กรุงเทพ--10 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศองค์การการประชุมอิสลาม ครั้งที่ 34
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศองค์การการประชุมอิสลาม ครั้งที่ 34 (34th Session of the Islamic Conference of Foreign Ministers: ICFM 34) ซึ่งจะจัดขึ้น ณ Jinnah Convention Center กรุงอิสลามาบัด ปากีสถาน ระหว่าง 15-17 พฤษภาคม 2550
ประเด็นหลัก (theme) ของการประชุม ICFM 34 คือ “สันติภาพ ความก้าวหน้าและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” ขณะที่ประเด็นสำคัญที่คาดว่าจะมีการหารือในที่ประชุมฯ คือ การแก้ไขกฎบัตร (Charter) ของ OIC เพื่อให้ข้อมติต่างๆ มีผลในทางปฏิบัติมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ จะติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ 10 ปีของ OIC ตลอดจนแผนสันติภาพตะวันออกกลางของกลุ่มประเทศอิสลามที่เสนอโดยประธานาธิบดีปากีสถาน ปัญหาข้อพิพาทระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ การแก้ไขปัญหาความกลัว/เข้าใจผิดเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม (Islamophobia) ประเด็นชนกลุ่มน้อย/ชุมชนมุสลิมโดยเฉพาะในฟิลิปปินส์และประเทศตะวันตก และปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาค อาทิ อิรัก นิวเคลียร์อิหร่าน เลบานอน อัฟกานิสถาน โซมาเลีย ซูดาน และแคว้นจัมมู-แคชเมียร์ เป็นต้น
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประทศ ซึ่งเข้าร่วมในฐานะที่ไทยเป็นผู้สังเกตการณ์การประชุมนั้น จะได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเน้นการสมานฉันท์ สันติวิธี มาตรการต่างๆ ด้านยุติธรรมเป็นหลัก และจะกล่าวถึงการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยกับ OIC ด้านการอบรมป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งไทยมีโครงการจะจัดการอบรมเรื่องนี้ในอียิปต์ในเดือนมิถุนายน 2550 การจัดประชุมด้านการค้าและการท่องเที่ยวร่วมกับหอการค้าและอุตสาหกรรมของ OIC (Islamic Chamber of Commerce and Industry: ICCI) ที่กรุงเทพฯ ในเดือนสิงหาคม 2550 ความร่วมมือด้านอาหารฮาลาล การที่ไทยเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ใน The Islamic Education, Scientific and Cultural Organization (ISESCO)
2. สารจากผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ถึงชาวไทย
วันที่ 18 เมษายน 2550 ระหว่างการเยือนประเทศสาธารณอาหรับอียิปต์ นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าพบ Dr. Muhammad Sayid Tantawy ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ (Grand Sheikh of Al Azhar) เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการศึกษากับมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร และมอบเงินจำนวน 1 ล้านบาท ให้แก่มหาวิทยาลัยฯ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของนักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ซึ่งมีนักศึกษาไทยศึกษาอยู่มากกว่า 1,500 คน
ทั้งสองฝ่ายหารือถึงการสนับสนุนนักเรียนไทยที่เรียนอยู่ในอียิปต์ ให้หันมาให้ความสนใจในการเรียนวิชาสายสามัญศึกษาควบคู่ไปกับการหาความรู้ด้านศาสนศาสตร์ เพื่อที่จะได้นำความรู้เหล่านี้กลับไปพัฒนาชุมชนของตนเอง ในโอกาสดังกล่าว ดร. Muhammad Tantawy ได้กล่าวต่อพี่น้องชาวไทยมุสลิมในประเทศไทยด้วยว่า
“ศาสนาทุกศาสนา ต่างสอนให้ศาสนิกของตน ให้ความร่วมมือในสิ่งที่ดี และห้ามปรามมิให้ร่วมมือในสิ่งที่ผิด เราให้ความเคารพและให้เกียรติประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมิได้แบ่งแยกระหว่างศาสนา และปฏิบัติต่อทุกศาสนิกชนอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น ผู้ประพฤติดี ควรได้รับผลตอบแทนที่ดี และนี่คือจิตใจอันสง่างามของประเทศไทยที่เรารู้จัก จึงทำให้เราทั้งหลายต่างให้เกียรติประเทศไทย เพราะเป็นอารยประเทศ ประเทศที่มีแต่สร้างและไม่เคยทำลาย ประเทศที่มีแต่สิ่งสร้างสรรค์และไม่เคยสร้างความหายนะ มีแต่ความดีและไม่มีสิ่งเลวร้าย ดังนั้น ขอแสดงความยินดีอย่างสุดซึ้งต่อประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ รัฐบาล และประชาชน และขออวยพรจากอัลเลาะห์ เพื่อทรงประทานให้ประเทศไทยประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง ความสงบสุข ความร่มเย็น”
3. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนญี่ปุ่นเพื่อเปิดงานเทศกาลไทย ณ กรุงโตเกียว
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดการเยือนญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 10 — 13 พฤษภาคม 2550 เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลไทย (Thai Festival) ณ สวนสาธารณะโยโยงิ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ได้จัดงานเทศกาลไทยติดอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน และประสบความสำเร็จอย่างสูง มีชาวญี่ปุ่นและชาวไทยในญี่ปุ่นให้ความสนใจและมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก และมีผู้แทนระดับสูงจากรัฐบาลญี่ปุ่นมาร่วมงานด้วย
การจัดงานเทศกาลไทยประจำปีนี้เป็นครั้งที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นหนึ่งในสามกิจกรรมหลักของฝ่ายไทยในการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-ญี่ปุ่น ครบ 120 ปี จึงมีการจัดกิจกรรมพิเศษหลายกิจกรรม อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นิทรรศการ 120 ปี ความสัมพันธ์การทูต ไทย — ญี่ปุ่น และ การสาธิตหัตถกรรมไทย รวมทั้งการแสดงนาฏศิลป์ไทย — ญี่ปุ่น และการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังจากเมืองไทย เป็นต้น
ระหว่างการเยือน นายสวนิตฯ จะได้หารือข้อราชการกับนายคัทสุฮิโต อาซาโน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ที่รู้จักคุ้นเคยกับประเทศไทยอย่างดี ทั้งนี้ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นายคัทสุฮิโต อาซาโนได้เคยพบหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาแล้วในช่วงการเยือนไทยในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังมีกำหนดการเดินทางไปจังหวัดโอซากา เพื่อพบปะกับสมาพันธ์เศรษฐกิจคันไซ(Kansai Economic Federation: Kankeiren) เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองและนโยบายเศรษฐกิจของไทย รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน ทั้งนี้ เขตคันไซเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่ลงทุนในไทย และเป็นแหล่งทุนหลักของธุรกิจญี่ปุ่นประเภท SMEs ในไทย นอกจากนี้ ร้อยละ 40 ของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมาจากเขตคันไซ
นอกจากนั้น นายสวนิตฯ ยังมีกำหนดพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้แทนสมาคมช่วยเหลือคนญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ(Sukuu — kai) และสมาคมครอบครัวเหยื่อผู้ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ (Kazokukai) และจะมอบเงินสนับสนุนองค์กร HELP และ SALAA ซึ่งเป็น NGOs ที่ให้ความช่วยเหลือคนไทยที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในญี่ปุ่น องค์กรละ 150,000 บาทด้วย
4. กระทรวงการต่างประเทศจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ความสัมพันธ์ไทย — สหรัฐฯ”
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันและกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ความสัมพันธ์ไทย—สหรัฐฯ” ระหว่างวันที่ 9 — 10 พฤษภาคม 2550 ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นเวทีให้มีการพบปะและแลกเปลี่ยนทรรศนะระหว่างนักวิชาการและหน่วยงานด้านนโยบายของไทยและสหรัฐฯ และเป็นโอกาสที่จะได้ให้ข้อมูลสถานะล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์และพัฒนาการด้านการเมืองของไทย และนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นที่สนใจ เช่น กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ การกำหนดการเลือกตั้ง สถานการณ์ในภาคใต้ ร่างกฎหมายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และมาตรการสำรองเงินทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ (Compulsory Licensing) ด้วย
