กรุงเทพ--9 ส.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
คณะครู และนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
คณะครู และนักเรียนในโครงการยุวทูตความดี
ในนามของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม และกรมประชาสัมพันธ์ ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสพบกับเยาวชนไทยรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต ในโอกาสที่วันนี้ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นวันครบรอบ 40 ปีของการจัดตั้งอาเซียน
วันนี้ ณ กรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2510 ณ วังสราญรมย์ กระทรวงการต่างประเทศ เหตุการณ์นี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นวันและเมืองที่อาเซียน ได้ถือกำเนิดขึ้น และผมรู้สึกยินดีที่เยาวชนรุ่นใหม่ได้เข้ามาเป็นส่วนร่วมของการเฉลิมฉลองและการศึกษาเกี่ยวกับอาเซียนในวันนี้
ในโอกาสครบรอบ 40 ปีอาเซียนในปีนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม และกรมประชาสัมพันธ์ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชน จัดการแข่งขันตอบปัญหาอาเซียน เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับอาเซียนในหมู่เยาวชน และให้เยาวชนตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของตนในการมีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียน อาจกล่าวได้ว่าผู้เข้าร่วมแข่งขันในวันนี้ซึ่งมีมาถึง 54 โรงเรียน (ประมาณ 200 คน) นอกจากจะได้รับทั้งรางวัลและความรู้แล้ว ยังถือว่าได้รับคัดเลือกเป็นยุวทูตอาเซียนของไทยเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับอาเซียนให้เยาวชน บุคคลทั่วไปได้รับทราบให้กว้างขวางต่อไป
นอกจากนี้ ในปีหน้า ประเทศไทยจะมีภารกิจสำคัญยิ่ง โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งเป็นโอกาสที่ผู้นำจากอาเซียนและประเทศสำคัญอื่นๆ จะได้มา พบกัน และร่วมกำหนดนโยบายและทิศทางความร่วมมือในอนาคตของอาเซียน ประจวบเหมาะกับการที่ประเทศไทย กำลังจะมีเลขาธิการอาเซียนที่เป็นคนไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551(ดำรงตำแหน่ง 5 ปี) คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ซึ่งไทยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะมีบทบาทนำในการผลักดันและเสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียนเหมือนเช่นที่ผ่านมา
สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ถือกำเนิดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร โดยไทยเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง และเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งอาเซียนร่วมกับมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ โดยการรวมกลุ่มดังกล่าวเมื่อ 40 ปีก่อน แม้จากคำประกาศของปฏิญญากรุงเทพ ฯ (Bangkok Declaration) จะกล่าวไว้สั้น ๆ ว่า การรวมตัวกันของอาเซียน มีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมและวัฒนธรรม แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการสร้างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความมั่นคงและปราศจากความขัดแย้ง ความร่วมมือของอาเซียนได้ขยายและแตกสาขาไปอย่างมาก จากแต่เดิมที่มีความร่วมมือไม่กี่สาขา และจำกัดอยู่เพียงเฉพาะระหว่างกระทรวงการต่างประเทศด้วยกัน ปัจจุบัน ความร่วมมืออาเซียนได้ขยายครอบคลุมไปเกือบทุกกระทรวง ฯ ทบวง กรม จนปัจจุบันมีความร่วมมือในระดับรัฐมนตรีมากถึง 28 สาขา
การฉลองครบรอบ 40 ปีของอาเซียนปีนี้ มีหัวข้อหลักคือ “อาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวในใจกลางของเอเชียที่มีพลวัต” (One ASEAN at the Heart of Dynamic Asia) หมายถึงอาเซียนเป็นองค์กรความร่วมมือที่เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของเอเชีย ซึ่งสะท้อนบทบาทนำของอาเซียนในภูมิภาคเอเชียและเวทีระหว่างประเทศตลอดช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา
ปัจจุบัน อาเซียนอยู่ในระหว่างการสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ เสาหลักด้านความมั่นคง เสาหลักด้านเศรษฐกิจ และเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม หากจะให้เห็นภาพชัดขึ้น อาจเปรียบเสมือนการสร้างหมู่บ้านขนาดใหญ่ สร้างระบบสาธารณูปโภค ระบบความปลอดภัย และการต่อต้านภัยการก่อการร้าย ภัยจากปัญหายาเสพติด ภัยจากมลพิษในหมู่บ้าน และหันมาสร้างระบบเศรษฐกิจของหมู่บ้านที่เป็นสหกรณ์ สร้างตลาดที่มีฐานการผลิตร่วมกันให้กับประชาชนชาวอาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุนและแรงงานฝีมืออย่างเสรีมากขึ้นทำให้ตลาดอาเซียน มีความน่าสนใจโดยการเสริมสร้างขีดความสามารถให้อาเซียนสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นสร้างระบบคมนาคมขนส่งที่ดี ทำให้การเดินทางไปมาสะดวกสำหรับประชาชนอาเซียน ตลอดจนทำให้อาเซียนเป็นหมู่บ้านที่มิตรประเทศนอกภูมิภาค หรือคนหมู่บ้านอื่นประสงค์จะมามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน โดยเฉพาะเมื่อหมู่บ้านของเรา ซึ่งก็คือสมาคมอาเซียน มีประชากรถึง 550 ล้านคน หมู่บ้านนี้จะมีระบบการรักษาพยาบาลที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับหมู่บ้าน ร่วมมือกันป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่า และผนึกกำลังกันรับมือกับปัญหาสภาวะโลกร้อน และสร้างหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านอาเซียนสีเขียว
นอกจากนี้ ปีนี้ยังเป็นปีที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากอาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำกฎบัตรอาเซียน ซึ่งจะเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนหรือเปรียบได้กับการที่หมู่บ้านอาเซียนได้จดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือเป็นบุคคลตามกฎหมาย เพื่อให้อาเซียนสามารถประกอบนิติกรรมต่าง ๆ ในนามของประชาชนในหมู่บ้านอาเซียนได้ และจะทำให้การดำรงอยู่และการบริหารจัดการของหมู่บ้านดำเนินไปอย่างมีหลักมีเกณฑ์มากขึ้น มีประสิทธิภาพ และเน้นสนองตอบต่อความประสงค์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลัก มีการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนร่วมกัน ตลอดจนมีการปรับปรุงกลไกการตัดสินใจของกรรมการหมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ที่สำคัญที่สุด และที่ผมเห็นว่าอาเซียนโดยเฉพาะภาครัฐ จะต้องให้ความสำคัญมากขึ้น คือ การส่งเสริมความรู้และการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชนอาเซียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชน ซึ่งนอกจากกิจกรรมการ ตอบปัญหาแข่งขันอาเซียนแล้ว กระทรวงการต่างประเทศยังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีผู้เข้าร่วมจากในและต่างประเทศกว่า 120 คน และการจัดเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รวมทั้งการจัดการแข่งขันภาพถ่ายเยาวชนอาเซียนในเดือนกันยายนศกนี้ ซึ่งในขณะนี้อยู่ในช่วงระหว่างการเชิญชวนประชาชนที่สนใจจะส่งภาพเข้าประกวดด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมอาเซียนสัญจรโดยได้เดินทางไปยังโรงเรียนที่อยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นแล้ว 4 ครั้ง ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ชลบุรี และอุบลราชธานี ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในแง่มุมต่าง ๆ และในประชาชนหลายกลุ่มซึ่งประกอบรวมเป็นประชาชนอาเซียน
สำหรับเยาวชนที่สนใจและสะสมสแตมป์ ขอแจ้งว่า ในวันนี้ ไปรษณีย์ไทยร่วมกับการไปรษณีย์กลุ่มประเทศอาเซียนจะจำหน่ายตราไปรษณียากรที่ระลึกชุด 40 ปีอาเซียน โดยไปรษณีย์ไทยได้คัดเลือกพระที่นั่งวิมานเมฆให้เป็นภาพตราไปรษณียากรที่ระลึกของประเทศไทย
ในโอกาสนี้ ผมขอขอบคุณกระทรวงวัฒนธรรมกรมประชาสัมพันธ์ ภาคเอกชน และโรงเรียนต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้ โดยกระทรวง ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะให้โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมความสนใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนต่อไป และขอถือโอกาสนี้ อวยพรให้ทุกท่านประสบความสำเร็จ และแม้ทุกคนจะไม่ได้รับรางวัลชนะเลิศกันทุกคน แต่ในวันนี้ทุกคนได้รับเลือกให้เป็นยุวทูตอาเซียน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านจะช่วยเผยแพร่ความสำคัญของการสร้างประชาคมอาเซียนให้ทราบอย่างทั่วถึง
ขอขอบคุณและขอให้ทุกท่านโชคดีในการแข่งขันตอบปัญหาอาเซียนในวันนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
