ้น ร.ต.ยอดชาย ชูศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธปท.
เปิดเผยว่า ในระยะนี้ ธปท. เตือนประชาชนให้ระวังและตรวจสอบธนบัตรปลอมมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มมิจฉาชีพมีการปรับเปลี่ยนวิธีการออกใช้
ธนบัตรปลอม จากเดิมที่จะใช้เพื่อการซื้อขายในตลาดกลางหรือตลาดบน เช่น ในการซื้อขายวัว ไนต์คลับ ปั๊มน้ำมัน แต่กลับมาสร้างความเสียหาย
ในตลาดระดับล่างมากขึ้น โดยเฉพาะใช้ซื้อสินค้าในตลาดสด โดยธนบัตรปลอมที่พบมากที่สุดคือ ประเภทราคา 1,000 บาท รองลงมาเป็นราคา
100 บาท ด้าน นายสมชาย ศฤงคารินกุล ผอ.ฝ่ายวางแผนและสนับสนุนการบริหาร ธปท. กล่าวว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้มีการตรวจพบ
ธนบัตรปลอมทั้งประเทศรวม 4,558 ฉบับ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ตรวจพบ 8,843 ฉบับ โดยเป็นการพบจากการตรวจนับของ ธ.พาณิชย์
2,276 ฉบับ หรือร้อยละ 49.9 และจากการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2,282 ฉบับ หรือร้อยละ 50.1 ส่วนใหญ่พบในพื้นที่เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มากที่สุดถึงร้อยละ 46.2 รองลงมาคือ ภาคกลางร้อยละ 42.6 ภาคเหนือร้อยละ 6.9 ส่วนใหญ่เป็นธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท ร้อยละ 59
และชนิดราคา 100 บาท ร้อยละ 24.6 ซึ่งสาเหตุที่มีการปลอมธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท และ 100 บาท มาก เพราะธนบัตรที่หมุนเวียน
ในระบบยังมีแบบที่ไม่ได้ติดแถบฟอยด์สีเงินหมุนเวียนอยู่ในปริมาณพอสมควร ทำให้ปลอมได้ง่ายกว่าแบบที่มีแถบฟอยด์ ซึ่ง ธปท. กำลังเร่งทำลาย
ธนบัตรที่ไม่มีแถบฟอยด์และปล่อยธนบัตรแบบใหม่ออกไปหมุนเวียนแทน แต่คงใช้เวลาอีกเป็นปีกว่าที่จะหมดจากระบบ (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
3. รัฐบาลให้บีโอไอชี้แจงนักลงทุนต่างชาติเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รอง นรม.
และ รมว.อุตสหากรรม กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองในขณะนี้รัฐบาลต้องพยายามทำให้เกิดความเข้าใจในหมู่นักลงทุนว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น
เรื่องระยะสั้นเท่านั้น และโดยภาพรวมแล้วต่างชาติเข้าใจ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีภารกิจในการชี้แจงกับนักลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งได้หารือกับบีโอไอ
ที่จะต้องทำงานมากขึ้นในการเตรียมออกเดินทางไปชี้แจงนักลงทุนต่างชาติภายในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่าขณะนี้ไทยอยู่
ในระยะของการเปลี่ยนผ่าน คงจะไม่มีอะไรที่จะกระทบถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยสถานการณ์ในขณะนี้ยังอยู่ในกรอบที่ออกแบบไว้คือ
เศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้เติบโตได้ตามที่คาดการณ์ไว้ และไตรมาส 2 คาดว่าน่าจะเติบโตใกล้เคียงกับร้อยละ 4 ส่วนไตรมาสถัดไปการใช้จ่าย
ภายในประเทศน่าจะขยับตัวดีขึ้นไปอีก ขณะที่ในไตรมาสสุดท้ายคงจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ด้านนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยหลัก ๆ
แล้วรัฐบาลคงต้องดำเนินการต่อเนื่อง เช่น การหามาตรการมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจเรื่องแรกที่ออกแบบไว้คือ เน้นการเร่งรัดเบิกจ่าย งปม.ปี 50
ซึ่งตัวเลขการใช้จ่ายภาครัฐที่ออกมาทำได้ดีขึ้นมากและการใช้จ่ายในภาพรวมขณะนี้เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้วแต่ไม่มากนักประมาณร้อยละ 1-2
แสดงว่ามาตรการดังกล่าวเริ่มดีขึ้นตามลำดับ (แนวหน้า, บ้านเมือง)
4. สถานการณ์ทางการเมืองทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจหลายรายการต่ำสุดในรอบ 5-7 ปี นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภา
หอการค้าไทย เปิดเผยว่า โครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่ง แต่ขณะนี้เกิดความไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้ตัวเลข
เศรษฐกิจไทยหลายรายการทำสถิติต่ำสุดในรอบ 5 — 7 ปี เช่น การบริโภคภาคเอกชนปัจจุบันขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่ำสุดในรอบ 7 ปี
การลงทุนลดลงร้อยละ 2.4 ต่ำสุดในรอบ 5 ปี การก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.7 เครื่องจักรขยายตัวลดลงร้อยละ 2.9 การใช้จ่ายของภาครัฐ
มีการใช้จ่ายเพียงร้อยละ 50 สำหรับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีมุมมองขยายตัวที่ระดับร้อยละ 3.5 — 4.0 แต่ต้องขึ้นอยู่ภายใต้
ปัจจัยที่รัฐบาลคุมสถานการณ์ทางการเมืองได้ ไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง ด้าน นายดุสิต นนทะนาคร รองกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า
ภาวะเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งหลังของปีนี้น่าเป็นห่วงมากและน่าจะเลวร้ายกว่าที่คาดไว้ เพราะปัญหาทางการเมืองยังไม่คลี่คลายและมีแนวโน้ม
ว่าเหตุการณ์จะมีความรุนแรงบานปลายมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดเศรษฐกิจให้ทรุดลง ขณะที่ปัจจัยลบเดิมยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้ง
ค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำลังการผลิตของภาคเอกชนที่ลดลง การบริโภคภายในชะลอตัว และการส่งออกได้รับ
ผลกระทบจากค่าเงินบาททำให้รายได้ลดลง (เดลินิวส์, มติชน, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 14 มิ.ย.50 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 มิ.ย.50 ไม่
เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าอยู่ที่จำนวน 311,000 คน (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า
จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 312,000 คน อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีความผันผวนน้อยกว่า เพิ่มขึ้นอยู่ที่
