กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผมนายเกียรติ สิทธีอมร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
เกิดอะไรขึ้นในสหรัฐอเมริกาในกรณีของบ.อินวิชั่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องตรวจระเบิด CTX ครับ ก่อนที่ผมจะลงไปในเนื้อหาสาระของกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ผมขออนุญาตท่านประธานอธิบายความนิดนึงเกี่ยวกับกฎหมายเอฟซีทีเอ กฎหมายทั้งเล่ม เล่มใหญ่ขนาดนี้นะครับ เป็นกฎหมายที่มีความสลับซับซ้อนมากพอสมควร และเป็นกฎหมายที่มีสาระสำคัญ ที่พยายามป้องกันไม่ให้บริษัทที่เป็นสัญชาติอเมริกันนั้นไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตในต่างประเทศ เจตนารมณ์ของกฎหมายพูดไว้ชัดว่า การเสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้ เพื่อชักนำให้ผู้จะรับใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่ง หรือใช้อิทธิพลของตนโดยมิชอบในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งขัดต่ออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือเพื่อให้ตน หรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่เป็นการไม่สมควร
ในคำจำกัดความของกฎหมายเช่นกันครับท่านประธาน ผู้รับในคำจำกัดความนี้ หมายถึง เจ้าหน้าที่ต่างชาติ พรรคการเมืองต่างชาติ บุคคลในพรรคการเมืองต่างชาติ หรือว่าที่ผู้สมัครใดๆในตำแหน่งการเมือง การพิจารณาความผิดตามกฎหมายนั้นดูที่พฤติกรรมการเสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ควบคู่ไปกับการตรวจสอบดูว่ามีการได้ประโยชน์ หรือมีการได้มา หรือคงไว้ซึ่งธุรกิจในประเทศนั้นๆหรือไม่
กฎหมายเอฟซีพีเอนอกจากจะพูดถึงผู้ให้ ผู้เสนอให้แล้ว ก็ยังพูดถึงบุคคลที่ 3 ด้วย กฎหมายนี้ก้าวล่วงไปถึงความผิดที่อาจเกิดขึ้นโดยผ่านบุคคลที่ 3 ที่รู้เพิกเฉยโดยตรง โดยเจตนา หรือจงใจจะไม่รับรู้ว่าเงินทั้งหมด หรือบางส่วนจะถูกส่งมอบ โดยทางตรงหรือทางอ้อมให้กับเจ้าหน้าที่ต่างชาติ ดังนั้นตัวกลางในที่นี้ บุคคลที่ 3 ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคล หรือ บุคคลก็แล้วแต่ ถือเป็นผู้รับด้วยครับ ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษอะไรบ้างครับ มีทั้งโทษทางแพ่ง และโทษทางอาญา โทษทางอาญาปรับไม่เกิน 2 ล้านเหรียญ และจำคุกไม่เกิน 5 ปี ส่วนโทษทางแพ่งแล้วแต่กรณี ตั้งแต่ 10,000 เหรียญขึ้นไป ไปจนถึง 500,000 เหรียญ สำหรับบุคคลหรือนิติบุคคลทั่วไป ที่สำคัญของกฎหมายฉบับนี้อีกประการหนึ่ง ก็คือ ผู้รับโทษไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นคนสัญชาติอเมริกันเท่านั้นนะครับ ใครก็แล้วแต่ ถึงเป็นคนที่เป็นสัญชาติไทยที่มีส่วนร่วมกระทำผิดอยู่ด้วยก็ระวังไว้ด้วยครับ สามารถดำเนินคดีได้ตามกฎหมายฉบับนี้หากเดินทางเข้าไปในสหรัฐ หรือแม้กระทั่งอาจจะมีการขอความร่วมมือให้ส่งนักโทษข้ามแดนด้วย
เรื่องนี้โด่งดังมากในสหรัฐ โด่งดังมากจนกลายเป็นกรณีศึกษาที่ใช้สอน หรือฝึกอบรมนักกฎหมายในสหรัฐ เรื่องเกิดขึ้นอย่างไรครับ ประมาณเดือน มี.ค. 2547 บ.จีอี ประกาศว่าจะเข้าไปซื้อกิจการของ บ.อินวิชั่น แล้วเข้ามาควบรวมกับหน่วยหนึ่งของจีอี ในวงเงิน 900 ล้านเหรียญ พอเข้าไปตรวจ ส่ง 2 บริษัทที่ปรึกษาเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดโดยจ้าง บ.เวิลด์กี้ฟาแอนด์แกเลคเตอร์ และ บ.แฟนดรอลิคแอนเวท เข้าไปตรวจสอบ จากการตรวจสอบพบอะไรบ้างครับ พบว่ามีการละเมิดการทุจริตกฎหมายการทุจริตระหว่างประเทศ หรือ เอฟซีพีเอ และมีหลักฐานเอกสารโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กโทรนิกส์มากมายชี้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น รวมทั้งความผิดปกติทางบัญชีด้วย อันนี้ไม่ใช่เฉพาะบัตรสนเท่ห์ส่งเข้าไปนะครับ พบความผิดปกติทางบัญชีด้วย จึงได้แจ้งให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ หรือ กลต. และกระทรวงยุติธรรมรับทราบตามกฎหมาย
