วันที่ 12 มิถุนายน 2550 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551-2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพซึ่งเป็นรากฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่ยั่งยืน อันนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันให้กับภาคอุตสาหกรรรมไทย ให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก และเพื่อผลักดันให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาด้วยตนเอง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ โดยความร่วมมือกับภาครัฐในการร่วมคิดร่วมทำ (Collaboration) แนวทางการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ 3 ประการ คือ
- เป้าหมายที่ 1 ผลิตภาพแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี
- เป้าหมายที่ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ ในปี 2551 มีจำนวน 13 กลุ่มอุตสาหกรรม และปี 2555 จะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 25 กลุ่มอุตสาหกรรม
- เป้าหมายที่ 3 ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ ในปี 2551 มีจำนวนไม่น้อยกว่า 4,500 โรงงาน และปี 2555 จะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 โรงงาน
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้รับอนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ จำนวน 102.805 ล้านบาท ภายใต้ 3 โครงการหลัก คือ โครงการพัฒนาระบบบริหารการผลิต, โครงการพัฒาบุคลากรเพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (www.thaigov.go.th)
- วันที่ 15 มิถุนายน 2550 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เห็นชอบนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างฐานการผลิตรถยนต์ประเภทใหม่ ที่ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนดังต่อไปนี้
- ผู้ขอรับการส่งเสริมต้องเสนอการลงทุนเป็นโครงการรวม (Package) ประกอบด้วยโครงการประกอบรถยนต์ การผลิตเครื่องยนต์ และการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์ และมีขนาดการลงทุนของโครงการรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ทั้งการประกอบรถยนต์และการผลิตชิ้นส่วน โดยได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 8 ปีในทุกเขตที่ตั้ง ทั้งการประกอบรถยนต์ (จำกัดวงเงินยกเว้นไม่เกินมูลค่าลงทุนขอโครงการ) การผลิตเครื่องยนต์ และการผลิตชิ้นส่วนอื่นๆ
มีปริมาณการผลิตจริงไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปี ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป รถยนต์ที่ผลิตต้องมีคุณสมบัติ ด้านการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง มีอัตราการใช้เชื้อเพลิงไม่เกิน 5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร ด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรฐานมลพิษ EURO 4 หรือสูงกว่า ด้านความปลอดภัย มีคุณสมบัติในการป้องกันผู้โดยสาร กรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการชนด้านหน้าและด้านข้างของตัวรถ ตามมาตรฐาน UNECE Reg.94 และ Reg.95
- การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ต้องผลิตชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์ อย่างน้อย 4 ใน 5 ชิ้น ได้แก่ Cylinder Head, Cylinder Block, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod และจะต้องผลิต Cylinder Head, Cylinder Block และ Crankshaft โดยอย่างน้อยจะต้องมีการผลิตในขั้นตอนการ Machining (www.boi.go.th)
- วันที่ 26 มิถุนายน 2550 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่สินค้ายานยนต์ชนิด Completely Built-Up (CBU) จากประเทศมาเลเซีย ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ตามมติคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ซึ่งเห็นว่ามาเลเซียได้ปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ AFTA ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2549 ในการลดภาษีสินค้ายานยนต์ทุกรายการเหลือร้อยละ 0-5 ส่วนการมีใบอนุญาตนำเข้า (APs) เป็นมาตรการของมาเลเซียสำหรับติดตามและเก็บข้อมูลการนำเข้า ซึ่งไม่ได้เป็นการจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้ายานยนต์ อย่างไรก็ดี หากภายหลังมีหลักฐานชัดเจนว่า APs ขัดต่อพันธกรณีใด ประเทศไทยสามารถดำเนินการตามกลไกของพันธกรณีนั้นได้ (www.thaigov.go.th)
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 14 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 2,677.90 ล้านบาท ชะลอตัวจากไตรมาสแรกของปี 2550 ร้อยละ 69.59 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 2,400 คน แบ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 13 โครงการ และโครงการผลิตรถจักรยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า 1 โครงการ ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 500 ล้านบาท จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการขยายกิจการผลิตวาล์วเครื่องยนต์ ของบริษัท ที อาร์ดับเบิ้ลยู ฟูจิ เสรีนา จำกัด เงินลงทุน 602 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 370 คน มีกำลังการผลิตวาล์วเครื่องยนต์ (Engine valve) ประมาณ 20,000,000 ชิ้น/ป? (www.boi.go.th)
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 599,536 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.35 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.69 แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 4.00 และ 3.22 ตามลำดับ ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 312,873 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.19 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันเพื่อการส่งออกร้อยละ 78.36 และรถยนต์นั่งร้อยละ 21.64 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซีซี รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซีซี และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 2,001-2,500 ซีซี หรือคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 42.99, 25.45 และ 20.16 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 305,901 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.38 โดยมีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.21, 5.79 และ 0.19 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.18 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.04, 2.99 และ 2.46 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 292,514 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ลดลงร้อยละ 12.62 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 16.30 และ 11.51 ตามลำดับ แต่รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.28 และ 3.59 ตามลำดับ เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์ PPV รวม SUV รุ่นใหม่และการปรับปรุงรุ่นเดิมออกสู่ตลาดจากหลากหลายค่าย เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 154,244 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 6.40 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 8.85 และ 7.86 ตามลำดับ แต่รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.48 และ 7.65 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.55 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.13, 9.06, 4.58 และ 1.55 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 307,273 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.57 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 135,307.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2549 ร้อยละ 14.98 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีปริมาณการส่งออก จำนวน 152,753 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 66,860.98 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 22.31 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.05 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 1.14 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 2.32
