การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๓ นาฬิกา โดยมีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมได้ดำเนินการเปิดประชุม ตามระเบียบวาระกระทู้ถามดังนี้
กระทู้ถามสด จำนวน ๒ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ นครสุวรรณภูมิ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุนทรวัฒน์) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า สิ่งที่เราพูดกันทั้งหมดนี้ยังไม่มีความชัดเจนที่แน่นอน มีหลากหลายความคิด จากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญนั้น นครสุวรรณภูมิต้องประกอบไปด้วย อาคารและสิ่งปลูกสร้าง ชุมชนที่เป็นระเบียบ สวยงาม ตามผังเมือง ระบบคมนาคมขนส่งต้องสะดวกรวดเร็ว มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มีระบบป้องกันน้ำท่วมที่ดีมีประสิทธิภาพ มีการจัดการที่ดินที่ดี การเจริญเติบโตของเมืองต้องเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบเกษตรกรรม ระบบ การท่องเที่ยว ระบบนิเวศวิทยา ต้องสอดรับกับการพัฒนาเมืองอย่างเพียงพอ และพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ
๒. กระทู้ถามสดของนายชวน หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ภารกิจของทหารในสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ตอบกระทู้ว่า ขณะนี้ต้องยอมรับว่า ขบวนการแบ่งแยกดินแดน กำลังโตขึ้น เมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้นได้นำกำลังทหารเข้าไปปฏิบัติดูแล และทางรัฐบาลมีนโยบายเสริมสร้างสันติสุขของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจัดโครงสร้างใหม่หมดและให้ยกเลิกกฎอัยการศึก และออกเป็นพระราชบัญญัติเพื่อให้เหตุการณ์สงบลงโดยเร็ว โดยใช้กำลังทหาร เพื่อให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่จึงได้กำหนดกลยุทธ์ไว้ ๑๐ ประการ ดังนี้ ๑. การพัฒนาการศึกษาของประชาชนในพื้นที่ให้เข้าระบบที่ถูกต้อง ๒. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓. การแก้ปัญหาความยากจน และการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต ๔. การดำเนินการทางต่างประเทศ ๕. การบริหารจัดการที่ดี ๖. การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ๗. การข่าวและการต่อต้านข่าวกรอง ๘. การปรับความคิดและความเชื่อที่ ไม่ถูกต้องของประชาชนในพื้นที่ ๙. การปฏิบัติการจิตวิทยา และประชาสัมพันธ์ต่อประชาชน ๑๐. การส่งเสริมพลังประชาชนและจัดระเบียบชุมชนในการที่ทหารจะเข้าไปปฏิบัติการ
ภารกิจตามกลยุทธ์ทั้ง ๑๐ ข้อ ภารกิจแรกคือ ต้องยุติความไม่สงบให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยการลดและจำกัดขอบเขตในการปฏิบัติของผู้ก่อความไม่สงบ ภารกิจที่ ๒ คือ ต้องเป็นฝ่ายรุกในการ ปรับลดระดับแนวความคิดของกลุ่มหัวรุนแรงลง และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งทหาร เป็นเครื่องมือที่ดีเครื่องมือหนึ่ง ภารกิจที่ ๓ คือ การขจัดเงื่อนไขและสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดความรู้สึก แตกแยก และความไม่เท่าเทียมกันของประชาชนในพื้นที่ ภารกิจที่ ๔ คือ ส่งเสริมพลังประชาชนให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งใช้ทหาร ๑๒ กองกำลังเฉพาะกิจ กับ ๑ ชุดควบคุมของหน่วยรบพิเศษ กับชุดเคลื่อนที่เร็วในการทำความเข้าใจกับประชาชน และ ๓ กรมทหารพราน รวมทหารทั้งสิ้น ๑๑,๐๐๐ นาย
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๔ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง น้ำมันขึ้นราคา ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพลังงาน ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุนทรวัฒน์) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า สำหรับการขึ้นราคาน้ำมันนั้น เป็นเพราะขึ้นราคาน้ำมันไปทั่วโลก ดังนั้นคนในรัฐบาลจึงไม่มีใคร มีส่วนได้ส่วนเสียจากการประกาศขึ้นราคาน้ำมัน และบางช่วงที่ราคาน้ำมันโลกลดราคาลง แต่ในประเทศไทยยังไม่ปรับลดตามทันทีนั้น เพราะเป็นการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า และมีการแก้ปัญหาด้วยการใช้พลังงานทดแทน เช่น ก๊าซ NGV และปลายปีจะเพิ่มขึ้น สถานีบริการก๊าซ NGV ให้ได้ถึง ๔๑๐ แห่ง ทั่วประเทศ และราคาการดัดแปลงจากรถยนต์นั่งที่ใช้น้ำมันมาใช้ก๊าซ NGV นั้น จะใช้ ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ บาท ต่อคัน
