เดือนพฤศจิกายน 2549 ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือขยายตัวในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับเดือนก่อนโดย ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรขยายตัวในอัตราชะลอตัวเล็กน้อย ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวตามการเร่งตัวของการผลิตเพื่อการส่งออก ขณะที่ภาคบริการเร่งตัวตามฤดูกาลและได้รับแรงกระตุ้นจากการจัดงานราชพฤกษ์ 2549 ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยมีแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ด้านการส่งออกยังคงขยายตัวตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของต่างประเทศ ส่วนการนำเข้าลดลง อย่างไรก็ตาม ภาคการลงทุนยังคงลดลงตามการลงทุนในภาคก่อสร้าง ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ส่วนเงินฝากเร่งตัว ขณะที่สินเชื่อชะลอตัวลง
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 ตามราคาพืชหลักที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.4 โดยราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปีเมล็ดยาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.1 จากความต้องการของตลาดจีนเป็นสำคัญ ส่วนราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 แต่ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีลดลงร้อยละ 14.0 เนื่องจากตลาดเกรงว่ารัฐบาลจะระบายสต็อกข้าวที่รับจำนำออกสู่ตลาดทำให้มีการระบายข้าวในสต๊อกออกสู่ตลาด ด้านผลผลิตพืชหลักลดลงร้อยละ 3.3 เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมในแหล่งเพาะปลูกข้าวนาปีที่สำคัญทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.9 และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 4.6 จากการเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น มันสำปะหลัง
2. ภาคอุตสาหกรรม ในภาคเหนือขยายตัว ตามการเพิ่มขึ้นของการผลิตเพื่อส่งออกของอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือโดยมูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 เป็น 174.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เดือนก่อน โดยเฉพาะมูลค่าส่งออกของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 22.3 จากการขยายตัวของสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ และแผงวงจรไฟฟ้าสำเร็จรูป ส่วนการส่งออก Glass Magnetic Disk ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง เครื่องประดับขยายตัวร้อยละ 13.7 ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป ส่วนการผลิตเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.8 เพื่อรองรับการจำหน่ายในช่วงเทศกาลสิ้นปี
3. ภาคบริการ ในเดือนพฤศจิกายนเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดยได้รับแรงกระตุ้นจากการจัดงานพืชสวนโลก “ราชพฤกษ์ 2549” ทั้งนี้ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าชมงานในเดือนพฤศจิกายนทั้งสิ้น 999,900 คน กิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ขยายตัวแล้ว ยังส่งผลให้ภาคบริการในจังหวัดใกล้เคียงได้รับผลดีตามไปด้วย ประกอบกับในเดือนนี้เป็นเดือนแรกของฤดูกาลท่องเที่ยวในภาคเหนือ ส่งผลให้อัตราการเข้าพักปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 78.3 จากร้อยละ 67.9 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็น 1,121.2 บาทต่อห้องต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นการปรับราคาของโรงแรมขนาดกลาง ขณะที่โรงแรมขนาดใหญ่ได้ตกลงราคาล่วงหน้ากับบริษัทท่องเที่ยวไว้แล้วทำให้ไม่สามารถปรับราคาได้มากนัก จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานสำคัญในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.0 เป็น 435,251 คน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินในและต่างประเทศซึ่งเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 ทางด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญเช่น เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนพฤศจิกายน 2549 ขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยมีแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการใช้จ่ายในภาคบริการและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง พิจารณาจากปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.7 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เดือนก่อน ขณะที่กิจกรรมการใช้จ่ายสำคัญอื่นๆ ชะลอลงต่อเนื่อง ด้านปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์และปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.3 และร้อยละ 11 ตามลำดับ
5. การลงทุนภาคเอกชน ยังคงลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยเป็นการลดลงของการลงทุนในหมวดก่อสร้างเป็นสำคัญ สอดคล้องกับภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง ปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.6 จากเดือนก่อน ส่วนพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.2 โดยลดลงมากในประเภทอาคารพาณิชย์ และประเภทบริการและขนส่ง ส่วนการลงทุนในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบเท่าตัว
6. การค้าต่างประเทศ
มูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เป็น 228.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เป็น 174.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.0 และร้อยละ 46.9 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 24.3 เหลือ 8.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการย้ายงานการทำพิธีการส่งออกของสินค้าใบยาสูบไปส่วนกลาง และการลดลงของการส่งออกสินค้าเครื่องเพชรพลอยเป็นสำคัญ ส่วนการส่งออกผ่านด่านชายแดนลดลงร้อยละ 3.8 เหลือ 45.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่าและลาวลดลงร้อยละ 8.3 และร้อยละ 36.3 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 เป็น 11.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.5 เดือนก่อน