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 มีมูลค่า 55,002.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันร้อยละ 11.44 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 39.72, 12.25 และ 8.27 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 110.82 และ 5.36 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 11.13 มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 มีมูลค่า 69,765.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 12.39 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และซาอุดีอาระเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.39, 6.70 และ 5.26 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.50 แต่การส่งออกรถแวนและปิกอัพไปสหราชอาณาจักรและซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 48.01 และ 11.95 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 มีมูลค่า 11,437.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 25.53 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และลิเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 48.84, 16.34 และ 5.10 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุกไปออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และลิเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.59, 12.33 และ 6.46 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 4,165.87 และ 6,033.95 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 พบว่า การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.58 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 25.08 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 2,698.83 และ 2,994.07 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.76 และ 26.06 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2550 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.96 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 1.51 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 33.60, 23.24 และ15.72 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากอินโดนีเซียและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.17 และ 14.87 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนี ลดลงร้อยละ 3.36 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 81.01 และ 4.84 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากเยอรมนีและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 413.53 และ 39.78 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 การผลิตขยายตัวเล็กน้อย โดยมีการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ในขณะที่ตลาดภายในประเทศชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ชะลอตัว สถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค และนักลงทุน อย่างไรก็ตาม คาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สามจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสสอง ของปี 2550 โดยอาศัยการขยายตัวของส่งออก ในขณะที่ตลาดภายในประเทศมีสัญญาณที่ดีจากการที่ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี ความชัดเจนทางการเมือง และการที่บริษัทรถยนต์จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย
สำหรับการวางเป้าหมายการผลิตรถยนต์ปี 2550 เมื่อช่วงต้นปีประมาณการผลิตรถยนต์ไว้ 1,284,000 คัน ในเดือนกรกฎาคมนี้ ผู้ประกอบการรถยนต์ได้มีการปรับแผนการผลิตรถยนต์เป็น 1,257,000 คัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 626,000 คัน และผลิตเพื่อการส่งออก 631,000 คัน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 846,452 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ลดลงร้อยละ 24.67 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 801,669 คัน ลดลงร้อยละ 25.91 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 44,783 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.58 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 414,620 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 21.35 โดยการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 23.11 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.88 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.99 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 4.74 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.57
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 836,965 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ลดลงร้อยละ 24.20 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 448,100 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 7,340 คัน ลดลงร้อยละ 38.78 และ 33.90 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ 381,525 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.63 ซึ่งสวนทางกับตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัว ปัจจุบันรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์มีส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 46 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรถจักรยานยนต์ประเภทนี้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัยตรงกับกระแสความนิยมของผู้บริโภค อีกทั้งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มที่ต้องการความสะดวกสบาย อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์จะเป็นรถจักรยานยนต์ประเภทเดียวที่มีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็เริ่มมีสัดส่วนการจำหน่ายในตลาดรถจักรยานยนต์โดยรวมลดลง นับตั้งแต่เดือนแรกของไตรมาสสองเป็นต้นมา เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงหันไปสนใจรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวที่มีจุดเด่นด้านการประหยัดน้ำมันมากกว่า เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 421,811 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 23.02 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสปอร์ต และสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 32.80, 25.34 และ 7.26 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.60 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และแบบครอบครัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.99 และ 0.80 ตามลำดับ แต่รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 49.37
