เขาทุ่มเงินเพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญทำไม
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
9 สิงหาคม 2550
ยิ่งใกล้จะถึงวันที่ 19 สิงหา อันเป็นวันออกเสียงประชามติ รัฐธรรมนูญใหม่มากเพียงใด บรรยากาศการเมือง ดูจะยิ่งมีความว้าวุ่นมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น ว้าวุ่นถึงขนาดที่จะทำให้คนระดับประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและรัฐมนตรีบางคนในคณะรัฐบาลกับกรรมการการเลือกตั้งบางคนเกือบจะต้องมาตั้งวงทะเลาะกัน เพราะข่าวคราวการทุ่มเงินแจกชาวบ้านเพื่อให้ออกเสียงไม่รับรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่ให้นอนหลับทับสิทธิ์อยู่ที่บ้าน โดยไม่ไปออกเสียงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคมที่จะถึง
อันที่จริงทั้งสองฝ่าย ก็เป็นฝ่ายเดียวกันแท้ ๆ คือต่างก็มีหน้าที่เกี่ยวข้องและก็มีความมุ่งหมายที่จะทำให้การจัดทำประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยปราศจากการทำผิดกฎหมายว่าด้วยการจัดทำประชามติ และก็คงจะด้วยความมุ่งหมายดังกล่าวนี้ เมื่อท่านประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและท่านรัฐมนตรีเกิดไปได้รับทราบข่าวคราวการทุ่มเงินอย่างที่ว่ากันขึ้นมา ก็เลยนำมาโพนทนา คือ พูดจาดัง ๆ ผ่านสื่อซึ่งผมเข้าใจว่า คงทำอย่างอเนกประสงค์คือ หนึ่งประสงค์ที่จะประณามฝ่ายที่ทุ่มเงิน สองประสงค์ที่จะบอกให้ประชาชนรู้ และสามประสงค์ที่จะบอกให้ กกต. ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีหน้าที่จัดการและดูแลความถูกต้องเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติได้รับทราบด้วย เพื่อจะหาทางป้องกันและระงับยับยั้ง
ทาง กกต. ซึ่งเพิ่งจะเข้ามารับงานใหม่ ยังตั้งหลักกันไม่ค่อยได้ ก็เลยเกิดอาการหงุดหงิด เพราะคิดไปว่า เป็นการพูดเพื่อตำหนิติเตียน กกต. จึงเกิดอาการเอาคืน ด้วยการตอบโต้ว่าเป็นผู้ใหญ่กันทั้งนั้น เมื่อรู้ว่ามีการทุ่มเทเงินเพื่อซื้อเสียงให้คว่ำรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ก็น่าจะได้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนในพื้นที่ให้ดำเนินการตามกฎหมายไม่ใช่เพียงแต่มาพูดปาว ๆ ให้ กกต. เต้น
ผมรู้สึกว่าระยะนี้ กกต. เต้นบ่อย เมื่อหลายวันก่อนก็เต้นในอาการเดียวกันนี้ไปครั้งหนึ่งแล้ว เพราะท่านประธานมีชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพูดถึงเรื่อง พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองซื้อตัวผู้สมัครที่เป็นส.ส.เก่าบางคนถึงคนละ 30 ล้านบาท เพื่อให้อยู่กับกลุ่มของตน ครั้งนั้น กกต. บางท่านก็ร้องถามหาพยานหลักฐานกันให้วุ่นไปเหมือนกัน
เรื่องอย่างนี้มีจริง และมีอยู่บ่อย ๆ ในทางการเมือง แต่จะให้ไปหาพยานหลักฐานมายืนยันให้ครบถ้วนสมบูรณ์เหมือนอย่างการพิจารณาคดีในศาลนั้นคงไม่ได้ และสำหรับเรื่องจ่ายเงินหัวละ 250 บาท เพื่อให้คว่ำรัฐธรรมนูญใหม่นั้น ท่านรัฐมนตรีสำนักนายกคือท่านรัฐมนตรี ธีรภัทร เสรีรังสรรค์ ก็ยังคงยืนยันอยู่ถึงขนาดกล้าระบุชื่อพื้นที่เป็นรายอำเภอเลยทีเดียว และทั้งยังบอกว่าทราบชื่อผู้จ้างวานที่มีความเชื่อมโยงกับนักการเมืองในพื้นที่เสียอีกด้วย และถ้าจะถามผมว่า ผมเชื่อคำบอกกล่าวของท่านรัฐมนตรีหรือไม่ ผมขอบอกว่าผมเชื่อ และก็เห็นด้วยที่จะต้องนำเรื่องเหล่านี้มาโพนทนาดัง ๆ ผ่านสื่ออย่างเอนกประสงค์ คือ เพื่อประณามคนที่ทำ บอกประชาชนให้รู้เท่าทันและบอก กกต. เพื่อหาทางป้องกันและระงับยับยั้งโดยไม่ย่อท้อ
