อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จากกรณีการปิดกิจการของโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปถือเป็นการส่งสัญญานเตือนและบ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมกำลังประสบปัญหาอุปสรรคในด้านขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศที่ลดลง จากการแข่งขันของประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเช่นจีน เวียดนาม อินเดีย และอินโดนีเซีย ประกอบกับความผันผวนของค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ศักยภาพการแข่งขันของไทยลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสินค้ามีราคาสูงขึ้นในสายตาของผู้นำเข้า จนกระทั่งมีการลดคำสั่งซื้อ การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปีนี้เริ่มชะลอตัวลง ซึ่งการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งชะลอตัวลงในตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐอเมริกา หากค่าเงินบาทยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่องคาดว่าไตรมาสที่ 3 การส่งออกจะยังติดลบ แต่ใช่ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป จะหมดโอกาสที่จะมีบทบาทในตลาดโลก เนื่องจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังมีจุดแข็งด้านประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน คุณภาพฝีมือการตัดเย็บ และยังสามารถแข่งขันได้โดยเฉพาะสินค้าคุณภาพปานกลางขึ้นไป
การผลิต
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอโดยรวมลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกาย ลดลงร้อยละ 5.6 , 12.9 และ 2.8 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ขยายตัวร้อยละ 4.6 และ 4.0 เนื่องจากยังมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 3 คาดว่าการผลิตจะทรงตัวในระดับเดียวกับไตรมาสนี้
การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายในประเทศลดลงในส่วนของเส้นใยสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ 4.0 และ 11.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การจำหน่ายผ้าผืนฯ และเครื่องแต่งกายฯ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 และ 9.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 10.3 และ 8.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 1,739.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 1,647.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 โดยจำแนกผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 752.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 713.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าส่งออก 758.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 45.0 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ทั้งหมด
2. ผ้าผืนและด้าย ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 502.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าส่งออก 480.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าส่งออก 436.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ผ้าผืน ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 291.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 262.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 210.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 20.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 174.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 129.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าส่งออก 117.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญหลักๆ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่า 489.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งสัดส่วนการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุดร้อยละ 30 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ และ เคหะสิ่งทอ ตามลำดับ
ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 88.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.1 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด และลดลงร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 339.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องรัดทรง ยกทรง และส่วนประกอบ และผ้าผืน เป็นต้น
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 93.0) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 7.0)
สิ่งทอ นำเข้าสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 93.0 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยรวม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ที่ผ่านมา มีมูลค่านำเข้าสิ่งทอ (เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 740.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามีดังนี้
1. เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 163.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 187.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย
2. ด้ายทอผ้า มีมูลค่านำเข้า 122.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน
3. ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 383.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 360.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ จีน ไต้หวัน และ ฮ่องกง
4. ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 44.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 29.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 34.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 58.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 57.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.0 ของการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง อิตาลี และสเปน
6. เครื่องจักรสิ่งทอ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 นำเข้ามูลค่า 98.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าคือ ญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน และจีน
สรุปและแนวโน้ม
การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับการจำหน่าย โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันการเป็นสมาชิก WTO ของจีนและเวียดนาม ส่งผลให้ 2 ประเทศนี้สามารถส่งออกเครื่องนุ่งห่มโดยไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขโควตาทางการค้าอีกต่อไป ทำให้ประเทศผู้นำเข้าสามารถสั่งซื้อได้มากยิ่งขึ้น ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้จีนและเวียดนาม ส่งออกสินค้าสิ่งทอขยายตัวมากขึ้น ประกอบกับการมีแรงงานจำนวนมาก ทำให้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามทั้งจีนและเวียดนาม ยังถูกผู้นำเข้านำมาตรการกีดกันทางการค้าบ่อยครั้ง โดยเฉพาะจีน ถูกสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป นำมาตรการ safeguard มากีดกันทางการค้าในส่วนสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ตั้งแต่กลางปี 2548
สำหรับแนวโน้มการผลิตในไตรมาสที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หลังจากที่มีการ
ลงนามข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Japan-Thailand Economics Partnership Agreement : JTEPA) ซึ่งคาดว่าจะดึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับมา ทั้งนี้จากข้อมูลการส่งออกของไทย ยังพบว่าไทยยังมีศักยภาพในการแข่งขันของเสื้อผ้าสำเร็จรูปบางประเภท เช่น เสื้อผ้าเด็กอ่อน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากไหม เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิต
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอโดยรวมลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกาย ลดลงร้อยละ 5.6 , 12.9 และ 2.8 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ขยายตัวร้อยละ 4.6 และ 4.0 เนื่องจากยังมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 3 คาดว่าการผลิตจะทรงตัวในระดับเดียวกับไตรมาสนี้
การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายในประเทศลดลงในส่วนของเส้นใยสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ 4.0 และ 11.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การจำหน่ายผ้าผืนฯ และเครื่องแต่งกายฯ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 และ 9.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 10.3 และ 8.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 1,739.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 1,647.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 โดยจำแนกผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 752.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 713.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าส่งออก 758.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 45.0 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ทั้งหมด
2. ผ้าผืนและด้าย ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 502.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าส่งออก 480.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าส่งออก 436.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ผ้าผืน ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 291.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 262.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 210.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 20.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 174.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 129.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าส่งออก 117.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญหลักๆ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่า 489.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งสัดส่วนการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุดร้อยละ 30 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ และ เคหะสิ่งทอ ตามลำดับ
ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 88.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.1 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด และลดลงร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าส่งออก 339.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องรัดทรง ยกทรง และส่วนประกอบ และผ้าผืน เป็นต้น
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 93.0) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 7.0)
สิ่งทอ นำเข้าสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 93.0 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยรวม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ที่ผ่านมา มีมูลค่านำเข้าสิ่งทอ (เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 740.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามีดังนี้
1. เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 163.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 187.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย
2. ด้ายทอผ้า มีมูลค่านำเข้า 122.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน
3. ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 383.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 360.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ จีน ไต้หวัน และ ฮ่องกง
4. ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 44.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 29.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 34.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 58.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 57.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.0 ของการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง อิตาลี และสเปน
6. เครื่องจักรสิ่งทอ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 นำเข้ามูลค่า 98.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าคือ ญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน และจีน
สรุปและแนวโน้ม
การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับการจำหน่าย โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันการเป็นสมาชิก WTO ของจีนและเวียดนาม ส่งผลให้ 2 ประเทศนี้สามารถส่งออกเครื่องนุ่งห่มโดยไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขโควตาทางการค้าอีกต่อไป ทำให้ประเทศผู้นำเข้าสามารถสั่งซื้อได้มากยิ่งขึ้น ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้จีนและเวียดนาม ส่งออกสินค้าสิ่งทอขยายตัวมากขึ้น ประกอบกับการมีแรงงานจำนวนมาก ทำให้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามทั้งจีนและเวียดนาม ยังถูกผู้นำเข้านำมาตรการกีดกันทางการค้าบ่อยครั้ง โดยเฉพาะจีน ถูกสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป นำมาตรการ safeguard มากีดกันทางการค้าในส่วนสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ตั้งแต่กลางปี 2548
สำหรับแนวโน้มการผลิตในไตรมาสที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หลังจากที่มีการ
ลงนามข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Japan-Thailand Economics Partnership Agreement : JTEPA) ซึ่งคาดว่าจะดึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับมา ทั้งนี้จากข้อมูลการส่งออกของไทย ยังพบว่าไทยยังมีศักยภาพในการแข่งขันของเสื้อผ้าสำเร็จรูปบางประเภท เช่น เสื้อผ้าเด็กอ่อน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากไหม เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-