ผู้เข้าไปตรวจสอบถ้าพบแล้วไม่แจ้ง ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายด้วย นี่คือสาเหตุที่เขาต้องแจ้งไปที่กระทรวงยุติธรรม และ กลต.สหรัฐ จากนั้น 2 หน่วยงานก็เริ่มดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริง แล้วพอเรื่องมันแดงขึ้นมา ผู้ถือหุ้นรายย่อย และบริษัทกองทุนต่างๆ ก็เข้าไปฟ้อง เพื่อดำเนินคดีกับ บ.อินวิชั่น ตอนนี้ยังมีคดีอยู่มากมายนะครับที่ยังอยู่ในกระบวนการไต่สวนของชั้นศาลนะครับ เพราะผู้ถือหุ้นรายย่อยเหล่านี้ถือว่าบริษัทปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายฉบับนี้ และมีผลกระทบต่อมูลค่าหุ้นที่เขาได้ซื้อไป ที่เขาได้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
เพราะฉะนั้นคดีความไม่ใช่มีเพียงเฉพาะกรณีของกระทรวงยุติธรรม หรือ กลต.สหรัฐเท่านั้น เนื่องจาก บ.จีอี ท่านประธานคงทราบดี เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ มีรัฐบาลสหรัฐถือหุ้นกว่า 30% และมีผลประโยชน์ทางการค้ามากมายในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย จึงได้มีความพยายามในการเข้าไปผลักดัน เพื่อให้กรณีนี้ที่เกี่ยวข้องกับ บ.อินวิชั่นนั้น มีการบรรลุข้อตกลงและยุติคดีความโดยเร็วที่สุดกับกระทรวงยุติธรรมนะครับ และก็เนื่องจากเขายักษ์ใหญ่จริงๆครับ มันก็เป็นผลเช่นนั้น เป็นกรณีแรกในประวัติศาสตร์การบังคับใช้กฎหมายการทุจริตต่างประเทศที่มีการยุติคดีก่อนไปถึงการไต่สวนในชั้นศาลครับ เป็นคดีแรกนะครับ คดีอื่นไม่มีนะครับ แสดงให้เห็นว่า จีอี เองก็มีบทบาทในการที่จะผลักดันให้เรื่องนี้ยุติโดยเร็วนะครับ
จากนั้นวันที่ 3 ธ.ค. 2547 อินวิชั่นได้ทำสัญญากับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐและเสียค่าปรับเป็นวงเงิน 800,000 เหรียญ หรือประมาณ 32 ล้านบาท อันนี้ก็เป็นแผนภาพซึ่งชี้ให้เห็นว่านี่คือคดีความของทาง กลต. ไปยัง บ.จีอี อินวิชั่น คดีความเลขที่ C 050660 อันนี้เป็นคดีที่ลงวันที่ 14 ก.พ. 2548 ยื่นเข้าไปเวลา 10.17 น. หลังจากที่ บ.อินวิชั่นได้บรรลุข้อยุติกับกระทรวงยุติธรรมแล้ว จึงได้ นี่ล่ะครับเป็นการบรรลุคดีความในกรณีของ กลต. เพราะว่าเงื่อนไขๆหนึ่งในข้อตกลงกับกระทรวงยุติธรรม ก็คือว่า ทาง บ.อินวิชั่นจะต้องไปหาข้อตกลง ไปบรรลุข้อตกลง เพื่อยุติคดีกับทางกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย ก็จะเห็นได้ว่ากระบวนการในทางศาลของสหรัฐสามารถยื่นเข้าไปวันเดียวกันได้เลยนะครับ ถ้าตกลงกันแล้ว ก็คือสำนวนฟ้อง และคำร่างของการยุติคดีว่าจะมีการรับโทษอย่างไร อันนี้เราถึงเห็นว่าจะมีข้อความปรากฏอยู่ในเอกสารที่ผมได้นำเสนอในชั้นนี้นะครับ
บ.จีอี เองก็มีการลงนามเหมือนกันกับกระทรวงยุติธรรม มีการลงนามกับกระทรวงยุติธรรมว่า จะต้องรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของบ.อินวิชั่น หลังการควบรวมกิจการทั้งหมด และต้องยอมรับข้อความในเอกสารสัญญาระหว่างบ.อินวิชั่นกับกระทรวงยุติธรรมและปฏิเสธไม่ได้ และจะไม่แถลงต่อสาธารณะถึงข้อความใดๆที่ขัดแย้งต่อเอกสารแนบและเอกสารสัญญาดังกล่าว รวมทั้งจะต้องให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ต่อกระทรวงยุติธรรมและ กลต.สหรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ ในคำฟ้องอย่างเป็นทางการของ กลต.ครับท่านประธานครับ มีรายละเอียดมากมาย แต่ผมเองก็คิดว่าสาระสำคัญจริงๆของเอกสารจะไปอยู่ในเอกสารข้อตกลงระหว่าง บ.อินวิชั่น และ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ
