คำต่อคำรายการตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีครับคุณอภิสิทธิ์ครับ เรื่องที่คุณทักษิณไปให้สัมภาษณ์อัลจาซีรา แล้วก็การจ้างเบเกอร์ บอตส์ ก็ยังสับสนว่าจริง ๆ เป็นล็อบบี้ยิสต์ หรือเป็น ลอว์ เฟิร์ม กันแน่ เนี่ยนะครับ คุณอภิสิทธิ์มองยังไง
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ เรื่องการสัมภาษณ์เราก็เห็นมาโดยตลอดนะครับ แล้วก็อย่างที่ผมได้ย้ำหลายครั้งว่าอย่าไปแปลกใจเพราะว่าคุณทักษิณมีผลประโยชน์ที่จะต้องปกป้อง และก็คงจะไม่อยู่เฉย ก็ยังคงมีการเคลื่อนไหวที่เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างชัดเจนมาโดยตลอด ปัญหาก็คือว่าสาระต่าง ๆ เราอย่าไปตื่นเต้นตกใจหรือว่า ให้ความสำคัญมากเกินไป อย่างวันนี้เห็นพาดหัวกันใหญ่โตว่าเหมือนกับเย้ยว่าเอาผิดไม่ได้เรื่องคอร์รัปชั่น คือก็เป็นที่คาดหมายผมว่าเราก็รู้จักคุณทักษิณดีพอแล้ว ผมไม่คิดว่าจะมีวันไหนที่คุณทักษิณให้สัมภาษณ์ว่า ผมผิดไปแล้ว (หัวเราะ) เพราะฉะนั้นก็เป็นที่คาดหมายได้ แล้วก็ผมเองได้พูดว่าไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะไปคิดที่จะต้องมาตอบโต้ หรือถึงขั้นที่ต้องไปตั้งวอร์รูม หรืออะไร แต่สิ่งที่คนมีความคาดหวังแล้วก็ คมช. และรัฐบาลน่าจะต้องทำมากที่สุดก็คือ เอาความจริงมาเป็นคำตอบ ไม่ต้องสัมภาษณ์หรือว่าโต้ตอบ เอาความจริงมาเป็นคำตอบ นั่นก็หมายความว่าเดือนหน้าในเรื่องของการตรวจสอบ และก็แก้ไขปัญหาหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านเมืองในช่วงที่คุณทักษิณดำเนินการอยู่นะครับ อันนี้คือเรื่องของการเคลื่อนไหวในทางสื่อ
ทีนี้การจ้าง ล็อบบี้ยิสต์นั้น ผมคิดว่า เป็นเรื่องที่ยืนยันสิ่งที่หลายคนได้พูดมาโดยตลอดก็คือว่า ที่คุณทักษิณพูดถึงเรื่องการวางมือนี่มันไม่จริง นะครับ เพราะมันไม่ใช่วิสัยของคนที่จะวางมือทางการเมืองที่จะไปทำสิ่งเหล่านี้ แล้วก็ส่วนที่บอกว่าสับสนไหม ว่ามันเรื่องกฎหมาย เรื่องล็อบบี้ยิสต์ มันไม่มีความสับสนเลยครับ เพราะว่าง่าย ๆ นะครับ ก็คือว่า ถ้าสมมติว่าคุณหรือผมอยากจะไปจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย ไม่ต้องไปลงทะเบียนขึ้นทะเบียนไว้หรอกครับเรื่องการล็อบบี้ กฎหมายนั้นเขาให้ไปขึ้นทะเบียนไว้ กฎหมายของสหรัฐฯ นะครับ ก็ต่อเมื่อมันมีเรื่องของการล็อบบี้ แล้วก็คนที่มาบอกว่ามันเป็นเรื่องของการให้ขอความเห็นทางกฎหมายเฉย ๆ นั้น ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่อ่านเอกสารที่ได้เปิดเผยไปนะครับ ว่างานที่ให้ทำนั้นให้รวมไปถึงการทั้งคิด ทั้งนำยุทธศาสตร์ ไปปฏิบัติ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจุดยืนและนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ด้วยนะครับ ถ้าเราไปขอความเห็นทางกฎหมายเฉย ๆ แล้วไปยุ่งอะไรกับรัฐบาลสหรัฐฯ ใช่ไม๊ครับ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ค่อนข้างจะชัดเจนว่าเป็นเรื่องของการจ้างเพื่อล็อบบี้นะครับ ก็เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าเป็นคำถามไปถึงหลาย ๆ ฝ่าย คุณทักษิณนั้นคงไม่ต้องถามแล้ว เพราะว่าเราก็ชัดอยู่แล้วว่าท่านเคลื่อนไหวทางการเมือง และก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องมาปฏิเสธหรือมาพูดเป็นอย่างอื่น ยอมรับตรงไปตรงมาก็ได้นะครับ
แต่ว่า ในส่วนของสหรัฐฯ เอง นั้นผมก็เป็นห่วง เพราะว่าเรื่องนี้ก็จะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งในเรื่องความสัมพันธ์ได้ถ้าเราไม่ระมัดระวัง นะครับ เหมือนกับที่ช่วงนั้นก็มีความตึงเครียดขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องสิงคโปร์ ถูกไม๊ครับ เพราะฉะนั้นเรื่องของการดำเนินการตรงนี้ ผมฟังท่านทูตสหรัฐฯ พูดว่า การล็อบบี้นั้นเป็นเรื่องเอกชน กับเอกชน ไม่ค่อยเกี่ยวข้องอะไรนั้น ผมคิดว่า โดยทั่ว ๆ ไปถ้าเป็นการจ้างในลักษณะที่ปกติ แม้กระทั่งที่บอกว่าประเทศไทยเคยจ้างโดยท่านอดีตรัฐมนตรี สุรเกียรติ์ นั้นมันก็เป็นเรื่องของการล็อบบี้ ในเรื่องของนโยบายตามปกติ เช่นเรื่องจีเอสพี เช่นเรื่องว่าจะสนับสนุนบุคคลนั้นบุคคลนี้ไปดำรงตำแหน่งในองค์กรระหว่างประเทศได้ไม๊ แต่ไม่ให้ลักษณะของการไปล็อบบี้ จุดยืนนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีผลกระทบต่อการเมืองภายใน ของอีกประเทศหนึ่งโดยตรง เพราะฉะนั้นตรงนี้เองผมก็อยากให้ทางท่านทูต ได้แสดงท่าทีที่ชัดในเรื่องของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดความสบายใจ และก็จะได้ไม่ไปกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง 2 ประเทศนะครับ ตรงนี้ก็เป็นหน้าที่ที่ผมคิดว่าหลายฝ่ายคงจะต้องติดตามแล้วก็ดูแลอย่างให้คนเดียวมาสร้างปัญหาเป็นปัญหาระดับนานาชาติไปแล้วนะครับ จากเดิมสร้างปัญหาให้กับประเทศไทยมามากมาย
