ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.07 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ HDD และOther
IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.87 และ 16.47 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกมีการขยายตัวอย่างตัวเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่ม
Digital TV MP3 โทรศัพท์เคลื่อนที่ และ คอมพิวเตอร์ PC ที่มีปริมาณการจำหน่ายในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ประกอบกับไทยเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลกทำให้เป็นประเทศหลักที่จะป้อนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ตามความต้องการของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็นหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ (CRT) ลดลงมากถึงร้อยละ
44.75 ซึ่งมีการชะลอการผลิตมาตั้งแต่ต้นปี และมีโรงงานแห่งหนึ่งปิดตัวในช่วงไตรมาส 4 ทำให้การผลิตลดลง โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น
เทคโนโลยีจอภาพ LCA/Plasma ได้รับความนิยมมากขึ้น และราคาเครื่องรับโทรทัศน์จอ LCD/Plasma ที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่ง
ตลาดของจอ CRT ลดลงมาก
ตารางที่ 6 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2549
รายการสินค้า มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 ปี 49 ไตรมาส 4 ปี 48
ปี 2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
(ล้านบาท)
ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 355.52 10.28 25.07
-Electric tubes Cathode For color TV 32.93 -20.63 -44.75
-Electric tubes Ray tubes For
computer & related equipment 47.51 8.88 49.77
-Semiconductor devices Transisters 114.09 -6.02 3.01
-Monolithic integrated Circuits 141.15 -12.91 -13.35
-Other Integrated Circuits (IC) 174.9 3.18 16.47
-Hard Disk Drive (default) 623.85 14.42 33.87
-Printer (default) 27.97 -28.67 -53.93
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี2549 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมพบว่าดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.59 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 25.10 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Other IC ร้อยละ 33.64 และ 19.66 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปในทิศทาง
เดียวกันกับภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลก
โดยเมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 จากการรายงานของ
Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่ามีการขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 2549
มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 65.23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีก่อนพบว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.98 โดยเฉพาะในประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.56 และ 7.11 ซึ่ง
เป็นผลจากความต้องการสินค้าในกลุ่ม Notebook, Cell Phone, Digital Camera เป็นต้น ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีการนำ
Semiconductor ไปใช้ในสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ตารางที่ 7 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 4ปี 2549
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 ปี 2549 ไตรมาส 4 ปี 2548
ปี2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 350.36 9.59 25.1
-Electric tubes Cathode For color TV 32.13 -37.61 -48.16
-Electric tubes Ray tubes For
computer & related equipment 37.73 -2.73 49.75
-Semiconductor devices Transisters 110.99 -13.64 -1.2
-Monolithic Integrated Circuits 137.58 -13.79 -12.17
-Other Integrated circuits (IC) 155.55 1.43 19.66
-Hard Disk Drive 620.9 14.01 33.64
-Printer 30.22 -23.4 -57.66
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 8 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 4 ปี 2549
หน่วย : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ไตรมาส 4 การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 48
ปี2549 ไตรมาส 3 ปี 49 (ร้อยละ)
(ร้อยละ)
Worldwide Semiconductor Sales 65.23 1.87 8.98
US 11.4 -2.34 2.48
EU 10.49 2.49 5.43
Japan 11.63 -3.65 7.11
Asia Pacific 31.7 5.52 13.56
ที่มา : Semiconductor Industry Association (SIA)
ตลาดส่งออก
จากสถิติมูลค่าการส่งออก พบว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 264,265 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.42 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน โดยสินค้าที่มีการปรับเพิ่มขึ้นได้แก่ ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ และ เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุ
โทรศัพท์ เครื่องเรดาห์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.70 และ 9.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
สำหรับการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.85 โดยสินค้าสำคัญที่ผลักดันให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
คือ เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ , ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ และวงจรรวมและไมโครแอสแซม
บลี (Integraed Circuit) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.09 12.56 และ 3.10 ตามลำดับ โดยเฉพาะส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่มีการขยายตัวสูงมากในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21 23 ตามลำดับ และในส่วนของเครื่อง
ส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ที่มีการเติบโตค่อนข้างสูงมากในไตรมาสนี้ โดยตลาดที่ไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นมาก คือ เน
เธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 375.78 และ 9.19 ตามลำดับ
ตารางที่ 9 แสดงมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 4ปี 2549
รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 ปี 2549 เมื่อเทียบกับ
ปี2549 (ร้อยละ) ไตรมาส 4 ปี 2548
(ล้านบาท) (ร้อยละ)
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์รวม 264,265 2.42 6.85
1.ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ 150,770 6.7 12.56
2.วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี 67,865 -4.24 3.1
(Integrated Circuit)
3.วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 9,269 -10.17 -1.06
4.เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข 8,849 9.27 15.09
วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์
5.ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 8,639 -3.85 3.37
ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อพิจารณาตลาดส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของไทยแล้วจะพบว่าตลาดหลักส่วนใหญ่มีการขยายตัว โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรปที่มี
มูลค่าการส่งออก 49,032 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเพิ่มร้อยละ 34.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
รองลงมาตลาดสหรัฐอเมริกามีมูลค่าส่งออก 41,096 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3.3 การนำเข้า
จากรายงานการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 พบว่ามีมูลค่ารวม 172,051 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.74
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 11.21 โดยสินค้าสำคัญที่มีการปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก คือ วงจร
รวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) และอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 14.31 6.18 ตามลำดับ เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ตารางที่ 10 แสดงมูลค่านำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 4ปี2549
