สศอ.เผยอุตฯอาหาร ปี 50 ปัจจัยหนุนเพียบ คาดการผลิต-ส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ถือเป็นดาวเด่นทำรายได้เข้าประเทศ ชี้เป็นปีที่ผู้ประกอบการต้องศึกษาข้อมูล ปัจจัยกระทบจากค่าเงิน ไข้หวัดนก และการประกันความเสี่ยง
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้ทำการสรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารในปี 2549 โดยตลอดทั้งปี ภาคการผลิตขยายตัวประมาณ ร้อยละ 12 สำหรับการส่งออกในเชิงปริมาณขยายตัวประมาณ ร้อยละ 6.3 และในเชิงมูลค่าขยายตัวประมาณ ร้อยละ 12 สำหรับการคาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารปี 2550 คาดว่าปริมาณการผลิตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 โดยมีปัจจัยต่างๆ สนับสนุน คือ การรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยและของโลกมีแนวโน้มค่อนข้างทรงตัว ซึ่งจะเป็นผลดีในการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าในกลุ่มนี้ทดแทนสินค้าคงทนอื่นๆ
อย่างไรก็ตามหากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลต่างๆ โดยเฉพาะเงินเหรียญสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น อาจส่งผลทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงได้ นอกจากนี้ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร คือ ราคาน้ำมันยังคงทรงตัวในระดับสูง และปัญหาความกังวลในเรื่องโรคไข้หวัดนกที่กลับมาระบาดอีกครั้งในขณะนี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาคการผลิต การบริโภค และการส่งออกไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย
ดร.อรรชกา กล่าวถึง แนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ในปี 2550 ว่ายังมีทิศทางที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดย สินค้าประมง ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหารทะเลกระป๋อง เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง และอาหารทะเลแปรรูป มีแนวโน้มที่ดีจากปัจจัย ได้แก่ การได้คืนสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร GSP จาก สหภาพยุโรป การประกาศผลการฟ้องร้องเรียกเก็บภาษีทุ่มตลาด AD ในประเทศสหรัฐฯ ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งและที่คาดการณ์ไว้ และการฟ้องร้องต่อ WTO จากการที่สหรัฐฯ บังคับให้ผู้ส่งออกต้องวางพันธบัตรร่วมกับการเก็บภาษี AD ซึ่งเป็นการเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะส่งผลต่อแนวโน้มปริมาณการผลิตและการส่งออกกุ้งไทยได้เพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตของสินค้าในกลุ่มนี้ ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน การขาดแคลนแรงงาน และการลดลงของปริมาณวัตถุดิบจากปริมาณฟาร์มในประเทศลดลง
สินค้าพืชผักผลไม้แปรรูป ซึ่งประกอบด้วย สับปะรดกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้แปรรูปต่างๆ มีแนวโน้มขยายตัวด้านการผลิตและส่งออกเพียงเล็กน้อย เป็นผลสืบเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ และการลดพื้นที่เพาะปลูกลงจากปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำในปี 2549 แต่อาจจะได้รับผลดีบ้างในสินค้าผักและผลไม้สดแช่เย็นจากการเปิดเสรีการค้าอย่างต่อเนื่องกับจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
สินค้าปศุสัตว์แปรรูป ประกอบด้วยไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง มีแนวโน้มที่จะผลิตและส่งออกในปริมาณและมูลค่าที่ขยายตัวเล็กน้อย โดยผู้ประกอบการต้องปรับกระบวนการผลิตไปเป็นไก่แปรรูป ได้แก่ ไก่ต้มสุก และไก่พร้อมรับประทาน เช่น ไก่คาราเกะ และไก่ปรุงสำเร็จ เพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ที่แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดนก และความกังวลสารตกค้างที่ตกไปยังผู้บริโภค แต่ไทยยังคงรักษาภาพลักษณ์ของสินค้าไก่ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลในตลาดโลกได้
สินค้าแปรรูปจากธัญพืชและแป้ง มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าผลผลิตปี 2550 ปริมาณหัวมันสำปะหลังจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-20 จากการกระจายมันสำปะหลังพันธุ์ดีได้เพิ่มขึ้น และระดับราคาจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการแปรรูปมันสำปะหลังมีความกังวลในเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบเพื่อรองรับทั้งโรงงานเอทานอล และแป้งมันสำปะหลังในช่วงเวลาเดียวกัน และการเพิ่มระดับราคาประกันหัวมันสำปะหลังสดที่อาจทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
และ สินค้าอื่นๆ เช่น สินค้าน้ำตาลทราย คาดว่าจะมีการผลิตและส่งออกได้เพิ่มขึ้น แต่การผลิตจะล่าช้าไปบ้างจากภัยธรรมชาติ และการที่ WTO ประกาศผลการไต่สวนกรณีการอุดหนุนการส่งออกของสหภาพยุโรป ทำให้ระดับราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับผลผลิตของพืชอื่นที่ให้แป้งและน้ำตาลทดแทนกัน มีปริมาณเพิ่มขึ้นอาจทำให้การส่งออกน้ำตาลชะลอตัวในบางช่วงเวลา ส่วนน้ำมันพืช เช่น ปาล์มน้ำมัน จะมีการผลิตเพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูกและที่เริ่มให้ผลผลิต
สำหรับภาพรวมผลิตอุตสาหกรรมอาหารในปี 2549 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณร้อยละ 12.6 กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 57 โดยในกลุ่มกลุ่มปศุสัตว์มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 กลุ่มผักผลไม้แปรรูปมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 กลุ่มน้ำมันพืชมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 กลุ่มประมงภาพรวมของกลุ่มมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เป็นผลจากการผลิตเพิ่มขึ้นของกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 10 และปลาทูน่ากระป๋องร้อยละ 7.4