น็น็น
ผู้ดำเนินรายการ ครับ การระบุสถานะนะครับ คุณอภิสิทธิ์ฟังคุณนพดลชี้แจงตอบโต้เมื่อวานนี้แล้วยังติดใจไม๊ฮะ ว่าคุณทักษิณระบุสถานะเหมือนกับยังเป็นนายกฯ อยู่ หรืออย่างไร
คุณอภิสิทธิ์ คือ ถ้อยคำที่คุณกอร์ปศักดิ์ได้เปิดเผยออกไปนั้น เอกสารนั้นก็ดาวน์โหลดโดยตรงมาจากทางเวปไซต์นะครับ มันก็จะใช้ถ้อยคำซึ่งพูดถึงการเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสรีซึ่งถูกให้ออกจากตำแหน่ง ทำนองนั้น คำว่า “Depos” ห้อยอยู่ ซึ่งผมไม่รู้ว่ามันขาดไปเพราะอะไร หรืออย่างไร แต่ว่ามันก็เป็นเพียงข้อสังเกตว่าทำไมต้องอธิบายหรือบรรยายอย่างนี้ จริง ๆ ง่ายที่สุดก็เขียน อดีตนายกรัฐมนตรี
ผู้ดำเนินรายการ Former อะไรอย่างงี้นะ
คุณอภิสิทธิ์ ใช่ไม๊ครับ มันก็เป็นเพียงข้อสังเกต ถ้าข้อความนี้ไม่ได้มีปัญหา ผมก็เชื่อคุณทนายของคุณทักษิณ ก็คงไม่มาออกตัวหรอกว่า มันเป็นเรื่องที่บริษัทเขาเขียนเจ้าตัวไม่ได้เขียน ใช่ไม๊ ถ้ามันเป็นข้อความซึ่งไม่มีปัญหาอะไรก็คงบอกได้ว่าไม่มีอะไรนี่ แล้วก็ทางคุณทักษิณก็อธิบายตัวเองอย่างนั้น แต่แสดงว่ามันมีปัญหาเขาถึงตอบว่า เป็นเรื่องที่บริษัทไปกรอกเองอะไรทำนองนี้ ก็เรื่องนี้ผมคิดว่าก็ว่ากันไปนะครับ แต่ว่าตอนนี้ภารกิจที่มันเร่งด่วนก็คือการสะสางปัญหาต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องของการเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญที่ดีที่เป็นประชาธิปไตย และก็รัฐบาลเองก็หนีไม่พ้นการดูแลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะจะไปมองเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่งไม่ได้ คือจริง ๆ ทุกฝ่ายก็พยายามกันอย่างเต็มที่นะครับ ในการที่จะช่วยกันประคับประคองให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพราะว่าไม่มีประโยชน์ คือไม่มีใครได้ประโยชน์เลย ถ้าบ้านเมืองตกอยู่ในสภาพซึ่งเหมือนกับเป็นวิกฤตหลัง แล้วเกิดวิกฤตแล้ว เกิดวิกฤตอีก นะครับ หรือว่ามีปัญหาการเปลี่ยนแปลง ความรุนแรงหรืออะไรก็ตาม ฉะนั้นทุกฝ่ายก็ต้องช่วยกันแต่ว่าที่จำเป็นจะต้องย้ำเตือนกับทางรัฐบาลซักนิดนึงก็คือว่า ผมฟังเสียงสะท้อนมาจากหลายพื้นที่ คือมันมีความเสียเปรียบของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอีกแล้วนะครับ ว่าไม่มี ส.ส. เพราะฉะนั้นมันมีความห่างเหินอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว คงนึกออกว่าเวลามีประชาธิปไตยข้อดีของประชาธิปไตยที่เราต้องเรียกร้องกันก็เพราะว่ารัฐบาลทำงานไปมันมีผู้แทน ผู้แทนก็ไปสื่อสารทั้งสองทางไปพยายามอธิบายกับประชาชนว่ารัฐบาลกำลังทำอะไร รับฟังมาจากประชาชนว่าเขาอยากให้รัฐบาลทำอะไร ทีนี้ช่องว่างตรงนี้มันมีอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในรัฐบาลแบบนี้ ทีนี้ถ้าความรู้สึกห่างเหินนี้มันถูกตอกย้ำไปด้วยว่ามันมีปัญหาหลายปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนของเขาอย่างเช่นในภาคเกษตรหรือในอะไรต่าง ๆ แล้วก็เวลาเขาเปิดโทรทัศน์ดูข่าวแล้วเขาไม่ค่อยเห็นเรื่องราวที่มันเกี่ยวกับตัวเขา อันนี้เป็นเรื่องที่ผมคิดว่ารัฐบาลจะต้องตระหนักด้วย เพราะว่าที่มีการสำรวจแล้วบอกความนิยมของรัฐบาลลด ผมว่าส่วนหนึ่งก็ ส่วนสำคัญเลยคงจะมาจากตรงนี้ด้วย เพราะฉะนั้นก็อยากให้รัฐบาลมีความละเอียดอ่อนต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของประชาชน นี่ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ
ผู้ดำเนินรายการ ในแง่หนึ่งรัฐบาลอาจจะมองว่าเขาอยู่ในระยะเวลาหนึ่ง แล้วไม่ได้ไปลงเลือกตั้งในสมัยหน้า ก็อาจจะไม่ได้คำนึงถึงช่องว่างตรงนี้นะครับ คุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ คือเหตุผลที่สองคงรับฟังไม่ได้นะครับ (หัวเราะ) เพราะว่าเรื่องไม่ได้ลงเลือกตั้งเพราะฉะนั้นไม่ต้องไปสนใจ และผมก็เชื่อว่าคงไม่ได้คิดอย่างนั้น แต่ว่าเหตุผลแรกคือใช่ครับ ลำดับความสำคัญต้องชัดเจนผมเองก็เป็นคนนึงที่เรียกร้องว่า ภารกิจหลักนี่อย่างให้หลุดไปจากสายตา ก็คือเรื่องการคืนบ้านเมืองสู่ภาวะปกติกับประชาธิปไตย แต่ว่าปัญหาปากท้องปัญหาความเดือดร้อน ปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชน มันมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขนะครับ ไม่งั้นแล้วการบริหารจัดการเรื่องอื่นมันก็จะทำยาก อันนี้ก็เป็นเรื่องปกติในทางการเมือง นะครับ และก็การตอบสนองต่าง ๆ มันจะต้องเกิดขึ้นนะครับ เหมือนสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวใหญ่สุดก็คงเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่ตำรวจนะครับ อันนี้ก็จะเป็นจุดที่จะต้องจับตาดูนะครับ ว่าช่วยพลิกสถานการณ์ขึ้นมาได้บ้างหรือไม่ เพราะว่าก่อนหน้านี้คงต้องยอมรับเลยว่า เหตุร้าย เหตุความรุนแรง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แล้วมันไม่เคยมีคำตอบเลย จนทำให้ประชาชนขาดความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย รวมไปถึงว่ามองว่าเอ๊ะ กฎหมายนี่มันศักดิ์สิทธิ์หรือเปล่า ตอนนี้ก็น่าจะมีความหวังขึ้นมา แต่ว่า ก็ต้องจับตาดูต่อไปว่าสำเร็จแค่ไหน
วันนี้ก็ดีใจนะครับที่เห็นมีการดำเนินการจริงจังกับกรณีที่มีการไปทำร้ายร่างกายคนที่เซนทรัล เวิลด์ ในช่วงที่คุณทักษิณเป็นนายกฯ ซึ่งอันนั้นก็วิจารณ์กันมานานแล้วว่าทำไมมันไม่มีผลออกมาเสียที
ผู้ดำเนินรายการ ครับ เรื่องของการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวานนี้ กรรมาธิการยกร่างชุดที่ว่าด้วยสถาบันการเมืองก็มีข้อสรุป 2 — 3 ประเด็นน่าสนใจอยากให้คุณอภิสิทธิ์แลกเปลี่ยนนิดนึงนะฮะ เรื่องเลือกปาร์ตี้ลิสต์ ปลดล็อค 90 วัน เหลือ 30 วัน เขตจะใหญ่ขึ้นแทนที่จะเขตเดียวคนเดียว ก็เป็นเขตใหญ่เรียงเบอร์ อาจจะ 3 คนอย่างงี้เนี่ยนะฮะ แต่ว่าก็ วันแมน วันโหวต คือเราก็เลือกได้คนเดียว แต่ว่าเขตก็อาจจะมี 3 คน สองสามประเด็นนี้คุณอภิสิทธิ์มองยังไงครับ
คุณอภิสิทธิ์ ครับ คือในส่วนบัญชีรายชื่อนี่ไม่ติดใจนะครับ มีก็ได้ไม่มีก็ได้ แต่ 2 ข้อหลังนั้น ผมอยากให้มาย้อนกลับไปดูนะครับ ที่จริงสัปดาห์ที่แล้วผมก็เขียนบทความเรื่องนี้โดยตรง คือสภาผู้แทนราษฎรในระบบรัฐสภา และก็พรรคการเมืองนั้น ตรงนี้คือหัวใจของการแปลงเจตนารมณ์ของประชาชนผ่านการเลือกตั้งไปสู่การบริหารประเทศ นะครับ เพราะฉะนั้นความเป็นปึกแผ่นของพรรคการเมือง สำคัญมากที่จะทำให้เวลาประชาชนไปเลือกตั้งแล้วนักการเมืองผูกมัด โดยกรอบของพรรค ในการรับผิดชอบต่อประชาชน เราไม่ได้เลือกผู้แทนราษฎรในลักษณะที่เอาอำนาจไปมอบให้คน ๆ นั้น แล้วอีก 4 ปีข้างหน้า เขาจะคิดอย่างไร ทำอย่างไร ลงมติอย่างไร มีจุดยืนอย่างไร ตามใจชอบ อันนั้นไม่น่าจะเป็นวิธีการส่งเสริมประชาธิปไตย นะครับ
เพราะฉะนั้นผมเห็นว่าพรรคการเมืองต้องเข้มแข็ง นะครับ ผมยืนยันว่าการสังกัดพรรคการเมืองในสังคมไทย จำเป็น กฎ 90 วันต้องคงไว้ ไม่งั้นพรรคการเมืองพัฒนาไม่ได้ นะครับ ยากมากในการที่จะพัฒนา แล้วก็ผมก็เสนอว่ายกเว้นกรณีที่ ส.ส. ขัดแย้งกับพรรคการเมืองจริง ๆ หรือยกเว้นในกรณีสำหรับคนที่ไม่เคยลงเลือกตั้งมาก่อน ก็ไม่ต้องไปใช้กฎ 90 วันนะครับ ส่วนการที่จะไปขยายเขตเลือกตั้งนั้น ผมก็เห็นด้วยว่า เขตละคนที่ผ่านมาเมื่อทดลองใช้ไปแล้วนั้น การต่อสู้ทางการเมืองมันรุนแรงเกินไปและก็เป็นสาเหตุหนึ่งนะครับ ทั้งในแง่ของปัญหาการใช้เงิน ใช้อิทธิพล การทุจริตในการเลือกตั้ง แต่ว่าถ้าจะขยายเขตเลือกตั้งก็ควรจะกลับไปเป็นแบบเดิมนะครับ เพราะว่าการที่ให้ไปใช้เขตเลือกตั้งใหญ่ มี ส.ส. หลายคนแต่ประชาชนลงคะแนนได้คนเดียวนั้น อันนี้จะทำให้มันเป็นการบังคับให้สภาพของพรรคการเมืองเป็นเบี้ยหัวแตกในสภา สุดท้ายอำนาจประชาชนก็ลอยไปสู่ในมือของนักการเมืองไปต่อรองกันในสภา นะครับ
เพราะฉะนั้น ข้อเสนอเกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎรนั้นผมอยากให้คำนึงมากที่สุดก็คือ สถาบันนี้คือสถาบันที่ต้องแปลงเจตนารมณ์ของประชาชนไปสู่ทิศทางการบริหารประเทศ และอันนี้คือจุดที่ใหญ่ที่สุด อย่าไปมองเล็ก ๆ เรื่องว่า นักการเมืองคนนี้จะมีปัญหากับพรรคไม๊ อะไรไม๊ อันนี้เป็นเรื่องของนักการเมือง นะครับ แต่ว่าจุดใหญ่ใจความของการมีระบอบประชาธิปไตย คือการที่ประชาชนสามารถที่จะกำหนดทิศทางของการบริหารประเทศไทย และในระบบรัฐสภาทั่วโลกต้องอาศัยพรรคการเมือง ในการเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้กระบวนการนี้มันเป็นผลขึ้นมานะครับ
ผู้ดำเนินรายการ ผมขอเพิ่มเติมนิดนึง ข้อเสนอของกรรมาธิการเมื่อวานนี้ก็คือว่า ถ้าเป็นครบวาระ ก็ 90 วันเหมือนเดิมครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ แต่ถ้ายุบสภาจะลดลงเหลือ 30 วันอันนี้นะฮะ มีเงื่อนไข 2 แบบ แบบนี้