กลุ่มคนเหล่านี้ยอมทุ่มเงินว่าจ้างเพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญ ด้วยความมั่นใจว่าจะคว่ำรัฐธรรมนูญได้จริง คือสามารถทำให้รัฐธรรมนูญใหม่ไม่ผ่านการจัดทำประชามติได้อย่างนั้นหรือ ผมว่าไม่ใช่ ผมเชื่อว่ากลุ่มพวกเขาก็เข้าใจดีว่าเมื่อการรณรงค์ให้รับรัฐธรรมนูญใหม่ ดำเนินการมาถึงขณะนี้ และรวมทั้งที่ยังจะต้องดำเนินการต่อไปอีก รัฐธรรมนูญก็คงจะผ่านการจัดทำประชามติไปได้ในที่สุด แล้วเขายังยอมทุ่มเงินจำนวนมากมายไปทำไมกัน มีอะไรเป็นแรงจูงใจให้ต้องทำอย่างนั้น ผมคิดว่ามีแรงจูงใจอย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน กล่าวคือ
1. เป็นการชำระความแค้นต่อ คมช. และเป็นยุทธการตบหน้า คมช. ซึ่งได้ยึดอำนาจการเมืองไปจากกลุ่มพวกตน เพราะแม้รัฐธรรมนูญใหม่จะผ่านการจัดทำประชามติไปได้แต่หากมีการออกเสียงไม่รับเป็นจำนวนมากก็อาจนำไปอ้างอิงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศ ซึ่งเป็นเกมที่ถนัดอยู่แล้วว่า ประชาชนไทยจำนวนไม่น้อย ยังต่อต้านการยึดอำนาจของคมช. รวมทั้งยังไม่ยอมรับกระบวนการใด ๆ ที่สืบเนื่องมาจากการยึดอำนาจ
2. เป็นการใช้โอกาสเดียวกันนี้ทำแนวร่วมกับกลุ่มความคิดอื่น ที่ไม่ยอมรับคมช. และไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญใหม่ เช่น กลุ่มอุดมการณ์ที่ต่อต้าน คมช. โดยสุจริตใจ และกลุ่มไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญเพราะไม่พอใจที่ไม่มีบทบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติซึ่งอาจจะพัฒนาไปสู่การจัดทำเป็นนโยบายหาเสียงในการเลือกตั้งที่จะถึงอีกด้วย
3. เป็นการตกเขียวทางการเมืองคือ จ่ายเงินเพื่อตรวจสอบพลังประชาชนฝ่ายตนที่จ่ายเงินซื้อได้ และเพื่อจะจ่ายเงินซื้อเสียงอีกครั้งหนึ่งเมื่อถึงคราวเลือกตั้ง
ด้วยเหตุผลที่เป็นแรงจูงในทั้ง 3 ประการอย่างที่ว่านี้ สำหรับกลุ่มการเมืองที่ทำการเมืองด้วยการใช้เงินเป็นปัจจัยชี้ขาดและที่สำคัญคือมีเงินมากมายมหาศาลที่จะใช้ก็ต้องนับว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้มเสียอีก
สำหรับ กกต. ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงในเรื่องนี้ เมื่อมาถึงวันนี้ในขณะที่เริ่มมีบุคคลหลายฝ่ายแม้กระทั่ง กกต.จังหวัดในบางพื้นที่ต่างยืนยันว่า เรื่องการทุ่มเงินเพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญมีอยู่จริง เพียงแต่ยังหาพยานหลักฐานที่จะจับให้มั่นคั้นให้ตายไม่ได้ ความหงุดหงิดหรืออาการเต้นดูจะน้อยลงไปแล้ว
เมื่อมาถึงวันนี้ หาก กกต. ยังมีอาการเต้นอยู่ก็ควรจะเป็นอาการเต้น เพื่อที่จะป้องกันและระงับยับยั้ง ปฏิบัติการทุ่มเงินอย่างเต็มกำลังความสามารถ ซึ่งจะเป็นทั้งโอกาสอันดีในการตรวจสอบเครือข่าย กกต. บางคนบางจังหวัดและในบางเขตพื้นที่ที่มีปัญหาการทุ่มเงินว่า ยังมีศักยภาพดี และยังมีประเภทที่เกลือเป็นหนอนอยู่หรือไม่ เพื่อปรับปรุงแก้ไขกันเสียก่อนและทั้งยังจะเป็นการซ้อมรบครั้งใหญ่ก่อนที่จะเข้าสู่สงครามเลือกตั้งในคราวที่จะถึงนี้ ซึ่งดุเดือดแน่นอน.