ในการนี้ นายมนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้แทนรัฐมนตรีว่าการฯ เข้าร่วมการสัมมนาและกล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำในโอกาสดังกล่าว โดยจะมีผู้ทรงคุณวุฒิจากไทยเข้าร่วมอภิปรายหลายราย อาทิ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน พล.ท. ศิรพงศ์ บุญพัฒน์ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สายนโยบายการเงิน นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง รองอธิบดีกรม การค้าต่างประเทศ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.ชัยชนะ อิงคะวัต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ รศ.เสาวนีย์ จิตต์หมวด มหาวิทยาลัยราชภัฎ ธนบุรี นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงและผู้ทรงคุณวุฒิของสหรัฐฯ เข้าร่วมอีกหลายท่าน อาทิ Mr. Ira Kasoff รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐฯ ในด้านเอเชีย และ Ms. Marideth J. Sandler ผู้อำนวยการบริหาร GSP และประธานคณะอนุกรรมการ GSP ของ Trade Policy Staff Committee สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เป็นต้น
การสัมมนาครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้รับฟังนานาทรรศนะจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากฝ่ายไทยและสหรัฐฯ เกี่ยวกับสถานะความสัมพันธ์ในปัจจุบัน และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางในการพัฒนาความสัมพันธ์ต่อไปในอนาคต โดยการสัมมนาจะเน้นการอภิปรายประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย — สหรัฐฯ ครอบคลุมด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และการศึกษา รวมทั้งความสัมพันธ์ไทย — สหรัฐฯ ทั้งในบริบทภูมิภาคและโลกาภิวัตน์ด้วย
อนึ่ง ในการเดินทางเยือนสหรัฐฯ ครั้งนี้ นายมนัสพาสต์ฯ มีกำหนดจะพบหารือกับบุคคลระดับสูงจากหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ ด้วย
5. การสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับมาตรฐานรวมถึงตราสัญลักษณ์ฮาลาลของไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
นับตั้งแต่ปี 2549 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้เริ่มดำเนินการตามยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับมาตรฐานรวมถึงตราสัญลักษณ์ฮาลาลของไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยในช่วงที่ผ่านมา กรมเศรษฐกิจฯ ได้กำหนดประเทศเป้าหมายใน 2 ภูมิภาค ที่ถือเป็นตลาดใหม่ คือ ภูมิภาคอเมริกาเหนือ และสหภาพยุโรป ซึ่งทั้งสองภูมิภาคมีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 6 — 8 ล้านคน และ 12 — 15 ล้านคน ตามลำดับ แม้จะมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบประเทศมุสลิมอื่นๆ แต่กลับมีกำลังซื้อของผู้บริโภคสูงมาก โดยปัจจุบันมูลค่าตลาดอาหารฮาลาลในอเมริกาเหนือและยุโรปในแต่ละปีมีประมาณ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้นำคณะผู้บริหารระดับสูงของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล ภายใต้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พบหารือกับองค์กรมุสลิมชั้นนำที่ให้การตรวจสอบและรับรองฮาลาล รวมทั้งองค์กรศาสนาของประเทศต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับองค์กรที่มีอิทธิพลในเรื่องฮาลาลต่อกลุ่มผู้บริโภคเพื่อวางรากฐานการยอมรับสินค้าอาหารฮาลาของไทย ผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมของการดำเนินโครงการ คือ การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ และสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลกับองค์กรมุสลิมชั้นนำในประเทศเป้าหมาย เพื่อให้มาตรฐานและตราสัญลักษณ์ฮาลาลของไทยได้รับการยอมรับ และเพื่อการขยายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต รวมทั้งสิ้น 10 องค์กร
การลงนาม MoU ข้างต้นเป็นผลให้มาตรฐานและตราสัญลักษณ์ฮาลาล ของไทยเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับโดยองค์กรมุสลิมชั้นนำในสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี และฝรั่งเศส ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองฮาลาลในประเทศและภูมิภาคที่ตั้งอยู่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และเป็นองค์กรศูนย์รวมของชุมชนมุสลิมที่มีอิทธิพลทั้งในเชิงสังคมและการเมือง อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยกับองค์กรต่างๆ ของประเทศเป้าหมาย เพื่อเสริมบทบาทและภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งของกิจการฮาลาลไทย โดยใช้ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลเป็นตัวนำ