การที่อินวิชั่นได้ยื่นคำยินยอมที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อรับคำตัดสินอันเป็นที่สุดของศาลในกรณีของ กลต.นั้น ทำให้อินวิชั่นรับผิดนะครับ ชำระค่าปรับทางแพ่งอีก 500,000 เหรียญนะครับ และคืนส่วนกำไรจากการทำผิด อันนี้เห็นมั้ยครับว่ากฎหมายครับ ถ้าพบว่าทำผิดต้องคืนเงินส่วนกำไรจากการทำผิดด้วยอีก 589,000 เหรียญ และดอกเบี้ยอีก 28,700 เหรียญสหรัฐ ในแง่ของความผิดทางอาญาครับ ระบุชัดเจนในข้อตกลงว่าไม่เกี่ยว อันนี้เป็นการยุติทางแพ่งกลต.หรือกระทรวงยุติธรรมอาจจะมีการดำเนินคดีต่อไปได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ กลต.และกระทรวงยุติธรรมทั้งสิ้น ความผิดที่เกิดขึ้นโดย บ.อินวิชั่นไม่ใช่เป็นเฉพาะประเทศไทยนะครับ รวมไปถึงกรณีของประเทศจีน ประเทศฟิลิปปินส์ด้วย ในจีนครับเสียค่าปรับเพราะอะไรครับ เพราะส่งของช้า พอส่งของช้าที่จริง บ.อินวิชั่น ได้ใบอนุญาตินำเข้าช้า พอได้ช้าเอเย่นต์ที่อยู่ในประเทศจีน จึงเรียกร้องให้ บ.อินวิชั่นจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อเป็นค่าน้ำร้อน น้ำชา ทำให้มีการส่งออกและนำเข้าได้รวดเร็วมากขึ้น จ่ายค่าคอมมิชชั่นเพิ่มให้ตัวแทน 95,000 เหรียญสหรัฐเท่านั้น กรณีของฟิลิปปินส์ เรียกร้องให้เพิ่มค่าคอมมิชชั่น เพื่อไปจ่ายให้เจ้าหน้าที่รัฐ อินวิชั่นจึงจ่ายค่าคอมมิชชั่นทั้งหมด 4% เท่านั้นของสัญญา ซึ่งเป็นเงินทั้งสิ้น 108,000 เหรียญ
จะเห็นได้ว่ากรณีที่เกี่ยวข้อง วงเงินที่เกี่ยวข้องในกรณีของจีน กับฟิลิปปินส์ต่างจากกรณีของประเทศไทยมากครับ กรณีของไทยซับซ้อนกว่ามาก ด้วยการใช่ส่วนต่างของราคาสัญญาซื้อ สัญญาขายถึง 600 ล้านบาท หรือ 15 ล้านเหรียญ ท่านประธานครับ เอกสารที่ผมถืออยู่ในมือเป็นข้อตกลงระหว่างบ.อินวิชั่นกับกระทรวงยุติธรรม เป็นเอกสารที่ยังไม่ปรากฏต่อสายตาของสาธารณะในประเทศไทย ถึงเป็นเอกสารที่ไม่ได้เป็นเอกสารลับหรือปกปิดในทางราชการ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีใครได้เห็น เนื้อหาสาระน่าสนใจมากครับท่านประธาน เมื่อกี้ท่านหัวหน้าผู้นำฝ่ายค้านได้มีการแปลความในบางส่วนไปแล้ว แต่ในขั้นนี้ผมจะขออนุญาติท่านประธานลงไปในรายละเอียดของความตกลงอันนี้ ซึ่งผมได้เขียนอยู่แล้วในแผนภาพนะครับ ปรากฏในแผนภาพอันนี้นะครับ ซึ่งเป็นหน้าแรกของความตกลง ลงวันที่ 3 ธ.ค. 2004 และก็น่าสุดท้ายซึ่งมีการลงนามโดยซีอีโอของ บ.อินวิชั่น เทคโนโลยี จำกัด อันนี้ก็เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ในเอกสารครับ เอกสารมีหลายบทครับ
บทนำของเอกสารนั้นมีข้อความตอนหนึ่งระบุไว้ว่าการที่อินวิชั่นได้กระทำการโดยผ่านพนักงาน ตัวแทน หรือผู้แทนจำหน่ายนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญาแห่งรัฐ ธุรกรรมระหว่างประเทศดังกล่าวเป็นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขาย หรือพยายามขายสินค้าเครื่องตรวจจับวัตุระเบิดของอินวิชั่นให้แก่สนามบินต่างๆ ซึ่งรัฐบาลไทย จีน และฟิลิปปินส์เป็นเจ้าของ หรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล รายละเอียดของธุรกรรมระหว่างประเทศที่กล่าวนี้ ระบุไว้อยู่ในเอกสารแนบ A ซึ่งแนบและถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับนี้ และเอกสารแนบ B ซึ่งแนบและถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับนี้ด้วย และเป็นเอกสารซึ่งมิได้เปิดเผยต่อสาธารณะ เป็นเอกสารที่เปิดเผยถึงรายชื่อของบุคคล หรือองค์กรต่างๆ ซึ่งมีส่วนร่วมกับธุรกรรมระหว่างประเทศนี้ด้วย อันนี้เป็นบทนำส่วนหนึ่งครับ