มูลค่าการนำเข้าลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เป็น 137.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 เดือนก่อน การนำเข้าที่ลดลงเป็นผลจากเดือนพฤศจิกายนปีก่อนมีการนำเข้าวัตถุดิบประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทแผงวงจรรวม และตัวเก็บปะจุไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนในเกณฑ์สูงกว่าปกติ ทั้งนี้การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนลดลงร้อยละ 12.2 เหลือ 121.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 เป็น 5.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าส่วนประกอบเครื่องยนต์ ทางด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 เป็น 11.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเพิ่มขึ้นทั้งการนำเข้าจากพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้) โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.3 ร้อยละ 23.4 และร้อยละ 4.4 ตามลำดับ
ดุลการค้า เกินดุล 91.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 59.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 69.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2549 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 เทียบกับอัตราร้อยละ 2.7 เดือนก่อน โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเร่งตัวขึ้นร้อยละ 7.8 จากผลกระทบภาวะน้ำท่วมและความต้องการของตลาดต่างประเทศส่งผลให้ราคาผักสด ผลไม้ และข้าวเหนียว ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับราคาหมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เร่งตัวขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
8. การจ้างงาน กำลังแรงงานรวมในภาคเหนือเดือนตุลาคม 2549 มีจำนวน 6.53 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำทั้งสิ้น 6.43 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 98.5 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 96.9 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยมีแรงงานในภาคเกษตรจำนวน 3.07 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชผลหลัก อีกทั้งปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในภาคการเกษตรได้คลี่คลายลง ขณะที่แรงงานนอกภาคเกษตรลดลงร้อยละ 3.0 เหลือ 3.36 ล้านคน ตามการลดลงของแรงงานในสาขาการขายส่ง/ปลีก การก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร สำหรับผู้ว่างงานมีจำนวน 8 หมื่นคน คิดเป็นร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้จำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมในเดือนพฤศจิกายน 2549 มีจำนวน 0.59 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 และระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2549 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือมียอดเงินฝากคงค้างทั้งสิ้น 332,759 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากจากนักธุรกิจต่างถิ่นและผู้รับเหมาก่อสร้าง ในจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง เป็นสำคัญ ส่วนเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 267,484 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.9 ชะลอลงจากเดือนก่อน ความต้องการใช้สินเชื่อในกลุ่มโรงสีข้าว ค้าพืชไร่และโรงงานไม้แปรรูปยังคงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร และพิษณุโลก ขณะที่ธุรกิจลีสซิ่ง โรงพยาบาลเอกชน สินเชื่อลดลงจากการชำระคืนตั๋วเงิน สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 80.38
--ประกาศมา ณ วันที่ 9 มกราคม 2550/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 ตามราคาพืชหลักที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.4 โดยราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปีเมล็ดยาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.1 จากความต้องการของตลาดจีนเป็นสำคัญ ส่วนราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 แต่ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีลดลงร้อยละ 14.0 เนื่องจากตลาดเกรงว่ารัฐบาลจะระบายสต็อกข้าวที่รับจำนำออกสู่ตลาดทำให้มีการระบายข้าวในสต๊อกออกสู่ตลาด ด้านผลผลิตพืชหลักลดลงร้อยละ 3.3 เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมในแหล่งเพาะปลูกข้าวนาปีที่สำคัญทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.9 และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 4.6 จากการเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น มันสำปะหลัง
2. ภาคอุตสาหกรรม ในภาคเหนือขยายตัว ตามการเพิ่มขึ้นของการผลิตเพื่อส่งออกของอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือโดยมูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 เป็น 174.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เดือนก่อน โดยเฉพาะมูลค่าส่งออกของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 22.3 จากการขยายตัวของสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ และแผงวงจรไฟฟ้าสำเร็จรูป ส่วนการส่งออก Glass Magnetic Disk ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง เครื่องประดับขยายตัวร้อยละ 13.7 ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป ส่วนการผลิตเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.8 เพื่อรองรับการจำหน่ายในช่วงเทศกาลสิ้นปี
