สอท. สรุปผลกระทบค่าเงินบาท อยากเห็น 38 บาท/เหรียญ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 12, 2007 17:47 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้สรุปผลการสำรวจ “ผลกระทบค่าเงินบาท” จากการออกแบบสอบถามไปยังสมาชิก ส.อ.ท. ทั้ง 18 กลุ่มอุตสาหกรรม  โดยผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นมีทั้งทางด้านบวกและด้านลบ ดังนี้
ผลกระทบด้านบวก กลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์ได้แก่ กลุ่มผู้นำเข้า ในอุตสาหกรรมเคมี-อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม เนื่องจากค่าบาทที่แข็งขึ้นทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการลดลง นอกจากนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีการนำเข้าในรูปของ “เงินเยน” และส่งออกในรูป “เงินบาท” ก็เป็นอีกกลุ่มที่ได้รับประโยชน์
ผลกระทบด้านลบ มีทั้งกลุ่มผู้นำเข้า/ส่งออก เนื่องจากผู้ประกอบการเหล่านี้มองว่าค่าเงินบาทที่ขาดเสถียรภาพได้ก่อให้เกิดผลกระทบดังนี้
1.) รายได้จากการส่งออกลดลงเมื่อเปลี่ยนเป็นเงินบาทในกรณีที่มีการซื้อขายในรูป “เงินดอลลาร์”
2.) ต้นทุนของสินค้าในรูปของ “เงินบาท” แพงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าของไทยแพงขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีน
3.) ผู้ประกอบการขาดทุน เนื่องจากราคาขายไม่สามารถปรับขึ้นได้ทันที ระยะเวลาการส่งมอบในแต่ละคำสั่งซื้อจะกินเวลา 3-4 เดือน
4.) กระทบต่อแผนการผลิต เนื่องจากค่าบาทผันผวน ทำให้ผู้ประกอบการไม่แต่ใจว่าจะรับคำสั่งซื้อดีหรือไม่ กิจการควรจะขยายหรือลดกำลังผลิต หรือหยุดผลิต
5.) ราคาวัตถุดิบมีความผันผวนตามค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
ประเด็นวิเคราะห์
จากผลกระทบดังกล่าว ผู้ประกอบการต้องการให้ ธปท. มีมาตรการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับ 38 บาท/เหรียญเป็นอย่างน้อย ขณะเดียวกันต้องแก้ไขปัญหาด้วยการ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ปรับราคาขาย หาตลาดส่งออกใหม่ ๆ และหันมาขายในประเทศ ซื้ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า เตรียมย้ายฐานการผลิต และใช้ระบบ offset จ่ายสินค้า/วัตถุดิบ เป็นต้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