การซื้อขายหุ้นระหว่างครอบครัว ชินวัตรและกองทุน เทมาเส็ก ของสมาชิก ครบรอบ 1 ปีแล้ววันนี้ ต้องการถือว่าการซื้อห้นครั้งนี้ เป็นตัวจุดชะนวนที่นำมาสู่จุดจบทางการเมืองของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และยังมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์ ที่ดูเหมือนจะทรุดโทรมลงเรื่อยๆ
ประชาชนคนไทยตกใจมากถึงมูลค่าการขายหุ้นครั้งนั้นที่มีมูลค่าถึง 70.3 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ทำกำไรมิได้มีความจำเป็นต้องเสียภาษี “แม้แต่บาทเดียว”
มีคำถามมากมายว่า “เป็นไปได้อย่างไร ?” แต่คำตอบกลับไม่น่าฟังมากนัก
การขายหุ้นครั้งนี้เป็นไปได้เพราะได้มีการเพิ่มมูลค่ากับธุรกิจในเครือชินวัตร มาอย่างต่อเนื่องด้วยทุจริต ในทางนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีนำเข้าอุปกรณ์แบบไม่เป็นธรรม หรือออกคำสั่งให้องค์กรรัฐฯ ชำระภาษีสรรพสามิต แทนบริษัทในเครือ
การขายเป็นไปได้เพราะกรมสรรพากร ตีความบิดเบือนกฎหมาย เข้าข้างตระกูลชินวัตร เพื่อปกป้องไม่ให้คนในตระกูลต้องเสียภาษี
การขายเป็นไปได้เพราะ พ.ร.บ. โทรคมนาคมได้มีการแก้ไขเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น โดยต่างชาติจาก 25%. เป็น 49% เพียงหนึ่งวันก่อนที่จะมีการซื้อขาย
การขายเป็นไปได้เพราะครอบครัวชินวัตรร่วมกันกับเทมาเส็ก ในการจัดโครงสร้างบริษัทที่ผิดกฎหมายเพื่อเลี่ยงเกณฑ์การถือหุ้นโดยต่างชาติ และเปิดโอกาสให้ต่างชาติ (เทมาเส็ก) เข้ามาครอบงำกิจการ
และการขายเป็นไปได้เพราะอันที่จริงแล้ว ดร.ทักษิณ ...เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นที่ขายให้เทมาเส็ก ..และดร.ทักษิณ อยู่ในสถานะที่อาจจะเอื้อต่อสิงคโปร์ ด้วย “สัญญานอกสัญญา” ดังเช่นการที่มีมติ ค.ร.ม. ในเดือนธันวาคม 2548 ผ่อนผันภาระภาษีให้กับบริษัทฯจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ดูเหมือนจะเอื้อให้ AIS เป็นพิเศษ และ “สัญญานอกสัญญา” ที่อาจจะมีน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์ออกอาการอย่างชัดแจ้งในแง่ของสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นเป็นพิเศษ กับ ดร.ทักษิณ จากคำถามที่มีมากมายจาการการขายหุ้นครั้งนี้ก็ยังขาดคำตอบสำคัญๆ อีกหลายประเด็นที่ยังต้องติดตาม
1. ใครเป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นที่ขายให้กับ เทมาเส็ก ทักษิณ ได้โอนหุ้นให้ลูกชายจริงหรือ ? แล้วปันผลที่ แอมเพิลริช ให้กันนั้นได้ส่งต่อให้ พานทองแท้ในฐานะผู้ถือหุ้นหรือไปที่อื่น ?
2. เทมาเส็ก เจรจากับใคร (เพราะคงไม่ใช้พานทองแท้แน่)
3. ทำไม UBS จึงได้รวมหุ้นของ แอมเพิลริสชเข้ากับหุ้นในบัญชี “pivate accountu” ตอนที่แจ้งกับ กลต. ? เป็นเพราะหุ้นในบัญชีส่วนตัวนั้นเป็นหุ้น “ ซุก “ ที่มีเจ้าของคนเดียวกับ แอมเพิลริช หรือไม่ ?
4. เมื่อไร กลต. จึงจะสรุปผลการตรวจสอบเรื่องการใช้ข้อมูลภายในของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ?
ยิ่งลักษณ์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท ได้ขายหุ้น Ais ต่อเนื่องจนถึงเดือนมกราคม ในราคา เฉลี่ย 105 บาทต่อหุ้น นอกจากนั้นยิ่งลักษณ์ยังเป็นคู่สัญญาในการขายหุ้นให้กับ เทมาเส็ก ด้วย ซึ่งในสัญญาระบุว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยคนอื่น มีสิทธิขายหุ้นในราคา 75 บาท เท่านั้น
5. กลต. ได้อนุโลมให้ เทมาเส็ก ได้รับการจากการยกเว้นจากการ Terder Offer จากผู้ถือหุ้นรายย่อยของ SATTel และ ITV เนื่องจาก เทมาเส็ก อ้างว่าไม่มีเจตนาครอบงำสองบริษัทนี้ แต่ทว่าข้อเท็จจริงก็คือครอบงำมาแล้วหนึ่งปีเต็ม แต่ กลต. ก็ยังนิ่งเฉยไม่ออกมารักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เสียโอกาสไปแล้ว
6. เมื่อศาลยืนยันในอนาคตว่าโครงสร้างการถือหุ้นของ ชินคอร์ป ผิดกฎหมายจะมีการแก้ไขอย่างไร ?