คณะครู และนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
คณะครู และนักเรียนในโครงการยุวทูตความดี
ในนามของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม และกรมประชาสัมพันธ์ ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสพบกับเยาวชนไทยรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต ในโอกาสที่วันนี้ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นวันครบรอบ 40 ปีของการจัดตั้งอาเซียน
วันนี้ ณ กรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2510 ณ วังสราญรมย์ กระทรวงการต่างประเทศ เหตุการณ์นี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นวันและเมืองที่อาเซียน ได้ถือกำเนิดขึ้น และผมรู้สึกยินดีที่เยาวชนรุ่นใหม่ได้เข้ามาเป็นส่วนร่วมของการเฉลิมฉลองและการศึกษาเกี่ยวกับอาเซียนในวันนี้
ในโอกาสครบรอบ 40 ปีอาเซียนในปีนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม และกรมประชาสัมพันธ์ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชน จัดการแข่งขันตอบปัญหาอาเซียน เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับอาเซียนในหมู่เยาวชน และให้เยาวชนตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของตนในการมีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียน อาจกล่าวได้ว่าผู้เข้าร่วมแข่งขันในวันนี้ซึ่งมีมาถึง 54 โรงเรียน (ประมาณ 200 คน) นอกจากจะได้รับทั้งรางวัลและความรู้แล้ว ยังถือว่าได้รับคัดเลือกเป็นยุวทูตอาเซียนของไทยเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับอาเซียนให้เยาวชน บุคคลทั่วไปได้รับทราบให้กว้างขวางต่อไป
นอกจากนี้ ในปีหน้า ประเทศไทยจะมีภารกิจสำคัญยิ่ง โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งเป็นโอกาสที่ผู้นำจากอาเซียนและประเทศสำคัญอื่นๆ จะได้มา พบกัน และร่วมกำหนดนโยบายและทิศทางความร่วมมือในอนาคตของอาเซียน ประจวบเหมาะกับการที่ประเทศไทย กำลังจะมีเลขาธิการอาเซียนที่เป็นคนไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551(ดำรงตำแหน่ง 5 ปี) คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ซึ่งไทยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะมีบทบาทนำในการผลักดันและเสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียนเหมือนเช่นที่ผ่านมา
สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ถือกำเนิดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร โดยไทยเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง และเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งอาเซียนร่วมกับมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ โดยการรวมกลุ่มดังกล่าวเมื่อ 40 ปีก่อน แม้จากคำประกาศของปฏิญญากรุงเทพ ฯ (Bangkok Declaration) จะกล่าวไว้สั้น ๆ ว่า การรวมตัวกันของอาเซียน มีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมและวัฒนธรรม แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการสร้างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความมั่นคงและปราศจากความขัดแย้ง ความร่วมมือของอาเซียนได้ขยายและแตกสาขาไปอย่างมาก จากแต่เดิมที่มีความร่วมมือไม่กี่สาขา และจำกัดอยู่เพียงเฉพาะระหว่างกระทรวงการต่างประเทศด้วยกัน ปัจจุบัน ความร่วมมืออาเซียนได้ขยายครอบคลุมไปเกือบทุกกระทรวง ฯ ทบวง กรม จนปัจจุบันมีความร่วมมือในระดับรัฐมนตรีมากถึง 28 สาขา
การฉลองครบรอบ 40 ปีของอาเซียนปีนี้ มีหัวข้อหลักคือ “อาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวในใจกลางของเอเชียที่มีพลวัต” (One ASEAN at the Heart of Dynamic Asia) หมายถึงอาเซียนเป็นองค์กรความร่วมมือที่เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของเอเชีย ซึ่งสะท้อนบทบาทนำของอาเซียนในภูมิภาคเอเชียและเวทีระหว่างประเทศตลอดช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา
ปัจจุบัน อาเซียนอยู่ในระหว่างการสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ เสาหลักด้านความมั่นคง เสาหลักด้านเศรษฐกิจ และเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม หากจะให้เห็นภาพชัดขึ้น อาจเปรียบเสมือนการสร้างหมู่บ้านขนาดใหญ่ สร้างระบบสาธารณูปโภค ระบบความปลอดภัย และการต่อต้านภัยการก่อการร้าย ภัยจากปัญหายาเสพติด ภัยจากมลพิษในหมู่บ้าน และหันมาสร้างระบบเศรษฐกิจของหมู่บ้านที่เป็นสหกรณ์ สร้างตลาดที่มีฐานการผลิตร่วมกันให้กับประชาชนชาวอาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุนและแรงงานฝีมืออย่างเสรีมากขึ้นทำให้ตลาดอาเซียน มีความน่าสนใจโดยการเสริมสร้างขีดความสามารถให้อาเซียนสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นสร้างระบบคมนาคมขนส่งที่ดี ทำให้การเดินทางไปมาสะดวกสำหรับประชาชนอาเซียน ตลอดจนทำให้อาเซียนเป็นหมู่บ้านที่มิตรประเทศนอกภูมิภาค หรือคนหมู่บ้านอื่นประสงค์จะมามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน โดยเฉพาะเมื่อหมู่บ้านของเรา ซึ่งก็คือสมาคมอาเซียน มีประชากรถึง 550 ล้านคน หมู่บ้านนี้จะมีระบบการรักษาพยาบาลที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับหมู่บ้าน ร่วมมือกันป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่า และผนึกกำลังกันรับมือกับปัญหาสภาวะโลกร้อน และสร้างหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านอาเซียนสีเขียว
นอกจากนี้ ปีนี้ยังเป็นปีที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากอาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำกฎบัตรอาเซียน ซึ่งจะเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนหรือเปรียบได้กับการที่หมู่บ้านอาเซียนได้จดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือเป็นบุคคลตามกฎหมาย เพื่อให้อาเซียนสามารถประกอบนิติกรรมต่าง ๆ ในนามของประชาชนในหมู่บ้านอาเซียนได้ และจะทำให้การดำรงอยู่และการบริหารจัดการของหมู่บ้านดำเนินไปอย่างมีหลักมีเกณฑ์มากขึ้น มีประสิทธิภาพ และเน้นสนองตอบต่อความประสงค์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลัก มีการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนร่วมกัน ตลอดจนมีการปรับปรุงกลไกการตัดสินใจของกรรมการหมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ที่สำคัญที่สุด และที่ผมเห็นว่าอาเซียนโดยเฉพาะภาครัฐ จะต้องให้ความสำคัญมากขึ้น คือ การส่งเสริมความรู้และการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชนอาเซียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชน ซึ่งนอกจากกิจกรรมการ ตอบปัญหาแข่งขันอาเซียนแล้ว กระทรวงการต่างประเทศยังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีผู้เข้าร่วมจากในและต่างประเทศกว่า 120 คน และการจัดเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รวมทั้งการจัดการแข่งขันภาพถ่ายเยาวชนอาเซียนในเดือนกันยายนศกนี้ ซึ่งในขณะนี้อยู่ในช่วงระหว่างการเชิญชวนประชาชนที่สนใจจะส่งภาพเข้าประกวดด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมอาเซียนสัญจรโดยได้เดินทางไปยังโรงเรียนที่อยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นแล้ว 4 ครั้ง ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ชลบุรี และอุบลราชธานี ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในแง่มุมต่าง ๆ และในประชาชนหลายกลุ่มซึ่งประกอบรวมเป็นประชาชนอาเซียน
สำหรับเยาวชนที่สนใจและสะสมสแตมป์ ขอแจ้งว่า ในวันนี้ ไปรษณีย์ไทยร่วมกับการไปรษณีย์กลุ่มประเทศอาเซียนจะจำหน่ายตราไปรษณียากรที่ระลึกชุด 40 ปีอาเซียน โดยไปรษณีย์ไทยได้คัดเลือกพระที่นั่งวิมานเมฆให้เป็นภาพตราไปรษณียากรที่ระลึกของประเทศไทย
ในโอกาสนี้ ผมขอขอบคุณกระทรวงวัฒนธรรมกรมประชาสัมพันธ์ ภาคเอกชน และโรงเรียนต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้ โดยกระทรวง ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะให้โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมความสนใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนต่อไป และขอถือโอกาสนี้ อวยพรให้ทุกท่านประสบความสำเร็จ และแม้ทุกคนจะไม่ได้รับรางวัลชนะเลิศกันทุกคน แต่ในวันนี้ทุกคนได้รับเลือกให้เป็นยุวทูตอาเซียน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านจะช่วยเผยแพร่ความสำคัญของการสร้างประชาคมอาเซียนให้ทราบอย่างทั่วถึง
ขอขอบคุณและขอให้ทุกท่านโชคดีในการแข่งขันตอบปัญหาอาเซียนในวันนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-