คุณอภิสิทธิ์ คือ สมมติยุบสภาแล้วเลือกตั้งภายใน 20 วัน 30 วัน ก็ไม่มีประโยชน์อะไร (หัวเราะ) คือที่ผมเสนอไว้นั้นก็คือว่า กรณียุบสภา อนุญาตให้ย้ายพรรคได้คือกรณีที่พรรคนั้นจงใจไม่ส่ง ส.ส. ลงเลือกตั้ง คือผมเห็นว่า 90 วันไม่ควรใช้บังคับกับคนที่ไม่เคยลงเลือกตั้งมาก่อนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นคนใหม่คนนอกอะไรนั้นเขาก็มีโอกาสในการจะย้ายได้ล่วงหน้าอะไรต่าง ๆ แต่ว่าต้องคุ้มครองไว้ ก็คือเกิดหัวหน้าพรรค หรือพรรคแกล้ง ส.ส. ใช่ไม๊ครับ ยุบสภาเสร็จไม่ยอมให้เขา (หัวเราะ) ลงเลือกตั้งนั้น ผมคิดว่าอย่างนี้ก็อนุญาตให้ย้ายได้ นะครับ แต่ไม่ใช่ถ้าไปบอกว่ายุบสภาแล้วย้ายได้ง่าย ๆ มันก็กลับไปสู่ยุคเดิม ซึ่งบางทีก็ตั้งกลุ่มตั้งก๊วน กันทางการเมืองขึ้นมา สร้างปัญหาเพื่อให้เกิดยุบสภาแล้วย้าย นะครับ ซึ่งเราต้องการหนีตรงนั้นมา
ผู้ดำเนินรายการ ครับ อีกอันหนึ่ง ผู้สมัครพรรคใดซื้อเสียง กำหนดให้เป็นความผิดทางอาญาและทางแพ่ง และให้พรรคต้นสังกัด กรรมการบริหารพรรค มีความผิดด้วย คือผิดยกพรรคถ้าใครซื้อเสียง ผิดยกพรรคเลยฮะ คุณอภิสิทธิ์ฮะ
คุณอภิสิทธิ์ ผมคิดว่า อันนี้คงต้องระมัดระวังเหมือนกันนะครับ เพราะว่าโดยสภาพความเป็นจริงผมก็คิดว่ามันเป็นความรับผิดชอบของพรรคส่วนหนึ่งที่จะต้องดูแลนะครับ แต่การที่สมมติว่าเจ้าตัวเขาถูกเพิกถอนสิทธิ์ เลือกตั้งหรือใบแดงนั้น พรรคก็ถูกลงโทษโดยปริยายอยู่แล้ว เพราะว่าก็จะไม่สามารถมีส.ส.ในเขตนั้นได้นะครับ แต่ถึงขั้นที่ว่า จะต้องไปสามารถควบคุมติดตามได้หมดนั้น ผมว่าคงจะลำบากนะ ยกเว้นพิสูจน์ได้ด้วยว่าการซื้อเสียงนั้นได้รับการสนับสนุนกันเป็นทางการเงินหรือทางอื่นใดจากพรรค อันนี้พรรคก็ควรจะผิดด้วย ถูกไม๊ครับ ถ้าพูดกันตามความเป็นจริงโดยเฉพาะช่วงเลือกตั้งชุลมุนกันนั้น และถ้าสมมติว่าไม่มีบัญชีรายชื่อ กรรมการบริหารพรรคเองก็ชุลมุนอยู่ในเขตเลือกตั้งตัวเอง 400 เขตนี่จะมีใครซักคนไปทำอะไร ผมคิดว่าโดยที่พรรคอาจจะไม่รู้เห็นจริง ๆ มันก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้นะครับ ฉะนั้นก็เอาพอดี ๆ ครับ คือถ้าพิสูจน์ได้ว่าพรรคมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย อย่างนี้ผมว่าก็ควรจะลงโทษพรรคครับ
ผู้ดำเนินรายการ สุดท้ายครับ เรื่อง 20 คำถาม ซึ่งตอนนี้เป็น 28 คำถามแล้ว ที่กรรมาธิการร่างเขาจะส่งไปให้ประชาชนได้ทั่วประเทศได้ตอบแบบสอบถาม คุณอภิสิทธิ์มีข้อสังเกตอะไรไม๊ ชี้นำหรือเปล่าบางคำถาม
คุณอภิสิทธิ์ เมนูใช่ไม๊ฮะ (หัวเราะ) ที่พูดเมนู เพราะว่าตอนนี้ เรื่องหนังสือเมนู คอร์รัปชั่นด้วย (หัวเราะ) ซึ่งวันนี้ก็ขอประชาสัมพันธ์นิดนึงนะครับ ว่าจะไปพบกับผู้สนใจที่ศูนย์หนังสือจุฬา ศาลาพระเกี้ยว
ผู้ดำเนินรายการ อ๋อวันนี้ไปศูนย์หนังสือจุฬาฯ อภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ ก็จะไปทั้งหนังสือของผมเองเอง การเมืองไทย หลังรัฐประหาร กับเมนู คอร์รัปชั่น ก็จะไปเซ็นหนังสือกัน
ผู้ดำเนินรายการ 11 โมงครึ่ง ที่ศูนย์หนังสือจุฬานะครับ
คุณอภิสิทธิ์ ศาลาพระเกี้ยวนะครับ ไม่ใช่ที่สยามแสควร์
ผู้ดำเนินรายการ อ๋อ ครับผม
คุณอภิสิทธิ์ ส่วนเมนูคำถามของ สสร. นั้น ผมก็อ่านดูนะครับ ก็เป็นการตั้งประเด็นนะครับ แต่ว่าทั้งหมดนั้นมันอยู่ที่เวลาไปถามจริงนะครับ เช่นเวลาไปสมมติว่าจะเป็นการรับฟังผ่านการสัมมนาผ่านการทำการสำรวจแบบโพลล์หรืออะไร มันอยู่ที่การทำตรงนั้นว่า ก็คงจะต้องให้ถามแบบตรงไปตรงมา นะครับ ไม่ใช่มีลักษณะของการชี้นำ ซึ่งผมก็เข้าใจว่ามันก็ยากนะครับ แล้วก็ที่จริงดีที่สุดเวลารับฟังนอกจากเป็นการถามเฉย ๆ แล้วอาจจะต้องมีคำอธิบาย ให้เห็นข้อดีข้อเสียด้วย อย่างเช่นผมยกตัวอย่างที่เราคุยกันเมื่อกี้ ถ้าไปพูดกันง่าย ๆ ว่า ส.ส. ทำงานด้วยความอิสระดีกว่าไม๊ พอฟังคำถามนี้ทุกคนก็ต้องตอบว่ามันก็ดีกว่า แต่ว่าอิสระนั้นอิสระแค่ไหนอย่างไร แล้วมันมีผลต่อในที่สุดเป็นการโอนอำนาจจากประชาชนไปให้ ส.ส. หรือเปล่า แต่ถ้าเกิดตั้งคำถามกลับกันบอกว่า อยากให้อำนาจอยู่ในมือ ให้ประชาชนควบคุมทิศทางบริหารประเทศหรือให้ ส.ส. ก็ต้องตอบประชาชนใช่ไม๊ เพราะฉะนั้นมันก็จะมีความสำคัญนะครับ ในเรื่องของการเลือกถ้อยคำเทคนิคในการถามนะครับ ก็หวังว่า สสร. จะใช้ความระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย
ผู้ดำเนินรายการ ครับก็ฝากเป็นข้อสังเกตเอาไว้ด้วย ขอบคุณนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ก.พ. 2550--จบ--