วิธีการที่เป็นไปได้
1. ให้ กลต. ซื้อหุ้นส่วนเกินจาก เทมาเส็ก
วิธีการ แลกรายได้สัมปทานในอนาคตกับหุ้น
ข้อดี 1. ท.ศ.ท. ได้กิจการที่มีกำไร เป็นการยืนยันอนาคตขององค์กร
2. นำไปสู่การปรับโครงสร้างอุตสาหรรมที่ควรจะเกิด
ข้อเสีย 1. อาจถูกมองว่ารัฐบาล สร้างสถาณการณ์บังคับซื้อทรัพย์สินจากนักลงทุนต่างประเทศ
2.ทักษิณยังได้กำไรอยู่ตามเดิมและเป็นเป็นเกี่ยวที่ไม่ได้รับการการลงโทษจากการ
กระทำทั้งปวง
.ศาลอาจประกระกาศยกเลิกการซื้อขายระหว่างชินวัตรและเทมาเส็ก
กระบวนการ ศาลพิพากษาเรื่องกุหลาบแก้วโดยสรุปว่าโครงสร้างโดยปัจุบันผิดกฎหมายและผู้ซื้อไม่มีสิอธิที่จะซื้อโครงสร้างนี้ตั้งแต่แรก ดังนั้นอาจจะมีคำสั่งให้ถือการซื้อขายระหว่าง ชินวัตรกับเทมาเส็กเป็นโมฆะแต่ยังยืนยันการซื้อหุ้นโดยเทมาเส็กจากผู้ถือหุ้นโดยย่อย
ข้อดี 1. ยืนยันความเป็นไทย บริษัท ทักษิณ หมดสิทธิ์ที่จะทำกำไรจากขายหุ้น และเทมาเส็กก็ยังต้องรับผิดชอบต่อหุ้นอีก 40 % ที่ซื้อจากนักลงทุนทั่วไป
2. กระบวนการปรับสัญญาสัมประทานเพื่อคืนความเป็นธรรรมให้กับรัฐก็จะมีผลต่อการปรับมูลค่าหุ้นของเทมาเส็กและทักษิณเข้าสู่ผลกระทบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 ม.ค. 2550--จบ--
ประชาชนคนไทยตกใจมากถึงมูลค่าการขายหุ้นครั้งนั้นที่มีมูลค่าถึง 70.3 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ทำกำไรมิได้มีความจำเป็นต้องเสียภาษี “แม้แต่บาทเดียว”
มีคำถามมากมายว่า “เป็นไปได้อย่างไร ?” แต่คำตอบกลับไม่น่าฟังมากนัก
การขายหุ้นครั้งนี้เป็นไปได้เพราะได้มีการเพิ่มมูลค่ากับธุรกิจในเครือชินวัตร มาอย่างต่อเนื่องด้วยทุจริต ในทางนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีนำเข้าอุปกรณ์แบบไม่เป็นธรรม หรือออกคำสั่งให้องค์กรรัฐฯ ชำระภาษีสรรพสามิต แทนบริษัทในเครือ
การขายเป็นไปได้เพราะกรมสรรพากร ตีความบิดเบือนกฎหมาย เข้าข้างตระกูลชินวัตร เพื่อปกป้องไม่ให้คนในตระกูลต้องเสียภาษี
การขายเป็นไปได้เพราะ พ.ร.บ. โทรคมนาคมได้มีการแก้ไขเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น โดยต่างชาติจาก 25%. เป็น 49% เพียงหนึ่งวันก่อนที่จะมีการซื้อขาย
การขายเป็นไปได้เพราะครอบครัวชินวัตรร่วมกันกับเทมาเส็ก ในการจัดโครงสร้างบริษัทที่ผิดกฎหมายเพื่อเลี่ยงเกณฑ์การถือหุ้นโดยต่างชาติ และเปิดโอกาสให้ต่างชาติ (เทมาเส็ก) เข้ามาครอบงำกิจการ
และการขายเป็นไปได้เพราะอันที่จริงแล้ว ดร.ทักษิณ ...เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นที่ขายให้เทมาเส็ก ..และดร.ทักษิณ อยู่ในสถานะที่อาจจะเอื้อต่อสิงคโปร์ ด้วย “สัญญานอกสัญญา” ดังเช่นการที่มีมติ ค.ร.ม. ในเดือนธันวาคม 2548 ผ่อนผันภาระภาษีให้กับบริษัทฯจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ดูเหมือนจะเอื้อให้ AIS เป็นพิเศษ และ “สัญญานอกสัญญา” ที่อาจจะมีน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์ออกอาการอย่างชัดแจ้งในแง่ของสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นเป็นพิเศษ กับ ดร.ทักษิณ จากคำถามที่มีมากมายจาการการขายหุ้นครั้งนี้ก็ยังขาดคำตอบสำคัญๆ อีกหลายประเด็นที่ยังต้องติดตาม
1. ใครเป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นที่ขายให้กับ เทมาเส็ก ทักษิณ ได้โอนหุ้นให้ลูกชายจริงหรือ ? แล้วปันผลที่ แอมเพิลริช ให้กันนั้นได้ส่งต่อให้ พานทองแท้ในฐานะผู้ถือหุ้นหรือไปที่อื่น ?
