กรุงเทพ--14 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (13 กันยายน 2548) นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวและให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ที่กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับกรณีกลุ่มคนไทย 131 คน ถูกควบคุมตัวอยู่ที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ต่อข่าวการจับกุมคนไทย 19 คนในวันนี้ นั้น จากการตรวจสอบเป็นการจับกุมผู้ที่ลักลอบเข้าไปทำงานโดยผิดกฎหมายในมาเลเซีย ซึ่งฝ่ายมาเลเซียได้ทำการจับกุมเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง สำหรับครั้งนี้ฝ่ายมาเลเซียได้จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายทั้งหมด 35 คน มีสัญชาติต่าง ๆ ทั้งอินโดนีเซีย กัมพูชา และพม่า รวมทั้งไทย (19 คน) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมายอยู่ในมาเลเซียอยู่แล้ว
นอกจากนั้นในบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่ามีการเดินทางข้ามไป-มา โดยตลอด ซึ่งเป็นเรื่องปรกติ
2. สำหรับกรณีกลุ่มคนไทย 131 คนนั้น สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู และเจ้าหน้าที่จากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ได้พบปะและพูดคุยกับกลุ่มคนไทยดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา และพบว่าส่วนใหญ่เดินทางไปจาก จ.นราธิวาส ได้แก่ อ.เจาะไอร้อง อ.จะแนะ อ.ตากใบ อ.ระแงะ อย่างไรก็ดี จะต้องรอผลการตรวจสอบโดยละเอียดเรื่องทะเบียนราษฎร์กับกระทรวงมหาดไทย และตรวจสอบกับฝ่ายมาเลเซียด้วย (บุคคลสองสัญชาติ)
3. สาเหตุที่กลุ่มคนดังกล่าวเดินทางไปมาเลเซียเนื่องจากจะมีความกังวลเรื่องความปลอดภัย โดยมีเหตุผลต่าง ๆ กัน อาทิ ความไม่เชื่อมั่นในสถานการณ์ความปลอดภัย เหตุการณ์ญาติพี่น้องถูกลอบทำร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโน้มน้าวชักจูงโดยการปล่อยข่าวว่า เจ้าหน้าที่จะทำการจับกุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีตากใบ และจะมีเหตุการร้ายเกิดขึ้น
4. อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่มีความประสงค์ที่จะเดินทางกลับประเทศไทยหากได้รับความมั่นใจเรื่องความปลอดภัย และเมื่อเหตุการณ์ร้ายต่าง ๆ คลี่คลายลง เนื่องจากคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังคงมีญาติ พี่น้องพำนักอยู่ในประเทศไทย และบางครอบครัวลูกไม่ได้เดินทางมาด้วยเนื่องจากยังคงเรียนหนังสืออยู่ในประเทศไทย รวมทั้งมีอาชีพและทรัพย์สินที่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้ หากสถานการณ์เป็นปรกติเช่นในอดีตที่ผ่านมา
5. กงสุลใหญ่และเจ้าหน้าที่ แสดงความห่วงใยที่มีต่อคนกลุ่มนี้ และได้ย้ำว่ารัฐบาลมีความเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างเต็มที่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็กล่าวยืนยันและย้ำในทุกโอกาสว่ารัฐบาลพร้อมที่จะดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้อย่างเต็มที่ในการเดินทางกลับประเทศไทย
6. สำหรับเรื่องผลการสอบสวนของ UNHCR นั้น ได้รับทราบเป็นการภายในว่าแม้ว่าการสัมภาษณ์กลุ่มคนไทยทั้ง 131 คน จะสิ้นสุดแล้ว แต่ยังคงมีกระบวนการดำเนินการในเรื่องการตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ คาดว่าอีก 2 สัปดาห์จึงจะสามารถมีข้อสรุปในเรื่องนี้ ส่วนข่าวเรื่องการให้สถานะผู้ลี้ภัย ขอเรียนว่า UNHCR และมาเลเซียไม่เคยมีแถลงการณ์ใด ๆ ในเรื่องการให้สถานะผู้ลี้ภัยกับคนกลุ่มนี้
7. ขอเรียนย้ำว่าฝ่ายมาเลเซียให้ความร่วมมือในการดำเนินการต่าง ๆ ด้วยดี เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
8. ภารกิจหลักของกระทรวงการต่างประเทศต่อจากนี้ คือการร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการพิสูจน์สัญชาติของบุคคลเหล่านั้น
9. โฆษกกระทรวงการต่างประเทศยังได้ชี้แจงถึงความคลาดเคลื่อนในการเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่ระบุว่าขบวนการพูโลอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยย้ำว่า การแถลงข่าวเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2548 นั้น ไม่ได้มีการระบุว่ากลุ่มพูโลอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว
10. ต่อข้อซักถามเกี่ยวกับข้อเรียกร้องจากคนไทยทั้ง 131 คนในด้านความปลอดภัยหากเดินทางกลับประเทศ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า จะทำการหารือกับหลายๆ ฝ่ายเพื่อเตรียมมาตรการรองรับให้เกิดความมั่นใจ ส่วนในเรื่องการดำเนินคดีในข้อหาเดินทางออกนอกประเทศอย่างผิดกฎหมายนั้น ขอยืนยันว่าคนไทยทั้ง 131 คนจะปลอดภัยเมื่อเดินทางกลับประเทศและรัฐบาลจะดำเนินการอย่างเต็มที่ในการดูแลกลุ่มบุคคลเหล่านี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ (13 กันยายน 2548) นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวและให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ที่กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับกรณีกลุ่มคนไทย 131 คน ถูกควบคุมตัวอยู่ที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ต่อข่าวการจับกุมคนไทย 19 คนในวันนี้ นั้น จากการตรวจสอบเป็นการจับกุมผู้ที่ลักลอบเข้าไปทำงานโดยผิดกฎหมายในมาเลเซีย ซึ่งฝ่ายมาเลเซียได้ทำการจับกุมเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง สำหรับครั้งนี้ฝ่ายมาเลเซียได้จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายทั้งหมด 35 คน มีสัญชาติต่าง ๆ ทั้งอินโดนีเซีย กัมพูชา และพม่า รวมทั้งไทย (19 คน) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมายอยู่ในมาเลเซียอยู่แล้ว
นอกจากนั้นในบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่ามีการเดินทางข้ามไป-มา โดยตลอด ซึ่งเป็นเรื่องปรกติ
2. สำหรับกรณีกลุ่มคนไทย 131 คนนั้น สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู และเจ้าหน้าที่จากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ได้พบปะและพูดคุยกับกลุ่มคนไทยดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา และพบว่าส่วนใหญ่เดินทางไปจาก จ.นราธิวาส ได้แก่ อ.เจาะไอร้อง อ.จะแนะ อ.ตากใบ อ.ระแงะ อย่างไรก็ดี จะต้องรอผลการตรวจสอบโดยละเอียดเรื่องทะเบียนราษฎร์กับกระทรวงมหาดไทย และตรวจสอบกับฝ่ายมาเลเซียด้วย (บุคคลสองสัญชาติ)
3. สาเหตุที่กลุ่มคนดังกล่าวเดินทางไปมาเลเซียเนื่องจากจะมีความกังวลเรื่องความปลอดภัย โดยมีเหตุผลต่าง ๆ กัน อาทิ ความไม่เชื่อมั่นในสถานการณ์ความปลอดภัย เหตุการณ์ญาติพี่น้องถูกลอบทำร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโน้มน้าวชักจูงโดยการปล่อยข่าวว่า เจ้าหน้าที่จะทำการจับกุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีตากใบ และจะมีเหตุการร้ายเกิดขึ้น
4. อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่มีความประสงค์ที่จะเดินทางกลับประเทศไทยหากได้รับความมั่นใจเรื่องความปลอดภัย และเมื่อเหตุการณ์ร้ายต่าง ๆ คลี่คลายลง เนื่องจากคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังคงมีญาติ พี่น้องพำนักอยู่ในประเทศไทย และบางครอบครัวลูกไม่ได้เดินทางมาด้วยเนื่องจากยังคงเรียนหนังสืออยู่ในประเทศไทย รวมทั้งมีอาชีพและทรัพย์สินที่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้ หากสถานการณ์เป็นปรกติเช่นในอดีตที่ผ่านมา
5. กงสุลใหญ่และเจ้าหน้าที่ แสดงความห่วงใยที่มีต่อคนกลุ่มนี้ และได้ย้ำว่ารัฐบาลมีความเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างเต็มที่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็กล่าวยืนยันและย้ำในทุกโอกาสว่ารัฐบาลพร้อมที่จะดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้อย่างเต็มที่ในการเดินทางกลับประเทศไทย
6. สำหรับเรื่องผลการสอบสวนของ UNHCR นั้น ได้รับทราบเป็นการภายในว่าแม้ว่าการสัมภาษณ์กลุ่มคนไทยทั้ง 131 คน จะสิ้นสุดแล้ว แต่ยังคงมีกระบวนการดำเนินการในเรื่องการตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ คาดว่าอีก 2 สัปดาห์จึงจะสามารถมีข้อสรุปในเรื่องนี้ ส่วนข่าวเรื่องการให้สถานะผู้ลี้ภัย ขอเรียนว่า UNHCR และมาเลเซียไม่เคยมีแถลงการณ์ใด ๆ ในเรื่องการให้สถานะผู้ลี้ภัยกับคนกลุ่มนี้
7. ขอเรียนย้ำว่าฝ่ายมาเลเซียให้ความร่วมมือในการดำเนินการต่าง ๆ ด้วยดี เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
8. ภารกิจหลักของกระทรวงการต่างประเทศต่อจากนี้ คือการร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการพิสูจน์สัญชาติของบุคคลเหล่านั้น
9. โฆษกกระทรวงการต่างประเทศยังได้ชี้แจงถึงความคลาดเคลื่อนในการเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่ระบุว่าขบวนการพูโลอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยย้ำว่า การแถลงข่าวเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2548 นั้น ไม่ได้มีการระบุว่ากลุ่มพูโลอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว
10. ต่อข้อซักถามเกี่ยวกับข้อเรียกร้องจากคนไทยทั้ง 131 คนในด้านความปลอดภัยหากเดินทางกลับประเทศ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า จะทำการหารือกับหลายๆ ฝ่ายเพื่อเตรียมมาตรการรองรับให้เกิดความมั่นใจ ส่วนในเรื่องการดำเนินคดีในข้อหาเดินทางออกนอกประเทศอย่างผิดกฎหมายนั้น ขอยืนยันว่าคนไทยทั้ง 131 คนจะปลอดภัยเมื่อเดินทางกลับประเทศและรัฐบาลจะดำเนินการอย่างเต็มที่ในการดูแลกลุ่มบุคคลเหล่านี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-