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีครับคุณอภิสิทธิ์ครับ เรื่องที่คุณทักษิณไปให้สัมภาษณ์อัลจาซีรา แล้วก็การจ้างเบเกอร์ บอตส์ ก็ยังสับสนว่าจริง ๆ เป็นล็อบบี้ยิสต์ หรือเป็น ลอว์ เฟิร์ม กันแน่ เนี่ยนะครับ คุณอภิสิทธิ์มองยังไง
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ เรื่องการสัมภาษณ์เราก็เห็นมาโดยตลอดนะครับ แล้วก็อย่างที่ผมได้ย้ำหลายครั้งว่าอย่าไปแปลกใจเพราะว่าคุณทักษิณมีผลประโยชน์ที่จะต้องปกป้อง และก็คงจะไม่อยู่เฉย ก็ยังคงมีการเคลื่อนไหวที่เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างชัดเจนมาโดยตลอด ปัญหาก็คือว่าสาระต่าง ๆ เราอย่าไปตื่นเต้นตกใจหรือว่า ให้ความสำคัญมากเกินไป อย่างวันนี้เห็นพาดหัวกันใหญ่โตว่าเหมือนกับเย้ยว่าเอาผิดไม่ได้เรื่องคอร์รัปชั่น คือก็เป็นที่คาดหมายผมว่าเราก็รู้จักคุณทักษิณดีพอแล้ว ผมไม่คิดว่าจะมีวันไหนที่คุณทักษิณให้สัมภาษณ์ว่า ผมผิดไปแล้ว (หัวเราะ) เพราะฉะนั้นก็เป็นที่คาดหมายได้ แล้วก็ผมเองได้พูดว่าไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะไปคิดที่จะต้องมาตอบโต้ หรือถึงขั้นที่ต้องไปตั้งวอร์รูม หรืออะไร แต่สิ่งที่คนมีความคาดหวังแล้วก็ คมช. และรัฐบาลน่าจะต้องทำมากที่สุดก็คือ เอาความจริงมาเป็นคำตอบ ไม่ต้องสัมภาษณ์หรือว่าโต้ตอบ เอาความจริงมาเป็นคำตอบ นั่นก็หมายความว่าเดือนหน้าในเรื่องของการตรวจสอบ และก็แก้ไขปัญหาหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านเมืองในช่วงที่คุณทักษิณดำเนินการอยู่นะครับ อันนี้คือเรื่องของการเคลื่อนไหวในทางสื่อ
ทีนี้การจ้าง ล็อบบี้ยิสต์นั้น ผมคิดว่า เป็นเรื่องที่ยืนยันสิ่งที่หลายคนได้พูดมาโดยตลอดก็คือว่า ที่คุณทักษิณพูดถึงเรื่องการวางมือนี่มันไม่จริง นะครับ เพราะมันไม่ใช่วิสัยของคนที่จะวางมือทางการเมืองที่จะไปทำสิ่งเหล่านี้ แล้วก็ส่วนที่บอกว่าสับสนไหม ว่ามันเรื่องกฎหมาย เรื่องล็อบบี้ยิสต์ มันไม่มีความสับสนเลยครับ เพราะว่าง่าย ๆ นะครับ ก็คือว่า ถ้าสมมติว่าคุณหรือผมอยากจะไปจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย ไม่ต้องไปลงทะเบียนขึ้นทะเบียนไว้หรอกครับเรื่องการล็อบบี้ กฎหมายนั้นเขาให้ไปขึ้นทะเบียนไว้ กฎหมายของสหรัฐฯ นะครับ ก็ต่อเมื่อมันมีเรื่องของการล็อบบี้ แล้วก็คนที่มาบอกว่ามันเป็นเรื่องของการให้ขอความเห็นทางกฎหมายเฉย ๆ นั้น ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่อ่านเอกสารที่ได้เปิดเผยไปนะครับ ว่างานที่ให้ทำนั้นให้รวมไปถึงการทั้งคิด ทั้งนำยุทธศาสตร์ ไปปฏิบัติ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจุดยืนและนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ด้วยนะครับ ถ้าเราไปขอความเห็นทางกฎหมายเฉย ๆ แล้วไปยุ่งอะไรกับรัฐบาลสหรัฐฯ ใช่ไม๊ครับ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ค่อนข้างจะชัดเจนว่าเป็นเรื่องของการจ้างเพื่อล็อบบี้นะครับ ก็เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าเป็นคำถามไปถึงหลาย ๆ ฝ่าย คุณทักษิณนั้นคงไม่ต้องถามแล้ว เพราะว่าเราก็ชัดอยู่แล้วว่าท่านเคลื่อนไหวทางการเมือง และก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องมาปฏิเสธหรือมาพูดเป็นอย่างอื่น ยอมรับตรงไปตรงมาก็ได้นะครับ
แต่ว่า ในส่วนของสหรัฐฯ เอง นั้นผมก็เป็นห่วง เพราะว่าเรื่องนี้ก็จะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งในเรื่องความสัมพันธ์ได้ถ้าเราไม่ระมัดระวัง นะครับ เหมือนกับที่ช่วงนั้นก็มีความตึงเครียดขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องสิงคโปร์ ถูกไม๊ครับ เพราะฉะนั้นเรื่องของการดำเนินการตรงนี้ ผมฟังท่านทูตสหรัฐฯ พูดว่า การล็อบบี้นั้นเป็นเรื่องเอกชน กับเอกชน ไม่ค่อยเกี่ยวข้องอะไรนั้น ผมคิดว่า โดยทั่ว ๆ ไปถ้าเป็นการจ้างในลักษณะที่ปกติ แม้กระทั่งที่บอกว่าประเทศไทยเคยจ้างโดยท่านอดีตรัฐมนตรี สุรเกียรติ์ นั้นมันก็เป็นเรื่องของการล็อบบี้ ในเรื่องของนโยบายตามปกติ เช่นเรื่องจีเอสพี เช่นเรื่องว่าจะสนับสนุนบุคคลนั้นบุคคลนี้ไปดำรงตำแหน่งในองค์กรระหว่างประเทศได้ไม๊ แต่ไม่ให้ลักษณะของการไปล็อบบี้ จุดยืนนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีผลกระทบต่อการเมืองภายใน ของอีกประเทศหนึ่งโดยตรง เพราะฉะนั้นตรงนี้เองผมก็อยากให้ทางท่านทูต ได้แสดงท่าทีที่ชัดในเรื่องของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดความสบายใจ และก็จะได้ไม่ไปกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง 2 ประเทศนะครับ ตรงนี้ก็เป็นหน้าที่ที่ผมคิดว่าหลายฝ่ายคงจะต้องติดตามแล้วก็ดูแลอย่างให้คนเดียวมาสร้างปัญหาเป็นปัญหาระดับนานาชาติไปแล้วนะครับ จากเดิมสร้างปัญหาให้กับประเทศไทยมามากมาย