2. เทมาเส็ก เจรจากับใคร (เพราะคงไม่ใช้พานทองแท้แน่)
3. ทำไม UBS จึงได้รวมหุ้นของ แอมเพิลริสชเข้ากับหุ้นในบัญชี “pivate accountu” ตอนที่แจ้งกับ กลต. ? เป็นเพราะหุ้นในบัญชีส่วนตัวนั้นเป็นหุ้น “ ซุก “ ที่มีเจ้าของคนเดียวกับ แอมเพิลริช หรือไม่ ?
4. เมื่อไร กลต. จึงจะสรุปผลการตรวจสอบเรื่องการใช้ข้อมูลภายในของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ?
ยิ่งลักษณ์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท ได้ขายหุ้น Ais ต่อเนื่องจนถึงเดือนมกราคม ในราคา เฉลี่ย 105 บาทต่อหุ้น นอกจากนั้นยิ่งลักษณ์ยังเป็นคู่สัญญาในการขายหุ้นให้กับ เทมาเส็ก ด้วย ซึ่งในสัญญาระบุว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยคนอื่น มีสิทธิขายหุ้นในราคา 75 บาท เท่านั้น
5. กลต. ได้อนุโลมให้ เทมาเส็ก ได้รับการจากการยกเว้นจากการ Terder Offer จากผู้ถือหุ้นรายย่อยของ SATTel และ ITV เนื่องจาก เทมาเส็ก อ้างว่าไม่มีเจตนาครอบงำสองบริษัทนี้ แต่ทว่าข้อเท็จจริงก็คือครอบงำมาแล้วหนึ่งปีเต็ม แต่ กลต. ก็ยังนิ่งเฉยไม่ออกมารักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เสียโอกาสไปแล้ว
6. เมื่อศาลยืนยันในอนาคตว่าโครงสร้างการถือหุ้นของ ชินคอร์ป ผิดกฎหมายจะมีการแก้ไขอย่างไร ?
วิธีการที่เป็นไปได้
1. ให้ กลต. ซื้อหุ้นส่วนเกินจาก เทมาเส็ก
วิธีการ แลกรายได้สัมปทานในอนาคตกับหุ้น
ข้อดี 1. ท.ศ.ท. ได้กิจการที่มีกำไร เป็นการยืนยันอนาคตขององค์กร
2. นำไปสู่การปรับโครงสร้างอุตสาหรรมที่ควรจะเกิด
ข้อเสีย 1. อาจถูกมองว่ารัฐบาล สร้างสถาณการณ์บังคับซื้อทรัพย์สินจากนักลงทุนต่างประเทศ
2.ทักษิณยังได้กำไรอยู่ตามเดิมและเป็นเป็นเกี่ยวที่ไม่ได้รับการการลงโทษจากการ
กระทำทั้งปวง
.ศาลอาจประกระกาศยกเลิกการซื้อขายระหว่างชินวัตรและเทมาเส็ก
กระบวนการ ศาลพิพากษาเรื่องกุหลาบแก้วโดยสรุปว่าโครงสร้างโดยปัจุบันผิดกฎหมายและผู้ซื้อไม่มีสิอธิที่จะซื้อโครงสร้างนี้ตั้งแต่แรก ดังนั้นอาจจะมีคำสั่งให้ถือการซื้อขายระหว่าง ชินวัตรกับเทมาเส็กเป็นโมฆะแต่ยังยืนยันการซื้อหุ้นโดยเทมาเส็กจากผู้ถือหุ้นโดยย่อย
ข้อดี 1. ยืนยันความเป็นไทย บริษัท ทักษิณ หมดสิทธิ์ที่จะทำกำไรจากขายหุ้น และเทมาเส็กก็ยังต้องรับผิดชอบต่อหุ้นอีก 40 % ที่ซื้อจากนักลงทุนทั่วไป
2. กระบวนการปรับสัญญาสัมประทานเพื่อคืนความเป็นธรรรมให้กับรัฐก็จะมีผลต่อการปรับมูลค่าหุ้นของเทมาเส็กและทักษิณเข้าสู่ผลกระทบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 ม.ค. 2550--จบ--