บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๒ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๘ และ
วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๘ ประกาศให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย
เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน ๘ ท่าน
ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ดังนี้ คือ
ลำดับที่ ๖๘ นายสุทิน คลังแสง แทน พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ๖๙ นายเศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ แทน นายจาตุรนต์ ฉายแสง
ลำดับที่ ๗๐ นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล แทน นายพินิจ จารุสมบัติ
ลำดับที่ ๗๑ นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ แทน นายวัฒนา เมืองสุข
ลำดับที่ ๗๒ นายสฤต สันติเมทนีดล แทน นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
ลำดับที่ ๗๓ นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ แทน นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
ลำดับที่ ๗๔ นายสิน กุมภะ แทน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
ลำดับที่ ๗๕ นายชูศักดิ์ ศิรินิล แทน นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยถ้อยคำว่า
"ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่
ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้
และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
๒. การถ่ายทอดการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
เพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. …. นอกจากมีการถ่ายทอด
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
ตามปกติแล้ว ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้มีการถ่ายทอดการประชุม
ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ ตามข้อบังคับ
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๑ วรรคสอง จนเสร็จสิ้น
การประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ โดย
นายกรัฐมนตรี ได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. …. มีหลักการและเหตุผลดังนี้
หลักการ
ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘
เป็นจำนวนไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เหตุผล
เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในการดำเนินนโยบาย
และมาตรการต่าง ๆ ในการพัฒนาประเทศ จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
เป็นจำนวน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
๑. เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นจำนวน ๑๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
จังหวัดสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ เป็นจำนวน ๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๓. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านหรือชุมชน เป็นจำนวน ๙,๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๔. ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชน
เป็นจำนวน ๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๕. เงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตาม
มาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เป็นจำนวน ๔,๖๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้แถลงหลักการและเหตุผลพร้อมคำแถลงประกอบ
งบประมาณฯ จบแล้ว ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุม เรื่อง
การกำหนดเวลาการอภิปรายจะใช้เวลาทั้งหมด ๙ ชั่วโมง โดยมีสัดส่วน คือ
ฝ่ายรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีตอบชี้แจง ๔ ชั่วโมง ๓๐ นาที และพรรคฝ่ายค้าน
๔ ชั่วโมง ๓๐ นาที ยกเว้นหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านให้อภิปรายได้โดยไม่จำกัดเวลา
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย นางทัศนียา
รัตนเศรษฐ ผู้แทนหัวหน้าพรรคมหาชน และสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีประธานสภา
ผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ๒. นายวราเทพ รัตนากร
๓. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ ๔. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
๕. นายปกิต พัฒนกุล ๖. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๗. นายธีระชัย ศิริขันธ์ ๘. นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์
๙. นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ ๑๐. นางสาวศิลัมพา เลิศนุวัฒน์
๑๑. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๑๒. นายสมชัย อัศวชัยโสภณ
๑๓. นายวิทยา บุรณศิริ ๑๔. นายอำนวย คลังผา
๑๕. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ๑๖. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร
๑๗. นายเรวัต แสงวิจิตร ๑๘. นางมยุรา มนะสิการ
๑๙. นายสุพร อัตถาวงศ์ ๒๐. นายฉลาด ขามช่วง
๒๑. นายไพจิต ศรีวรขาน ๒๒. นายพงษ์ศักดิ์ บุญศล
๒๓. นายรณฤทธิชัย คานเขต ๒๔. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
๒๕. นางมาลินี อินฉัตร ๒๖. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๒๗. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ๒๘. นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ
๒๙. นายประสิทธิ์ ภักดีพาณิชพงศ์ ๓๐. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
๓๑. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ๓๒. นายศิริโชค โสภา
๓๓. นายอิสสระ สมชัย ๓๔. นายเชน เทือกสุบรรณ
๓๕. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๐๘ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ….
********************************