โดยสรุปแล้วกระทรวงยุติธรรมเชื่อว่า อินวิชั่นซึ่งกระทำการโดยผ่านพนักงานตัวแทน หรือผู้แทนจำหน่ายได้อนุมัติการตัดสินใจในบริษัทนั้น มีการผ่านการอนุมัติโดยมิชอบในการให้ข้อเสนอ หรือสัญญาที่จะจ่าย หรือจ่ายเงินและให้สิ่งของที่มีมูลค่า และในเวลาต่อมาได้เสนอหรือได้สัญญาที่จะจ่ายเงิน อันนี้ก็พูดชัดเจนนะครับ ตอนแรกอนุมัตินะครับ ต่อมาได้มีการเสนอหรือสัญญาที่จะจ่ายเงิน หรือได้จ่ายเงิน
หรือให้สิ่งของที่มีมูลค่าแก่เจ้าพนักงงานของรัฐบาลต่างประเทศเพื่อเป็นเหตุชักนำให้พนักงานดังกล่าวตกลงให้อินวิชั่นทำธุรกิจ ในประเทศไทย ประเทศจีน และประเทศฟิลิปปิน ข้อความนี้ชัดเจนนะครับ และเพื่อวัตถุประสงค์ตามสัญญาฉบับนี้อินวิชั่นตกลงรับผิดชอบต่อการกระทำของพนักงานผู้แทนจำหน่ายตามรายละเอียด ที่ระบุในเอกสารเอทั้งหมด ทั้งบุคคลากรที่เกี่ยวข้องบริษัทรับผิดชอบทั้งหมดอินวิชั่นยอมรับผิดชอบในสาระ สำคัญของเอกสารแนบท้ายเอ โดยไม่โต้แย้งเอกสารดังกล่าว หมวดต่อไปพูดถึงภาระผูกพันของอินวิชั่นกับกระทรวงยุติธรรม มีข้อผูกมัดชัดเจนนะครับ เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนกับการลดโทษ มีเพียงแค่โทษปรับเท่านั้น และในการแลกเปลี่ยนนี้บริษัทอินวิชั่นจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขที่ระบุไว้
สำหรับธุรกรรมในประเทศไทย ตามรายละเอียดในเอกสารแนบเอ อินวิชั่นจะดำเนิการต่อไปก็ต่อเมื่อเป็นการขายตรงระหว่างอินวิชั่น กับบริษัทเอ หรือขายต่อองค์กรใดๆของรัฐบาลเท่านั้น และจะต้องไม่เป็นการขายให้กับผู้รับเหมาช่วง ตัวแทน บุคคล องค์กร อื่นใด และอินวิชั้นต้องร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ในการสอบสวนเรื่องนี้ต่อไป เรื่องนี้ค่อนข้างที่จะชัดเจนว่าเป็นการแลกเปลี่ยน มีข้อผูกพันให้บริษัท ต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อมให้มีการลดโทษ การแถลงต่อสาธารณะของบริษัทอินวิชั่น ที่ขัดแย้งต่อข้อเท็จจริงในเอกสารแนบ ถือว่าเป็นการละเมิดข้อตกลงนั้นทันที พูดไม่ได้นะครับว่าอะไรที่ขัดแย้งกับข้อตกลง อะไรที่ขัดแย้งกับรายละเอียดที่ปรากฎในเอกสารแนบ จับผิดทันที และต้องรับโทษที่ระบุในหมวดของขอ้ตกลงฉบับน่
และมีข้อมูลอีกอันหนึ่งในข้อตกลงอันนี้มีการะบุไว้ด้วยว่าจะให้ข้อมูลและหรือให้การเป็นพยานกับเรื่องคดีที่เกิดขึ้นนี้ ตามที่กระทรวงยุติธรรมหรือคณะกรรมการ กลต.และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ต้องการ ดูลยพินิจอยู่ที่กลต.สหรัฐฯและกระทวงยุติธรรม ร้องขออะไรต้องทำให้ทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการให้แบบสาบาน ก่อนการดำเนินคดีความโดยคณะลูกขุนของสหรัฐ อันนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างที่จะร้ายแรง ไม่ใช่เป็นเรื่องที่พูดว่าเป้นการประเมิณเบื้องต้นคร่าวๆ มีบัตรสนเทศฉบับเดียว และยุติเพราะอยากขายหุ้น นั้นไม่ใช่
