นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ระบุ Japan Credit Rating Agency, Ltd. (JCR) ได้แถลงข่าวผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทย ในวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 เวลาประมาณ 13.30 น. ตามเวลาประเทศไทย โดย JCR ยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Long Term Senior Debts) ที่ระดับ A- และระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท (Domestic Currency Long Term Senior Debts) ที่ระดับ A+ โดยมีแนวโน้มระดับเครดิตที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
JCR ยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทยเนื่องจากความแข็งแกร่งทางการเงินของประเทศ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในภาคการธนาคารและการปรับตัวดีขึ้นด้านฐานะการคลังของรัฐบาล
1. แม้ว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นภายหลังการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จะคลี่คลายลง แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนทางการเมืองอยู่ ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้ประสบผลสำเร็จในการบรรเทาความกังวลของนักลงทุนทางการเงิน โดยการประกาศถึงความตั้งใจที่จะทำให้การเมืองของไทยมีเสถียรภาพ มีการประกาศกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ พร้อมทั้งแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราวและจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นที่จับตามองว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการและการเลือกตั้งทั่วไปจะมีขึ้นตามกำหนดเวลาในช่วงปลายปี 2550 หรือไม่โดยปราศจากความล่าช้าและความวุ่นวาย อันจะนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ เหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา ยังคงไม่สามารถระบุผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ในครั้งนี้ ว่าเป็นการเคลื่อนไหวตอบโต้ของฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหารหรือไม่
2. นักลงทุนบางส่วนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับบรรยากาศการลงทุนภายในประเทศไทยซึ่งเคยมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุน โดยนักลงทุนจากต่างประเทศและนักลงทุนทางตรงเริ่มไม่มั่นใจจากการประกาศบังคับใช้มาตรการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เข้มงวดเมื่อเดือนธันวาคม 2549 รวมทั้งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการแก้ไข พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เมื่อเดือนมกราคม 2550 การประกาศใช้มาตรการควบคุมที่เข้มงวดดังกล่าวอย่างฉับพลันได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งในหุ้นและตราสารหนี้รวมถึงการปล่อยกู้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวได้ส่งผลให้ราคาหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวลง จึงนำไปสู่ประเด็นคำถามถึงความสามารถของรัฐบาลชั่วคราวและความแน่นอนของนโยบายรัฐบาล
การที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการแก้ไข พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะตรวจสอบและแยกแยะการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างชาติให้เกิดความชัดเจน โดย JCR ยังมีความสงสัยในความเหมาะสมของช่วงเวลาบังคับใช้และกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ
นักลงทุนจำนวนมากได้เริ่มประเมินความเสี่ยงทางสังคมและทางการเมืองของประเทศไทยด้วยความระมัดระวังมากขึ้น และเห็นว่าเสถียรภาพทางสังคมและการเมืองได้ลดลงหลังจากเกิดความตึงเครียดทางการเมืองมากขึ้นจากตั้งแต่ช่วงต้นปี 2549 เหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 และเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพมหานครช่วงสิ้นปี 2549 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากชื่อเสียงของประเทศไทยซึ่งถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีความน่าลงทุนได้เสื่อมถอยลง อาจจะส่งผลทางลบต่อการลงทุนได้
