กฎหมายความมั่นคงกับสถานการณ์ปัจจุบัน
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๐
www.abhisit.org
สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. …. ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการทำงานด้านความมั่นคง และเป็นการกำหนดโครงสร้างการทำงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ไปพร้อมๆกัน โดยกฎหมายฉบับนี้จะมีการนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
ความจริงความพยายามที่จะตรากฎหมายใหม่ทางด้านความมั่นคงมีมาโดยตลอด หลังจากที่ปัญหาการก่อการร้ายสากลได้ยกระดับความรุนแรงขึ้นหลังเหตุการณ์ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๔ และดูจะเป็นปัญหาที่หลายประเทศมีความตื่นตัวและข้อถกเถียงอย่างมาก
รัฐบาลที่แล้วก็เคยตราพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ มาแล้ว โดยให้เหตุผลว่า เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการคลี่คลายสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
หลังการรัฐประหาร ก็มีการนำกฎอัยการศึกมาประกาศใช้และยังคงใช้อยู่ในหลายพื้นที่
พร้อมๆกับการเกิดแนวคิดที่จะใช้ กอ.รมน. เคลื่อนไหวงานด้านมวลชน ซึ่งแยกแยะได้ยากว่า เป็นงานความมั่นคง หรือเป็นงานการเมือง
แม้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเป็นสภาที่มาจากการแต่งตั้ง แต่ก็เชื่อว่า การพิจารณากฎหมายฉบับใหม่จะเป็นไปอย่างเข้มข้น และการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้จะมีขึ้นอย่างกว้างขวาง ผมเห็นว่าเรื่องนี้มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะนอกจากกฎหมายลักษณะนี้จะมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวางแล้ว หากกำหนดเครื่องมือความมั่นคงที่ไม่รัดกุม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ก็จะเป็นปัญหาและอุปสรรคในการดูแลรักษาความมั่นคงด้วย
ผมจึงอยากเห็นการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างมีกรอบและหลักคิดที่ชัดเจนดังนี้
๑. นิยาม “ภัยคุกคามความมั่นคง” ในลักษณะต่างๆให้ชัด ปัจจุบันการกระทำที่ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงมีความหลากหลายมาก แต่กฎหมายทุกฉบับจะพยายามนิยามให้ครอบคลุมกว้างๆโดยไม่จำแนกแยกแยะ และมักจะใช้เครื่องมือตามกฎหมายโดยไม่มีการแยกแยะเช่นเดียว กัน หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็จะเกิดความเสี่ยงที่ “ภัยคุกคาม” บางชนิดจะป้องกันปราบปรามไม่ได้ ขณะที่อาจมีการใช้อำนาจตามกฎหมายในทางที่ผิด
ยกตัวอย่างเช่น การก่อการร้าย ซึ่งหมายถึง การมุ่งทำลายล้างชีวิตหรือทรัพย์สินต่างๆ ในปัจจุบันจะอาศัยเครื่องมือ อุปกรณ์ การติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ฯลฯ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการควบคุม หรือ จำกัดสิทธิในบางสถานการณ์ บางครั้งการจำกัดสิทธิอาจก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตของบุคคลทั่วไป แต่ก็จำเป็นจะต้องมีการทำความเข้าใจและขอความร่วมมือ
ขณะที่ปัญหาการชุมนุมทางการเมืองนั้น เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีตราบเท่าที่ไม่มีการจงใจที่จะละเมิดกฎหมายในลักษณะของการใช้ความรุนแรง หรือก่อให้เกิดความวุ่นวาย การควบคุมสถานการณ์ในลักษณะนี้ ต้องการการปฏิบัติแตกต่างจากการก่อการร้ายอย่างชัดเจน
อย่าลืมว่าในโลกปัจจุบัน การป้องกันการก่อการร้าย เป็นเรื่องที่โลกประชาธิปไตยยอมรับได้ แต่การจำกัดสิทธิทางการเมือง นอกจากจะไม่เป็นที่ยอมรับแล้ว ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงอีกด้วย