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลคำให้การ ที่เป็นทั้งเอกสาร บันทึก และหลักฐาน ที่จับต้องได้ ซึ่งจัดให้กระทรวงยุติธรรม ตามสัญญานี้ อินวิชั่นยอมเปิดเผย ต่อกลต.ด้วย รวมทั้งให้แก่องค์กรภาครัฐ มลรัฐ องค์กรของรัฐต่างประเทศ และอยู่ในสัญญาด้วยว่าหากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯต้องการ หรือมีดูลยพินิจว่าจะต้องให้ความร่วมมือกับประเทศใดนั้น อินวิชั่นจะยั้งไม่ให้ข้อมูลไม่ได้อันนี้เป็นส่วนรหนึ่งของข้อตกลงระหว่างอินวิชั่นและกระทรวงยุติธรรม การละเมิดสัญญา ทันทีที่มีการละเมิด เอกสารแนบทั้งหมด ทั้งเอ ทั้ง บี จะถือเป็นคำสารภาพ ที่มีผลผูกมัดโดยอินวิชั่น ต่อกระทรวงยุติธรรมและกลต.สหรัฐฯ และทั้ง 2 หน่วยงานนี้จะระบุเอกสารแนบเอ และบี เป็นพยานหลักฐาน ในการดำเนินคดี หรือในการอื่นๆ โดยอินวิชั้นไม่สามารถปฏิเสธได้ ท่านประธานจะเห็นว่าเงื่อนไขนี้เข้มงวดมาก เอกสารแนบเอ คือกุญแจสำคัญ ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในประเทศไทย เอกสารแนบเอ และเอกสารแนบบี ผมอยากจะเน้นรายละเอียดว่าเอกสารแนบเอมีการะบุไว้ว่าตั้งปีพ.ศ. 2544 จนกระทั้งถึงเดือนมิ.ย. 47 เป็นอย่างน้อยมีเหตุผลหนึ่งเชื่อได้ว่าธุรกรรมของบริษัทอินวิชั่น ซึ่งรวมถึงธุรกรรมระหว่างประเทศนั้น ปฏิบัติตามอำนาจของผู้บริหาร มีหลักฐานหน้าเชื่อถือเพียงพอ ทุกคำพูดในเอกสารแนบ คำพูดได้ย้ำแล้วย้ำอีกว่ามีหลักฐานที่น่าเชื่อถือเพียงพอว่าบริษัทไม่ได้มีการจัดการภายในบริษัทในลักษณะที่เป็นแผนงานป้องกันไม่ให้มีการทุจริตระหว่างประเทศ หรือมีแผนงานการการดำเนินการตามกฎหมายเอฟซีพีเอ ที่มีประสิทธิภาพส่วนหนึ่งที่สำคัญครับท่านประธาน ในกรณีการดำเนินการในต่างประเทศ มีบางประเทศไม่ได้ดำเนินการในการตรวจสอบการแต่งตั้งตัวแทน หรือเช่าการทำสัญญาช่วง หรือการแต่งตั้งผุ้แทนจำหน่ายแต่อย่างใด ตามกฎหมายเอฟซีพีเอ การจะไปแต่งตั้งผู้แทน หรือตัวแทนที่ปรึกษา ไม่ว่าใครก็แล้วแต่ในต่างประเทศต้องมีการตรวจสอบว่ามีโอกาสที่มีการละเมิดต่อกฎหมายการทุจริตในต่างประเทศ หรือไม่ ในเอกสารนี้ชัดเจนครับว่าไม่มีการตรวจสอบเข้มงวด
ส่วนการธุรกรรมในประเทศไทย ก็มีการชี้แจงชัดเจนว่าตั้งแต่ปี 2545 ถึงพ.ศ. 2546 บริษัทเอ ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาหลักเอ เพื่อท่าเทียบเครื่องบิน และก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร โดยสผู้รับเหมาหลัก ได้จัดหาผู้รับเหมาช่วงตรงนี้ต้องฟังให้ดี ว่าผู้รับเหมาหลัก จ้างผู้รับเหมาช่วงทำอะไร เพื่อออกแบบ ผลิต จัดส่ง ติตตั้ง ทดสอบ เพื่อทดลองเดินระบบการตรวจสอบกระเป๋า และสัมภาระสำหรับท่าทียมเครื่องบินและอาคารผู้โดยสาร ทำทุกอย่างนั้นแหละครับ ผู้รับเหมาช่วงทำทุกอย่าง และยอมรับแล้วต่อกระทรวงยุติธรรมตามเอกสารแนบเอ และผู้รับเหมาช่วง ซึ่งคาดว่าจะได้รับสัญญาเหมาช่วง ได้เข้าทำสัญญากับบริษัทอินวิชั่น ซึ่งมีผลในเดือนพฤษภาคม 2546 โดยบริษัทอินวิชั่นได้แต่งตั้งให้ผู้รับเหมาช่วงเอ เป็นตัวแทนจำหน่าย สำหรับการขายเครื่องตรวจกระเป๋าในประเทศไทย อันนี้ถือว่ามีความชัดเจน
บริษัทอินวิชั่นโดยผู้บริหารรู้และอนุมัติ ให้มีการเสนอจะให้สินบนต่อเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ข้อความส่วนหนึ่งที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญมาก คือข้อความต่อไปนี้ มีหลักฐานที่หน้าที่เชื่อถือเพียงพอว่า บรัทอินวิชั่นโดยผู้บริหารเอ ได้รับรู้ถึงความเป็นไปได้สูงว่าแหล่งเงินส่วนหนึ่งเท่านั้น อาจมีแหล่งเงินส่วนอื่น คำพูดของข้อตกลงนี้พูดถึงแหล่งเงินส่วนหนึ่งเท่านั้น อาจมีแหล่งเงินส่วนอื่น ที่ต้องค้นหาอีก ว่ามีเงินส่วนอื่นอีกหรือไม่
