นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษก
กระทรวงการคลังได้แถลงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนมิถุนายน 2550 สูงกว่าประมาณการ 1,890 ล้านบาท (ร้อยละ 1.9) และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 -มิถุนายน 2550) สูงกว่าประมาณการ 4,487 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.4 (สูงกว่าปีที่แล้ว 56,411 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.7)
1. เดือนมิถุนายน 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 99,370 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,890 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.2) มีสาเหตุสำคัญจาก
- รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 2,298 ล้านบาท (หรือร้อยละ 84.3) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งนำส่งรายได้ที่สูงกว่าที่ประมาณการไว้ที่สำคัญ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้า นครหลวง และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
- ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,607 ล้านบาท เพราะมีการชำระเหลื่อมมาจากเดือนที่แล้ว
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,425 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.0
แต่อย่างไรก็ดี มีภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสุรา และภาษีเบียร์ จำนวน 3,316 443 และ 173 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษและค่าภาคหลวงปิโตรเลียมนำส่งต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ประมาณ 2,700 ล้านบาท
2. ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — มิถุนายน 2550)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,043,744 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,487 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.7) ซึ่งเป็นผลจากการนำส่งรายได้ของ รัฐวิสาหกิจ การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรที่สูงกว่าที่คาดไว้ นอกจากนี้ยังได้รับรายได้จากส่วนเกินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล (Premium) อีกจำนวน 10,600 ล้านบาท
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 798,515 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 7,242 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.6) ภาษีที่เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 17,146 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.0 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 4.1) เป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นประวัติการณ์ ทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าลดลง แต่อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคในประเทศยังมีการขยายตัวสูงกว่าช่วงเดียวกันปีแล้วถึงร้อยละ 9.0 นอกจากนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการเนื่องจากกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากการกันสำรองเพิ่มขึ้นตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อรองรับมาตรฐานบัญชี IAS39 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 6,475 และ 6,356 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 และ 12.0 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.4 และ 19.6 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 219,439 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร
งบประมาณ 2,952 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.8) หากไม่รวมภาษีโทรคมนาคมที่ได้ประกาศลดอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 แล้วจะสูงกว่าประมาณการ 8,986 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 โดย ภาษียาสูบ เบียร์ และสุรา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,020 4,608 และ 2,646 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.2 12.9 และ 11.2ตามลำดับ อย่างไรก็ดีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์และภาษีรถจักรยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการชะลอการใช้จ่ายของประชาชนเนื่องภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ส่งผลจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการจำนวน 5,102 และ 315 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.0 และ 19.9 ตามลำดับ (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.4 และ 15.9 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 67,426 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร
งบประมาณ 1,241 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.4) เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 949 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้ 75,692 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการเอกสารงบประมาณ11,738 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.3) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจหลายแห่งมีผลประกอบการที่ดีกว่าที่คาดไว้ที่สำคัญ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การท่าอากาศยานไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 71,269 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร
งบประมาณ 10,599 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 26.4) เนื่องจากได้รับเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 10,600 ล้านบาท
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2550
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ที่สูงกว่าเป้าหมาย4,487 ล้านบาท เป็นผลจากการที่รัฐบาลได้รับรายได้พิเศษจากเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 10,600 ล้านบาท และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่สูงกว่าเป้าหมายจำนวน 11,738 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บรายได้ภาษีของ 3 กรมต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 3,049 ล้านบาท และการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าเป้าหมาย 14,666 ล้านบาท แต่จากความผันผวนของเศรษฐกิจ ค่าเงินบาทที่ต้องติดตาม และการกันสำรองสินเชื่อเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนการนำส่งรายได้ของ บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อชดเชยการยกเลิกการจัดเก็บภาษีกิจการโทรคมนาคมตามมติคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2550 นี้ จะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.42 ล้านล้านบาท) แต่จะไม่เกินร้อยละ 2.0
สำนักนโยบายการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9020 ต่อ 3728 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 59/2550 9 กรกฎาคม 50--