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 874,512 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 53,234 คัน และ CKD จำนวน 821,278 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.99 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 14,135.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 18.63 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีปริมาณการส่งออก 472,175 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 8,435.52 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.32 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.09 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.36 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.99 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 51.12, 10.47 และ 7.97 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.40, 240.26 และ 331.17 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 200 ซีซี แต่ไม่เกิน 250 ซีซี
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 1,229.18 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.44 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 535.66 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.95 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 22.76 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 93.35, 2.10 และ 1.52 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่นและจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.54 และ 31.93 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเยอรมนี ลดลงร้อยละ 31.24 โดยส่วนใหญ่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่นเป็นแบบที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 200 ซีซี แต่ไม่เกิน 250 ซีซี รถจักรยานยนต์จากจีนเป็นแบบที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 125 ซีซี และรถจักรยานยนต์จากเยอรมนีเป็นแบบที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 500 ซีซี แต่ไม่เกิน 800 ซีซี
ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2550 การผลิตรถจักรยานยนต์ได้รับผลกระทบจากตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การส่งออกสามารถขยายตัวได้ สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ภายในประเทศที่ชะลอตัวเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจซบเซา ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทำให้ชะลอการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้จำหน่ายรายย่อยมีความเข้มงวดมากขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันอัตราการถือครองรถจักรยานยนต์ของคนไทยสูงมาก เฉลี่ยประมาณ 4 คนต่อ 1 คัน ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ ปัจจัยดังกล่าวยังคงเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องกับตลาดรถจักรยานยนต์ นอกจากนี้แล้วในไตรมาสสามยังเป็นฤดูฝน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดรถจักรยานยนต์โดยรวม จึงทำให้คาดการณ์ได้ว่าอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์จะชะลอตัว
สำหรับการวางเป้าหมายการผลิตรถจักรยานยนต์ปี 2550 เมื่อช่วงต้นปีประมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ไว้ 2,190,000 คัน ในเดือนกรกฎาคมนี้ ผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ได้มีการปรับแผนการผลิตรถยนต์เป็น 1,760,000 คัน
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ( ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 48,302.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ร้อยละ 15.55 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 4,598.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ร้อยละ 8.53 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 3,406.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ร้อยละ 39.53 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 25,591.70 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 2,486.67 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 1,760.68 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.36, 12.34 และ 36.85 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM), เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.68, 17.73 และ 6.95 ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าว การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนจะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ผลิตชิ้นส่วนได้มีการประกันความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวนของค่าเงิน ประกอบกับได้มีการหาตลาดส่งออกใหม่ๆ ด้วย จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 มีมูลค่า 67,641.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 25.56 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.18, 9.77 และ 8.68 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.88 และ 121.73 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 21.76
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 6,704.04 และ 505.53 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.68 และ 100.27 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 3,275.48 และ 332.10 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.28 และ 202.96 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ลดลงร้อยละ 4.46 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 91.49 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 มีมูลค่า 10,763.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 45.61 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 21.31, 12.39 และ 12.30 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย และกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.14 และ 12.06 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 13.29
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 54,499.89 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ลดลงร้อยละ 7.82 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2550 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 28,334.63 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 1.86 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.29 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 64.51, 6.93 และ 5.86 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 11.66 และ 20.31 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.12
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 4,976.02 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.22 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2550 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 2,382.10 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.37 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 8.17 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 23.00, 18.89 และ 11.12 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากสหราชอาณาจักร, ญี่ปุ่น และ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.53, 15.23 และ 663.83 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
