1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
สศช.แนะประมงขยายการทำประมงน้ำลึก
นางจุฑามาศ บาระมีชัย รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)เปิดเผยว่าปัจจุบันภาคการประมงของไทยยังมีจุดอ่อนทั้งในด้านความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงที่ลดลง โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นยังต้องปรับปรุงอีกมาก ที่สำคัญชาวประมงไทยยังขาดวินัยที่ดีในการทำประมงและไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการทำประมงอย่างมีความรับผิดชอบ รวมถึงปัญหาการบริหารจัดการดูแล การขนส่งวัตถุดิบ นอกจากนี้ไทยยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ ประกอบกับวิกฤตราคาน้ำมันในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เรือประมงที่ทำการประมงในน่านน้ำไทยหยุดทำการประมงไปแล้ว 30-40% อีกทั้งเงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ปัญหาแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และมาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษี อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมประมงของไทยยังเป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยมีสัดส่วน GDP คิดเป็นร้อยละ 15 ของ GDP ภาคเกษตร โดยสัดส่วนผลผลิตสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทะเล 57% ปลาน้ำจืด 17% กุ้ง 12% หอย 9% และปู 1% โดยมูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากปี 2545 มีมูลค่าการส่งออกราว 130,000 ล้านบาท และปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 160,000 ล้านบาท ทั้งนี้เห็นว่า หากจะสร้างโอกาสให้การประมงไทย ภาคอุตสาหกรรมประมงคงต้องปรับตัว ในส่วนการประมงน้ำลึกจะเน้นทำในเขตทะเลหลวงหรือน่านน้ำสากล เพราะจะเป็นโอกาสของประเทศไทยในด้านการพัฒนาการประมง และเพิ่มแหล่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมในประเทศ เพราะเชื่อว่าความต้องการสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ที่สำคัญเชื่อว่าไทยมีศักยภาพในการขยายการทำประมงนอกน่านน้ำได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นในน่านน้ำ ต่างประเทศและในเขตทะเลลึกในน่านน้ำต่างประเทศ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 มิ.ย. - 11 กค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,172.95 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,228.43 ตัน สัตว์น้ำจืด 944.52 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.95 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.94 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 311.71 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.48 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 148.50 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 144.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.37 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 93.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.07 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.67 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 16-22 ก.ค. 2550--
-พห-
การผลิต
สศช.แนะประมงขยายการทำประมงน้ำลึก
นางจุฑามาศ บาระมีชัย รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)เปิดเผยว่าปัจจุบันภาคการประมงของไทยยังมีจุดอ่อนทั้งในด้านความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงที่ลดลง โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นยังต้องปรับปรุงอีกมาก ที่สำคัญชาวประมงไทยยังขาดวินัยที่ดีในการทำประมงและไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการทำประมงอย่างมีความรับผิดชอบ รวมถึงปัญหาการบริหารจัดการดูแล การขนส่งวัตถุดิบ นอกจากนี้ไทยยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ ประกอบกับวิกฤตราคาน้ำมันในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เรือประมงที่ทำการประมงในน่านน้ำไทยหยุดทำการประมงไปแล้ว 30-40% อีกทั้งเงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ปัญหาแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และมาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษี อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมประมงของไทยยังเป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยมีสัดส่วน GDP คิดเป็นร้อยละ 15 ของ GDP ภาคเกษตร โดยสัดส่วนผลผลิตสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทะเล 57% ปลาน้ำจืด 17% กุ้ง 12% หอย 9% และปู 1% โดยมูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากปี 2545 มีมูลค่าการส่งออกราว 130,000 ล้านบาท และปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 160,000 ล้านบาท ทั้งนี้เห็นว่า หากจะสร้างโอกาสให้การประมงไทย ภาคอุตสาหกรรมประมงคงต้องปรับตัว ในส่วนการประมงน้ำลึกจะเน้นทำในเขตทะเลหลวงหรือน่านน้ำสากล เพราะจะเป็นโอกาสของประเทศไทยในด้านการพัฒนาการประมง และเพิ่มแหล่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมในประเทศ เพราะเชื่อว่าความต้องการสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ที่สำคัญเชื่อว่าไทยมีศักยภาพในการขยายการทำประมงนอกน่านน้ำได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นในน่านน้ำ ต่างประเทศและในเขตทะเลลึกในน่านน้ำต่างประเทศ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 มิ.ย. - 11 กค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,172.95 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,228.43 ตัน สัตว์น้ำจืด 944.52 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.95 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.94 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 311.71 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.48 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 148.50 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 144.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.37 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 93.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.07 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.67 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 16-22 ก.ค. 2550--
-พห-