แหล่งเงินส่วนหนึ่งที่จะเสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้กับเจ้าหน้าที่นั้น โดยผ่านทางตัวแทนเอ เงินผ่านทางตัวแทนเอ ซึ่งเป็นประธานของบริษัทผู้รับเหมาช่วงเอ เมื่อรู้ว่ามีความเป็นไปได้สูงจากนั้นมีการตรวจสอบต่อไปอีก ก็พบว่ามีหลักฐานที่น่าเชื่อถือเพียงพอว่าตั้งเดือนมกราคม 2546 ถึง มกราคม 2547 13 เดือน บริษัทอินวิชั่นโดยการดำเนินการของผู้จัดการเอได้ใช้ การส่งไปรษณีย์หรือด้วยวิธีอื่นในการติดต่อระหว่างประเทศ เพื่อดำเนินการโดยไม่ชอบต่อไป รู้แล้วว่ามีการดำเนินการโดยไม่ชอบต่อไป และมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือเพียงพอต่อกระทรวงยุติธรรม ในการให้ข้อเสนอ และสัญญาจะให้เงิน หรือสิ่งของที่มีค่า กับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทย และพรรคการเมืองพรรคหนึ่งในไทย หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมืองนั้น โดยตัวแทนเอ การเสนอเสนอโดยตัวแทนเอ ด้วยการอนุมัติเห็นชอบของผู้บริหาร และผู้จัดการเอ
ท่านประธานครับพวกเราไม่ต้องจบป.ตรี ก็มองออกครับว่าเรื่องนี้ ผู้รับเหมาช่วงเอคือใคร ผู้รับเหมาหลักคือใคร ผู้จัดการเอคือใคร และการเสนอให้เพื่อทำไม มีวัตถุประสงค์เพื่อ1.โน้มน้าวให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกระทำหรือตัดสินใจ ภายในอำนาจของตน 2.ชักนำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำ หรืองดเว้นการกระทำ ใดๆที่ขัดต่อหน้าที่ตามกฎหมาย 3.ให้ได้รับผลประโยชน์โดยไม่ชอบ 4.ชักนำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจของตนต่อรัฐบาลไทยเพื่อโน้มน้าวให้ดำเนินการและให้มีการตัดสินของรัฐบาลไทย เพื่อช่วยให้อินวิชั่น ได้มาและคงไว้ซึ่งธุรกิจในประเทศไทย นี้คือข้อความที่ปรากฎในเอกสารแนบเอครับ ผู้รับเหมาช่วง ท่านประธานทราบว่ามีรายเดียว เสี่ย ช. นี่ละครับมีคนเดียว
ส่วนเอกสารแนบบี ซึ่งแน่นอนที่สุดพวกผมไม่ได้มีอำนาจรัฐ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานรัฐไม่สามารถร้องขอตามสนธิสัญญา และความร่วมมือทางอาญาได้ เอกสารแนบบี มีความระบุรายละเอียดซึ่งทำให้มีความเข้าใจว่าบุคคลที่บอกว่าเอ ผู้จัดการเอ เป็นใคร จะอยู่ในเอกสารแนบบี ซึ่งปกติหน่วยงานรัฐร้องขอก็ทำได้ โดยสรุปครับท่านประธานข้อมูลและเอกสารนี้ชี้ให้เห็นว่ามันมีความผิดเกิดขึ้นจริงตามกฎหมายสหรัฐฯปฏิเสธไม่ได้ ข้อตกลงไม่ใช่เป็นการประนีประนอมยอมความ เป็นการรับสารภาพเพื่อขอลดโทษ ต่างกันมาก และผลที่ตามมาคือบริษัทโดยลงโทษรุนแรง มีเงื่อนไขเข้มงวดมาก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยไล่ออกหลายคน ข้อมูลที่ให้ข้าราชการไว้ เป็นคำสารภาภพที่ปฏิเสธไม่ได้ และต้องให้ความร่วมมือในการสืบสวนต่อไปด้วย
ไม่ใช่เป็นเพราะอีเมล หรือบัตร สนเท่ครับ ในการตกลงมีการระบุชื่อบริษัทซึ่งอันนี้ผมคิดว่าร้องขอได้ อยากเห็นรับบาลใช้หน่วยงานของภาครัฐที่ถูกต้องตามสนธิสัญญา และพระราชบัญญัติที่มีอยู่ ร้องขอข้อมูลเหล่านี้มา ที่ต้องถามก็คือว่าทำไมวันนี้ยังไม่ร้องขอตามร่วมมือไทย-สหรัฐซักที จดหมายของสหรัฐทุกฉบับไม่ว่าจากหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม หรือทางสถานฑูตชี้ชัดว่าขอให้ใช้ช่องทางที่ถูกต้องในการขอข้อมูล