3. อย่างไรก็ตาม สถานะต่างประเทศที่แข็งแกร่งของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยสามารถรองรับผลกระทบจากภายนอก เช่น การไหลออกของเงินทุนที่เกิดจากความไม่มีเสถียรภาพทางสังคมและการเมือง รวมทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยได้เกินดุลเป็นเวลา 7 ปีติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ทำให้สามารถชำระคืนหนี้ต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว โดยหนี้ต่างประเทศสุทธิของภาครัฐและภาคเอกชน (หนี้ทั้งหมดหักด้วยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศและสินทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นเงินฝากธนาคาร) ซึ่งเทียบได้กับมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการทั้งปี ณ สิ้นปี 2540 แต่ได้หายไปในช่วงกลางปี 2546 โดย ณ สิ้นปี 2549 ประเทศไทยมีสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิคิดเป็นร้อยละ 19.5 ของมูลค่าส่งออกทั้งปี ทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ ณ สิ้นปี 2549 อยู่ที่ 73.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 1.3 เท่า และ 4.1 เท่าของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดและหนี้ระยะสั้น ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2549 ตามลำดับ
4. สถานะการคลังของรัฐบาลได้ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ดีในปีต่อๆ ไป รายได้จากภาษีจะเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตอย่างแข็งแกร่งของภาคเศรษฐกิจและกำไรของบริษัทเอกชน และการจ่ายภาษีอย่างต่อเนื่องของบริษัทเอกชนและภาคการเงิน โดยจะเห็นได้จากบัญชีการคลังของรัฐบาลกลาง (ตามระบบกระแสเงินสด GFS 2001) อยู่ในระดับเกินดุลพอสมควรตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546
ระดับหนี้ของรัฐบาลลดลงอย่างต่อเนื่องท่ามกลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งและดุลการคลังที่ปรับตัวดีขึ้น โดยหนี้ของรัฐบาลกลางรวมหนี้ FIDF ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2549 คิดเป็นร้อยละ 29 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และหากรวมการอาวัลตั๋วของ FIDF เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ของภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 จะทำให้หนี้รัฐบาลกลางเพิ่มเป็นร้อยละ 31 ของ GDP ก็ตาม แต่ยังคงต่ำกว่าร้อยละ 40 และร้อยละ 51 ในช่วงสิ้นปี 2545 ตามลำดับนอกจากนี้ การเจริญเติบโตอย่างมากทางเศรษฐกิจและสถานะทางการเงินที่ดีขึ้นของบริษัทลูกหนี้ (ซึ่งเป็นหนี้ที่ค้ำประกันโดย FIDF) รวมทั้งการฟื้นตัวที่ดีขึ้นของหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งจำกัดการก่อหนี้ของ FIDF ที่ครบกำหนดในปี 2548 และ 2549 ได้ส่งผลให้หนี้ของรัฐบาลลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินภาครัฐภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลชุดที่แล้ว และภาระผูกพันของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำในลักษณะดังกล่าวอยู่ภายในวงจำกัด
5. ภาระผูกพันของรัฐบาลที่แผ่ขยายมาจากภาคการธนาคารกำลังลดลงเนื่องจากสถานะทางการเงินของธนาคารได้เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศกฎระเบียบที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการจัดประเภทเงินกู้และได้ขอให้ธนาคารจัดแบ่งประเภทของเงินกู้ที่ปรับโครงสร้างตามความสามารถในการชำระเงินต้นในอนาคต ซึ่ง JCR เห็นว่า การจัดประเภทเงินกู้ของธนาคารดังกล่าวได้เริ่มสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้นและมีมาตรการที่ดีขึ้นกว่าเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดภายใต้เกณฑ์มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (IAS 39) ซึ่งจะนำไปสู่มาตรการของสถาบันการเงินให้อยู่ในระดับที่พอเพียง
6. การยืนยันแนวโน้มระดับเครดิตของประเทศไทยในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) สะท้อนถึงมุมมองของ JCR ถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่จะค่อยๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แม้ว่าจะยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ อย่างไรก็ตาม หากมีสิ่งบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของการลงทุนคงที่ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อโอกาสในการเจริญเติบโตในระยะปานกลางและการขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่อาจเกิดจากความผิดพลาดของนโยบายทางเศรษฐกิจ ดังเช่นที่เห็นในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2549 ก็มีความเป็นไปได้ที่แนวโน้มระดับเครดิตของประเทศไทยจะถูกเปลี่ยนไปสู่ระดับที่เป็นลบ (Negative Outlook) ซึ่งการทบทวนแนวโน้มระดับเครดิตจะเกิดขึ้นในกรณีที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มเกิดความคลุมเครือจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นจากการเคลื่อนไหวของฝ่ายที่ต่อต้านการรัฐประหาร ทั้งนี้ JCR ยังเห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้น
