สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาสที่1(มกราคม-มีนาคม)พ.ศ.2550(อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ )

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 22, 2007 15:16 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          1.  ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ผ่านมา โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.70 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.63 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าฮาร์ตดิสไดรฟ์ (HDD) และ IC ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 2.78 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดเล็ก พัดลม สายไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อน เป็นต้น
ภาวะการตลาดโดยรวมในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.34
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 1 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ได้แก่ HDD เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ยูนิต และ Other IC ร้อยละ 31.89 18.93 และ 16.64
ตลาดในประเทศของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมยังคงปรับตัวชะลอแล็กน้อย ซึ่งสินค้าที่ปรับตัวลดลงในไตรมาส 1 ปี 2550 จากช่วง
เดียวกันของปีก่อน จะเป็นกลุ่มเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น ถึงแม้จะมีการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนเนื่องจากการปรับตัวตามฤดูกาลที่มีอากาศร้อน
ส่วนเครื่องรับโทรทัศน์ในไตรมาส 1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเครื่องรับโทรทัศน์ขนาดใหญ่ ประมาณ 6% ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดประมาณ 21-29 นิ้ว
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 คาดว่าน่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ
ร้อยละ 10-12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เกิดจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ที่ประมาณการว่าจะเติบโตประมาณ 14-15% จากการขยายตัวใน
ตลาดส่งออกของภูมิภาคอียูและเอเชีย ส่วนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาส 2 ปี 2550 คาดการณ์ว่าน่าจะทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประมาณร้อยละ 1-2% ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในกลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ขนาดใหญ่ และสินค้าตู้เย็น
ส่วนแนวโน้มการผลิตและการขายปี 2550 จากการประมาณการของ Semiconductor Industry Association พบว่า แนวโน้ม
มูลค่าการจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีทั่วโลกปี 2550 ประมาณ 273.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ของสินค้าเทคโนโลยี ดังนี้ สินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสัดส่วนของสินค้าเทคโนโลยี สูงที่สุดประมาณ 40 % ประมาณการว่าจะมีการขยายตัวประมาณ
ร้อยละ 10 โทรศัพท์มือถือในปี 2550 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-15 เป็นต้น
นอกจากนี้ ในส่วนของการขยายการลงทุนเพื่อรองรับการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นและไทยยังคงเป็นฐานการผลิตอยู่ เช่น ในส่วนของ HDD มีการ
ขยายการผลิต HDD 2.5 นิ้ว และหัวอ่าน โดยลงทุนเพิ่มเครื่องจักรกว่า 1,000 ล้านบาท การใช้กำลังการผลิตกว่า 70% เพื่อรองรับ HDD สำหรับรถ
ยนต์ ในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ยังคงมีขยายการลงทุนของบริษัทสัญชาติเกาหลีในผลิตภัณฑ์เครื่องซักผ้าฝาหน้า และเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ เงิน
ลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท ซึ่งการขยายการลงทุนนี้ส่งผลต่อภาพของความเชื่อมั่นในศักยภาพและความพร้อมที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและ
กระจายสินค้า
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิต
เช่น ราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่ราคาขายยังคงต้องตรึงราคาไว้หรือขึ้นราคาได้เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ ยังมีการวางขายเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่น
เล็ก ราคาถูก เพื่อเพิ่มปริมาณขายโดยรวมของบริษัท แรงงานที่ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ
เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
การปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย การรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้