๒. กระทู้ถามของนายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง โครงการส่งน้ำระบบท่อเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้รับ มอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า ทางกรมชลประทานมีการขุดแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน เมื่อมีอ่างเก็บน้ำเล็ก ๆ นั้น ถ้านำส่งน้ำระบบท่อจะไม่คุ้มค่า และจัดให้มีคลองส่งน้ำออกไปทั่ว ๆ แล้ว การจัดทำ ท่อส่งน้ำนั้นอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลของพื้นที่นั้น ๆ เป็นหลัก
๓. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาผู้รับเหมาจากหน่วยงานของภาครัฐดำเนินการ ก่อสร้างล่าช้า ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า นโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มุ่งที่จะให้การก่อสร้างของรัฐทั้งหลาย เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว ทั้งนี้ ก็จะกระจายการสร้างถนน กระจายรายได้ให้กับประชาชน การสร้างเสร็จเร็ว รัฐก็จะได้ผลงาน ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างนั้น ยิ่งเสร็จเร็วเท่าไรก็จะได้ประโยชน์มากเท่านั้น ดังนั้นจึงได้
มีมาตรการเร่งรัดไว้ว่า ในแต่ละปีงบประมาณนั้น ประการที่ ๑ ใครตั้งงบประมาณไว้ให้เตรียมการแบบต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ ประการที่ ๒ เรื่องกรรมสิทธิเกี่ยวกับที่ดินนั้นต้องมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพื่อ จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับเหมา เมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้วก็จะมอบที่ดินให้ก่อสร้างได้ ทันที ประการที่ ๓ เรื่องการเร่งรัดในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ซึ่งในส่วนนี้จะมีกฎหมายที่เกี่ยวกับ การจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ก็จะเป็นกฎหมายหลัก และกฎหมายอื่น ๆ ที่ออกมาก็จะล้อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อจะถือปฏิบัติ ให้เสมอภาคและเท่าเทียมกัน จะเขียนไว้ชัดเจนในเรื่องการจ้างเหมาก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๓๔ ระบุ เป็นมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งทุกฉบับจะเขียนว่าวงเงินก่อสร้างจำนวนสูงนั้นจะต้อง ส่งให้ทางอัยการสูงสุดเป็นผู้ตรวจมาตรการเหล่านี้ก่อน จะมีการควบคุมกำกับผู้รับจ้างไว้ค่อนข้างชัดเจน คือ ๑. การระงับ การขายแบบ ๒. ลดขั้นผู้รับจ้าง ๓. ปรับ ๔. ยกเลิกสัญญา ๕. แจ้งละทิ้งงานมีหนังสือเวียนจากสำนักนายกรัฐมนตรีถึงหน่วยงานของราชการ ไม่ให้บริษัทผู้รับเหมารายนี้ไปยื่นซองประกวดราคา กับหน่วยราชการอื่นได้อีก สำหรับโทษในกรณีที่งานล่าช้ากว่าอายุสัญญา โดยไม่มีเงื่อนไขหรือเหตุผลนั้นก็จะไม่มีการต่อสัญญาให้ และยังจะสามารถบอกเลิกสัญญาได้ สำหรับการเข้าไปทำงานในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่งนั้นจะไม่มีระเบียบเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แม้ไม่ได้เป็นนโยบาย แต่ถือเป็นหลักปฏิบัติ คือ ต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่น ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ และต้องแจ้งให้ผู้แทนของประชาชนในทุกระดับทราบโดยทั่วกัน
๔. กระทู้ถามของนายนคร มาฉิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหินลับ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า ตามรายงานของกรมชลประทาน การสร้างอ่างเก็บน้ำฯ ต้องสร้างเป็น ชลประทานขนาดกลาง แต่มีผลกระทบมากทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจในเชิงวิศวกรรม และพื้นที่อ่างเก็บน้ำฯ นั้นเป็นที่ลาดชัน ฤดูฝนน้ำจะไหลลงต้นน้ำแควน้อย ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ลักษณะตลิ่งจะชันเกินไปที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำ แต่กรมชลประทานต้องการจะสร้างให้สูงขึ้นเหนือห้วยหินลับ และ จะขอรับข้อสังเกตที่ว่าให้ประสานกับกรมอุทยานแห่งชาติภูหินล่องกล้า และจะจัดหางบประมาณก่อสร้างอย่างรวดเร็ว เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนไปดำเนินการต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๑๖ นาฬิกา
