นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤษภาคม 2550 ว่า การส่งออกยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม 2550 ในขณะที่การใช้จ่ายรัฐบาลได้เร่งตัวขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวในเดือนพฤษภาคม สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนพฤษภาคมบ่งชี้ถึงบทบาทของรัฐบาลที่เร่งเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นในช่วงที่การใช้จ่ายภายในประเทศชะลอลง โดยรายจ่ายงบประมาณสามารถเบิกจ่ายได้ 137.1 พันล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.2 ต่อปี แบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำจำนวน 90.4 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุนจำนวน 40.9 พันล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปีจำนวน 5.8 พันล้านบาท สำหรับรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในเดือนพฤษภาคม 2550 จัดเก็บได้รวมทั้งสิ้น 241.4 พันล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 7.1 ต่อปี
สำหรับการบริโภคภาคเอกชนในเดือนพฤษภาคมชะลอตัวลง หลังจากที่ปรับตัวดีขึ้นในเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนพฤษภาคมหดตัวร้อยละ -2.6 ต่อปี เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนพฤษภาคมมาอยู่ที่ 71.4 จุด ชะลอลงอย่างต่อเนื่องนับจากเดือนตุลาคม 2549 เนื่องจากผู้บริโภคยังมีความกังวลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มั่นคง ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 20.0 ต่อปี ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 23.9 ต่อปี ในส่วนการลงทุนภาคเอกชนในเดือนพฤษภาคมยังคงชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง โดยภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ -8.5 ต่อปีในเดือนพฤษภาคม ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.7 ต่อปี ด้านมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2550 ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 13.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.9 ต่อปี ซึ่งเป็นผลจากกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ ยานยนต์ วัสดุก่อสร้างที่ยังขยายตัวได้ดีมาก รวมถึงตลาดใหม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตลาดตะวันออก ยุโรปตะวันออก อินเดีย และ จีน ดังนั้น การส่งออกจึงยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 6.7 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 8.9 ต่อปี ในเดือนเมษายน โดยมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 12.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจาก 255.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ 800.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการส่งออกที่อยู่ในระดับสูงในเดือนพฤษภาคม
สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานพบว่า ในเดือนพฤษภาคม2550 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ขยายตัวที่ร้อยละ 13.7 ต่อปี ขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.5 ต่อปี เป็นผลมาจากผลผลิตหลายชนิดขยายตัวดีขึ้น เช่น ยางพาราและมันสำปะหลัง ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -9.5 ต่อปี ส่วนเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมบ่งชี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 ต่อปี ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 ต่อปี ในเดือนเมษายน สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ร้อยละ 67.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.9 ในเดือนเมษายนที่มีวันหยุดทำการมากกว่าปกติ ในด้านเครื่องชี้ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยว ข้อมูลล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2550 พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมีจำนวน 0.98 ล้านคน หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -0.4 ต่อปี จากที่ขยายตัวในระดับต่ำในเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี เนื่องจากนักท่องเที่ยวยังขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ
เสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2550 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ในขณะที่อัตราการว่างงานเดือนเมษายน ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.7 และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในเดือนเมษายน 2550 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 38.1 และยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ร้อยละ 50.0 ค่อนข้างมาก สำหรับเครื่องชี้เสถียรภาพภายนอกประเทศอยู่ในระดับแข็งแกร่ง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 71.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 11/2550 27 มิถุนายน 2550--
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนพฤษภาคมบ่งชี้ถึงบทบาทของรัฐบาลที่เร่งเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นในช่วงที่การใช้จ่ายภายในประเทศชะลอลง โดยรายจ่ายงบประมาณสามารถเบิกจ่ายได้ 137.1 พันล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.2 ต่อปี แบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำจำนวน 90.4 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุนจำนวน 40.9 พันล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปีจำนวน 5.8 พันล้านบาท สำหรับรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในเดือนพฤษภาคม 2550 จัดเก็บได้รวมทั้งสิ้น 241.4 พันล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 7.1 ต่อปี
สำหรับการบริโภคภาคเอกชนในเดือนพฤษภาคมชะลอตัวลง หลังจากที่ปรับตัวดีขึ้นในเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนพฤษภาคมหดตัวร้อยละ -2.6 ต่อปี เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนพฤษภาคมมาอยู่ที่ 71.4 จุด ชะลอลงอย่างต่อเนื่องนับจากเดือนตุลาคม 2549 เนื่องจากผู้บริโภคยังมีความกังวลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มั่นคง ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 20.0 ต่อปี ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 23.9 ต่อปี ในส่วนการลงทุนภาคเอกชนในเดือนพฤษภาคมยังคงชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง โดยภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ -8.5 ต่อปีในเดือนพฤษภาคม ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.7 ต่อปี ด้านมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2550 ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 13.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.9 ต่อปี ซึ่งเป็นผลจากกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ ยานยนต์ วัสดุก่อสร้างที่ยังขยายตัวได้ดีมาก รวมถึงตลาดใหม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตลาดตะวันออก ยุโรปตะวันออก อินเดีย และ จีน ดังนั้น การส่งออกจึงยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 6.7 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 8.9 ต่อปี ในเดือนเมษายน โดยมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 12.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจาก 255.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ 800.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการส่งออกที่อยู่ในระดับสูงในเดือนพฤษภาคม
สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานพบว่า ในเดือนพฤษภาคม2550 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ขยายตัวที่ร้อยละ 13.7 ต่อปี ขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.5 ต่อปี เป็นผลมาจากผลผลิตหลายชนิดขยายตัวดีขึ้น เช่น ยางพาราและมันสำปะหลัง ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -9.5 ต่อปี ส่วนเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมบ่งชี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 ต่อปี ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 ต่อปี ในเดือนเมษายน สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ร้อยละ 67.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.9 ในเดือนเมษายนที่มีวันหยุดทำการมากกว่าปกติ ในด้านเครื่องชี้ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยว ข้อมูลล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2550 พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมีจำนวน 0.98 ล้านคน หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -0.4 ต่อปี จากที่ขยายตัวในระดับต่ำในเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี เนื่องจากนักท่องเที่ยวยังขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ
เสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2550 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ในขณะที่อัตราการว่างงานเดือนเมษายน ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.7 และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในเดือนเมษายน 2550 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 38.1 และยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ร้อยละ 50.0 ค่อนข้างมาก สำหรับเครื่องชี้เสถียรภาพภายนอกประเทศอยู่ในระดับแข็งแกร่ง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 71.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 11/2550 27 มิถุนายน 2550--