โดยในวันที่ 21 สิงหาคม 2550 จะมีการออกมาตรฐานบังคับของเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ 2 ตัวได้แก่ เครื่องซักผ้าและเตาไมโครเวฟ ซึ่งเน้นความ
ปลอดภัยในการใช้งาน และประสิทธิภาพตามข้อมูลที่ให้กับผู้บริโภค
ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เช่นประมาณกลางปี 2550 อียูจะมีผลบังคับใช้ REACH
ในการขึ้นและจดทำเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ ขณะที่ ผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาคโดยรวมที่อาจส่งผลกระทบกับ
ภาคการผลิตและส่งออกได้ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นกระทบภาคการส่งออก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับลดลงถือเป็นการกระตุ้นภาคเอกชนโดยรวมในการลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วน
ต่างๆของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีดัชนีผลผลิต
เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 125.96 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.81 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิต
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน — คอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน — แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
และพัดลม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 98.36 84.86 27.32 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 2.78 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงได้แก่ โทรทัศน์สีขนาด
จอเล็กกว่า 20 นิ้ว พัดลม สายไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 36.09 23.45 10.81 และ 10.46 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
เครื่องปรับอากาศมีการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้เนื่องจากตลาดส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากคำสั่งซื้อกลับเข้าในตลาดอียู
ประกอบกับตลาดในประเทศที่ปรับตัวขึ้นมากจากสภาพอากาศที่ร้อน และ ถูกกระตุ้นด้วยกิจกรรมส่งเสริมการตลาด “ลดราคา-แจก” เพื่อกระตุ้น
กำลังซื้อของผู้บริโภคให้เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเพิ่มคุณภาพสินค้าด้วยการเน้นประหยัดพลังงาน และสุขภาพ ตอบสนองผู้บริโภคระดับบน และมีรุ่นราคา
เหมาะสมเพื่อตอบสนองผู้บริโภคระดับกลางถึงล่าง นอกจากนี้การให้สินเชื่อเงินผ่อน 0% ก็เป็นแรงกระตุ้นที่ดีในการขายเครื่องปรับอากาศในประเทศ
สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้วที่มีการปรับตัวลดลง เนื่องมาจากความนิยมในตัวสินค้าแบบเดิมลดต่ำลง ประกอบกับการ
เปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเป็น LCD TV มาแทนที่ และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป นอกจากนี้
ราคาขายของสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ที่เป็น LCD มีราคาต่ำลง ขณะที่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีเทคโนโลยีแบบเดิมยังคงมีขายในประเทศไทยในราคา
ที่ต่ำมากขนาดอยู่ที่ 21 นิ้ว - 29 นิ้ว สนองตอบความต้องการของระดับกลางถึงล่างได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงประสบปัญหาวัตถุดิบสำคัญอย่าง LCD
panel ที่ต้องนำเข้ามาเป็นหลัก นอกจากนี้ ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลอด CRT ที่ยังคงใช้ในการผลิตโทรทัศน์ขนาดเล็กเพื่อส่งออกในบางประเทศ
อาจขาดแคลนได้เนื่องจากโรงงานผลิตส่วนประกอบนี้ปิดตัวลง ทำให้กำลังการผลิตปรับตัวลดลงครึ่งหนึ่ง
สายไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง คือ วัตถุดิบที่นำมาผลิตสาย
ไฟฟ้ามีราคาค่อนข้างสูงทำให้การซื้อสินค้าสายไฟฟ้าสำเร็จรูปจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ สายไฟฟ้าบางอย่างมีปริมาณการใช้ปรับตัวตามอุตสาหกรรม
อื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
สำหรับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน พัดลม มีการผลิตปรับตัวลดลงในไตรมาส 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีก่อน เนื่องจากต้องแข่งขันกับสินค้าจากจีนที่มีราคาถูกกว่า ส่งผลมากต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคทำให้เจ้าตลาดเดิมต้องรักษาคุณภาพของ
สินค้าเพื่อสู้กับสินค้าราคาถูกดังกล่าว
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2550
สินค้า ดัชนีผลผลิต ไตรมาส 1 การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 49 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 49
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 125.96 7.81 -2.78
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 291.2 98.36 14.04
- คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 294.84 84.86 22.47
- แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 148.04 12.38 -3.44
พัดลม 32.2 27.32 -23.45
ตู้เย็น 217.25 11.92 2.05
กระติกน้ำร้อน 146.14 -16.07 -10.46
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 99.77 6.45 7.78
สายไฟฟ้า 136.49 19.76 -10.81
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 30.28 -38.6 -36.09
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 270.13 -7.62 1.44
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร
มาสที่ 1 ปี 2550 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลง
ร้อยละ 8.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 3.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ
29.51 19.94 และ 17.07 ตามลำดับ
ขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD ไมโครเวฟ และตู้เย็น ลด
ลง ร้อยละ 19.88 8.64 และ 4.62 จากดัชนีผลผลิตข้างต้น
จากดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น จะพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจะมีการปรับตัวลดลงในกลุ่ม
เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เนื่องจากปัจจุบันในกลุ่มนี้มีการผลิตในประเทศน้อย และย้ายฐานการผลิตไปยังจีนและประเทศอื่นๆมากขึ้น ประกอบกับ
เศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นชะลอตัว นอกจากนี้ สินค้า Consumer electronics ซึ่งยังขยายตัวได้ดีอยู่ ยกเว้น เครื่องเล่น DVD เนื่องจากการเร่ง
การการผลิตในช่วงไตรมาสก่อนมาก และในไตรมาสนี้ปรับตัวสู่ภาวะปกติ หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งไตรมาส 1 ปีที่แล้วเป็นการฐานที่สูงทำ
ให้ไตรมาสนี้มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 1 ปี 2550
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ปี 2549 ไตรมาส 1 ปี 2549
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household electrical machinary 71.4 -8.58 -3.9
เครื่องปรับอากาศ 79.9 -19.94 -4.31
ไมโครเวฟ 20.1 8.06 -8.64
หม้อหุงข้าว 85.3 4.53 -0.47
ตู้เย็น 62 -13.29 -4.62
พัดลม 80.9 3.32 -3
เครื่องซักผ้า 58.3 -17.07 1.75
เครื่องรับโทรทัศน์สี n/a n/a n/a
LCD 868.7 -3.83 17.31
เครื่องเล่น DVD 25.8 -29.51 -19.88
กล้องวีดีโอ Digital 106.8 1.62 3.99
กล้องถ่ายรูป Digital 401.7 2.97 16.98
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.99 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน และชะลอตัวร้อยละ 1.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และพัดลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.06
82.30 และ 35.92 ตามลำดับ
ขณะที่ สินค้าปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) พัดลม และ
กระติกน้ำร้อน ลดลงร้อยละ 37.46 24.56 และ 14.22 ตามลำดับ
ตลาดในประเทศของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมยังคงปรับตัวชะลอแล็กน้อย ซึ่งสินค้าที่ปรับตัวลดลงในไตรมาส 1 ปี 2550 จะเป็นกลุ่ม
เครื่องปรับอากาศและตู้เย็น ถึงแม้จะมีการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ปรับตัวตามฤดูกาลที่มีอากาศร้อน ประกอบกับค่ายต่างๆ มีกิจกรรมส่งเสริมการ
ตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายในต้นปี หลังจากตัวเลขการขายในประเทศของเครื่องปรับอากาศในเดือนมกราคม 2550 ติดลบมาก ประมาณ 40 % จากไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ทั้งไตรมาส 1 ชะลอตัวประมาณ 13-16% ถึงแม้ในเดือนมีนาคม จะทำยอดขายเพิ่มขึ้นมากประมาณ 140,000 เครื่อง
ก็ตาม
ส่วนตลาดในประเทศของเครื่องรับโทรทัศน์ในไตรมาส 1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเครื่องรับโทรทัศน์ขนาดใหญ่ ประมาณ 6% ส่วนใหญ่จะเป็น
ขนาดประมาณ 21-29 นิ้ว ซึ่งปัจจุบันมีราคาถูกมาก ตั้งแต่ 3,500 ถึง 8,500 บาท ซึ่งยังคงวางขายตาม Modern trade ต่างๆ มากมาย เช่น
MAKRO หากขนาดใหญ่กว่านี้จะนิยมใช้จอ LCD และ plasma TV ที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 28 นิ้วขึ้นไป และแนวโน้มราคาเริ่มลดลงด้วย ส่วนใหญ่วางขาย
ผ่าน dealer และห้างสรรพสินค้าใหญ่ เช่น PowerMall, PowerBuy เป็นต้น
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 3.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ และพัดลม เพิ่มขึ้นร้อยละ
22.22 5.70 และ 3.02 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ LCD กล้องถ่าย
รูป Digital และ หม้อหุงข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.67 16.08 และ 4.39
ตารางที่ 3 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2550
สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 1ปี 2550 ไตรมาส 4 ปี 49(ร้อยละ) ไตรมาส 1 ปี 49(ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 140.3 17.99 -1.85
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 264.03 82.3 1.31
คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 282.46 83.06 18.93
แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 172.41 18.89 -2.45
พัดลม 33.37 35.92 -24.56
ตู้เย็น 223.65 18.89 6.12
กระติกน้ำร้อน 138.44 -24.35 -14.22
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 100.8 3.13 9.41
สายไฟฟ้า 127.11 9.68 -12.27
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 29.53 -43.56 -37.46
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 267.28 -10.76 1.34
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2550
ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ปี 2549 ไตรมาส 1 ปี 2549
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household electrical machinary 164.3 -3.69 3.27
เครื่องปรับอากาศ -8.77 -5.7 -8.77
ไมโครเวฟ 3.58 4.83 3.58
หม้อหุงข้าว 4.39 -1.29 4.39
ตู้เย็น 1.09 4.52 1.09
พัดลม 1.58 -3.02 1.58
เครื่องซักผ้า -7.87 0.3 -7.87
เครื่องรับโทรทัศน์ 18.2 -22.22 -47.55
LCD 782.5 1.89 16.67
เครื่องเล่น DVD 221.4 7.42 -7.4
กล้องวีดีโอ Digital 127.1 3.08 -1.01
กล้องถ่ายรูป Digital 487.9 -0.35 16.08
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ทรงตัว ร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 25.08 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ HDD และOther IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.95 และ
17.10 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อส่งออกไปยังภูมิภาคต่างๆโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา จากรายงานของ
สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association: SIA) พบว่า ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2550 ยอดขายเซมิคอนดัก
เตอร์ทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพียง 3.24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง ซึ่งปริมาณขาย
อาจจะมากแต่ราคาถูกกดให้ต่ำลงทำให้การเติบโตของยอดขายน้อย จากอุปทานส่วนเกินที่มีมาก ดังนั้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด จึงต้องลดราคาตามกัน
ทางรอดที่จะเพิ่มราคาให้สูงขึ้น คือ ต้องเพิ่มเทคโนโลยี เช่น HDD ก็ให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลาย
ประเภท และที่สำคัญต้องเข้าสู่ตลาดก่อนเพื่อตักตวงยอดขายในส่วนที่บริษัทอื่นๆ ยังมิได้เข้ามาช่วงชิงตลาดก่อน และทำราคาให้สูงก่อนยี่ห้ออื่นจะทำตาม
หลังจากนั้นแล้วก็จะเข้าสู่วัฎจักรของการแข่งขันด้านราคาตามเดิมเนื่องจากมีบริษัทผลิตมาขายในตลาดมากมาย
ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็นหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ (CRT) ลดลงมากถึงร้อยละ
46.14 ซึ่งมีโรงงานแห่งหนึ่งปิดตัวในช่วงไตรมาส 4/49 ทำให้การผลิตลดลงกว่าครึ่ง โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น มีการเข้ามาแทนของ
เทคโนโลยีอื่นๆทำให้การผลิตลดลง รวมถึงราคาของ LCD/Plasma ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของจอ CRT ลดลง
ตารางที่ 6 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2550
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 1 เทียบกับไตรมาส 4 ปี 49 ไตรมาส 1 ปี 49
ปี2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 352.56 -0.83 25.08
Electric tubes Cathode For color TV 26.83 -18.55 -46.14
Electric tubes Ray tubes For computer & related equipment 42.84 -9.83 83.01
Semiconductor devices Transisters 118.41 3.79 6.78
Monolithic integrated curcuits 146.61 3.87 1.55
Other IC 175.74 0.48 17.1
Hard Disk Drive (default) 617.71 -0.99 30.95
Printer (default) 19.9 -28.84 -56.66
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี2550 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.19 และเมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.33 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Other IC ร้อยละ 31.89
และ 16.64 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 จากการรายงานของ
Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 61.02 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่ปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาคยกเว้นญี่ปุ่น และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