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
กระทรวงการคลัง
02-265-8050 ต่อ 5214
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 8/2550 6 กุมภาพันธ์ 50--
JCR ยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทยเนื่องจากความแข็งแกร่งทางการเงินของประเทศ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในภาคการธนาคารและการปรับตัวดีขึ้นด้านฐานะการคลังของรัฐบาล
1. แม้ว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นภายหลังการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จะคลี่คลายลง แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนทางการเมืองอยู่ ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้ประสบผลสำเร็จในการบรรเทาความกังวลของนักลงทุนทางการเงิน โดยการประกาศถึงความตั้งใจที่จะทำให้การเมืองของไทยมีเสถียรภาพ มีการประกาศกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ พร้อมทั้งแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราวและจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นที่จับตามองว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการและการเลือกตั้งทั่วไปจะมีขึ้นตามกำหนดเวลาในช่วงปลายปี 2550 หรือไม่โดยปราศจากความล่าช้าและความวุ่นวาย อันจะนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ เหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา ยังคงไม่สามารถระบุผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ในครั้งนี้ ว่าเป็นการเคลื่อนไหวตอบโต้ของฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหารหรือไม่
2. นักลงทุนบางส่วนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับบรรยากาศการลงทุนภายในประเทศไทยซึ่งเคยมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุน โดยนักลงทุนจากต่างประเทศและนักลงทุนทางตรงเริ่มไม่มั่นใจจากการประกาศบังคับใช้มาตรการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เข้มงวดเมื่อเดือนธันวาคม 2549 รวมทั้งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการแก้ไข พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เมื่อเดือนมกราคม 2550 การประกาศใช้มาตรการควบคุมที่เข้มงวดดังกล่าวอย่างฉับพลันได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งในหุ้นและตราสารหนี้รวมถึงการปล่อยกู้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวได้ส่งผลให้ราคาหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวลง จึงนำไปสู่ประเด็นคำถามถึงความสามารถของรัฐบาลชั่วคราวและความแน่นอนของนโยบายรัฐบาล
การที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการแก้ไข พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะตรวจสอบและแยกแยะการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างชาติให้เกิดความชัดเจน โดย JCR ยังมีความสงสัยในความเหมาะสมของช่วงเวลาบังคับใช้และกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ
นักลงทุนจำนวนมากได้เริ่มประเมินความเสี่ยงทางสังคมและทางการเมืองของประเทศไทยด้วยความระมัดระวังมากขึ้น และเห็นว่าเสถียรภาพทางสังคมและการเมืองได้ลดลงหลังจากเกิดความตึงเครียดทางการเมืองมากขึ้นจากตั้งแต่ช่วงต้นปี 2549 เหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 และเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพมหานครช่วงสิ้นปี 2549 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากชื่อเสียงของประเทศไทยซึ่งถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีความน่าลงทุนได้เสื่อมถอยลง อาจจะส่งผลทางลบต่อการลงทุนได้
3. อย่างไรก็ตาม สถานะต่างประเทศที่แข็งแกร่งของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยสามารถรองรับผลกระทบจากภายนอก เช่น การไหลออกของเงินทุนที่เกิดจากความไม่มีเสถียรภาพทางสังคมและการเมือง รวมทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยได้เกินดุลเป็นเวลา 7 ปีติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ทำให้สามารถชำระคืนหนี้ต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว โดยหนี้ต่างประเทศสุทธิของภาครัฐและภาคเอกชน (หนี้ทั้งหมดหักด้วยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศและสินทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นเงินฝากธนาคาร) ซึ่งเทียบได้กับมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการทั้งปี ณ สิ้นปี 2540 แต่ได้หายไปในช่วงกลางปี 2546 โดย ณ สิ้นปี 2549 ประเทศไทยมีสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิคิดเป็นร้อยละ 19.5 ของมูลค่าส่งออกทั้งปี ทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ ณ สิ้นปี 2549 อยู่ที่ 73.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 1.3 เท่า และ 4.1 เท่าของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดและหนี้ระยะสั้น ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2549 ตามลำดับ
