เมื่อวันที่ 1 มีนาคมนี้ นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า รัฐบาลกำลังจะสูญเสียโอกาสในการปฏิรูปสื่อของรัฐจากการที่สำนักนายกรัฐมนตรีจะเข้าบริหารกิจการไอทีวี ภายใต้ชื่อใหม่ “ทีไอทีวี” โดยไม่ได้มีแนวทางการบริหารจัดการที่แตกต่างไปจากเดิม แทนที่จะใช้โอกาสนี้วางรากฐานสื่อเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่รัฐบาลกลับมุ่งเพียงจะให้มีการออกอากาศอย่างต่อเนื่อง และหวังจะได้รับผลกำไรปีละ 800 ล้านบาทอย่างที่ไอทีวีเคยได้รับ จึงต้องรับพนักงานไอทีวีเดิมทั้งหมดมาเป็นพนักงานของทีไอทีวี ซึ่งกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในขณะนี้ว่า อาจจะเป็นอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนนโยบายและทิศทางของสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ก็ได้
นายอภิชาต กล่าวว่า ในเบื้องต้นนี้เห็นด้วยกับสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาบริหารสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่นี้ แต่การกำหนดให้กรรมการเป็นตัวแทนจากหน่วยราชการเป็นหลัก ทำให้ไม่แน่ใจว่าทิศทางของสถานีแห่งนี้จะสนองตอบความเป็นสื่อสาธารณะได้แค่ไหน เพราะคุณสมบัติของตัวแทนหน่วยงานตามประเพณีปฏิบัติก็ล้วนแล้วแต่ส่งเข้ามานั่งกินตำแหน่งเท่านั้น ยากที่จะสร้างสรรค์งานเพื่อวางรากฐานใหม่ๆให้กับองค์กรสื่อได้ จึงขอเสนอให้ปรับคณะกรรมการพิเศษดังกล่าวเป็น “คณะกรรมการบริหารสื่อสาธารณะ” โดยคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายอาชีพและพื้นที่ มีความรู้ ความเข้าใจในงานโทรทัศน์ ให้ทำหน้าที่บริหารอย่างอิสระโดยปลอดอิทธิพลจากรัฐ พรรคการเมืองหรือกลุ่มทุน
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในส่วนเนื้อหารายการของทีไอทีวี ควรอยู่ในแนวทาง 5 ประการ คือ 1.มีความหลากหลาย สอดคล้องกับรสนิยมและความสนใจของทุกคน 2. เป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 3. ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ถูกละเลยจากสื่อเชิงพาณิชย์อื่นๆ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย คนพิการ เป็นพิเศษ 4. มีบทบาทนำในการสนับสนุนการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และ 5. มุ่งผลิตรายการที่มีคุณภาพเป็นสำคัญมากกว่าสนองความต้องการของผู้ชมเพียงอย่างเดียว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 มี.ค. 2550--จบ--
นายอภิชาต กล่าวว่า ในเบื้องต้นนี้เห็นด้วยกับสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาบริหารสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่นี้ แต่การกำหนดให้กรรมการเป็นตัวแทนจากหน่วยราชการเป็นหลัก ทำให้ไม่แน่ใจว่าทิศทางของสถานีแห่งนี้จะสนองตอบความเป็นสื่อสาธารณะได้แค่ไหน เพราะคุณสมบัติของตัวแทนหน่วยงานตามประเพณีปฏิบัติก็ล้วนแล้วแต่ส่งเข้ามานั่งกินตำแหน่งเท่านั้น ยากที่จะสร้างสรรค์งานเพื่อวางรากฐานใหม่ๆให้กับองค์กรสื่อได้ จึงขอเสนอให้ปรับคณะกรรมการพิเศษดังกล่าวเป็น “คณะกรรมการบริหารสื่อสาธารณะ” โดยคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายอาชีพและพื้นที่ มีความรู้ ความเข้าใจในงานโทรทัศน์ ให้ทำหน้าที่บริหารอย่างอิสระโดยปลอดอิทธิพลจากรัฐ พรรคการเมืองหรือกลุ่มทุน
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในส่วนเนื้อหารายการของทีไอทีวี ควรอยู่ในแนวทาง 5 ประการ คือ 1.มีความหลากหลาย สอดคล้องกับรสนิยมและความสนใจของทุกคน 2. เป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด 3. ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ถูกละเลยจากสื่อเชิงพาณิชย์อื่นๆ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย คนพิการ เป็นพิเศษ 4. มีบทบาทนำในการสนับสนุนการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และ 5. มุ่งผลิตรายการที่มีคุณภาพเป็นสำคัญมากกว่าสนองความต้องการของผู้ชมเพียงอย่างเดียว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 มี.ค. 2550--จบ--