นอกจากนั้น คณะยังได้หารือกับผู้นำเข้าและห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ อาทิ ห้าง Sainsbury’s และห้าง Tesco ของสหราชอาณาจักร ซึ่งทั้งสองห้างต่างสนใจจะนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลไทยเพิ่มขึ้น และในอนาคต อาจพิจารณาจัดบางส่วนของห้างไว้เฉพาะสำหรับอาหารฮาลาล โดยจะดำเนินการในรายละเอียดต่อไป
6. ไทย — สวีเดนเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์ : จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมความร่วมมือไทย — สวีเดน ครั้งที่ 2
การประชุมคณะกรรมการร่วมความร่วมมือ (Joint Cooperation Committee : JCC) ไทย — สวีเดน ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2550 ระหว่างเวลา 10.00 — 13.20 น. ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยหัวหน้าคณะฝ่ายสวีเดน คือ นาย Anders Ahnlid, Director - General for Trade Policy (เทียบเท่ารองปลัดกระทรวง) กระทรวงการต่างประเทศสวีเดน ส่วนคณะฝ่ายไทยจะนำโดยนางชลชินีพันธุ์ ชีรานนท์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
ภายหลังการปฏิรูปการปกครองในไทยเมื่อ 19 กันยายน 2549 สวีเดนซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ในเบื้องต้นมีท่าทีเห็นด้วยตามแนวนโยบายของสหภาพยุโรป คือ กำหนดให้ไม่มีการเยือนจากฝ่ายการเมืองในระดับทวิภาคีระหว่างกัน อย่างไรก้ดีความสัมพันธ์และการดำเนินการในระดับเจ้าหน้าที่ของไทยและสวีเดนยังเป็นไปตามปกติ โครงการหรือกิจกรรมที่ได้ตกลงกันไว้แล้วก่อนนี้ ก็มีการดำเนินการต่อไป รวมทั้งการประชุมฯ ในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง เมื่อฝ่ายสวีเดนได้ทราบข้อมูลการชี้แจงจากฝ่ายไทยเป็นระยะๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพบหารือกันระหว่าง รมว.กต.ของทั้งสองประเทศในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี ASEAN — EU ที่เมืองนูเรมเบิร์ก เยอรมนี เมื่อ 15 มีนาคม 2550 ฝ่ายสวีเดนก็ได้แสดงความเข้าใจ และมั่นใจว่าประเทศไทยจะกลับคืนสู่ประชาธิปไตยได้ตามกำหนดเวลา
การประชุมฯ ในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน ที่สำคัญได้แก่ การจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา การจัดกิจกรรมครบรอบ 110 ปีการเสด็จประพาสสวีเดนของรัชกาลที่ 5 การท่องเที่ยว การจัดสัมมนาร่วมด้านเทคนิคการตรวจสอบ DNA/การจัดการภัยพิบัติ การท่องเที่ยวและการบริการสุขภาพ การจัดทำความตกลงไทย — สวีเดน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ความร่วมมือด้านวิชาการต่างๆ เช่น ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา การร่วมมือในกรอบพหุภาคีต่างๆ เป็นต้น ภายหลังการประชุม ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันลงนามในบันทึกการประชุม (Agreed Minutes) อันเป็นการแสดงความมุ่งมั่นของทั้งสองฝ่ายที่จะกระชับความร่วมมือสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมั่นคงต่อไป
7. ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเป็นประธานงานประกาศและประชาสัมพันธ์ทุน Prem Tinsulanonda Fellowship Program
วันที่ 9 พฤษภาคม 2550 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานงานประกาศและประชาสัมพันธ์ทุน Prem Tinsulanonda Fellowship Program ซึ่งภาคเอกชนไทย (ธนาคารกรุงเทพ กลุ่มบริษัทซีพี สยามซีเมนต์ และกลุ่มบริษัททีซีซี) และสหรัฐฯ ร่วมกันจัดตั้งขึ้นที่ The Paul H. Nitze School of Advanced International Studies (SAIS) มหาวิทยาลัย Johns Hopkins ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ
งานประกาศและประชาสัมพันธ์ทุนฯ จัดขึ้น ณ ห้อง Plaza Athenee One โรงแรม Plaza Athenee กรุงเทพฯ โดยมีบุคคลสำคัญ อาทิ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และนักธุรกิจชั้นนำเข้าร่วมงานฯ ด้วย
วัตถุประสงค์ของทุนฯ คือ การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาและนักวิชาการไทยที่ต้องการศึกษาต่อที่ SAIS การสนับสนุนการฝึกงานภาคฤดูร้อนในประเทศไทยของนักศึกษา SAIS การสอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins และการจัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในระยะยาว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศองค์การการประชุมอิสลาม ครั้งที่ 34