น็น็น
ผู้ดำเนินรายการ ครับ การระบุสถานะนะครับ คุณอภิสิทธิ์ฟังคุณนพดลชี้แจงตอบโต้เมื่อวานนี้แล้วยังติดใจไม๊ฮะ ว่าคุณทักษิณระบุสถานะเหมือนกับยังเป็นนายกฯ อยู่ หรืออย่างไร
คุณอภิสิทธิ์ คือ ถ้อยคำที่คุณกอร์ปศักดิ์ได้เปิดเผยออกไปนั้น เอกสารนั้นก็ดาวน์โหลดโดยตรงมาจากทางเวปไซต์นะครับ มันก็จะใช้ถ้อยคำซึ่งพูดถึงการเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสรีซึ่งถูกให้ออกจากตำแหน่ง ทำนองนั้น คำว่า “Depos” ห้อยอยู่ ซึ่งผมไม่รู้ว่ามันขาดไปเพราะอะไร หรืออย่างไร แต่ว่ามันก็เป็นเพียงข้อสังเกตว่าทำไมต้องอธิบายหรือบรรยายอย่างนี้ จริง ๆ ง่ายที่สุดก็เขียน อดีตนายกรัฐมนตรี
ผู้ดำเนินรายการ Former อะไรอย่างงี้นะ
คุณอภิสิทธิ์ ใช่ไม๊ครับ มันก็เป็นเพียงข้อสังเกต ถ้าข้อความนี้ไม่ได้มีปัญหา ผมก็เชื่อคุณทนายของคุณทักษิณ ก็คงไม่มาออกตัวหรอกว่า มันเป็นเรื่องที่บริษัทเขาเขียนเจ้าตัวไม่ได้เขียน ใช่ไม๊ ถ้ามันเป็นข้อความซึ่งไม่มีปัญหาอะไรก็คงบอกได้ว่าไม่มีอะไรนี่ แล้วก็ทางคุณทักษิณก็อธิบายตัวเองอย่างนั้น แต่แสดงว่ามันมีปัญหาเขาถึงตอบว่า เป็นเรื่องที่บริษัทไปกรอกเองอะไรทำนองนี้ ก็เรื่องนี้ผมคิดว่าก็ว่ากันไปนะครับ แต่ว่าตอนนี้ภารกิจที่มันเร่งด่วนก็คือการสะสางปัญหาต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องของการเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญที่ดีที่เป็นประชาธิปไตย และก็รัฐบาลเองก็หนีไม่พ้นการดูแลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะจะไปมองเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่งไม่ได้ คือจริง ๆ ทุกฝ่ายก็พยายามกันอย่างเต็มที่นะครับ ในการที่จะช่วยกันประคับประคองให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพราะว่าไม่มีประโยชน์ คือไม่มีใครได้ประโยชน์เลย ถ้าบ้านเมืองตกอยู่ในสภาพซึ่งเหมือนกับเป็นวิกฤตหลัง แล้วเกิดวิกฤตแล้ว เกิดวิกฤตอีก นะครับ หรือว่ามีปัญหาการเปลี่ยนแปลง ความรุนแรงหรืออะไรก็ตาม ฉะนั้นทุกฝ่ายก็ต้องช่วยกันแต่ว่าที่จำเป็นจะต้องย้ำเตือนกับทางรัฐบาลซักนิดนึงก็คือว่า ผมฟังเสียงสะท้อนมาจากหลายพื้นที่ คือมันมีความเสียเปรียบของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอีกแล้วนะครับ ว่าไม่มี ส.ส. เพราะฉะนั้นมันมีความห่างเหินอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว คงนึกออกว่าเวลามีประชาธิปไตยข้อดีของประชาธิปไตยที่เราต้องเรียกร้องกันก็เพราะว่ารัฐบาลทำงานไปมันมีผู้แทน ผู้แทนก็ไปสื่อสารทั้งสองทางไปพยายามอธิบายกับประชาชนว่ารัฐบาลกำลังทำอะไร รับฟังมาจากประชาชนว่าเขาอยากให้รัฐบาลทำอะไร ทีนี้ช่องว่างตรงนี้มันมีอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในรัฐบาลแบบนี้ ทีนี้ถ้าความรู้สึกห่างเหินนี้มันถูกตอกย้ำไปด้วยว่ามันมีปัญหาหลายปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนของเขาอย่างเช่นในภาคเกษตรหรือในอะไรต่าง ๆ แล้วก็เวลาเขาเปิดโทรทัศน์ดูข่าวแล้วเขาไม่ค่อยเห็นเรื่องราวที่มันเกี่ยวกับตัวเขา อันนี้เป็นเรื่องที่ผมคิดว่ารัฐบาลจะต้องตระหนักด้วย เพราะว่าที่มีการสำรวจแล้วบอกความนิยมของรัฐบาลลด ผมว่าส่วนหนึ่งก็ ส่วนสำคัญเลยคงจะมาจากตรงนี้ด้วย เพราะฉะนั้นก็อยากให้รัฐบาลมีความละเอียดอ่อนต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของประชาชน นี่ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ
ผู้ดำเนินรายการ ในแง่หนึ่งรัฐบาลอาจจะมองว่าเขาอยู่ในระยะเวลาหนึ่ง แล้วไม่ได้ไปลงเลือกตั้งในสมัยหน้า ก็อาจจะไม่ได้คำนึงถึงช่องว่างตรงนี้นะครับ คุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ คือเหตุผลที่สองคงรับฟังไม่ได้นะครับ (หัวเราะ) เพราะว่าเรื่องไม่ได้ลงเลือกตั้งเพราะฉะนั้นไม่ต้องไปสนใจ และผมก็เชื่อว่าคงไม่ได้คิดอย่างนั้น แต่ว่าเหตุผลแรกคือใช่ครับ ลำดับความสำคัญต้องชัดเจนผมเองก็เป็นคนนึงที่เรียกร้องว่า ภารกิจหลักนี่อย่างให้หลุดไปจากสายตา ก็คือเรื่องการคืนบ้านเมืองสู่ภาวะปกติกับประชาธิปไตย แต่ว่าปัญหาปากท้องปัญหาความเดือดร้อน ปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชน มันมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขนะครับ ไม่งั้นแล้วการบริหารจัดการเรื่องอื่นมันก็จะทำยาก อันนี้ก็เป็นเรื่องปกติในทางการเมือง นะครับ และก็การตอบสนองต่าง ๆ มันจะต้องเกิดขึ้นนะครับ เหมือนสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวใหญ่สุดก็คงเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่ตำรวจนะครับ อันนี้ก็จะเป็นจุดที่จะต้องจับตาดูนะครับ ว่าช่วยพลิกสถานการณ์ขึ้นมาได้บ้างหรือไม่ เพราะว่าก่อนหน้านี้คงต้องยอมรับเลยว่า เหตุร้าย เหตุความรุนแรง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แล้วมันไม่เคยมีคำตอบเลย จนทำให้ประชาชนขาดความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย รวมไปถึงว่ามองว่าเอ๊ะ กฎหมายนี่มันศักดิ์สิทธิ์หรือเปล่า ตอนนี้ก็น่าจะมีความหวังขึ้นมา แต่ว่า ก็ต้องจับตาดูต่อไปว่าสำเร็จแค่ไหน
วันนี้ก็ดีใจนะครับที่เห็นมีการดำเนินการจริงจังกับกรณีที่มีการไปทำร้ายร่างกายคนที่เซนทรัล เวิลด์ ในช่วงที่คุณทักษิณเป็นนายกฯ ซึ่งอันนั้นก็วิจารณ์กันมานานแล้วว่าทำไมมันไม่มีผลออกมาเสียที
ผู้ดำเนินรายการ ครับ เรื่องของการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวานนี้ กรรมาธิการยกร่างชุดที่ว่าด้วยสถาบันการเมืองก็มีข้อสรุป 2 — 3 ประเด็นน่าสนใจอยากให้คุณอภิสิทธิ์แลกเปลี่ยนนิดนึงนะฮะ เรื่องเลือกปาร์ตี้ลิสต์ ปลดล็อค 90 วัน เหลือ 30 วัน เขตจะใหญ่ขึ้นแทนที่จะเขตเดียวคนเดียว ก็เป็นเขตใหญ่เรียงเบอร์ อาจจะ 3 คนอย่างงี้เนี่ยนะฮะ แต่ว่าก็ วันแมน วันโหวต คือเราก็เลือกได้คนเดียว แต่ว่าเขตก็อาจจะมี 3 คน สองสามประเด็นนี้คุณอภิสิทธิ์มองยังไงครับ
คุณอภิสิทธิ์ ครับ คือในส่วนบัญชีรายชื่อนี่ไม่ติดใจนะครับ มีก็ได้ไม่มีก็ได้ แต่ 2 ข้อหลังนั้น ผมอยากให้มาย้อนกลับไปดูนะครับ ที่จริงสัปดาห์ที่แล้วผมก็เขียนบทความเรื่องนี้โดยตรง คือสภาผู้แทนราษฎรในระบบรัฐสภา และก็พรรคการเมืองนั้น ตรงนี้คือหัวใจของการแปลงเจตนารมณ์ของประชาชนผ่านการเลือกตั้งไปสู่การบริหารประเทศ นะครับ เพราะฉะนั้นความเป็นปึกแผ่นของพรรคการเมือง สำคัญมากที่จะทำให้เวลาประชาชนไปเลือกตั้งแล้วนักการเมืองผูกมัด โดยกรอบของพรรค ในการรับผิดชอบต่อประชาชน เราไม่ได้เลือกผู้แทนราษฎรในลักษณะที่เอาอำนาจไปมอบให้คน ๆ นั้น แล้วอีก 4 ปีข้างหน้า เขาจะคิดอย่างไร ทำอย่างไร ลงมติอย่างไร มีจุดยืนอย่างไร ตามใจชอบ อันนั้นไม่น่าจะเป็นวิธีการส่งเสริมประชาธิปไตย นะครับ
เพราะฉะนั้นผมเห็นว่าพรรคการเมืองต้องเข้มแข็ง นะครับ ผมยืนยันว่าการสังกัดพรรคการเมืองในสังคมไทย จำเป็น กฎ 90 วันต้องคงไว้ ไม่งั้นพรรคการเมืองพัฒนาไม่ได้ นะครับ ยากมากในการที่จะพัฒนา แล้วก็ผมก็เสนอว่ายกเว้นกรณีที่ ส.ส. ขัดแย้งกับพรรคการเมืองจริง ๆ หรือยกเว้นในกรณีสำหรับคนที่ไม่เคยลงเลือกตั้งมาก่อน ก็ไม่ต้องไปใช้กฎ 90 วันนะครับ ส่วนการที่จะไปขยายเขตเลือกตั้งนั้น ผมก็เห็นด้วยว่า เขตละคนที่ผ่านมาเมื่อทดลองใช้ไปแล้วนั้น การต่อสู้ทางการเมืองมันรุนแรงเกินไปและก็เป็นสาเหตุหนึ่งนะครับ ทั้งในแง่ของปัญหาการใช้เงิน ใช้อิทธิพล การทุจริตในการเลือกตั้ง แต่ว่าถ้าจะขยายเขตเลือกตั้งก็ควรจะกลับไปเป็นแบบเดิมนะครับ เพราะว่าการที่ให้ไปใช้เขตเลือกตั้งใหญ่ มี ส.ส. หลายคนแต่ประชาชนลงคะแนนได้คนเดียวนั้น อันนี้จะทำให้มันเป็นการบังคับให้สภาพของพรรคการเมืองเป็นเบี้ยหัวแตกในสภา สุดท้ายอำนาจประชาชนก็ลอยไปสู่ในมือของนักการเมืองไปต่อรองกันในสภา นะครับ
เพราะฉะนั้น ข้อเสนอเกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎรนั้นผมอยากให้คำนึงมากที่สุดก็คือ สถาบันนี้คือสถาบันที่ต้องแปลงเจตนารมณ์ของประชาชนไปสู่ทิศทางการบริหารประเทศ และอันนี้คือจุดที่ใหญ่ที่สุด อย่าไปมองเล็ก ๆ เรื่องว่า นักการเมืองคนนี้จะมีปัญหากับพรรคไม๊ อะไรไม๊ อันนี้เป็นเรื่องของนักการเมือง นะครับ แต่ว่าจุดใหญ่ใจความของการมีระบอบประชาธิปไตย คือการที่ประชาชนสามารถที่จะกำหนดทิศทางของการบริหารประเทศไทย และในระบบรัฐสภาทั่วโลกต้องอาศัยพรรคการเมือง ในการเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้กระบวนการนี้มันเป็นผลขึ้นมานะครับ
ผู้ดำเนินรายการ ผมขอเพิ่มเติมนิดนึง ข้อเสนอของกรรมาธิการเมื่อวานนี้ก็คือว่า ถ้าเป็นครบวาระ ก็ 90 วันเหมือนเดิมครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ แต่ถ้ายุบสภาจะลดลงเหลือ 30 วันอันนี้นะฮะ มีเงื่อนไข 2 แบบ แบบนี้