กฎหมายใหม่จึงควรมีการแยกแยะกรณีต่างๆออกจากกันอย่างชัดเจน
๒. ต้องมีความชัดเจนเรื่องผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ เราอยู่ในช่วงที่กำลังจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่เปรียบเสมือนกฎหมายแม่บทรับรองสิทธิเสรีภาพต่างๆเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๐ บางมาตราอาจมีความเข้มข้นกว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ด้วยซ้ำ นอกเหนือจากกฎอัยการศึก ซึ่งมักจะมีการเขียนรับรองไว้ กฎหมายอื่นๆ จะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ และการจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญต้องไม่เป็นการจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานในสาระสำคัญ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น การตรากฎหมายฉบับใหม่จึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะหากมีข้อความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญก็จะบังคับใช้ไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา
๓. สะสางกฎหมายความมั่นคงให้เกิดเอกภาพ หากมีการใช้กฎหมายฉบับใหม่ควบคู่ไปกับกฎหมายอีก ๒ ฉบับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น (กฎอัยการศึก และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘) จะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและสับสนในเรื่องการใช้อำนาจในทุกระดับ ตั้งแต่การประกาศใช้กฎหมาย การมีอำนาจ การมอบอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรณีของกฎหมายใหม่เป็นกฎหมายในลักษณะที่ให้มีอำนาจถาวรจะทำให้เกิดความขัดแย้งได้สูง
เมื่อจะตรากฎหมายทั้งที ควรจะจัดระบบกฎหมายความมั่นคงให้เป็นเอกภาพ มิใช่เพื่อประโยชน์ในความเข้าใจของเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่เพื่อให้ประชาชนซึ่งอาจถูกจำกัดสิทธิรับทราบและเข้าใจ
๔. ต้องมีกลไกควบคุมหรือถ่วงดุลการใช้อำนาจ แม้ในบางสถานการณ์รัฐจะมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อำนาจเด็ดขาด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีการตรวจสอบถ่วงดุลไม่ได้ การบัญญัติให้เจ้าหน้าที่ไม่มีความรับผิดก็ดี การยกเว้นคำสั่งและการกระทำมิให้อยู่ภายใต้บังคับศาลปกครองก็ดี ทำให้โอกาสที่จะมีการใช้อำนาจในทางที่ผิดเกิดขึ้นได้มาก ควรยอมรับให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลได้ โดยอาจให้การยกเว้นเป็นเพียงเฉพาะในช่วงเวลาที่จำเป็นในการปฏิบัติการ เป็นต้น นอกจากนี้การควบคุมตัวที่ไม่ถือว่าเป็นการจับกุม ต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน เหมือนที่เกิดขึ้นในการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ และกลับเป็นการเพิ่มบุคคลที่มีทัศนคติที่เป็นลบต่อรัฐ
๕. ใช้โอกาสนี้ปรับโครงสร้างหน่วยงานความมั่นคง การกำหนดโครงสร้างในกฎหมาย
ใหม่ ยังมีความลักลั่นและความสับสนอยู่ เช่น การคาบเกี่ยวกันของสำนักนายกรัฐมนตรี กองทัพ ฝ่ายปกครอง ท้องถิ่น หากจะมีกฎหมายในเชิงโครงสร้างหน่วยงานความมั่นคง ก็ควรจะใช้โอกาสนี้ สะสาง และปฏิรูปไปในตัว
การตรากฎหมายครั้งนี้ ต้องตระหนักว่า กฎหมายที่ออกมาจะบังคับใช้ไปจนกว่าจะมีการ
แก้ไข หรือยกเลิกซึ่งคงเกิดขึ้นไม่ง่ายนัก
ผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะผู้มีอำนาจในปัจจุบัน
ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงอย่างแท้จริง การดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ จึงควรกระทำด้วยความรอบคอบ และยึดถือหลักการที่ถูกต้อง สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 มิ.ย. 2550--จบ--
