1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ชาวประมงหันมาพึ่งเศรษฐกิจพอเพียง
นายกสมาคมประมงฯปากพนัง แนะชาวประมงอยู่แบบพอเพียง เพื่อความอยู่รอดในภาวะน้ำมันแพงเปิดเผยว่า ธุรกิจตอนนี้เผชิญภาวะตกต่ำสุดขีด ปลาหายากขึ้น ราคาขายตกวูบ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ส่วนการทำนากุ้งร้อยละ 90 เลิกกิจการไปแล้ว
นายประเทือง ทิพย์มาศ นายกสมาคมประมงปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช กล่าวถึงภาวะการดำเนินกิจการประมงในปัจจุบัน โดยระบุว่า ตอนนี้ชาวประมงส่วนใหญ่ทั้งประเทศมีภาวะตกต่ำเหมือนกันหมด เนื่องจากน้ำมันมีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการลงทุน เพราะน้ำมันเป็นต้นทุนหลักประมาณร้อยละ 60 — 70 จากต้นทุนการทำประมงทั้งหมด โดยออกเรือหนึ่งครั้งในเวลา 1 เดือน ใช้น้ำมันประมาณ 15,000 — 20,000 ลิตร เป็นเงินหลายแสนบาท ซึ่งต้องเดินเรือไปไกลถึงเขตน่านน้ำสากล นอกจากนี้จำนวนปลาในทะเลได้ลดลง อย่างมาก และปลาที่หามาได้ก็มีราคาถูกมากๆ ทำให้กิจการประมงประสบปัญหาขาดทุน
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องทำกิจการเรือประมงต่อไป เพราะถ้าหากหยุดกิจการดังกล่าว เรือประมงและเครื่องมือจะเสียหาย ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาด้วยการลดต้นทุนการผลิต ประคับประคองให้ลูกเรืออยู่ได้ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำกิจการด้วยความระมัดระวังปฏิบัติตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว นายกสมาคมประมงปากพนัง ยังกล่าวถึงเรื่อง การเลี้ยงกุ้งว่าไม่สามารถเลี้ยงกุ้งได้แล้ว ชาวนากุ้งประมาณร้อยละ 90 ต้องเลิกอาชีพไป เพราะราคากุ้งตกต่ำ ส่วนหนึ่งปัญหามาจากพ่อค้านายทุนคนกลางกดราคา เป็นเหตุให้ชาวนากุ้งได้ปรึกษากันแล้วขอหยุดการเลี้ยงไว้ชั่วคราวก่อน ส่งผลกระทบถึงธุรกิจสะพานปลาหลายรายต้องหยุดกิจการเช่นกัน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (13 - 23 พ.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,948.44 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,104.07 ตัน สัตว์น้ำจืด 844.36 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.63 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.81 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 215.26 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 51.23 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 173.28 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.36 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 106.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.89 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.65 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 111.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 พ.ค. — 1 มิ.ย. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.47 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 พ.ค.-3 มิ.ย. 2550--
-พห-
การผลิต
ชาวประมงหันมาพึ่งเศรษฐกิจพอเพียง
นายกสมาคมประมงฯปากพนัง แนะชาวประมงอยู่แบบพอเพียง เพื่อความอยู่รอดในภาวะน้ำมันแพงเปิดเผยว่า ธุรกิจตอนนี้เผชิญภาวะตกต่ำสุดขีด ปลาหายากขึ้น ราคาขายตกวูบ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ส่วนการทำนากุ้งร้อยละ 90 เลิกกิจการไปแล้ว
นายประเทือง ทิพย์มาศ นายกสมาคมประมงปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช กล่าวถึงภาวะการดำเนินกิจการประมงในปัจจุบัน โดยระบุว่า ตอนนี้ชาวประมงส่วนใหญ่ทั้งประเทศมีภาวะตกต่ำเหมือนกันหมด เนื่องจากน้ำมันมีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการลงทุน เพราะน้ำมันเป็นต้นทุนหลักประมาณร้อยละ 60 — 70 จากต้นทุนการทำประมงทั้งหมด โดยออกเรือหนึ่งครั้งในเวลา 1 เดือน ใช้น้ำมันประมาณ 15,000 — 20,000 ลิตร เป็นเงินหลายแสนบาท ซึ่งต้องเดินเรือไปไกลถึงเขตน่านน้ำสากล นอกจากนี้จำนวนปลาในทะเลได้ลดลง อย่างมาก และปลาที่หามาได้ก็มีราคาถูกมากๆ ทำให้กิจการประมงประสบปัญหาขาดทุน
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องทำกิจการเรือประมงต่อไป เพราะถ้าหากหยุดกิจการดังกล่าว เรือประมงและเครื่องมือจะเสียหาย ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาด้วยการลดต้นทุนการผลิต ประคับประคองให้ลูกเรืออยู่ได้ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำกิจการด้วยความระมัดระวังปฏิบัติตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว นายกสมาคมประมงปากพนัง ยังกล่าวถึงเรื่อง การเลี้ยงกุ้งว่าไม่สามารถเลี้ยงกุ้งได้แล้ว ชาวนากุ้งประมาณร้อยละ 90 ต้องเลิกอาชีพไป เพราะราคากุ้งตกต่ำ ส่วนหนึ่งปัญหามาจากพ่อค้านายทุนคนกลางกดราคา เป็นเหตุให้ชาวนากุ้งได้ปรึกษากันแล้วขอหยุดการเลี้ยงไว้ชั่วคราวก่อน ส่งผลกระทบถึงธุรกิจสะพานปลาหลายรายต้องหยุดกิจการเช่นกัน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (13 - 23 พ.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,948.44 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,104.07 ตัน สัตว์น้ำจืด 844.36 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.63 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.81 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 215.26 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 51.23 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 173.28 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.36 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 106.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.89 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.65 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 111.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 พ.ค. — 1 มิ.ย. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.47 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 พ.ค.-3 มิ.ย. 2550--
-พห-