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศองค์การการประชุมอิสลาม ครั้งที่ 34 (34th Session of the Islamic Conference of Foreign Ministers: ICFM 34) ซึ่งจะจัดขึ้น ณ Jinnah Convention Center กรุงอิสลามาบัด ปากีสถาน ระหว่าง 15-17 พฤษภาคม 2550
ประเด็นหลัก (theme) ของการประชุม ICFM 34 คือ “สันติภาพ ความก้าวหน้าและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” ขณะที่ประเด็นสำคัญที่คาดว่าจะมีการหารือในที่ประชุมฯ คือ การแก้ไขกฎบัตร (Charter) ของ OIC เพื่อให้ข้อมติต่างๆ มีผลในทางปฏิบัติมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ จะติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ 10 ปีของ OIC ตลอดจนแผนสันติภาพตะวันออกกลางของกลุ่มประเทศอิสลามที่เสนอโดยประธานาธิบดีปากีสถาน ปัญหาข้อพิพาทระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ การแก้ไขปัญหาความกลัว/เข้าใจผิดเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม (Islamophobia) ประเด็นชนกลุ่มน้อย/ชุมชนมุสลิมโดยเฉพาะในฟิลิปปินส์และประเทศตะวันตก และปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาค อาทิ อิรัก นิวเคลียร์อิหร่าน เลบานอน อัฟกานิสถาน โซมาเลีย ซูดาน และแคว้นจัมมู-แคชเมียร์ เป็นต้น
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประทศ ซึ่งเข้าร่วมในฐานะที่ไทยเป็นผู้สังเกตการณ์การประชุมนั้น จะได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเน้นการสมานฉันท์ สันติวิธี มาตรการต่างๆ ด้านยุติธรรมเป็นหลัก และจะกล่าวถึงการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยกับ OIC ด้านการอบรมป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งไทยมีโครงการจะจัดการอบรมเรื่องนี้ในอียิปต์ในเดือนมิถุนายน 2550 การจัดประชุมด้านการค้าและการท่องเที่ยวร่วมกับหอการค้าและอุตสาหกรรมของ OIC (Islamic Chamber of Commerce and Industry: ICCI) ที่กรุงเทพฯ ในเดือนสิงหาคม 2550 ความร่วมมือด้านอาหารฮาลาล การที่ไทยเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ใน The Islamic Education, Scientific and Cultural Organization (ISESCO)
2. สารจากผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ถึงชาวไทย
วันที่ 18 เมษายน 2550 ระหว่างการเยือนประเทศสาธารณอาหรับอียิปต์ นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าพบ Dr. Muhammad Sayid Tantawy ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ (Grand Sheikh of Al Azhar) เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการศึกษากับมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร และมอบเงินจำนวน 1 ล้านบาท ให้แก่มหาวิทยาลัยฯ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของนักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ซึ่งมีนักศึกษาไทยศึกษาอยู่มากกว่า 1,500 คน
ทั้งสองฝ่ายหารือถึงการสนับสนุนนักเรียนไทยที่เรียนอยู่ในอียิปต์ ให้หันมาให้ความสนใจในการเรียนวิชาสายสามัญศึกษาควบคู่ไปกับการหาความรู้ด้านศาสนศาสตร์ เพื่อที่จะได้นำความรู้เหล่านี้กลับไปพัฒนาชุมชนของตนเอง ในโอกาสดังกล่าว ดร. Muhammad Tantawy ได้กล่าวต่อพี่น้องชาวไทยมุสลิมในประเทศไทยด้วยว่า
“ศาสนาทุกศาสนา ต่างสอนให้ศาสนิกของตน ให้ความร่วมมือในสิ่งที่ดี และห้ามปรามมิให้ร่วมมือในสิ่งที่ผิด เราให้ความเคารพและให้เกียรติประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมิได้แบ่งแยกระหว่างศาสนา และปฏิบัติต่อทุกศาสนิกชนอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น ผู้ประพฤติดี ควรได้รับผลตอบแทนที่ดี และนี่คือจิตใจอันสง่างามของประเทศไทยที่เรารู้จัก จึงทำให้เราทั้งหลายต่างให้เกียรติประเทศไทย เพราะเป็นอารยประเทศ ประเทศที่มีแต่สร้างและไม่เคยทำลาย ประเทศที่มีแต่สิ่งสร้างสรรค์และไม่เคยสร้างความหายนะ มีแต่ความดีและไม่มีสิ่งเลวร้าย ดังนั้น ขอแสดงความยินดีอย่างสุดซึ้งต่อประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ รัฐบาล และประชาชน และขออวยพรจากอัลเลาะห์ เพื่อทรงประทานให้ประเทศไทยประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง ความสงบสุข ความร่มเย็น”
3. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนญี่ปุ่นเพื่อเปิดงานเทศกาลไทย ณ กรุงโตเกียว
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดการเยือนญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 10 — 13 พฤษภาคม 2550 เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลไทย (Thai Festival) ณ สวนสาธารณะโยโยงิ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ได้จัดงานเทศกาลไทยติดอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน และประสบความสำเร็จอย่างสูง มีชาวญี่ปุ่นและชาวไทยในญี่ปุ่นให้ความสนใจและมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก และมีผู้แทนระดับสูงจากรัฐบาลญี่ปุ่นมาร่วมงานด้วย
การจัดงานเทศกาลไทยประจำปีนี้เป็นครั้งที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นหนึ่งในสามกิจกรรมหลักของฝ่ายไทยในการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-ญี่ปุ่น ครบ 120 ปี จึงมีการจัดกิจกรรมพิเศษหลายกิจกรรม อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นิทรรศการ 120 ปี ความสัมพันธ์การทูต ไทย — ญี่ปุ่น และ การสาธิตหัตถกรรมไทย รวมทั้งการแสดงนาฏศิลป์ไทย — ญี่ปุ่น และการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังจากเมืองไทย เป็นต้น
ระหว่างการเยือน นายสวนิตฯ จะได้หารือข้อราชการกับนายคัทสุฮิโต อาซาโน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ที่รู้จักคุ้นเคยกับประเทศไทยอย่างดี ทั้งนี้ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นายคัทสุฮิโต อาซาโนได้เคยพบหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาแล้วในช่วงการเยือนไทยในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังมีกำหนดการเดินทางไปจังหวัดโอซากา เพื่อพบปะกับสมาพันธ์เศรษฐกิจคันไซ(Kansai Economic Federation: Kankeiren) เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองและนโยบายเศรษฐกิจของไทย รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน ทั้งนี้ เขตคันไซเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่ลงทุนในไทย และเป็นแหล่งทุนหลักของธุรกิจญี่ปุ่นประเภท SMEs ในไทย นอกจากนี้ ร้อยละ 40 ของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมาจากเขตคันไซ
นอกจากนั้น นายสวนิตฯ ยังมีกำหนดพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้แทนสมาคมช่วยเหลือคนญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ(Sukuu — kai) และสมาคมครอบครัวเหยื่อผู้ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ (Kazokukai) และจะมอบเงินสนับสนุนองค์กร HELP และ SALAA ซึ่งเป็น NGOs ที่ให้ความช่วยเหลือคนไทยที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในญี่ปุ่น องค์กรละ 150,000 บาทด้วย
4. กระทรวงการต่างประเทศจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ความสัมพันธ์ไทย — สหรัฐฯ”
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันและกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ความสัมพันธ์ไทย—สหรัฐฯ” ระหว่างวันที่ 9 — 10 พฤษภาคม 2550 ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นเวทีให้มีการพบปะและแลกเปลี่ยนทรรศนะระหว่างนักวิชาการและหน่วยงานด้านนโยบายของไทยและสหรัฐฯ และเป็นโอกาสที่จะได้ให้ข้อมูลสถานะล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์และพัฒนาการด้านการเมืองของไทย และนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นที่สนใจ เช่น กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ การกำหนดการเลือกตั้ง สถานการณ์ในภาคใต้ ร่างกฎหมายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และมาตรการสำรองเงินทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ (Compulsory Licensing) ด้วย
