สำหรับไตรมาสแรกของปี 2550 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศใช้นโยบายมาตรการบังคับใช้สิทธิ โดยอาศัยบทบัญญัติ มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้ คือ การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียาสูตรผสมระหว่างโลพินาเวียร์และริโทนาเวียร์ (Lopinavir & Ritonavir) ภายใต้ชื่อการค้า Kalctra (ยาสูตรผสมดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี ชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิผลสูงในการรักษาผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยาที่ไม่สามารถรักษาด้วยสูตรยาพื้นฐานได้) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2555 ทั้งนี้ ให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ใช้สิทธิ ในการผลิต จำหน่าย หรือนำเข้า เพื่อจัดให้มียาชื่อสามัญดังกล่าวไว้บริการในระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ พร้อมทั้งจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตรร้อยละ 0.5 ของมูลค่าการจำหน่าย โดยกรมควบคุมโรคจะแจ้งให้ผู้ทรงสิทธิบัตร (บริษัท แอ๊บบอต แลบอราตอรีส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบ
และการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียาโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) ภายใต้ชื่อการค้า Plavix (เป็นยาป้องกันความรุนแรงของโรคเส้นเลือดอุดตันในหัวใจ และสมอง) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2550 เป็นต้นไป จนกว่าจะหมดระยะเวลาของสิทธิบัตร หรือหมดความจำเป็นต้องใช้ยานี้ และให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ใช้สิทธิ ในการผลิต จำหน่าย หรือนำเข้า เพื่อจัดให้มียาชื่อสามัญดังกล่าวไว้บริการในระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ พร้อมทั้งจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตรร้อยละ 0.5 ของมูลค่าการจำหน่าย โดยกระทรวงสาธารณสุข จะแจ้งให้ผู้ทรงสิทธิบัตร (บริษัท ซาโนฟี อเวนติส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบ ซึ่งการประกาศใช้มาตรการดังกล่าว ทำให้ราคายาถูกลง ซึ่งจะช่วยรัฐประหยัดงบประมาณรายจ่าย และทำให้ประชาชนได้รับยาจำเป็นที่มีคุณภาพดีอย่างทั่วถึง
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาสแรกปี 2550 การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอโดยรวมลดลง ได้แก่การผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ ลดลงร้อยละ 1.7 และ 11.5 การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์ ลดลงร้อยละ 2.2 และ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตลาดโลกชะลอตัว ส่งผลให้คำสั่งซื้อลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันผันผวนตามราคาตลาดทำให้ผู้ประกอบการขาดความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ แต่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสินค้าผลิตเพื่อการส่งออก
การผลิตและการจำหน่ายสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสแรกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาการแข่งขันกับจีนและเวียดนาม โดยที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา นั่นหมายความว่า เวียดนามสามารถส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้เต็มที่ไม่จำกัดโควตา และเป็นคู่แข่งในการส่งออกสิ่งทอไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรปเหมือนประเทศไทย ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของเวียดนามสูงขึ้นจากต้นทุนแรงงานถูกกว่าไทย 1 เท่า ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่จะต้องมีการปรับตัวมากขึ้น ประกอบกับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลให้การรับออเดอร์ของผู้ส่งออกจะรับที่สามารถผลิตได้จริง สำหรับแนวโน้มการผลิตในไตรมาสที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีออเดอร์เพิ่มขึ้น หลังจากที่มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Japan-Thailand Economics Partnership Agreement : JTEPA) ซึ่งคาดว่าจะดึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับมาในเมืองไทย และคาดว่ายอดคำสั่งซื้อและการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 ทันทีที่ข้อตกลง JTEPA มีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายนปีนี้
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีปริมาณการผลิตรวม 19.66 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 9.89 ล้านตัน และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.77 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการผลิตรวมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.60 ทั้งที่ในไตรมาสที่ 1 เป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง ทั้งนี้เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่มีความชัดเจนทำให้การลงทุนของภาคเอกชนและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ยังคงชะลอตัว และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตปูนซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 8.30