- เป้าหมายที่ 1 ผลิตภาพแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี
- เป้าหมายที่ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ ในปี 2551 มีจำนวน 13 กลุ่มอุตสาหกรรม และปี 2555 จะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 25 กลุ่มอุตสาหกรรม
- เป้าหมายที่ 3 ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ ในปี 2551 มีจำนวนไม่น้อยกว่า 4,500 โรงงาน และปี 2555 จะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 โรงงาน
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้รับอนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ จำนวน 102.805 ล้านบาท ภายใต้ 3 โครงการหลัก คือ โครงการพัฒนาระบบบริหารการผลิต, โครงการพัฒาบุคลากรเพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (www.thaigov.go.th)
- วันที่ 15 มิถุนายน 2550 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เห็นชอบนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างฐานการผลิตรถยนต์ประเภทใหม่ ที่ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนดังต่อไปนี้
- ผู้ขอรับการส่งเสริมต้องเสนอการลงทุนเป็นโครงการรวม (Package) ประกอบด้วยโครงการประกอบรถยนต์ การผลิตเครื่องยนต์ และการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์ และมีขนาดการลงทุนของโครงการรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ทั้งการประกอบรถยนต์และการผลิตชิ้นส่วน โดยได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 8 ปีในทุกเขตที่ตั้ง ทั้งการประกอบรถยนต์ (จำกัดวงเงินยกเว้นไม่เกินมูลค่าลงทุนขอโครงการ) การผลิตเครื่องยนต์ และการผลิตชิ้นส่วนอื่นๆ
มีปริมาณการผลิตจริงไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปี ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป รถยนต์ที่ผลิตต้องมีคุณสมบัติ ด้านการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง มีอัตราการใช้เชื้อเพลิงไม่เกิน 5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร ด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรฐานมลพิษ EURO 4 หรือสูงกว่า ด้านความปลอดภัย มีคุณสมบัติในการป้องกันผู้โดยสาร กรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการชนด้านหน้าและด้านข้างของตัวรถ ตามมาตรฐาน UNECE Reg.94 และ Reg.95
- การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ต้องผลิตชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์ อย่างน้อย 4 ใน 5 ชิ้น ได้แก่ Cylinder Head, Cylinder Block, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod และจะต้องผลิต Cylinder Head, Cylinder Block และ Crankshaft โดยอย่างน้อยจะต้องมีการผลิตในขั้นตอนการ Machining (www.boi.go.th)
- วันที่ 26 มิถุนายน 2550 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่สินค้ายานยนต์ชนิด Completely Built-Up (CBU) จากประเทศมาเลเซีย ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ตามมติคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ซึ่งเห็นว่ามาเลเซียได้ปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ AFTA ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2549 ในการลดภาษีสินค้ายานยนต์ทุกรายการเหลือร้อยละ 0-5 ส่วนการมีใบอนุญาตนำเข้า (APs) เป็นมาตรการของมาเลเซียสำหรับติดตามและเก็บข้อมูลการนำเข้า ซึ่งไม่ได้เป็นการจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้ายานยนต์ อย่างไรก็ดี หากภายหลังมีหลักฐานชัดเจนว่า APs ขัดต่อพันธกรณีใด ประเทศไทยสามารถดำเนินการตามกลไกของพันธกรณีนั้นได้ (www.thaigov.go.th)
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 14 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 2,677.90 ล้านบาท ชะลอตัวจากไตรมาสแรกของปี 2550 ร้อยละ 69.59 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 2,400 คน แบ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 13 โครงการ และโครงการผลิตรถจักรยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า 1 โครงการ ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 500 ล้านบาท จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการขยายกิจการผลิตวาล์วเครื่องยนต์ ของบริษัท ที อาร์ดับเบิ้ลยู ฟูจิ เสรีนา จำกัด เงินลงทุน 602 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 370 คน มีกำลังการผลิตวาล์วเครื่องยนต์ (Engine valve) ประมาณ 20,000,000 ชิ้น/ป? (www.boi.go.th)
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 599,536 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.35 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.69 แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 4.00 และ 3.22 ตามลำดับ ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 312,873 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.19 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันเพื่อการส่งออกร้อยละ 78.36 และรถยนต์นั่งร้อยละ 21.64 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซีซี รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซีซี และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 2,001-2,500 ซีซี หรือคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 42.99, 25.45 และ 20.16 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 305,901 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.38 โดยมีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.21, 5.79 และ 0.19 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.18 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.04, 2.99 และ 2.46 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 292,514 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ลดลงร้อยละ 12.62 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 16.30 และ 11.51 ตามลำดับ แต่รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.28 และ 3.59 ตามลำดับ เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์ PPV รวม SUV รุ่นใหม่และการปรับปรุงรุ่นเดิมออกสู่ตลาดจากหลากหลายค่าย เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 154,244 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 6.40 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 8.85 และ 7.86 ตามลำดับ แต่รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.48 และ 7.65 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.55 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.13, 9.06, 4.58 และ 1.55 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 307,273 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.57 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 135,307.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2549 ร้อยละ 14.98 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีปริมาณการส่งออก จำนวน 152,753 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 66,860.98 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 22.31 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.05 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 1.14 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 2.32