ในการนี้ นายมนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้แทนรัฐมนตรีว่าการฯ เข้าร่วมการสัมมนาและกล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำในโอกาสดังกล่าว โดยจะมีผู้ทรงคุณวุฒิจากไทยเข้าร่วมอภิปรายหลายราย อาทิ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน พล.ท. ศิรพงศ์ บุญพัฒน์ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สายนโยบายการเงิน นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง รองอธิบดีกรม การค้าต่างประเทศ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.ชัยชนะ อิงคะวัต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ รศ.เสาวนีย์ จิตต์หมวด มหาวิทยาลัยราชภัฎ ธนบุรี นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงและผู้ทรงคุณวุฒิของสหรัฐฯ เข้าร่วมอีกหลายท่าน อาทิ Mr. Ira Kasoff รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐฯ ในด้านเอเชีย และ Ms. Marideth J. Sandler ผู้อำนวยการบริหาร GSP และประธานคณะอนุกรรมการ GSP ของ Trade Policy Staff Committee สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เป็นต้น
การสัมมนาครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้รับฟังนานาทรรศนะจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากฝ่ายไทยและสหรัฐฯ เกี่ยวกับสถานะความสัมพันธ์ในปัจจุบัน และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางในการพัฒนาความสัมพันธ์ต่อไปในอนาคต โดยการสัมมนาจะเน้นการอภิปรายประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย — สหรัฐฯ ครอบคลุมด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และการศึกษา รวมทั้งความสัมพันธ์ไทย — สหรัฐฯ ทั้งในบริบทภูมิภาคและโลกาภิวัตน์ด้วย
อนึ่ง ในการเดินทางเยือนสหรัฐฯ ครั้งนี้ นายมนัสพาสต์ฯ มีกำหนดจะพบหารือกับบุคคลระดับสูงจากหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ ด้วย
5. การสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับมาตรฐานรวมถึงตราสัญลักษณ์ฮาลาลของไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
นับตั้งแต่ปี 2549 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้เริ่มดำเนินการตามยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับมาตรฐานรวมถึงตราสัญลักษณ์ฮาลาลของไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยในช่วงที่ผ่านมา กรมเศรษฐกิจฯ ได้กำหนดประเทศเป้าหมายใน 2 ภูมิภาค ที่ถือเป็นตลาดใหม่ คือ ภูมิภาคอเมริกาเหนือ และสหภาพยุโรป ซึ่งทั้งสองภูมิภาคมีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 6 — 8 ล้านคน และ 12 — 15 ล้านคน ตามลำดับ แม้จะมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบประเทศมุสลิมอื่นๆ แต่กลับมีกำลังซื้อของผู้บริโภคสูงมาก โดยปัจจุบันมูลค่าตลาดอาหารฮาลาลในอเมริกาเหนือและยุโรปในแต่ละปีมีประมาณ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้นำคณะผู้บริหารระดับสูงของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล ภายใต้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พบหารือกับองค์กรมุสลิมชั้นนำที่ให้การตรวจสอบและรับรองฮาลาล รวมทั้งองค์กรศาสนาของประเทศต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับองค์กรที่มีอิทธิพลในเรื่องฮาลาลต่อกลุ่มผู้บริโภคเพื่อวางรากฐานการยอมรับสินค้าอาหารฮาลาของไทย ผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมของการดำเนินโครงการ คือ การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ และสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลกับองค์กรมุสลิมชั้นนำในประเทศเป้าหมาย เพื่อให้มาตรฐานและตราสัญลักษณ์ฮาลาลของไทยได้รับการยอมรับ และเพื่อการขยายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต รวมทั้งสิ้น 10 องค์กร
การลงนาม MoU ข้างต้นเป็นผลให้มาตรฐานและตราสัญลักษณ์ฮาลาล ของไทยเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับโดยองค์กรมุสลิมชั้นนำในสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี และฝรั่งเศส ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองฮาลาลในประเทศและภูมิภาคที่ตั้งอยู่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และเป็นองค์กรศูนย์รวมของชุมชนมุสลิมที่มีอิทธิพลทั้งในเชิงสังคมและการเมือง อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยกับองค์กรต่างๆ ของประเทศเป้าหมาย เพื่อเสริมบทบาทและภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งของกิจการฮาลาลไทย โดยใช้ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลเป็นตัวนำ