จำนวน 311,250 คน จากจำนวน 307,500 ในสัปดาห์ก่อน ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มิ.ย.50
(ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่มีข้อมูลล่าสุด) ลดลงจำนวน 43,000 คน อยู่ที่จำนวน 2.49 ล้านคน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่จำนวน 2.51 ล้านคน
(รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 14 มิ.ย.50 ก.แรงงาน
สรอ. เปิดเผยว่า ผลจากการที่ต้นทุนพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิต สรอ. (ซึ่งเป็นตัวเลขบ่งชี้ถึงต้นทุนที่ผู้ประกอบการ
และผู้ค้าส่งใน สรอ.ใช้จ่าย) ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงาน) เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญจากราคาพลังงานในเดือน พ.ค.เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.1 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจาก
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ราคาอาหารลดลงร้อยละ 0.2 อันเป็น
ครั้งแรกที่ลดลงตั้งแต่เดือน ต.ค.49 (รอยเตอร์)
3. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 14 มิ.ย. 50 บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยผลการสำรวจว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะ 30 ปี ในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 สูงที่สุดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในรอบเกือบปีนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. 49 ที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่เฉลี่ย
ร้อยละ 6.80 ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.74 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.53 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจาก
ความวิตกเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการใช้จ่ายของธุรกิจที่เป็นไปอย่างแข็งแกร่ง เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปี
เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 6.43 จากร้อยละ 6.22 และอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ก.ค. ปีที่แล้วที่ร้อยละ 6.44 ทั้งนี้นาย
Frank Nothaft ประธาน บ. Freddie Mac กล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองเหล่านี้ต่างเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับผลตอบแทน
ตั๋วเงินคลัง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และการที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองสูงอาจมีสาเหตุจากตลาดบ้านฟื้นตัวอย่าง
ต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการที่อยู่อาศัยยังคงมีเสถียรภาพอยู่ เช่นเดียวกับสต็อกบ้านใหม่ยังคงมีมาก ทำให้ลดแรงกดดันในการก่อสร้างและราคา
อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 1 ปี (ARM) อยู่ที่ร้อยละ 5.75 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.65 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และจากร้อยละ 5.66
เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ทรงตัวตามเป้าหมาย รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ
14 มิ.ย.50 European Union statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป
ที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน พ.ค.50 ขยายตัวร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน และขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี โดยอัตราการ
ขยายตัวเมื่อเทียบต่อปี เป็นไปตามเป้าหมายของ ธ.กลางและการคาดการณ์ของตลาดและทรงตัวต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 เดือนติดต่อกัน
สาเหตุจากราคาพลังงานและค่าโทรศัพท์ลดลง สำหรับอัตราเงินเฟ้อซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน (อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน)
ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือนและร้อยละ 1.9 เทียบต่อปีเช่นกัน นอกจากนี้ Eurostat เปิดเผยตัวเลขต้นทุนแรงงานในช่วงไตรมาสแรก
ปี 50 ว่าขยายตัวร้อยละ 2.2 ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่รายได้ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 2.3 จากไตรมาส
ก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยอัตราการขยายตัวของรายได้เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่ระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยูโรโซนขยายตัวต่ำ
สุดเพียงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ทั้งนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปต้องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้เป็น
ไปตามเป้าหมายคือต่ำกว่าระดับร้อยละ 2 และได้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
ท่ามกลางภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน โดยล่าสุดได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 4.0 เมื่อสัปดาห์ที่ก่อน
ซึ่งตลาดต่างคาดการณ์ว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ก.ย.และอีกครั้งหลังจากนั้น โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะต้องปรับขึ้น
ไปถึงระดับร้อยละ 4.5 เพื่อลดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของสินเชื่อและรายได้ที่เชื่อว่าจะมีการขยายตัวเหนือ
ความคาดหมาย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 มิ.ย. 50 14 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.648 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4306/34.7694 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66672 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 734.93/10.88 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.78 65.21 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--