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 มีมูลค่า 55,002.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันร้อยละ 11.44 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 39.72, 12.25 และ 8.27 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 110.82 และ 5.36 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 11.13 มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 มีมูลค่า 69,765.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 12.39 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และซาอุดีอาระเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.39, 6.70 และ 5.26 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.50 แต่การส่งออกรถแวนและปิกอัพไปสหราชอาณาจักรและซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 48.01 และ 11.95 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 มีมูลค่า 11,437.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 25.53 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และลิเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 48.84, 16.34 และ 5.10 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุกไปออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และลิเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.59, 12.33 และ 6.46 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 4,165.87 และ 6,033.95 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 พบว่า การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.58 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 25.08 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 2,698.83 และ 2,994.07 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.76 และ 26.06 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2550 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.96 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 1.51 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 33.60, 23.24 และ15.72 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากอินโดนีเซียและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.17 และ 14.87 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนี ลดลงร้อยละ 3.36 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 81.01 และ 4.84 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากเยอรมนีและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 413.53 และ 39.78 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 การผลิตขยายตัวเล็กน้อย โดยมีการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ในขณะที่ตลาดภายในประเทศชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ชะลอตัว สถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค และนักลงทุน อย่างไรก็ตาม คาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สามจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสสอง ของปี 2550 โดยอาศัยการขยายตัวของส่งออก ในขณะที่ตลาดภายในประเทศมีสัญญาณที่ดีจากการที่ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี ความชัดเจนทางการเมือง และการที่บริษัทรถยนต์จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย
สำหรับการวางเป้าหมายการผลิตรถยนต์ปี 2550 เมื่อช่วงต้นปีประมาณการผลิตรถยนต์ไว้ 1,284,000 คัน ในเดือนกรกฎาคมนี้ ผู้ประกอบการรถยนต์ได้มีการปรับแผนการผลิตรถยนต์เป็น 1,257,000 คัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 626,000 คัน และผลิตเพื่อการส่งออก 631,000 คัน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 846,452 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ลดลงร้อยละ 24.67 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 801,669 คัน ลดลงร้อยละ 25.91 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 44,783 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.58 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 414,620 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 21.35 โดยการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 23.11 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.88 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.99 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 4.74 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.57
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 836,965 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ลดลงร้อยละ 24.20 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 448,100 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 7,340 คัน ลดลงร้อยละ 38.78 และ 33.90 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ 381,525 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.63 ซึ่งสวนทางกับตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัว ปัจจุบันรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์มีส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 46 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรถจักรยานยนต์ประเภทนี้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัยตรงกับกระแสความนิยมของผู้บริโภค อีกทั้งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มที่ต้องการความสะดวกสบาย อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์จะเป็นรถจักรยานยนต์ประเภทเดียวที่มีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็เริ่มมีสัดส่วนการจำหน่ายในตลาดรถจักรยานยนต์โดยรวมลดลง นับตั้งแต่เดือนแรกของไตรมาสสองเป็นต้นมา เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงหันไปสนใจรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวที่มีจุดเด่นด้านการประหยัดน้ำมันมากกว่า เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 421,811 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 23.02 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสปอร์ต และสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 32.80, 25.34 และ 7.26 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.60 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และแบบครอบครัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.99 และ 0.80 ตามลำดับ แต่รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 49.37