นอกจากนั้น คณะยังได้หารือกับผู้นำเข้าและห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ อาทิ ห้าง Sainsbury’s และห้าง Tesco ของสหราชอาณาจักร ซึ่งทั้งสองห้างต่างสนใจจะนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลไทยเพิ่มขึ้น และในอนาคต อาจพิจารณาจัดบางส่วนของห้างไว้เฉพาะสำหรับอาหารฮาลาล โดยจะดำเนินการในรายละเอียดต่อไป
6. ไทย — สวีเดนเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์ : จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมความร่วมมือไทย — สวีเดน ครั้งที่ 2
การประชุมคณะกรรมการร่วมความร่วมมือ (Joint Cooperation Committee : JCC) ไทย — สวีเดน ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2550 ระหว่างเวลา 10.00 — 13.20 น. ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยหัวหน้าคณะฝ่ายสวีเดน คือ นาย Anders Ahnlid, Director - General for Trade Policy (เทียบเท่ารองปลัดกระทรวง) กระทรวงการต่างประเทศสวีเดน ส่วนคณะฝ่ายไทยจะนำโดยนางชลชินีพันธุ์ ชีรานนท์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
ภายหลังการปฏิรูปการปกครองในไทยเมื่อ 19 กันยายน 2549 สวีเดนซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ในเบื้องต้นมีท่าทีเห็นด้วยตามแนวนโยบายของสหภาพยุโรป คือ กำหนดให้ไม่มีการเยือนจากฝ่ายการเมืองในระดับทวิภาคีระหว่างกัน อย่างไรก้ดีความสัมพันธ์และการดำเนินการในระดับเจ้าหน้าที่ของไทยและสวีเดนยังเป็นไปตามปกติ โครงการหรือกิจกรรมที่ได้ตกลงกันไว้แล้วก่อนนี้ ก็มีการดำเนินการต่อไป รวมทั้งการประชุมฯ ในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง เมื่อฝ่ายสวีเดนได้ทราบข้อมูลการชี้แจงจากฝ่ายไทยเป็นระยะๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพบหารือกันระหว่าง รมว.กต.ของทั้งสองประเทศในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี ASEAN — EU ที่เมืองนูเรมเบิร์ก เยอรมนี เมื่อ 15 มีนาคม 2550 ฝ่ายสวีเดนก็ได้แสดงความเข้าใจ และมั่นใจว่าประเทศไทยจะกลับคืนสู่ประชาธิปไตยได้ตามกำหนดเวลา
การประชุมฯ ในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน ที่สำคัญได้แก่ การจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา การจัดกิจกรรมครบรอบ 110 ปีการเสด็จประพาสสวีเดนของรัชกาลที่ 5 การท่องเที่ยว การจัดสัมมนาร่วมด้านเทคนิคการตรวจสอบ DNA/การจัดการภัยพิบัติ การท่องเที่ยวและการบริการสุขภาพ การจัดทำความตกลงไทย — สวีเดน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ความร่วมมือด้านวิชาการต่างๆ เช่น ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา การร่วมมือในกรอบพหุภาคีต่างๆ เป็นต้น ภายหลังการประชุม ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันลงนามในบันทึกการประชุม (Agreed Minutes) อันเป็นการแสดงความมุ่งมั่นของทั้งสองฝ่ายที่จะกระชับความร่วมมือสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมั่นคงต่อไป
7. ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเป็นประธานงานประกาศและประชาสัมพันธ์ทุน Prem Tinsulanonda Fellowship Program
วันที่ 9 พฤษภาคม 2550 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานงานประกาศและประชาสัมพันธ์ทุน Prem Tinsulanonda Fellowship Program ซึ่งภาคเอกชนไทย (ธนาคารกรุงเทพ กลุ่มบริษัทซีพี สยามซีเมนต์ และกลุ่มบริษัททีซีซี) และสหรัฐฯ ร่วมกันจัดตั้งขึ้นที่ The Paul H. Nitze School of Advanced International Studies (SAIS) มหาวิทยาลัย Johns Hopkins ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ
งานประกาศและประชาสัมพันธ์ทุนฯ จัดขึ้น ณ ห้อง Plaza Athenee One โรงแรม Plaza Athenee กรุงเทพฯ โดยมีบุคคลสำคัญ อาทิ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และนักธุรกิจชั้นนำเข้าร่วมงานฯ ด้วย
วัตถุประสงค์ของทุนฯ คือ การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาและนักวิชาการไทยที่ต้องการศึกษาต่อที่ SAIS การสนับสนุนการฝึกงานภาคฤดูร้อนในประเทศไทยของนักศึกษา SAIS การสอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins และการจัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในระยะยาว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-