ในหนังสือของกระทรวงยุตะรรมสหรัฐฯ ลงวันที่ 8 มิ.ย.2548 วรรคสุดท้าย ยืนยันว่ากระทรวงยุติธรรม พร้อมจะให้ความร่วมมือในการสอบสวนและให้ข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมดกับรัฐบาล ที่มีอยู่ทั้งหมดกับรัฐบาล แต่ที่ผ่านมาเพียงแค่พยายามให้ทางสหรัฐออกจดหมายยืนยันว่าไม่มีการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่รัฐ แต่เขาตอบอย่างนั้นไม่ได้ครับ เพราะทางสหรัฐฯไม่ได้มาสอบสวนเจ้าหน้าที่รัฐเลย เป็นที่ชัดเจนไม่มีเจ้าหน้าที่สหรับฯ มาสอบสวนเจ้าหน้าที่รัฐไทยเลย ไม่ได้มาสอบสวนนักการเมืองในไทยเลย ไม่ได้มาสอบสวนผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้รับเหมาช่วงเลย ที่ปรากฎเป็นข่าวว่ามีอดีตนักการเมือง และบุคคลใกล้ชิด พรรคการเมืองในประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องผ่านอีกบริษัทหนึ่งอยู่ด้วย ผมเชื่อว่าที่รัฐบาลถามไป ตั้งใจถามโดยผ่านช่องทางการทูต ตั้งใจครับ ผ่านช่องทางนั้นโดยความตั้งใจครับ เพราะไม่ต้องการได้คำตอบไปมากกว่าประเด็นที่ถาม ทางสหรัฐจึงได้ชี้แล้วชี้อีกครับว่าได้ให้ใช้ช่องทางความร่วมมือที่มีอยู่แล้วให้ถูกต้อง เพื่อที่จะให้ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ได้ ที่ผมแปลกใจมากที่สุดครับ มีจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 28 ธ.ค.2547 จากบริษัทอินวิชั่น ถึงนายวรพจน์ ของแพทริออต จีอินวิชั่นยืนยันในจดหมายฉบับนี้ว่าได้แจ้งให้ทราบตั้งแต่เดือนส.ค. หลายครั้งแล้ว ว่า กระทรวงยุติธรรมไม่อนุญาตให้มีการส่งมอบเครื่องซีทีเอ็กซ์แก่แพทริออตตามสัญญาเดิมได้ และความล่าช้าของการสอบสวนในเรื่องนี้ทั้งหมดเป็นเพราะนายวรพจน์ ยศะทัตต์ ไม่ให้ความร่ววมมือต่อการสอบปากคำของกระทรวงยุติธรรม แม้ว่าจะได้มีการติดต่อผ่านทนาย มาทั้งหมด 8 ครั้ง ในช่วงเดือนก.ย. และ ต.ค. ก็ตาม อันนี้มีเอกสารชัดเจน ซึ่งผมเชื่อว่า รัฐบาลเองก็มีเอกสารฉบับนี้อยู่
นอกจากนั้นผมก็ทราบว่ารัฐบาลได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากผ่านทางสถานทูตสหรัฐในประเทศไทตั้งแต่ต้นเดือน พ.ย. 2547 ว่า อินวิชั่นส่งของให้ไม่ได้ตามสัญญาเดิมที่เซ็นไว้กับแพทริออต คำถามมีอยู่ว่าท่านรัฐมนตรีทำอะไรอยู่ จนถึงวันนี้ยังไม่คำตอบว่า ว่าจะทำเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร ที่ผมแปลกใจมากที่สุดครับท่านประธาน หากกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นในต่างประเทศ มีหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง คงไปสอบสวนดำเนินคดีหมดแล้ว ข้อมูลหลักฐานที่ปรากฏก่อนที่จะมาถึงวันอภิปรายมีเหลือที่จะเพียงพอครับ ที่จะให้มีการสอบสวนคดีเหล่านี้หรือข้อกล่าวหานี้ในทางลับหรือไม่ลับก็ได้ ที่ผมเป็นห่วงก็คือ ท่านรัฐมนตรีดูเดือดเนื้อร้อนใจเลยมีแต่ออกมาปกป้องในช่วงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และก็ปกป้องไม่ใช่เฉพาะตัวเองแต่ปกป้องบริษัทที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วย ปกป้องมาโดยตลอดครับ
ท่านประธานครับเนื่องจากในข้อตกลงระบุไว้ว่า เงินเพียงส่วนหนึ่งมาจากส่วนต่างสัญญาระหว่างอินวิชั่น แพทริออต และไอทีโอ ผมก็สงสัยครับว่า มันจะมีเงินอีกส่วนหนึ่งหรือเปล่าที่อยู่ในสัญยาอื่นๆ ในประเทศไทย เพื่อทำความเข้าใจในส่วนนี้ ผมจึงได้เข้าไปตรวจสอบดูกระบวนการจัดจ้างจัดซื้อ ดูรายงานการประชุม ไปตรวจสอบดูรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเอกสารสัญญาทุกขั้นตอน จริงอย่างที่คาดไว้ พบความผิดปกติหลายประเด็นทีเดียว จริงๆ ถ้าวันนี้มีเวลามากจะนำเสนอหลายสิบประเด็นครับที่เป็นความผิดปกติของสัญญา แต่เนื่องจากไม่ต้องการเปลืองเวลาของสภา แห่งนี้มาก ผมจึงอยากนำเสนอ 5 ประเด็นหลัก ถึงความผิดปกติของสัญญาทั้งกระบวนการที่เกิดขึ้น