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้ทำการสรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารในปี 2549 โดยตลอดทั้งปี ภาคการผลิตขยายตัวประมาณ ร้อยละ 12 สำหรับการส่งออกในเชิงปริมาณขยายตัวประมาณ ร้อยละ 6.3 และในเชิงมูลค่าขยายตัวประมาณ ร้อยละ 12 สำหรับการคาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารปี 2550 คาดว่าปริมาณการผลิตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 โดยมีปัจจัยต่างๆ สนับสนุน คือ การรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยและของโลกมีแนวโน้มค่อนข้างทรงตัว ซึ่งจะเป็นผลดีในการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าในกลุ่มนี้ทดแทนสินค้าคงทนอื่นๆ
อย่างไรก็ตามหากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลต่างๆ โดยเฉพาะเงินเหรียญสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น อาจส่งผลทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงได้ นอกจากนี้ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร คือ ราคาน้ำมันยังคงทรงตัวในระดับสูง และปัญหาความกังวลในเรื่องโรคไข้หวัดนกที่กลับมาระบาดอีกครั้งในขณะนี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาคการผลิต การบริโภค และการส่งออกไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย
ดร.อรรชกา กล่าวถึง แนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ในปี 2550 ว่ายังมีทิศทางที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดย สินค้าประมง ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหารทะเลกระป๋อง เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง และอาหารทะเลแปรรูป มีแนวโน้มที่ดีจากปัจจัย ได้แก่ การได้คืนสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร GSP จาก สหภาพยุโรป การประกาศผลการฟ้องร้องเรียกเก็บภาษีทุ่มตลาด AD ในประเทศสหรัฐฯ ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งและที่คาดการณ์ไว้ และการฟ้องร้องต่อ WTO จากการที่สหรัฐฯ บังคับให้ผู้ส่งออกต้องวางพันธบัตรร่วมกับการเก็บภาษี AD ซึ่งเป็นการเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะส่งผลต่อแนวโน้มปริมาณการผลิตและการส่งออกกุ้งไทยได้เพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตของสินค้าในกลุ่มนี้ ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน การขาดแคลนแรงงาน และการลดลงของปริมาณวัตถุดิบจากปริมาณฟาร์มในประเทศลดลง
สินค้าพืชผักผลไม้แปรรูป ซึ่งประกอบด้วย สับปะรดกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้แปรรูปต่างๆ มีแนวโน้มขยายตัวด้านการผลิตและส่งออกเพียงเล็กน้อย เป็นผลสืบเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ และการลดพื้นที่เพาะปลูกลงจากปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำในปี 2549 แต่อาจจะได้รับผลดีบ้างในสินค้าผักและผลไม้สดแช่เย็นจากการเปิดเสรีการค้าอย่างต่อเนื่องกับจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
สินค้าปศุสัตว์แปรรูป ประกอบด้วยไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง มีแนวโน้มที่จะผลิตและส่งออกในปริมาณและมูลค่าที่ขยายตัวเล็กน้อย โดยผู้ประกอบการต้องปรับกระบวนการผลิตไปเป็นไก่แปรรูป ได้แก่ ไก่ต้มสุก และไก่พร้อมรับประทาน เช่น ไก่คาราเกะ และไก่ปรุงสำเร็จ เพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ที่แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดนก และความกังวลสารตกค้างที่ตกไปยังผู้บริโภค แต่ไทยยังคงรักษาภาพลักษณ์ของสินค้าไก่ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลในตลาดโลกได้
สินค้าแปรรูปจากธัญพืชและแป้ง มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าผลผลิตปี 2550 ปริมาณหัวมันสำปะหลังจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-20 จากการกระจายมันสำปะหลังพันธุ์ดีได้เพิ่มขึ้น และระดับราคาจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการแปรรูปมันสำปะหลังมีความกังวลในเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบเพื่อรองรับทั้งโรงงานเอทานอล และแป้งมันสำปะหลังในช่วงเวลาเดียวกัน และการเพิ่มระดับราคาประกันหัวมันสำปะหลังสดที่อาจทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
และ สินค้าอื่นๆ เช่น สินค้าน้ำตาลทราย คาดว่าจะมีการผลิตและส่งออกได้เพิ่มขึ้น แต่การผลิตจะล่าช้าไปบ้างจากภัยธรรมชาติ และการที่ WTO ประกาศผลการไต่สวนกรณีการอุดหนุนการส่งออกของสหภาพยุโรป ทำให้ระดับราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับผลผลิตของพืชอื่นที่ให้แป้งและน้ำตาลทดแทนกัน มีปริมาณเพิ่มขึ้นอาจทำให้การส่งออกน้ำตาลชะลอตัวในบางช่วงเวลา ส่วนน้ำมันพืช เช่น ปาล์มน้ำมัน จะมีการผลิตเพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูกและที่เริ่มให้ผลผลิต
สำหรับภาพรวมผลิตอุตสาหกรรมอาหารในปี 2549 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณร้อยละ 12.6 กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 57 โดยในกลุ่มกลุ่มปศุสัตว์มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 กลุ่มผักผลไม้แปรรูปมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 กลุ่มน้ำมันพืชมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 กลุ่มประมงภาพรวมของกลุ่มมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เป็นผลจากการผลิตเพิ่มขึ้นของกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 10 และปลาทูน่ากระป๋องร้อยละ 7.4
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-