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๐
www.abhisit.org
สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. …. ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการทำงานด้านความมั่นคง และเป็นการกำหนดโครงสร้างการทำงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ไปพร้อมๆกัน โดยกฎหมายฉบับนี้จะมีการนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
ความจริงความพยายามที่จะตรากฎหมายใหม่ทางด้านความมั่นคงมีมาโดยตลอด หลังจากที่ปัญหาการก่อการร้ายสากลได้ยกระดับความรุนแรงขึ้นหลังเหตุการณ์ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๔ และดูจะเป็นปัญหาที่หลายประเทศมีความตื่นตัวและข้อถกเถียงอย่างมาก
รัฐบาลที่แล้วก็เคยตราพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ มาแล้ว โดยให้เหตุผลว่า เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการคลี่คลายสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
หลังการรัฐประหาร ก็มีการนำกฎอัยการศึกมาประกาศใช้และยังคงใช้อยู่ในหลายพื้นที่
พร้อมๆกับการเกิดแนวคิดที่จะใช้ กอ.รมน. เคลื่อนไหวงานด้านมวลชน ซึ่งแยกแยะได้ยากว่า เป็นงานความมั่นคง หรือเป็นงานการเมือง
แม้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเป็นสภาที่มาจากการแต่งตั้ง แต่ก็เชื่อว่า การพิจารณากฎหมายฉบับใหม่จะเป็นไปอย่างเข้มข้น และการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้จะมีขึ้นอย่างกว้างขวาง ผมเห็นว่าเรื่องนี้มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะนอกจากกฎหมายลักษณะนี้จะมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวางแล้ว หากกำหนดเครื่องมือความมั่นคงที่ไม่รัดกุม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ก็จะเป็นปัญหาและอุปสรรคในการดูแลรักษาความมั่นคงด้วย
ผมจึงอยากเห็นการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างมีกรอบและหลักคิดที่ชัดเจนดังนี้
๑. นิยาม “ภัยคุกคามความมั่นคง” ในลักษณะต่างๆให้ชัด ปัจจุบันการกระทำที่ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงมีความหลากหลายมาก แต่กฎหมายทุกฉบับจะพยายามนิยามให้ครอบคลุมกว้างๆโดยไม่จำแนกแยกแยะ และมักจะใช้เครื่องมือตามกฎหมายโดยไม่มีการแยกแยะเช่นเดียว กัน หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็จะเกิดความเสี่ยงที่ “ภัยคุกคาม” บางชนิดจะป้องกันปราบปรามไม่ได้ ขณะที่อาจมีการใช้อำนาจตามกฎหมายในทางที่ผิด
ยกตัวอย่างเช่น การก่อการร้าย ซึ่งหมายถึง การมุ่งทำลายล้างชีวิตหรือทรัพย์สินต่างๆ ในปัจจุบันจะอาศัยเครื่องมือ อุปกรณ์ การติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ฯลฯ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการควบคุม หรือ จำกัดสิทธิในบางสถานการณ์ บางครั้งการจำกัดสิทธิอาจก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตของบุคคลทั่วไป แต่ก็จำเป็นจะต้องมีการทำความเข้าใจและขอความร่วมมือ
ขณะที่ปัญหาการชุมนุมทางการเมืองนั้น เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีตราบเท่าที่ไม่มีการจงใจที่จะละเมิดกฎหมายในลักษณะของการใช้ความรุนแรง หรือก่อให้เกิดความวุ่นวาย การควบคุมสถานการณ์ในลักษณะนี้ ต้องการการปฏิบัติแตกต่างจากการก่อการร้ายอย่างชัดเจน
อย่าลืมว่าในโลกปัจจุบัน การป้องกันการก่อการร้าย เป็นเรื่องที่โลกประชาธิปไตยยอมรับได้ แต่การจำกัดสิทธิทางการเมือง นอกจากจะไม่เป็นที่ยอมรับแล้ว ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงอีกด้วย
กฎหมายใหม่จึงควรมีการแยกแยะกรณีต่างๆออกจากกันอย่างชัดเจน