---------------------------------------------------------
กระทู้ถามสด จำนวน ๒ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ นครสุวรรณภูมิ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุนทรวัฒน์) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า สิ่งที่เราพูดกันทั้งหมดนี้ยังไม่มีความชัดเจนที่แน่นอน มีหลากหลายความคิด จากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญนั้น นครสุวรรณภูมิต้องประกอบไปด้วย อาคารและสิ่งปลูกสร้าง ชุมชนที่เป็นระเบียบ สวยงาม ตามผังเมือง ระบบคมนาคมขนส่งต้องสะดวกรวดเร็ว มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มีระบบป้องกันน้ำท่วมที่ดีมีประสิทธิภาพ มีการจัดการที่ดินที่ดี การเจริญเติบโตของเมืองต้องเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบเกษตรกรรม ระบบ การท่องเที่ยว ระบบนิเวศวิทยา ต้องสอดรับกับการพัฒนาเมืองอย่างเพียงพอ และพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ
๒. กระทู้ถามสดของนายชวน หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ภารกิจของทหารในสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ตอบกระทู้ว่า ขณะนี้ต้องยอมรับว่า ขบวนการแบ่งแยกดินแดน กำลังโตขึ้น เมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้นได้นำกำลังทหารเข้าไปปฏิบัติดูแล และทางรัฐบาลมีนโยบายเสริมสร้างสันติสุขของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจัดโครงสร้างใหม่หมดและให้ยกเลิกกฎอัยการศึก และออกเป็นพระราชบัญญัติเพื่อให้เหตุการณ์สงบลงโดยเร็ว โดยใช้กำลังทหาร เพื่อให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่จึงได้กำหนดกลยุทธ์ไว้ ๑๐ ประการ ดังนี้ ๑. การพัฒนาการศึกษาของประชาชนในพื้นที่ให้เข้าระบบที่ถูกต้อง ๒. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓. การแก้ปัญหาความยากจน และการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต ๔. การดำเนินการทางต่างประเทศ ๕. การบริหารจัดการที่ดี ๖. การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ๗. การข่าวและการต่อต้านข่าวกรอง ๘. การปรับความคิดและความเชื่อที่ ไม่ถูกต้องของประชาชนในพื้นที่ ๙. การปฏิบัติการจิตวิทยา และประชาสัมพันธ์ต่อประชาชน ๑๐. การส่งเสริมพลังประชาชนและจัดระเบียบชุมชนในการที่ทหารจะเข้าไปปฏิบัติการ
ภารกิจตามกลยุทธ์ทั้ง ๑๐ ข้อ ภารกิจแรกคือ ต้องยุติความไม่สงบให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยการลดและจำกัดขอบเขตในการปฏิบัติของผู้ก่อความไม่สงบ ภารกิจที่ ๒ คือ ต้องเป็นฝ่ายรุกในการ ปรับลดระดับแนวความคิดของกลุ่มหัวรุนแรงลง และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งทหาร เป็นเครื่องมือที่ดีเครื่องมือหนึ่ง ภารกิจที่ ๓ คือ การขจัดเงื่อนไขและสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดความรู้สึก แตกแยก และความไม่เท่าเทียมกันของประชาชนในพื้นที่ ภารกิจที่ ๔ คือ ส่งเสริมพลังประชาชนให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งใช้ทหาร ๑๒ กองกำลังเฉพาะกิจ กับ ๑ ชุดควบคุมของหน่วยรบพิเศษ กับชุดเคลื่อนที่เร็วในการทำความเข้าใจกับประชาชน และ ๓ กรมทหารพราน รวมทหารทั้งสิ้น ๑๑,๐๐๐ นาย
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๔ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง น้ำมันขึ้นราคา ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพลังงาน ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุนทรวัฒน์) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า สำหรับการขึ้นราคาน้ำมันนั้น เป็นเพราะขึ้นราคาน้ำมันไปทั่วโลก ดังนั้นคนในรัฐบาลจึงไม่มีใคร มีส่วนได้ส่วนเสียจากการประกาศขึ้นราคาน้ำมัน และบางช่วงที่ราคาน้ำมันโลกลดราคาลง แต่ในประเทศไทยยังไม่ปรับลดตามทันทีนั้น เพราะเป็นการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า และมีการแก้ปัญหาด้วยการใช้พลังงานทดแทน เช่น ก๊าซ NGV และปลายปีจะเพิ่มขึ้น สถานีบริการก๊าซ NGV ให้ได้ถึง ๔๑๐ แห่ง ทั่วประเทศ และราคาการดัดแปลงจากรถยนต์นั่งที่ใช้น้ำมันมาใช้ก๊าซ NGV นั้น จะใช้ ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ บาท ต่อคัน