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งที่ในไตรมาสที่ 1 เป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง ทั้งนี้เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวมาตั้งแต่ปี 2549 เพราะต้องเผชิญกับปัจจัยลบทั้งราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในช่วงครึ่งปีหลังในหลายพื้นที่ต้องประสบกับปัญหาอุทกภัยทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงในช่วงต้นปี 2550 แนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่มีความชัดเจน ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของรัฐบาลยังคงชะลอตัว ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวน้อยกว่าที่ประมาณการไว้ สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2550 คาดว่าจะลดลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนรวมทั้งภาวะเศรษฐกิจยังไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน ทำให้กระทบถึงความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวกคือ ภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เคยอยู่ในระดับสูงเมื่อปีที่ผ่านมาเริ่มคลี่คลายลง รวมถึงหากรัฐบาลมีการเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 33.17 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.07 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนังและเครื่องสุขภัณฑ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.65 และ 4.82 ตามลำดับ เนื่องจากไตรมาสนี้เป็นช่วงฤดูกาลขาย จึงมีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาด แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 10.98 และ 3.93 ตามลำดับ (ดังตาราง ที่ 1 และ 2) ซึ่งการผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง
การผลิตเซรามิกทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550เพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย สำหรับการจำหน่ายเซรามิกในประเทศ แม้ว่ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง จะเพิ่มขึ้นจากตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่า แต่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ยังคงลดลง เนื่องจากตลาดหลักของเครื่องสุขภัณฑ์ยังคงเป็นตลาดบ้านใหม่ซึ่งมีการขยายตัวไม่มากนัก สำหรับแนวโน้มการ ผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ส่วนใหญ่เน้นตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่ามากขึ้น รวมทั้งมีการปรับกลยุทธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี และบริการต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้า
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 การผลิต การจำหน่ายลดลง โดยด้านการผลิตหดตัวลดลงร้อยละ 19.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 นับว่าการผลิตยังมีการขยายตัวอยู่บ้าง ด้านการจำหน่ายก็ลดลงร้อยละ 23.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 การจำหน่ายมีการ
หดตัวลงเล็กน้อยคือร้อยละ 0.82
แนวโน้มภาพรวมการผลิต การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จากสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าในระดับประมาณ 35 บาทต่อดอลล่าร์ จึงคาดได้ว่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวในระดับปานกลาง ประกอบกับการที่ไทยขอใช้สิทธิในการผ่อนผันยกเว้นเพดานการส่งออกหรือไม่ถูกตัดสิทธิ์จีเอสพีจากสหรัฐอเมริกา ในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ทำจากโลหะ เครื่องรูปพรรณอื่นๆที่ทำด้วยโลหะเงิน ซึ่งคงต้องรอผลการพิจารณาต่อไป จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้ผลิตที่ส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาผลิตน้อยกว่ากำลังการผลิตที่มี และปัจจุบันจากการที่จีนใช้กลยุทธ์ให้ร้านค้าอัญมณีในประเทศต่างๆ นำ สินค้าเครื่องประดับจีนไปวางขายในร้านก่อน 30-60 วัน จึงค่อยเรียกเก็บเงิน ซึ่งปรากฏว่ากลยุทธ์นี้เป็นที่ถูกใจเจ้าของร้านอัญมณีจำนวนมาก ส่งผลทำให้ร้านค้าอัญมณีต่างๆ สนใจที่จะรับสินค้าเครื่องประดับจากจีนไปจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้สถานการณ์การส่งออกอาจจะขยายตัวได้ไม่มากเท่าที่ควร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
และการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียาโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) ภายใต้ชื่อการค้า Plavix (เป็นยาป้องกันความรุนแรงของโรคเส้นเลือดอุดตันในหัวใจ และสมอง) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2550 เป็นต้นไป จนกว่าจะหมดระยะเวลาของสิทธิบัตร หรือหมดความจำเป็นต้องใช้ยานี้ และให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ใช้สิทธิ ในการผลิต จำหน่าย หรือนำเข้า เพื่อจัดให้มียาชื่อสามัญดังกล่าวไว้บริการในระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ พร้อมทั้งจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตรร้อยละ 0.5 ของมูลค่าการจำหน่าย โดยกระทรวงสาธารณสุข จะแจ้งให้ผู้ทรงสิทธิบัตร (บริษัท ซาโนฟี อเวนติส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบ ซึ่งการประกาศใช้มาตรการดังกล่าว ทำให้ราคายาถูกลง ซึ่งจะช่วยรัฐประหยัดงบประมาณรายจ่าย และทำให้ประชาชนได้รับยาจำเป็นที่มีคุณภาพดีอย่างทั่วถึง
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาสแรกปี 2550 การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอโดยรวมลดลง ได้แก่การผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ ลดลงร้อยละ 1.7 และ 11.5 การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์ ลดลงร้อยละ 2.2 และ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตลาดโลกชะลอตัว ส่งผลให้คำสั่งซื้อลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันผันผวนตามราคาตลาดทำให้ผู้ประกอบการขาดความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ แต่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสินค้าผลิตเพื่อการส่งออก