๒. ต้องมีความชัดเจนเรื่องผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ เราอยู่ในช่วงที่กำลังจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่เปรียบเสมือนกฎหมายแม่บทรับรองสิทธิเสรีภาพต่างๆเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๐ บางมาตราอาจมีความเข้มข้นกว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ด้วยซ้ำ นอกเหนือจากกฎอัยการศึก ซึ่งมักจะมีการเขียนรับรองไว้ กฎหมายอื่นๆ จะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ และการจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญต้องไม่เป็นการจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานในสาระสำคัญ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น การตรากฎหมายฉบับใหม่จึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะหากมีข้อความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญก็จะบังคับใช้ไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา
๓. สะสางกฎหมายความมั่นคงให้เกิดเอกภาพ หากมีการใช้กฎหมายฉบับใหม่ควบคู่ไปกับกฎหมายอีก ๒ ฉบับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น (กฎอัยการศึก และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘) จะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและสับสนในเรื่องการใช้อำนาจในทุกระดับ ตั้งแต่การประกาศใช้กฎหมาย การมีอำนาจ การมอบอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรณีของกฎหมายใหม่เป็นกฎหมายในลักษณะที่ให้มีอำนาจถาวรจะทำให้เกิดความขัดแย้งได้สูง
เมื่อจะตรากฎหมายทั้งที ควรจะจัดระบบกฎหมายความมั่นคงให้เป็นเอกภาพ มิใช่เพื่อประโยชน์ในความเข้าใจของเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่เพื่อให้ประชาชนซึ่งอาจถูกจำกัดสิทธิรับทราบและเข้าใจ
๔. ต้องมีกลไกควบคุมหรือถ่วงดุลการใช้อำนาจ แม้ในบางสถานการณ์รัฐจะมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อำนาจเด็ดขาด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีการตรวจสอบถ่วงดุลไม่ได้ การบัญญัติให้เจ้าหน้าที่ไม่มีความรับผิดก็ดี การยกเว้นคำสั่งและการกระทำมิให้อยู่ภายใต้บังคับศาลปกครองก็ดี ทำให้โอกาสที่จะมีการใช้อำนาจในทางที่ผิดเกิดขึ้นได้มาก ควรยอมรับให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลได้ โดยอาจให้การยกเว้นเป็นเพียงเฉพาะในช่วงเวลาที่จำเป็นในการปฏิบัติการ เป็นต้น นอกจากนี้การควบคุมตัวที่ไม่ถือว่าเป็นการจับกุม ต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน เหมือนที่เกิดขึ้นในการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ และกลับเป็นการเพิ่มบุคคลที่มีทัศนคติที่เป็นลบต่อรัฐ
๕. ใช้โอกาสนี้ปรับโครงสร้างหน่วยงานความมั่นคง การกำหนดโครงสร้างในกฎหมาย
ใหม่ ยังมีความลักลั่นและความสับสนอยู่ เช่น การคาบเกี่ยวกันของสำนักนายกรัฐมนตรี กองทัพ ฝ่ายปกครอง ท้องถิ่น หากจะมีกฎหมายในเชิงโครงสร้างหน่วยงานความมั่นคง ก็ควรจะใช้โอกาสนี้ สะสาง และปฏิรูปไปในตัว
การตรากฎหมายครั้งนี้ ต้องตระหนักว่า กฎหมายที่ออกมาจะบังคับใช้ไปจนกว่าจะมีการ
แก้ไข หรือยกเลิกซึ่งคงเกิดขึ้นไม่ง่ายนัก
ผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะผู้มีอำนาจในปัจจุบัน
ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงอย่างแท้จริง การดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ จึงควรกระทำด้วยความรอบคอบ และยึดถือหลักการที่ถูกต้อง สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 มิ.ย. 2550--จบ--