สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันอังคารที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๐ วันอังคารที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๔๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม
- รับรองรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๕
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ และครั้งที่ ๖/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมฯ ทั้ง ๒ ครั้ง
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา ไม่มี
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
๔.๑ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและให้ ข้อเสนอแนะ ประสาน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
๔.๒ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ
รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคใต้
๔.๓ รายงานผลการพิจารณาของคณะทำงานเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อ
สมาชิก ให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการและพิจารณากรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ (ตั้งซ่อม กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดแพร่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง เพราะนายมงคล สิทธิวีระกูล และพลตำรวจตรี ภูมิรา วัฒนปาณี ลาออก)
ประธานฯ ได้ขอให้ที่ประชุมเลื่อนวาระที่ ๔.๒ ขึ้นมาพิจารณาก่อน เพื่อจะ ได้ทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคใต้
ซึ่งนายอุทิศ ชูช่วย ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการ มีส่วนร่วมของประชาชน ภาคใต้ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า การทำงานในภาคใต้มีความยากลำบากมาก โดยเฉพาะประเด็นการบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ รวมถึงความไม่ปลอดภัยในการ
ทำงาน นอกจากนี้ในมาตรา ๖๘ วรรค ๒ ประชาชนในพื้นที่ก็ไม่เห็นด้วยและเข้าใจผิดว่า องค์กร แก้วิกฤตสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา โดยส่วนใหญ่มีความเห็นว่า สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้ง แต่ถ้าสรรหาก่อนแล้วค่อยมา เลือกตั้งประชาชนก็เห็นด้วย เช่น อำเภอหาดใหญ่ ประชาชนเห็นด้วยกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ถึง ๙๕% ซึ่งที่จังหวัดสงขลามีประชาชนไม่เห็นด้วยกับการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา โดยเห็นว่าสมาชิก วุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น เพื่อให้เป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง และประชาชนส่วนใหญ่ยังเสนอให้ขยายเวลาการให้บริการการศึกษาจาก ๑๒ ปี เป็น ๑๕ ปี โดยเพิ่มในส่วนของชั้นอนุบาล เข้าไป และจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดปัตตานี ๓๒ อำเภอ ประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่องการบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ประชาชนทั้งพุทธและมุสลิมก็ยึดความสมานฉันท์เป็นหลัก โดยส่วนใหญ่แสดงความไม่เห็นด้วยที่จะต้องบรรจุลงไป เพราะไม่ต้องการให้ กลายเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มที่พยายามสร้างความขัดแย้งใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ หยิบขึ้นเป็นประเด็นสร้างความแตกแยกได้ ซึ่งทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิมก็มีเสียงเป็นเอกฉันท์ว่าไม่เห็นด้วยกับ การให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ พร้อมทั้งได้เสนอว่าสิ่งใดที่จะกลายเป็นปมประเด็นขัดแย้ง ในอนาคตก็ให้ทบทวนให้ดี เพื่อความปรองดองและความสงบสุข และที่จังหวัดนราธิวาสประชาชน ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งมีประชาชนได้หยิบยกตัวอย่างประเทศมาเลเซียที่กำหนดให้วันวิสาขบูชาหรือวันสำคัญทางศาสนาซิกหรือฮินดูเป็นวันหยุดของประเทศ ทั้ง ๆ ที่มาเลเซียมีคนนับถือมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการร่างกฎหมายโดยยึดถือจำนวนประชากรเป็นที่ตั้งนั้นถือว่าไม่สมบูรณ์ รัฐธรรมนูญต้องอยู่บนหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน และจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดยะลาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้บรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะรัฐธรรมนูญมีการบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอุปถัมภกและเป็น พุทธมามกะอยู่แล้ว และที่สำคัญยังป้องกันไม่ให้กลายเป็นประเด็นความแตกแยกในสังคม ส่วนผู้ที่สนับสนุนเห็นว่าศาสนาพุทธมีความเจริญไปมากแล้ว ถึงแม้จะระบุไว้ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหา ทุกศาสนาน่าจะอยู่ร่วมกันได้ นอกจากนี้แล้วประชาชนยังเรียกร้องให้กำหนดเกี่ยวกับสิทธิ์ในการรับบริการด้าน สาธารณสุขให้ชัดเจนให้คนเข้าถึงได้ง่าย เพราะขณะนี้ใน ๓ จังหวัดมีผู้ป่วยมาก แต่มีปัญหาขาดแคลนบุคลากร วัสดุ งบประมาณ ไม่สามารถสนองความต้องการของคนในสังคมได้อย่างทันท่วงที น่าจะพิจารณากำหนดเรื่องนี้เอาไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย ส่วนที่จังหวัดตรังจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใน ๔ เวที ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้งและไม่ควรบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และประชาชน ๙๐% จากเวทียังไม่ทราบว่าถ้าไม่รับประชามติแล้ว จะทำอย่างไร จะต้องมีการร่างใหม่หรือไม่ ซึ่งประเด็นปัญหานี้กรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ต้องเร่งทำความเข้าใจในขั้นตอนให้ประชาชนได้เข้าใจต่อไป