3. ภาคบริการ ในเดือนพฤศจิกายนเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดยได้รับแรงกระตุ้นจากการจัดงานพืชสวนโลก “ราชพฤกษ์ 2549” ทั้งนี้ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าชมงานในเดือนพฤศจิกายนทั้งสิ้น 999,900 คน กิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ขยายตัวแล้ว ยังส่งผลให้ภาคบริการในจังหวัดใกล้เคียงได้รับผลดีตามไปด้วย ประกอบกับในเดือนนี้เป็นเดือนแรกของฤดูกาลท่องเที่ยวในภาคเหนือ ส่งผลให้อัตราการเข้าพักปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 78.3 จากร้อยละ 67.9 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็น 1,121.2 บาทต่อห้องต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นการปรับราคาของโรงแรมขนาดกลาง ขณะที่โรงแรมขนาดใหญ่ได้ตกลงราคาล่วงหน้ากับบริษัทท่องเที่ยวไว้แล้วทำให้ไม่สามารถปรับราคาได้มากนัก จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานสำคัญในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.0 เป็น 435,251 คน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินในและต่างประเทศซึ่งเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 ทางด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญเช่น เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนพฤศจิกายน 2549 ขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยมีแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการใช้จ่ายในภาคบริการและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง พิจารณาจากปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.7 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เดือนก่อน ขณะที่กิจกรรมการใช้จ่ายสำคัญอื่นๆ ชะลอลงต่อเนื่อง ด้านปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์และปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.3 และร้อยละ 11 ตามลำดับ
5. การลงทุนภาคเอกชน ยังคงลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยเป็นการลดลงของการลงทุนในหมวดก่อสร้างเป็นสำคัญ สอดคล้องกับภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง ปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.6 จากเดือนก่อน ส่วนพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.2 โดยลดลงมากในประเภทอาคารพาณิชย์ และประเภทบริการและขนส่ง ส่วนการลงทุนในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบเท่าตัว
6. การค้าต่างประเทศ
มูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เป็น 228.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เป็น 174.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.0 และร้อยละ 46.9 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 24.3 เหลือ 8.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการย้ายงานการทำพิธีการส่งออกของสินค้าใบยาสูบไปส่วนกลาง และการลดลงของการส่งออกสินค้าเครื่องเพชรพลอยเป็นสำคัญ ส่วนการส่งออกผ่านด่านชายแดนลดลงร้อยละ 3.8 เหลือ 45.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่าและลาวลดลงร้อยละ 8.3 และร้อยละ 36.3 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 เป็น 11.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.5 เดือนก่อน
มูลค่าการนำเข้าลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เป็น 137.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 เดือนก่อน การนำเข้าที่ลดลงเป็นผลจากเดือนพฤศจิกายนปีก่อนมีการนำเข้าวัตถุดิบประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทแผงวงจรรวม และตัวเก็บปะจุไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนในเกณฑ์สูงกว่าปกติ ทั้งนี้การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนลดลงร้อยละ 12.2 เหลือ 121.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 เป็น 5.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าส่วนประกอบเครื่องยนต์ ทางด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 เป็น 11.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเพิ่มขึ้นทั้งการนำเข้าจากพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้) โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.3 ร้อยละ 23.4 และร้อยละ 4.4 ตามลำดับ
ดุลการค้า เกินดุล 91.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 59.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 69.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2549 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 เทียบกับอัตราร้อยละ 2.7 เดือนก่อน โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเร่งตัวขึ้นร้อยละ 7.8 จากผลกระทบภาวะน้ำท่วมและความต้องการของตลาดต่างประเทศส่งผลให้ราคาผักสด ผลไม้ และข้าวเหนียว ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับราคาหมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เร่งตัวขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
8. การจ้างงาน กำลังแรงงานรวมในภาคเหนือเดือนตุลาคม 2549 มีจำนวน 6.53 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำทั้งสิ้น 6.43 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 98.5 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 96.9 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยมีแรงงานในภาคเกษตรจำนวน 3.07 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชผลหลัก อีกทั้งปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในภาคการเกษตรได้คลี่คลายลง ขณะที่แรงงานนอกภาคเกษตรลดลงร้อยละ 3.0 เหลือ 3.36 ล้านคน ตามการลดลงของแรงงานในสาขาการขายส่ง/ปลีก การก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร สำหรับผู้ว่างงานมีจำนวน 8 หมื่นคน คิดเป็นร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้จำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมในเดือนพฤศจิกายน 2549 มีจำนวน 0.59 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 และระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2549 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือมียอดเงินฝากคงค้างทั้งสิ้น 332,759 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากจากนักธุรกิจต่างถิ่นและผู้รับเหมาก่อสร้าง ในจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง เป็นสำคัญ ส่วนเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 267,484 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.9 ชะลอลงจากเดือนก่อน ความต้องการใช้สินเชื่อในกลุ่มโรงสีข้าว ค้าพืชไร่และโรงงานไม้แปรรูปยังคงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร และพิษณุโลก ขณะที่ธุรกิจลีสซิ่ง โรงพยาบาลเอกชน สินเชื่อลดลงจากการชำระคืนตั๋วเงิน สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 80.38
--ประกาศมา ณ วันที่ 9 มกราคม 2550/ธนาคารแห่งประเทศไทย--