********************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ส.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
9 สิงหาคม 2550
ยิ่งใกล้จะถึงวันที่ 19 สิงหา อันเป็นวันออกเสียงประชามติ รัฐธรรมนูญใหม่มากเพียงใด บรรยากาศการเมือง ดูจะยิ่งมีความว้าวุ่นมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น ว้าวุ่นถึงขนาดที่จะทำให้คนระดับประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและรัฐมนตรีบางคนในคณะรัฐบาลกับกรรมการการเลือกตั้งบางคนเกือบจะต้องมาตั้งวงทะเลาะกัน เพราะข่าวคราวการทุ่มเงินแจกชาวบ้านเพื่อให้ออกเสียงไม่รับรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่ให้นอนหลับทับสิทธิ์อยู่ที่บ้าน โดยไม่ไปออกเสียงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคมที่จะถึง
อันที่จริงทั้งสองฝ่าย ก็เป็นฝ่ายเดียวกันแท้ ๆ คือต่างก็มีหน้าที่เกี่ยวข้องและก็มีความมุ่งหมายที่จะทำให้การจัดทำประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยปราศจากการทำผิดกฎหมายว่าด้วยการจัดทำประชามติ และก็คงจะด้วยความมุ่งหมายดังกล่าวนี้ เมื่อท่านประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและท่านรัฐมนตรีเกิดไปได้รับทราบข่าวคราวการทุ่มเงินอย่างที่ว่ากันขึ้นมา ก็เลยนำมาโพนทนา คือ พูดจาดัง ๆ ผ่านสื่อซึ่งผมเข้าใจว่า คงทำอย่างอเนกประสงค์คือ หนึ่งประสงค์ที่จะประณามฝ่ายที่ทุ่มเงิน สองประสงค์ที่จะบอกให้ประชาชนรู้ และสามประสงค์ที่จะบอกให้ กกต. ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีหน้าที่จัดการและดูแลความถูกต้องเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติได้รับทราบด้วย เพื่อจะหาทางป้องกันและระงับยับยั้ง
ทาง กกต. ซึ่งเพิ่งจะเข้ามารับงานใหม่ ยังตั้งหลักกันไม่ค่อยได้ ก็เลยเกิดอาการหงุดหงิด เพราะคิดไปว่า เป็นการพูดเพื่อตำหนิติเตียน กกต. จึงเกิดอาการเอาคืน ด้วยการตอบโต้ว่าเป็นผู้ใหญ่กันทั้งนั้น เมื่อรู้ว่ามีการทุ่มเทเงินเพื่อซื้อเสียงให้คว่ำรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ก็น่าจะได้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนในพื้นที่ให้ดำเนินการตามกฎหมายไม่ใช่เพียงแต่มาพูดปาว ๆ ให้ กกต. เต้น
ผมรู้สึกว่าระยะนี้ กกต. เต้นบ่อย เมื่อหลายวันก่อนก็เต้นในอาการเดียวกันนี้ไปครั้งหนึ่งแล้ว เพราะท่านประธานมีชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพูดถึงเรื่อง พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองซื้อตัวผู้สมัครที่เป็นส.ส.เก่าบางคนถึงคนละ 30 ล้านบาท เพื่อให้อยู่กับกลุ่มของตน ครั้งนั้น กกต. บางท่านก็ร้องถามหาพยานหลักฐานกันให้วุ่นไปเหมือนกัน
เรื่องอย่างนี้มีจริง และมีอยู่บ่อย ๆ ในทางการเมือง แต่จะให้ไปหาพยานหลักฐานมายืนยันให้ครบถ้วนสมบูรณ์เหมือนอย่างการพิจารณาคดีในศาลนั้นคงไม่ได้ และสำหรับเรื่องจ่ายเงินหัวละ 250 บาท เพื่อให้คว่ำรัฐธรรมนูญใหม่นั้น ท่านรัฐมนตรีสำนักนายกคือท่านรัฐมนตรี ธีรภัทร เสรีรังสรรค์ ก็ยังคงยืนยันอยู่ถึงขนาดกล้าระบุชื่อพื้นที่เป็นรายอำเภอเลยทีเดียว และทั้งยังบอกว่าทราบชื่อผู้จ้างวานที่มีความเชื่อมโยงกับนักการเมืองในพื้นที่เสียอีกด้วย และถ้าจะถามผมว่า ผมเชื่อคำบอกกล่าวของท่านรัฐมนตรีหรือไม่ ผมขอบอกว่าผมเชื่อ และก็เห็นด้วยที่จะต้องนำเรื่องเหล่านี้มาโพนทนาดัง ๆ ผ่านสื่ออย่างเอนกประสงค์ คือ เพื่อประณามคนที่ทำ บอกประชาชนให้รู้เท่าทันและบอก กกต. เพื่อหาทางป้องกันและระงับยับยั้งโดยไม่ย่อท้อ