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๔.๓ รายงานผลการพิจารณาของคณะทำงานเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการและพิจารณากรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ โดยเป็นการตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดแพร่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ซึ่งที่ประชุมได้มีมติตั้งนายมงคล สิทธิวีระกูล และพันเอก ถนัดพล โกศัยเสวี เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่างลง
และที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๔.๑ เป็นการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และให้ข้อเสนอแนะ ประสาน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
โดยที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะบุคคลเพื่อทำหน้าที่ตาม ข้อ ๖ และข้อ ๘ วรรคสอง ตามประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการ เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๐ จำนวน ๒ คณะ คือ
๑. คณะกรรมาธิการวิสามัญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและประชาสัมพันธ์ จำนวน ๑๓ คน
ประกอบด้วย
๑. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
๒. พลตำรวจโท ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร
๓. นายอุทิศ ชูช่วย
๔. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
๕. นายศิวะ แสงมณี
๖. นายคมสัน โพธิ์คง
๗. พลเรือเอก พีรศักดิ์ วัชรมูล
๘. นายวีนัส ม่านมุงศิลป์
๙. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณราย แสงวิเชียร
๑๐. รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย
๑๑. นายมานิจ สุขสมจิตร
๑๒. นายสมชัย ฤชุพันธุ์
๑๓. นายพิทูร พุ่มหิรัญ
๒. คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อให้ข้อเสนอแนะ ประสาน ให้ความช่วยเหลือ
สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมทั้งติดตามให้มีการปฏิบัติตามประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๐ จำนวน ๖ คน ประกอบด้วย
๑. นายนรนิติ เศรษฐบุตร
๒. นายเสรี สุวรรณภานนท์
๓. นายเดโช สวนานนท์
๔. นายสวัสดิ์ โชติพานิช
๕. นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ
๖. นายพิทูร พุ่มหิรัญ
๕. เรื่องอื่น ๆ ไม่มี
ปิดประชุมเวลา ๑๔.๕๘ นาฬิกา
--------------------------------------------------
วันอังคารที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๐ วันอังคารที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๔๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม
- รับรองรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๕
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ และครั้งที่ ๖/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมฯ ทั้ง ๒ ครั้ง
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา ไม่มี
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
๔.๑ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและให้ ข้อเสนอแนะ ประสาน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
๔.๒ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ
รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคใต้
๔.๓ รายงานผลการพิจารณาของคณะทำงานเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อ
สมาชิก ให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการและพิจารณากรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ (ตั้งซ่อม กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดแพร่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง เพราะนายมงคล สิทธิวีระกูล และพลตำรวจตรี ภูมิรา วัฒนปาณี ลาออก)
ประธานฯ ได้ขอให้ที่ประชุมเลื่อนวาระที่ ๔.๒ ขึ้นมาพิจารณาก่อน เพื่อจะ ได้ทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคใต้
ซึ่งนายอุทิศ ชูช่วย ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการ มีส่วนร่วมของประชาชน ภาคใต้ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า การทำงานในภาคใต้มีความยากลำบากมาก โดยเฉพาะประเด็นการบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ รวมถึงความไม่ปลอดภัยในการ
