กรุงเทพ--8 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
? กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะทำงานพิเศษ (Special Working Group--SWG) และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Official Committee--SOC) ของกรอบการประชุมว่าด้วยปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแห่งเอเชีย หรือ CICA (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia) ระหว่างวันที่ 12 — 14 มีนาคม 2550 ณ โรงแรม InterContinental
? การประชุมดังกล่าวจะมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิก CICA รวม 18 ประเทศ ได้แก่
คาซัคสถาน จีน อินเดีย ปากีสถาน รัสเซีย อาเซอร์ไบจาน อัฟกานิสถาน อียิปต์ มองโกเลีย อิหร่าน อิสราเอล อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กิซ ตุรกี ปาเลสไตน์ ไทย และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ยังจะมีประเทศและองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ประกอบด้วย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เลบานอน มาเลเซีย ยูเครน สหรัฐฯ เวียดนาม รวมทั้งสันนิบาตอาหรับ องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป และสหประชาชาติ ทั้งนี้ โดยมีคาซัคสถานในฐานะประธาน CICA ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม
? สาระสำคัญของการประชุมฯ
o SWG (12-13 มี.ค.) เวลา 09.00 น. นายนพปฎล คุณวิบูลย์ อธิบดีกรมอาเซียน จะกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมฯ และหลังจากนั้นจะเป็นการหารือเพื่อวางกรอบการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ รวมทั้งการวางแนวทางสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง CICA กับกรอบความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังจะมีการหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันเกี่ยวกับการดำเนินการในมิติมนุษยธรรม (humanitarian dimension)
o SOC (14 มี.ค.)
- เวลา 09.00 น. นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมฯ ร่วมกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซักสถาน
- จากนั้นที่ประชุมจะพิจารณาข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของที่ประชุมคณะทำงานพิเศษ
- ในช่วงระหว่างพักทานอาหารกลางวันประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้ประสานงานกรอบความร่วมมือแห่งเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue--ACD)
จะจัดการบรรยายสรุปเกี่ยวกับอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum--ARF) และ ACD เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง CICA กับ ASEAN ARF และ ACD
- 14.30 — 15.00 น. จะมีการแถลงข่าวของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ในฐานะประธาน SOC เกี่ยวกับผลของการประชุมฯ ในครั้งนี้
? วัตถุประสงค์ของการเป็นเจ้าภาพของไทยในครั้งนี้ เพื่อให้การสนับสนุน (in-kind contribution) ต่อการดำเนินการของ CICA และเป็นการแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ในการส่งเสริมการปรึกษาหารือและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก CICA อันเป็นการเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ ยังเป็นการย้ำถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับคาซัคสถานในฐานะประธาน CICA และความสำคัญที่ให้กับประเทศในภูมิภาคเอเชียกลาง ซึ่งจะปูทางไปสู่ความร่วมมือแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป ตลอดจนยังเป็นการเสริมช่องทางการติดต่อหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียกลาง ตะวันออกกลางและเมดิเตอร์เรเนียนอีกด้วย
? การประชุมครั้งนี้ มีนัยสำคัญอยู่สองสามประการ กล่าวคือ
o ถือว่าเป็นครั้งแรกของ CICA ที่จัดการประชุมนอกคาซัคสถาน ซึ่งการที่ไทยเสนอจัดประชุมครั้งนี้ ได้กระตุ้นให้ประเทศสมาชิกต่าง ๆ มีความตื่นตัว โดยขณะนี้ เกาหลีใต้ อินเดีย ตุรกีก็แสดงความประสงค์ที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป
o ที่ผ่านมา CICA อยู่ในช่วงของการจัดวางกรอบการดำเนินงาน และการสร้างสถาบัน (institution building) ดังนั้น การประชุมครั้งนี้ จึงจะมีการหารือถึงแนวทางความเชื่อมโยงระหว่าง CICA และองค์การหรือกรอบความร่วมมืออื่น ๆ ในภูมิภาค (ซึ่งไทยเป็นผู้ผลักดันและยกร่าง Concept paper ที่จะใช้ในการหารือครั้งนี้) นอกจากนี้ จะมีการหารือเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื่อเชื่อใจระหว่างกัน ซึ่งปรากฎตามเอกสาร “Cooperative Approaches” (ที่ร่างโดยคาซัคสถาน)
o นับเป็นครั้งแรกที่จะมีการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจที่เป็นรูปธรรม โดยจะมีการหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในมิติ humanitarian
o ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงสะท้อนจุดเปลี่ยน (transition) ที่สำคัญประการหนึ่งในวิวัฒนาการของ CICA (เปลี่ยนผ่านจาก institution building ไปสู่การดำเนินความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม) และย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของไทยใน CICA และยังเป็นโอกาสที่จะหารือทวิภาคีกับบางประเทศ (โดยเฉพาะที่ส่งผู้แทนระดับสูงมาร่วม)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
? กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะทำงานพิเศษ (Special Working Group--SWG) และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Official Committee--SOC) ของกรอบการประชุมว่าด้วยปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแห่งเอเชีย หรือ CICA (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia) ระหว่างวันที่ 12 — 14 มีนาคม 2550 ณ โรงแรม InterContinental
? การประชุมดังกล่าวจะมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิก CICA รวม 18 ประเทศ ได้แก่
คาซัคสถาน จีน อินเดีย ปากีสถาน รัสเซีย อาเซอร์ไบจาน อัฟกานิสถาน อียิปต์ มองโกเลีย อิหร่าน อิสราเอล อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กิซ ตุรกี ปาเลสไตน์ ไทย และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ยังจะมีประเทศและองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ประกอบด้วย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เลบานอน มาเลเซีย ยูเครน สหรัฐฯ เวียดนาม รวมทั้งสันนิบาตอาหรับ องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป และสหประชาชาติ ทั้งนี้ โดยมีคาซัคสถานในฐานะประธาน CICA ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม
? สาระสำคัญของการประชุมฯ
o SWG (12-13 มี.ค.) เวลา 09.00 น. นายนพปฎล คุณวิบูลย์ อธิบดีกรมอาเซียน จะกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมฯ และหลังจากนั้นจะเป็นการหารือเพื่อวางกรอบการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ รวมทั้งการวางแนวทางสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง CICA กับกรอบความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังจะมีการหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันเกี่ยวกับการดำเนินการในมิติมนุษยธรรม (humanitarian dimension)
o SOC (14 มี.ค.)
- เวลา 09.00 น. นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมฯ ร่วมกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซักสถาน
- จากนั้นที่ประชุมจะพิจารณาข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของที่ประชุมคณะทำงานพิเศษ
- ในช่วงระหว่างพักทานอาหารกลางวันประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้ประสานงานกรอบความร่วมมือแห่งเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue--ACD)
จะจัดการบรรยายสรุปเกี่ยวกับอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum--ARF) และ ACD เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง CICA กับ ASEAN ARF และ ACD
- 14.30 — 15.00 น. จะมีการแถลงข่าวของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ในฐานะประธาน SOC เกี่ยวกับผลของการประชุมฯ ในครั้งนี้
? วัตถุประสงค์ของการเป็นเจ้าภาพของไทยในครั้งนี้ เพื่อให้การสนับสนุน (in-kind contribution) ต่อการดำเนินการของ CICA และเป็นการแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ในการส่งเสริมการปรึกษาหารือและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก CICA อันเป็นการเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ ยังเป็นการย้ำถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับคาซัคสถานในฐานะประธาน CICA และความสำคัญที่ให้กับประเทศในภูมิภาคเอเชียกลาง ซึ่งจะปูทางไปสู่ความร่วมมือแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป ตลอดจนยังเป็นการเสริมช่องทางการติดต่อหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียกลาง ตะวันออกกลางและเมดิเตอร์เรเนียนอีกด้วย
? การประชุมครั้งนี้ มีนัยสำคัญอยู่สองสามประการ กล่าวคือ
o ถือว่าเป็นครั้งแรกของ CICA ที่จัดการประชุมนอกคาซัคสถาน ซึ่งการที่ไทยเสนอจัดประชุมครั้งนี้ ได้กระตุ้นให้ประเทศสมาชิกต่าง ๆ มีความตื่นตัว โดยขณะนี้ เกาหลีใต้ อินเดีย ตุรกีก็แสดงความประสงค์ที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป
o ที่ผ่านมา CICA อยู่ในช่วงของการจัดวางกรอบการดำเนินงาน และการสร้างสถาบัน (institution building) ดังนั้น การประชุมครั้งนี้ จึงจะมีการหารือถึงแนวทางความเชื่อมโยงระหว่าง CICA และองค์การหรือกรอบความร่วมมืออื่น ๆ ในภูมิภาค (ซึ่งไทยเป็นผู้ผลักดันและยกร่าง Concept paper ที่จะใช้ในการหารือครั้งนี้) นอกจากนี้ จะมีการหารือเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื่อเชื่อใจระหว่างกัน ซึ่งปรากฎตามเอกสาร “Cooperative Approaches” (ที่ร่างโดยคาซัคสถาน)
o นับเป็นครั้งแรกที่จะมีการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจที่เป็นรูปธรรม โดยจะมีการหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในมิติ humanitarian
o ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงสะท้อนจุดเปลี่ยน (transition) ที่สำคัญประการหนึ่งในวิวัฒนาการของ CICA (เปลี่ยนผ่านจาก institution building ไปสู่การดำเนินความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม) และย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของไทยใน CICA และยังเป็นโอกาสที่จะหารือทวิภาคีกับบางประเทศ (โดยเฉพาะที่ส่งผู้แทนระดับสูงมาร่วม)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-