กลุ่มคนเหล่านี้ยอมทุ่มเงินว่าจ้างเพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญ ด้วยความมั่นใจว่าจะคว่ำรัฐธรรมนูญได้จริง คือสามารถทำให้รัฐธรรมนูญใหม่ไม่ผ่านการจัดทำประชามติได้อย่างนั้นหรือ ผมว่าไม่ใช่ ผมเชื่อว่ากลุ่มพวกเขาก็เข้าใจดีว่าเมื่อการรณรงค์ให้รับรัฐธรรมนูญใหม่ ดำเนินการมาถึงขณะนี้ และรวมทั้งที่ยังจะต้องดำเนินการต่อไปอีก รัฐธรรมนูญก็คงจะผ่านการจัดทำประชามติไปได้ในที่สุด แล้วเขายังยอมทุ่มเงินจำนวนมากมายไปทำไมกัน มีอะไรเป็นแรงจูงใจให้ต้องทำอย่างนั้น ผมคิดว่ามีแรงจูงใจอย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน กล่าวคือ
1. เป็นการชำระความแค้นต่อ คมช. และเป็นยุทธการตบหน้า คมช. ซึ่งได้ยึดอำนาจการเมืองไปจากกลุ่มพวกตน เพราะแม้รัฐธรรมนูญใหม่จะผ่านการจัดทำประชามติไปได้แต่หากมีการออกเสียงไม่รับเป็นจำนวนมากก็อาจนำไปอ้างอิงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศ ซึ่งเป็นเกมที่ถนัดอยู่แล้วว่า ประชาชนไทยจำนวนไม่น้อย ยังต่อต้านการยึดอำนาจของคมช. รวมทั้งยังไม่ยอมรับกระบวนการใด ๆ ที่สืบเนื่องมาจากการยึดอำนาจ
2. เป็นการใช้โอกาสเดียวกันนี้ทำแนวร่วมกับกลุ่มความคิดอื่น ที่ไม่ยอมรับคมช. และไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญใหม่ เช่น กลุ่มอุดมการณ์ที่ต่อต้าน คมช. โดยสุจริตใจ และกลุ่มไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญเพราะไม่พอใจที่ไม่มีบทบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติซึ่งอาจจะพัฒนาไปสู่การจัดทำเป็นนโยบายหาเสียงในการเลือกตั้งที่จะถึงอีกด้วย
3. เป็นการตกเขียวทางการเมืองคือ จ่ายเงินเพื่อตรวจสอบพลังประชาชนฝ่ายตนที่จ่ายเงินซื้อได้ และเพื่อจะจ่ายเงินซื้อเสียงอีกครั้งหนึ่งเมื่อถึงคราวเลือกตั้ง
ด้วยเหตุผลที่เป็นแรงจูงในทั้ง 3 ประการอย่างที่ว่านี้ สำหรับกลุ่มการเมืองที่ทำการเมืองด้วยการใช้เงินเป็นปัจจัยชี้ขาดและที่สำคัญคือมีเงินมากมายมหาศาลที่จะใช้ก็ต้องนับว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้มเสียอีก
สำหรับ กกต. ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงในเรื่องนี้ เมื่อมาถึงวันนี้ในขณะที่เริ่มมีบุคคลหลายฝ่ายแม้กระทั่ง กกต.จังหวัดในบางพื้นที่ต่างยืนยันว่า เรื่องการทุ่มเงินเพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญมีอยู่จริง เพียงแต่ยังหาพยานหลักฐานที่จะจับให้มั่นคั้นให้ตายไม่ได้ ความหงุดหงิดหรืออาการเต้นดูจะน้อยลงไปแล้ว
เมื่อมาถึงวันนี้ หาก กกต. ยังมีอาการเต้นอยู่ก็ควรจะเป็นอาการเต้น เพื่อที่จะป้องกันและระงับยับยั้ง ปฏิบัติการทุ่มเงินอย่างเต็มกำลังความสามารถ ซึ่งจะเป็นทั้งโอกาสอันดีในการตรวจสอบเครือข่าย กกต. บางคนบางจังหวัดและในบางเขตพื้นที่ที่มีปัญหาการทุ่มเงินว่า ยังมีศักยภาพดี และยังมีประเภทที่เกลือเป็นหนอนอยู่หรือไม่ เพื่อปรับปรุงแก้ไขกันเสียก่อนและทั้งยังจะเป็นการซ้อมรบครั้งใหญ่ก่อนที่จะเข้าสู่สงครามเลือกตั้งในคราวที่จะถึงนี้ ซึ่งดุเดือดแน่นอน.
********************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ส.ค. 2550--จบ--