ประเด็นที่ 1 ซื้อของระบบเดียว ซึ่งหมายถึงเครื่องตรวจวัตถุระเบิด และอุปกรณ์เสริมผ่านตัวกลางหลายทอดไม่ปกติแน่นอน เรื่องนี้เผอิญผมฟังคนในรัฐบาลพูด ว่า การขายของต้องบวกกำไร บวกค่าบริการ เรื่องนี้ถูกต้องหมดเลยครับ ไม่ผิดเลยครับ แต่การซื้อของระบบเดียวผ่านตัวกลาง 2 ทอด มีกำไร 3 ทอด มีค่าบริหารจัดการ 3 ทอด มีภาษีซ้ำซ้อน 3 ทอดครับ ไม่ปกติครับท่านประธาน ผมเคยทำงานอยู่ในภูมิภาคอาเซียน 10 กว่าประเทศ รู้สึกจะมีอยู่ประเทศเดียวครับที่มองเรื่องนี้ปกติ เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ดินโดนีเซีย ยุคเผด็จการซูฮาโต ประเทศเดียวครับ ตอนนั้นผมไปขายของท่านประธานครับผมต้องขายผ่าน 5 ทอดครับ ผมพยายามไปขายตรงกับผู้ใช้ ผู้ใช้บอกผมว่า ถ้าอยากจะขายได้ ไปขายผ่านอีก 4 บริษัท ราคาที่ผมขาย สมมุติ 100 บาท ถึงผุ้ใช้เท่าไรรู้ไหมครับท่านประธาน 500 ครับ ผ่าน 5 ทอด 500 5 เท่า มีประเทศเดียวครับที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ และตอนนี้ไม่มีแล้วนะครับ เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีก่อน เพราะฉะนั้นการซื้อผ่านตัวกลางหลายยทอดทุกคนทราบดีครับ นักธุรกิจทราบดี ว่าคือวิธีการที่จะเพิ่มส่วนต่างราคา และต้องมีคนหาประโยชน์จากสัญญาที่ต้องผ่านตัวกลางหลายทอดครับ แน่นอนครับ การทำเช่นนี้ มีผลอะไรเกิดขึ้น จาก 1400 กว่าล้าน ราคาถึง บทม. ราคา 2608 ล้าน อธิบายว่า ส่วนต่างเพราะมีงานอื่นๆ ที่ต้องทำเพิ่มเติมเข้าไป
ผมต้องการชี้เพียงประเด็นว่า การซื้อผ่านตัวกลางหลายทอดมั้นมีการเพิ่มราคาขึ้นไปแล้วก็เรื่องนี้ก็ตรงกับทางสหรัฐได้สรุปไว้ด้วย ว่า ส่วนต่างราคา สัญญาที่เกี่ยวข้อง กับู้รับเหมาช่วงเกือบ 600 ล้ายบาท จะเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในการให้สินบน ก็ต้องไปดูว่ามีส่วนอื่นๆ ฝั่งไทยหรือไม่ คนในรัฐบาลบอกอีกว่า อินวิชั่นจะขายของผ่านใครเป็นเรื่องภายในของเขา ไม่เกี่ยวกับเรา ลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการนะครับ ลงวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา เรื่องนี้ฟังไม่ขึ้นเลยครับ ในหลักการทางการค้าระหว่างประเทศไม่มีผู้ผลิตคนใดอยากขายผ่านคนอื่นครับ ผมก็ตั้งคำถามว่า ถ้ามันขายตรงแล้วขายได้ 2000 กว่าล้าน ทำไมบริษัทอินวิชั่นไม่กะตือรือร้นที่จะขายตรงครับ กลับไปขายผ่านอีก 2 ทอด แล้วได้ 1400 มันเรียนตำราเดียวกกันครับ ทำการค้าระหว่างประเทศไม่มีหรอกครับ พยายามขายผ่านหลายตัวกลาง ทำให้กำไรตจัวเองลดลงไม่มีทางหรอกครับ ไม่มีการเปิดเผยสัญญาจนถึงวันนี้ยังไม่มีการเปิดเผยสัญญาและผมอยากเห็นครับท่านรัฐมนตรี เปิดเผยสัญญาระหว่างอินวิชั่น และแพทริออต ตามล่าอยู่นานครับ ก็ยังซ่อนอยู่ ยังล่าไม่พบครับ และผมเชื่อว่าในสัญญาตัวนี้จะเป็นตัวที่ไขปริศนาว่า ขอบเขตงานทั้งหมดที่มีอยู่มันตรงกันหรือไม่ และผมเชื่อว่าตรงครับ มีหลายส่วนที่ได้มีการพูดไปแล้ว ว่ามีความตรงกันอยู่ และก็อันนี้ก็ตรงกับสมมุติฐานที่ผมพูดไปว่า ขอบเขตงานต้องซ้ำซ้อนแน่นอน ตรงกับที่ระบไว้ในเอกสารหน้าเอว่า ในการจ้างเหมา ผู้รับเหมาช่วงเพื่อเอาไปทำอะไรครับ เพื่อออกแบบ ผลิต จัดส่ง ติดตั้ง ทดสอบ และทดลองเดินระบบ เครื่องตรวจกระป่า อันนี้ก็ชัดเจนครับว่า มีรายละเอียดปรากฏอยู่แล้วในข้อตกลงของกระทรวงยุติธรรม บอกว่าเป็นเรื่องเอกชนครับ เขาจะขายผ่านใครเป็นเรื่องของเอกชนครับ โครงการใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์สำคัญๆ มันเป็นหน้าที่ของกรรมการ บทม. ที่จะตรวจสอบคุณสมบัติของบริษัทที่เกี่ยวข้อง จนถึงผู้ซื้อและผู้ผลิต ตอบเช่นนั้นรับไม่ได้
(ยังมีต่อ)