ทำงาน นอกจากนี้ในมาตรา ๖๘ วรรค ๒ ประชาชนในพื้นที่ก็ไม่เห็นด้วยและเข้าใจผิดว่า องค์กร แก้วิกฤตสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา โดยส่วนใหญ่มีความเห็นว่า สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้ง แต่ถ้าสรรหาก่อนแล้วค่อยมา เลือกตั้งประชาชนก็เห็นด้วย เช่น อำเภอหาดใหญ่ ประชาชนเห็นด้วยกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ถึง ๙๕% ซึ่งที่จังหวัดสงขลามีประชาชนไม่เห็นด้วยกับการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา โดยเห็นว่าสมาชิก วุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น เพื่อให้เป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง และประชาชนส่วนใหญ่ยังเสนอให้ขยายเวลาการให้บริการการศึกษาจาก ๑๒ ปี เป็น ๑๕ ปี โดยเพิ่มในส่วนของชั้นอนุบาล เข้าไป และจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดปัตตานี ๓๒ อำเภอ ประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่องการบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ประชาชนทั้งพุทธและมุสลิมก็ยึดความสมานฉันท์เป็นหลัก โดยส่วนใหญ่แสดงความไม่เห็นด้วยที่จะต้องบรรจุลงไป เพราะไม่ต้องการให้ กลายเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มที่พยายามสร้างความขัดแย้งใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ หยิบขึ้นเป็นประเด็นสร้างความแตกแยกได้ ซึ่งทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิมก็มีเสียงเป็นเอกฉันท์ว่าไม่เห็นด้วยกับ การให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ พร้อมทั้งได้เสนอว่าสิ่งใดที่จะกลายเป็นปมประเด็นขัดแย้ง ในอนาคตก็ให้ทบทวนให้ดี เพื่อความปรองดองและความสงบสุข และที่จังหวัดนราธิวาสประชาชน ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งมีประชาชนได้หยิบยกตัวอย่างประเทศมาเลเซียที่กำหนดให้วันวิสาขบูชาหรือวันสำคัญทางศาสนาซิกหรือฮินดูเป็นวันหยุดของประเทศ ทั้ง ๆ ที่มาเลเซียมีคนนับถือมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการร่างกฎหมายโดยยึดถือจำนวนประชากรเป็นที่ตั้งนั้นถือว่าไม่สมบูรณ์ รัฐธรรมนูญต้องอยู่บนหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน และจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดยะลาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้บรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะรัฐธรรมนูญมีการบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอุปถัมภกและเป็น พุทธมามกะอยู่แล้ว และที่สำคัญยังป้องกันไม่ให้กลายเป็นประเด็นความแตกแยกในสังคม ส่วนผู้ที่สนับสนุนเห็นว่าศาสนาพุทธมีความเจริญไปมากแล้ว ถึงแม้จะระบุไว้ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหา ทุกศาสนาน่าจะอยู่ร่วมกันได้ นอกจากนี้แล้วประชาชนยังเรียกร้องให้กำหนดเกี่ยวกับสิทธิ์ในการรับบริการด้าน สาธารณสุขให้ชัดเจนให้คนเข้าถึงได้ง่าย เพราะขณะนี้ใน ๓ จังหวัดมีผู้ป่วยมาก แต่มีปัญหาขาดแคลนบุคลากร วัสดุ งบประมาณ ไม่สามารถสนองความต้องการของคนในสังคมได้อย่างทันท่วงที น่าจะพิจารณากำหนดเรื่องนี้เอาไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย ส่วนที่จังหวัดตรังจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใน ๔ เวที ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้งและไม่ควรบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และประชาชน ๙๐% จากเวทียังไม่ทราบว่าถ้าไม่รับประชามติแล้ว จะทำอย่างไร จะต้องมีการร่างใหม่หรือไม่ ซึ่งประเด็นปัญหานี้กรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ต้องเร่งทำความเข้าใจในขั้นตอนให้ประชาชนได้เข้าใจต่อไป
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๔.๓ รายงานผลการพิจารณาของคณะทำงานเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการและพิจารณากรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ โดยเป็นการตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดแพร่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ซึ่งที่ประชุมได้มีมติตั้งนายมงคล สิทธิวีระกูล และพันเอก ถนัดพล โกศัยเสวี เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่างลง
และที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๔.๑ เป็นการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และให้ข้อเสนอแนะ ประสาน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
โดยที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะบุคคลเพื่อทำหน้าที่ตาม ข้อ ๖ และข้อ ๘ วรรคสอง ตามประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการ เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๐ จำนวน ๒ คณะ คือ
๑. คณะกรรมาธิการวิสามัญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและประชาสัมพันธ์ จำนวน ๑๓ คน
ประกอบด้วย
๑. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
๒. พลตำรวจโท ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร
๓. นายอุทิศ ชูช่วย
๔. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
๕. นายศิวะ แสงมณี
๖. นายคมสัน โพธิ์คง
๗. พลเรือเอก พีรศักดิ์ วัชรมูล
๘. นายวีนัส ม่านมุงศิลป์
๙. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณราย แสงวิเชียร
๑๐. รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย
๑๑. นายมานิจ สุขสมจิตร
๑๒. นายสมชัย ฤชุพันธุ์
๑๓. นายพิทูร พุ่มหิรัญ
๒. คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อให้ข้อเสนอแนะ ประสาน ให้ความช่วยเหลือ
สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมทั้งติดตามให้มีการปฏิบัติตามประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๐ จำนวน ๖ คน ประกอบด้วย
๑. นายนรนิติ เศรษฐบุตร
๒. นายเสรี สุวรรณภานนท์
๓. นายเดโช สวนานนท์
๔. นายสวัสดิ์ โชติพานิช
๕. นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ
๖. นายพิทูร พุ่มหิรัญ
๕. เรื่องอื่น ๆ ไม่มี
ปิดประชุมเวลา ๑๔.๕๘ นาฬิกา
--------------------------------------------------