๒. กระทู้ถามของนายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง โครงการส่งน้ำระบบท่อเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้รับ มอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า ทางกรมชลประทานมีการขุดแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน เมื่อมีอ่างเก็บน้ำเล็ก ๆ นั้น ถ้านำส่งน้ำระบบท่อจะไม่คุ้มค่า และจัดให้มีคลองส่งน้ำออกไปทั่ว ๆ แล้ว การจัดทำ ท่อส่งน้ำนั้นอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลของพื้นที่นั้น ๆ เป็นหลัก
๓. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาผู้รับเหมาจากหน่วยงานของภาครัฐดำเนินการ ก่อสร้างล่าช้า ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า นโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มุ่งที่จะให้การก่อสร้างของรัฐทั้งหลาย เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว ทั้งนี้ ก็จะกระจายการสร้างถนน กระจายรายได้ให้กับประชาชน การสร้างเสร็จเร็ว รัฐก็จะได้ผลงาน ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างนั้น ยิ่งเสร็จเร็วเท่าไรก็จะได้ประโยชน์มากเท่านั้น ดังนั้นจึงได้
มีมาตรการเร่งรัดไว้ว่า ในแต่ละปีงบประมาณนั้น ประการที่ ๑ ใครตั้งงบประมาณไว้ให้เตรียมการแบบต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ ประการที่ ๒ เรื่องกรรมสิทธิเกี่ยวกับที่ดินนั้นต้องมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพื่อ จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับเหมา เมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้วก็จะมอบที่ดินให้ก่อสร้างได้ ทันที ประการที่ ๓ เรื่องการเร่งรัดในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ซึ่งในส่วนนี้จะมีกฎหมายที่เกี่ยวกับ การจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ก็จะเป็นกฎหมายหลัก และกฎหมายอื่น ๆ ที่ออกมาก็จะล้อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อจะถือปฏิบัติ ให้เสมอภาคและเท่าเทียมกัน จะเขียนไว้ชัดเจนในเรื่องการจ้างเหมาก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๓๔ ระบุ เป็นมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งทุกฉบับจะเขียนว่าวงเงินก่อสร้างจำนวนสูงนั้นจะต้อง ส่งให้ทางอัยการสูงสุดเป็นผู้ตรวจมาตรการเหล่านี้ก่อน จะมีการควบคุมกำกับผู้รับจ้างไว้ค่อนข้างชัดเจน คือ ๑. การระงับ การขายแบบ ๒. ลดขั้นผู้รับจ้าง ๓. ปรับ ๔. ยกเลิกสัญญา ๕. แจ้งละทิ้งงานมีหนังสือเวียนจากสำนักนายกรัฐมนตรีถึงหน่วยงานของราชการ ไม่ให้บริษัทผู้รับเหมารายนี้ไปยื่นซองประกวดราคา กับหน่วยราชการอื่นได้อีก สำหรับโทษในกรณีที่งานล่าช้ากว่าอายุสัญญา โดยไม่มีเงื่อนไขหรือเหตุผลนั้นก็จะไม่มีการต่อสัญญาให้ และยังจะสามารถบอกเลิกสัญญาได้ สำหรับการเข้าไปทำงานในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่งนั้นจะไม่มีระเบียบเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แม้ไม่ได้เป็นนโยบาย แต่ถือเป็นหลักปฏิบัติ คือ ต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่น ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ และต้องแจ้งให้ผู้แทนของประชาชนในทุกระดับทราบโดยทั่วกัน
๔. กระทู้ถามของนายนคร มาฉิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหินลับ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า ตามรายงานของกรมชลประทาน การสร้างอ่างเก็บน้ำฯ ต้องสร้างเป็น ชลประทานขนาดกลาง แต่มีผลกระทบมากทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจในเชิงวิศวกรรม และพื้นที่อ่างเก็บน้ำฯ นั้นเป็นที่ลาดชัน ฤดูฝนน้ำจะไหลลงต้นน้ำแควน้อย ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ลักษณะตลิ่งจะชันเกินไปที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำ แต่กรมชลประทานต้องการจะสร้างให้สูงขึ้นเหนือห้วยหินลับ และ จะขอรับข้อสังเกตที่ว่าให้ประสานกับกรมอุทยานแห่งชาติภูหินล่องกล้า และจะจัดหางบประมาณก่อสร้างอย่างรวดเร็ว เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนไปดำเนินการต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๑๖ นาฬิกา
---------------------------------------------------------