4. สถานะการคลังของรัฐบาลได้ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ดีในปีต่อๆ ไป รายได้จากภาษีจะเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตอย่างแข็งแกร่งของภาคเศรษฐกิจและกำไรของบริษัทเอกชน และการจ่ายภาษีอย่างต่อเนื่องของบริษัทเอกชนและภาคการเงิน โดยจะเห็นได้จากบัญชีการคลังของรัฐบาลกลาง (ตามระบบกระแสเงินสด GFS 2001) อยู่ในระดับเกินดุลพอสมควรตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546
ระดับหนี้ของรัฐบาลลดลงอย่างต่อเนื่องท่ามกลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งและดุลการคลังที่ปรับตัวดีขึ้น โดยหนี้ของรัฐบาลกลางรวมหนี้ FIDF ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2549 คิดเป็นร้อยละ 29 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และหากรวมการอาวัลตั๋วของ FIDF เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ของภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 จะทำให้หนี้รัฐบาลกลางเพิ่มเป็นร้อยละ 31 ของ GDP ก็ตาม แต่ยังคงต่ำกว่าร้อยละ 40 และร้อยละ 51 ในช่วงสิ้นปี 2545 ตามลำดับนอกจากนี้ การเจริญเติบโตอย่างมากทางเศรษฐกิจและสถานะทางการเงินที่ดีขึ้นของบริษัทลูกหนี้ (ซึ่งเป็นหนี้ที่ค้ำประกันโดย FIDF) รวมทั้งการฟื้นตัวที่ดีขึ้นของหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งจำกัดการก่อหนี้ของ FIDF ที่ครบกำหนดในปี 2548 และ 2549 ได้ส่งผลให้หนี้ของรัฐบาลลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินภาครัฐภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลชุดที่แล้ว และภาระผูกพันของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำในลักษณะดังกล่าวอยู่ภายในวงจำกัด
5. ภาระผูกพันของรัฐบาลที่แผ่ขยายมาจากภาคการธนาคารกำลังลดลงเนื่องจากสถานะทางการเงินของธนาคารได้เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศกฎระเบียบที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการจัดประเภทเงินกู้และได้ขอให้ธนาคารจัดแบ่งประเภทของเงินกู้ที่ปรับโครงสร้างตามความสามารถในการชำระเงินต้นในอนาคต ซึ่ง JCR เห็นว่า การจัดประเภทเงินกู้ของธนาคารดังกล่าวได้เริ่มสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้นและมีมาตรการที่ดีขึ้นกว่าเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดภายใต้เกณฑ์มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (IAS 39) ซึ่งจะนำไปสู่มาตรการของสถาบันการเงินให้อยู่ในระดับที่พอเพียง
6. การยืนยันแนวโน้มระดับเครดิตของประเทศไทยในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) สะท้อนถึงมุมมองของ JCR ถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่จะค่อยๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แม้ว่าจะยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ อย่างไรก็ตาม หากมีสิ่งบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของการลงทุนคงที่ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อโอกาสในการเจริญเติบโตในระยะปานกลางและการขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่อาจเกิดจากความผิดพลาดของนโยบายทางเศรษฐกิจ ดังเช่นที่เห็นในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2549 ก็มีความเป็นไปได้ที่แนวโน้มระดับเครดิตของประเทศไทยจะถูกเปลี่ยนไปสู่ระดับที่เป็นลบ (Negative Outlook) ซึ่งการทบทวนแนวโน้มระดับเครดิตจะเกิดขึ้นในกรณีที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มเกิดความคลุมเครือจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นจากการเคลื่อนไหวของฝ่ายที่ต่อต้านการรัฐประหาร ทั้งนี้ JCR ยังเห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้น
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
กระทรวงการคลัง
02-265-8050 ต่อ 5214
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 8/2550 6 กุมภาพันธ์ 50--