การผลิตและการจำหน่ายสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสแรกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาการแข่งขันกับจีนและเวียดนาม โดยที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา นั่นหมายความว่า เวียดนามสามารถส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้เต็มที่ไม่จำกัดโควตา และเป็นคู่แข่งในการส่งออกสิ่งทอไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรปเหมือนประเทศไทย ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของเวียดนามสูงขึ้นจากต้นทุนแรงงานถูกกว่าไทย 1 เท่า ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่จะต้องมีการปรับตัวมากขึ้น ประกอบกับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลให้การรับออเดอร์ของผู้ส่งออกจะรับที่สามารถผลิตได้จริง สำหรับแนวโน้มการผลิตในไตรมาสที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีออเดอร์เพิ่มขึ้น หลังจากที่มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Japan-Thailand Economics Partnership Agreement : JTEPA) ซึ่งคาดว่าจะดึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับมาในเมืองไทย และคาดว่ายอดคำสั่งซื้อและการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 ทันทีที่ข้อตกลง JTEPA มีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายนปีนี้
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีปริมาณการผลิตรวม 19.66 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 9.89 ล้านตัน และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.77 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการผลิตรวมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.60 ทั้งที่ในไตรมาสที่ 1 เป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง ทั้งนี้เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่มีความชัดเจนทำให้การลงทุนของภาคเอกชนและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ยังคงชะลอตัว และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตปูนซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 8.30
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งที่ในไตรมาสที่ 1 เป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง ทั้งนี้เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวมาตั้งแต่ปี 2549 เพราะต้องเผชิญกับปัจจัยลบทั้งราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในช่วงครึ่งปีหลังในหลายพื้นที่ต้องประสบกับปัญหาอุทกภัยทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงในช่วงต้นปี 2550 แนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่มีความชัดเจน ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของรัฐบาลยังคงชะลอตัว ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวน้อยกว่าที่ประมาณการไว้ สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2550 คาดว่าจะลดลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนรวมทั้งภาวะเศรษฐกิจยังไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน ทำให้กระทบถึงความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวกคือ ภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เคยอยู่ในระดับสูงเมื่อปีที่ผ่านมาเริ่มคลี่คลายลง รวมถึงหากรัฐบาลมีการเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 33.17 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.07 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนังและเครื่องสุขภัณฑ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.65 และ 4.82 ตามลำดับ เนื่องจากไตรมาสนี้เป็นช่วงฤดูกาลขาย จึงมีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาด แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 10.98 และ 3.93 ตามลำดับ (ดังตาราง ที่ 1 และ 2) ซึ่งการผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง
การผลิตเซรามิกทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550เพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย สำหรับการจำหน่ายเซรามิกในประเทศ แม้ว่ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง จะเพิ่มขึ้นจากตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่า แต่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ยังคงลดลง เนื่องจากตลาดหลักของเครื่องสุขภัณฑ์ยังคงเป็นตลาดบ้านใหม่ซึ่งมีการขยายตัวไม่มากนัก สำหรับแนวโน้มการ ผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ส่วนใหญ่เน้นตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่ามากขึ้น รวมทั้งมีการปรับกลยุทธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี และบริการต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้า
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 การผลิต การจำหน่ายลดลง โดยด้านการผลิตหดตัวลดลงร้อยละ 19.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 นับว่าการผลิตยังมีการขยายตัวอยู่บ้าง ด้านการจำหน่ายก็ลดลงร้อยละ 23.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 การจำหน่ายมีการ
หดตัวลงเล็กน้อยคือร้อยละ 0.82
แนวโน้มภาพรวมการผลิต การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จากสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าในระดับประมาณ 35 บาทต่อดอลล่าร์ จึงคาดได้ว่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวในระดับปานกลาง ประกอบกับการที่ไทยขอใช้สิทธิในการผ่อนผันยกเว้นเพดานการส่งออกหรือไม่ถูกตัดสิทธิ์จีเอสพีจากสหรัฐอเมริกา ในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ทำจากโลหะ เครื่องรูปพรรณอื่นๆที่ทำด้วยโลหะเงิน ซึ่งคงต้องรอผลการพิจารณาต่อไป จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้ผลิตที่ส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาผลิตน้อยกว่ากำลังการผลิตที่มี และปัจจุบันจากการที่จีนใช้กลยุทธ์ให้ร้านค้าอัญมณีในประเทศต่างๆ นำ สินค้าเครื่องประดับจีนไปวางขายในร้านก่อน 30-60 วัน จึงค่อยเรียกเก็บเงิน ซึ่งปรากฏว่ากลยุทธ์นี้เป็นที่ถูกใจเจ้าของร้านอัญมณีจำนวนมาก ส่งผลทำให้ร้านค้าอัญมณีต่างๆ สนใจที่จะรับสินค้าเครื่องประดับจากจีนไปจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้สถานการณ์การส่งออกอาจจะขยายตัวได้ไม่มากเท่าที่ควร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-