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 874,512 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 53,234 คัน และ CKD จำนวน 821,278 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.99 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 14,135.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 18.63 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีปริมาณการส่งออก 472,175 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 8,435.52 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.32 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.09 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.36 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.99 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 51.12, 10.47 และ 7.97 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.40, 240.26 และ 331.17 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 200 ซีซี แต่ไม่เกิน 250 ซีซี
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 1,229.18 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.44 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 535.66 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.95 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 22.76 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 93.35, 2.10 และ 1.52 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่นและจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.54 และ 31.93 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเยอรมนี ลดลงร้อยละ 31.24 โดยส่วนใหญ่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่นเป็นแบบที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 200 ซีซี แต่ไม่เกิน 250 ซีซี รถจักรยานยนต์จากจีนเป็นแบบที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 125 ซีซี และรถจักรยานยนต์จากเยอรมนีเป็นแบบที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 500 ซีซี แต่ไม่เกิน 800 ซีซี
ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2550 การผลิตรถจักรยานยนต์ได้รับผลกระทบจากตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การส่งออกสามารถขยายตัวได้ สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ภายในประเทศที่ชะลอตัวเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจซบเซา ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทำให้ชะลอการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้จำหน่ายรายย่อยมีความเข้มงวดมากขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันอัตราการถือครองรถจักรยานยนต์ของคนไทยสูงมาก เฉลี่ยประมาณ 4 คนต่อ 1 คัน ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ ปัจจัยดังกล่าวยังคงเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องกับตลาดรถจักรยานยนต์ นอกจากนี้แล้วในไตรมาสสามยังเป็นฤดูฝน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดรถจักรยานยนต์โดยรวม จึงทำให้คาดการณ์ได้ว่าอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์จะชะลอตัว
สำหรับการวางเป้าหมายการผลิตรถจักรยานยนต์ปี 2550 เมื่อช่วงต้นปีประมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ไว้ 2,190,000 คัน ในเดือนกรกฎาคมนี้ ผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ได้มีการปรับแผนการผลิตรถยนต์เป็น 1,760,000 คัน
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ( ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 48,302.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ร้อยละ 15.55 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 4,598.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ร้อยละ 8.53 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 3,406.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ร้อยละ 39.53 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 25,591.70 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 2,486.67 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 1,760.68 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.36, 12.34 และ 36.85 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM), เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.68, 17.73 และ 6.95 ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าว การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนจะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ผลิตชิ้นส่วนได้มีการประกันความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวนของค่าเงิน ประกอบกับได้มีการหาตลาดส่งออกใหม่ๆ ด้วย จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 มีมูลค่า 67,641.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 25.56 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.18, 9.77 และ 8.68 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.88 และ 121.73 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 21.76
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 6,704.04 และ 505.53 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.68 และ 100.27 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 3,275.48 และ 332.10 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.28 และ 202.96 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ลดลงร้อยละ 4.46 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 91.49 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 มีมูลค่า 10,763.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 45.61 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 21.31, 12.39 และ 12.30 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย และกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.14 และ 12.06 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 13.29
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 54,499.89 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 ลดลงร้อยละ 7.82 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2550 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 28,334.63 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 1.86 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.29 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 64.51, 6.93 และ 5.86 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 11.66 และ 20.31 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.12
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 4,976.02 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.22 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2550 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 2,382.10 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.37 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 8.17 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 23.00, 18.89 และ 11.12 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากสหราชอาณาจักร, ญี่ปุ่น และ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.53, 15.23 และ 663.83 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-