คุณอภิสิทธิ์ คือ สมมติยุบสภาแล้วเลือกตั้งภายใน 20 วัน 30 วัน ก็ไม่มีประโยชน์อะไร (หัวเราะ) คือที่ผมเสนอไว้นั้นก็คือว่า กรณียุบสภา อนุญาตให้ย้ายพรรคได้คือกรณีที่พรรคนั้นจงใจไม่ส่ง ส.ส. ลงเลือกตั้ง คือผมเห็นว่า 90 วันไม่ควรใช้บังคับกับคนที่ไม่เคยลงเลือกตั้งมาก่อนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นคนใหม่คนนอกอะไรนั้นเขาก็มีโอกาสในการจะย้ายได้ล่วงหน้าอะไรต่าง ๆ แต่ว่าต้องคุ้มครองไว้ ก็คือเกิดหัวหน้าพรรค หรือพรรคแกล้ง ส.ส. ใช่ไม๊ครับ ยุบสภาเสร็จไม่ยอมให้เขา (หัวเราะ) ลงเลือกตั้งนั้น ผมคิดว่าอย่างนี้ก็อนุญาตให้ย้ายได้ นะครับ แต่ไม่ใช่ถ้าไปบอกว่ายุบสภาแล้วย้ายได้ง่าย ๆ มันก็กลับไปสู่ยุคเดิม ซึ่งบางทีก็ตั้งกลุ่มตั้งก๊วน กันทางการเมืองขึ้นมา สร้างปัญหาเพื่อให้เกิดยุบสภาแล้วย้าย นะครับ ซึ่งเราต้องการหนีตรงนั้นมา
ผู้ดำเนินรายการ ครับ อีกอันหนึ่ง ผู้สมัครพรรคใดซื้อเสียง กำหนดให้เป็นความผิดทางอาญาและทางแพ่ง และให้พรรคต้นสังกัด กรรมการบริหารพรรค มีความผิดด้วย คือผิดยกพรรคถ้าใครซื้อเสียง ผิดยกพรรคเลยฮะ คุณอภิสิทธิ์ฮะ
คุณอภิสิทธิ์ ผมคิดว่า อันนี้คงต้องระมัดระวังเหมือนกันนะครับ เพราะว่าโดยสภาพความเป็นจริงผมก็คิดว่ามันเป็นความรับผิดชอบของพรรคส่วนหนึ่งที่จะต้องดูแลนะครับ แต่การที่สมมติว่าเจ้าตัวเขาถูกเพิกถอนสิทธิ์ เลือกตั้งหรือใบแดงนั้น พรรคก็ถูกลงโทษโดยปริยายอยู่แล้ว เพราะว่าก็จะไม่สามารถมีส.ส.ในเขตนั้นได้นะครับ แต่ถึงขั้นที่ว่า จะต้องไปสามารถควบคุมติดตามได้หมดนั้น ผมว่าคงจะลำบากนะ ยกเว้นพิสูจน์ได้ด้วยว่าการซื้อเสียงนั้นได้รับการสนับสนุนกันเป็นทางการเงินหรือทางอื่นใดจากพรรค อันนี้พรรคก็ควรจะผิดด้วย ถูกไม๊ครับ ถ้าพูดกันตามความเป็นจริงโดยเฉพาะช่วงเลือกตั้งชุลมุนกันนั้น และถ้าสมมติว่าไม่มีบัญชีรายชื่อ กรรมการบริหารพรรคเองก็ชุลมุนอยู่ในเขตเลือกตั้งตัวเอง 400 เขตนี่จะมีใครซักคนไปทำอะไร ผมคิดว่าโดยที่พรรคอาจจะไม่รู้เห็นจริง ๆ มันก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้นะครับ ฉะนั้นก็เอาพอดี ๆ ครับ คือถ้าพิสูจน์ได้ว่าพรรคมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย อย่างนี้ผมว่าก็ควรจะลงโทษพรรคครับ
ผู้ดำเนินรายการ สุดท้ายครับ เรื่อง 20 คำถาม ซึ่งตอนนี้เป็น 28 คำถามแล้ว ที่กรรมาธิการร่างเขาจะส่งไปให้ประชาชนได้ทั่วประเทศได้ตอบแบบสอบถาม คุณอภิสิทธิ์มีข้อสังเกตอะไรไม๊ ชี้นำหรือเปล่าบางคำถาม
คุณอภิสิทธิ์ เมนูใช่ไม๊ฮะ (หัวเราะ) ที่พูดเมนู เพราะว่าตอนนี้ เรื่องหนังสือเมนู คอร์รัปชั่นด้วย (หัวเราะ) ซึ่งวันนี้ก็ขอประชาสัมพันธ์นิดนึงนะครับ ว่าจะไปพบกับผู้สนใจที่ศูนย์หนังสือจุฬา ศาลาพระเกี้ยว
ผู้ดำเนินรายการ อ๋อวันนี้ไปศูนย์หนังสือจุฬาฯ อภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ ก็จะไปทั้งหนังสือของผมเองเอง การเมืองไทย หลังรัฐประหาร กับเมนู คอร์รัปชั่น ก็จะไปเซ็นหนังสือกัน
ผู้ดำเนินรายการ 11 โมงครึ่ง ที่ศูนย์หนังสือจุฬานะครับ
คุณอภิสิทธิ์ ศาลาพระเกี้ยวนะครับ ไม่ใช่ที่สยามแสควร์
ผู้ดำเนินรายการ อ๋อ ครับผม
คุณอภิสิทธิ์ ส่วนเมนูคำถามของ สสร. นั้น ผมก็อ่านดูนะครับ ก็เป็นการตั้งประเด็นนะครับ แต่ว่าทั้งหมดนั้นมันอยู่ที่เวลาไปถามจริงนะครับ เช่นเวลาไปสมมติว่าจะเป็นการรับฟังผ่านการสัมมนาผ่านการทำการสำรวจแบบโพลล์หรืออะไร มันอยู่ที่การทำตรงนั้นว่า ก็คงจะต้องให้ถามแบบตรงไปตรงมา นะครับ ไม่ใช่มีลักษณะของการชี้นำ ซึ่งผมก็เข้าใจว่ามันก็ยากนะครับ แล้วก็ที่จริงดีที่สุดเวลารับฟังนอกจากเป็นการถามเฉย ๆ แล้วอาจจะต้องมีคำอธิบาย ให้เห็นข้อดีข้อเสียด้วย อย่างเช่นผมยกตัวอย่างที่เราคุยกันเมื่อกี้ ถ้าไปพูดกันง่าย ๆ ว่า ส.ส. ทำงานด้วยความอิสระดีกว่าไม๊ พอฟังคำถามนี้ทุกคนก็ต้องตอบว่ามันก็ดีกว่า แต่ว่าอิสระนั้นอิสระแค่ไหนอย่างไร แล้วมันมีผลต่อในที่สุดเป็นการโอนอำนาจจากประชาชนไปให้ ส.ส. หรือเปล่า แต่ถ้าเกิดตั้งคำถามกลับกันบอกว่า อยากให้อำนาจอยู่ในมือ ให้ประชาชนควบคุมทิศทางบริหารประเทศหรือให้ ส.ส. ก็ต้องตอบประชาชนใช่ไม๊ เพราะฉะนั้นมันก็จะมีความสำคัญนะครับ ในเรื่องของการเลือกถ้อยคำเทคนิคในการถามนะครับ ก็หวังว่า สสร. จะใช้ความระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย
ผู้ดำเนินรายการ ครับก็ฝากเป็นข้อสังเกตเอาไว้ด้วย ขอบคุณนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ก.พ. 2550--จบ--