กระทรวงการคลังได้แถลงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนมิถุนายน 2550 สูงกว่าประมาณการ 1,890 ล้านบาท (ร้อยละ 1.9) และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 -มิถุนายน 2550) สูงกว่าประมาณการ 4,487 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.4 (สูงกว่าปีที่แล้ว 56,411 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.7)
1. เดือนมิถุนายน 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 99,370 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,890 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.2) มีสาเหตุสำคัญจาก
- รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 2,298 ล้านบาท (หรือร้อยละ 84.3) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งนำส่งรายได้ที่สูงกว่าที่ประมาณการไว้ที่สำคัญ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้า นครหลวง และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
- ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,607 ล้านบาท เพราะมีการชำระเหลื่อมมาจากเดือนที่แล้ว
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,425 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.0
แต่อย่างไรก็ดี มีภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสุรา และภาษีเบียร์ จำนวน 3,316 443 และ 173 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษและค่าภาคหลวงปิโตรเลียมนำส่งต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ประมาณ 2,700 ล้านบาท
2. ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — มิถุนายน 2550)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,043,744 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,487 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.7) ซึ่งเป็นผลจากการนำส่งรายได้ของ รัฐวิสาหกิจ การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรที่สูงกว่าที่คาดไว้ นอกจากนี้ยังได้รับรายได้จากส่วนเกินการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล (Premium) อีกจำนวน 10,600 ล้านบาท
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 798,515 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 7,242 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.6) ภาษีที่เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 17,146 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.0 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 4.1) เป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นประวัติการณ์ ทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าลดลง แต่อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคในประเทศยังมีการขยายตัวสูงกว่าช่วงเดียวกันปีแล้วถึงร้อยละ 9.0 นอกจากนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการเนื่องจากกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากการกันสำรองเพิ่มขึ้นตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อรองรับมาตรฐานบัญชี IAS39 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 6,475 และ 6,356 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 และ 12.0 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.4 และ 19.6 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 219,439 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร
งบประมาณ 2,952 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.8) หากไม่รวมภาษีโทรคมนาคมที่ได้ประกาศลดอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 แล้วจะสูงกว่าประมาณการ 8,986 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 โดย ภาษียาสูบ เบียร์ และสุรา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,020 4,608 และ 2,646 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.2 12.9 และ 11.2ตามลำดับ อย่างไรก็ดีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์และภาษีรถจักรยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการชะลอการใช้จ่ายของประชาชนเนื่องภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ส่งผลจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการจำนวน 5,102 และ 315 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.0 และ 19.9 ตามลำดับ (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.4 และ 15.9 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 67,426 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร
งบประมาณ 1,241 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.4) เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 949 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้ 75,692 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการเอกสารงบประมาณ11,738 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.3) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจหลายแห่งมีผลประกอบการที่ดีกว่าที่คาดไว้ที่สำคัญ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การท่าอากาศยานไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 71,269 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร
งบประมาณ 10,599 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 26.4) เนื่องจากได้รับเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 10,600 ล้านบาท
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2550
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ที่สูงกว่าเป้าหมาย4,487 ล้านบาท เป็นผลจากการที่รัฐบาลได้รับรายได้พิเศษจากเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 10,600 ล้านบาท และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่สูงกว่าเป้าหมายจำนวน 11,738 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บรายได้ภาษีของ 3 กรมต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 3,049 ล้านบาท และการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าเป้าหมาย 14,666 ล้านบาท แต่จากความผันผวนของเศรษฐกิจ ค่าเงินบาทที่ต้องติดตาม และการกันสำรองสินเชื่อเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนการนำส่งรายได้ของ บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อชดเชยการยกเลิกการจัดเก็บภาษีกิจการโทรคมนาคมตามมติคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2550 นี้ จะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.42 ล้านล้านบาท) แต่จะไม่เกินร้อยละ 2.0
สำนักนโยบายการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9020 ต่อ 3728 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 59/2550 9 กรกฎาคม 50--