รายการสินค้า มูลค่าการนำเข้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับ เมื่อเทียบกับ
ปี2549 ไตรมาส 3 ปี 2549 ไตรมาส 4 ปี 2548
(ล้านบาท) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์รวม 172,051 -15.74 -11.21
1.วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี 71,160 -19.58 -14.31
(Integrated Circuit)
2. ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ 50,342 -12.2 -6.18
3. Mobile Telephone 13,360 -1.55 -18.72
4. วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 9,651 -2.39 0.41
5.ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 6,468 -28.8 -24.54
ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2550 และแนวโน้มปี 2550
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 คาดว่าน่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2549 โดยจะมา
จากสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาเพื่อรองรับกับการจำหน่ายในช่วง
ฤดูร้อน ขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์คาดว่าจะปรับตัวลดลงตามฤดูกาล (ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2549) อย่างไรก็ตามในปี 2550
การแข่งขันเครื่องรับโทรทัศน์ LCD/Plasma จะรุนแรงมากขึ้น ทำให้ราคาจะมีการปรับลดลงมาค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่
จะกระตุ้นให้การจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ LCD/Plasma เพิ่มมากขึ้น
ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2550 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 ซึ่งเป็นภาวะปกติของสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ที่จะทรงตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายปี อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม HDD
และ IC ที่เป็นไปตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่ Semiconductor Industry Association ของสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่าในปี 2550
ตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยจะมีมูลค่าจำหน่ายอยู่ที่ 273.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการสินค้า
เทคโนโลยีในตลาดโลกยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง(1) ได้แก่ Digital TV MP 3 โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ กล้องดิจิตอล โดย
คาดว่าปริมาณความต้องการจะขยายตัวถึงร้อยละ 44 20 10-15 10 6.5 ตามลำดับ ขณะเดียวกันในปี 2550 ยังมีปัจจัยเสี่ยงทางด้าน
สินค้าคงคลังของในตลาดโลกที่มีการสะสมมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2549 ที่อยู่ในระดับสูง จึงเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ของ
โลก และจะส่งผลต่อเนื่องมาถึงประเทศไทยได้ เพราะไทยเป็นหนึ่งในฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลก
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิต
เช่น ราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น แรงงานที่ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกจากนี้ การ
ปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย การรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้ ผลกระทบจาก
มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ ขณะที่ ผลกระทบจากเศรษฐกิจ
มหภาคโดยรวมที่อาจส่งผลกระทบกับภาคการผลิตและส่งออกได้ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นกระทบภาคการส่งออก เป็นต้น
หมายเหตุ (1) SIA 2006 Year End Results and Industry Short-Term Out Look Webcast February 2,2007
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.07 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ HDD และOther
IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.87 และ 16.47 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกมีการขยายตัวอย่างตัวเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่ม
Digital TV MP3 โทรศัพท์เคลื่อนที่ และ คอมพิวเตอร์ PC ที่มีปริมาณการจำหน่ายในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ประกอบกับไทยเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลกทำให้เป็นประเทศหลักที่จะป้อนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ตามความต้องการของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็นหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ (CRT) ลดลงมากถึงร้อยละ
44.75 ซึ่งมีการชะลอการผลิตมาตั้งแต่ต้นปี และมีโรงงานแห่งหนึ่งปิดตัวในช่วงไตรมาส 4 ทำให้การผลิตลดลง โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น
เทคโนโลยีจอภาพ LCA/Plasma ได้รับความนิยมมากขึ้น และราคาเครื่องรับโทรทัศน์จอ LCD/Plasma ที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่ง
ตลาดของจอ CRT ลดลงมาก
ตารางที่ 6 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2549
รายการสินค้า มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 ปี 49 ไตรมาส 4 ปี 48
ปี 2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
(ล้านบาท)
ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 355.52 10.28 25.07
-Electric tubes Cathode For color TV 32.93 -20.63 -44.75
-Electric tubes Ray tubes For
computer & related equipment 47.51 8.88 49.77
-Semiconductor devices Transisters 114.09 -6.02 3.01
-Monolithic integrated Circuits 141.15 -12.91 -13.35
-Other Integrated Circuits (IC) 174.9 3.18 16.47
-Hard Disk Drive (default) 623.85 14.42 33.87
-Printer (default) 27.97 -28.67 -53.93
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี2549 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมพบว่าดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.59 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 25.10 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Other IC ร้อยละ 33.64 และ 19.66 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปในทิศทาง
เดียวกันกับภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลก
โดยเมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 จากการรายงานของ
Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่ามีการขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 2549
มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 65.23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีก่อนพบว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.98 โดยเฉพาะในประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.56 และ 7.11 ซึ่ง
เป็นผลจากความต้องการสินค้าในกลุ่ม Notebook, Cell Phone, Digital Camera เป็นต้น ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีการนำ
Semiconductor ไปใช้ในสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ตารางที่ 7 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 4ปี 2549
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 ปี 2549 ไตรมาส 4 ปี 2548
ปี2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 350.36 9.59 25.1
-Electric tubes Cathode For color TV 32.13 -37.61 -48.16
-Electric tubes Ray tubes For
computer & related equipment 37.73 -2.73 49.75
-Semiconductor devices Transisters 110.99 -13.64 -1.2
-Monolithic Integrated Circuits 137.58 -13.79 -12.17
-Other Integrated circuits (IC) 155.55 1.43 19.66
-Hard Disk Drive 620.9 14.01 33.64
-Printer 30.22 -23.4 -57.66
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 8 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 4 ปี 2549
หน่วย : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ไตรมาส 4 การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 48
ปี2549 ไตรมาส 3 ปี 49 (ร้อยละ)
(ร้อยละ)
Worldwide Semiconductor Sales 65.23 1.87 8.98
US 11.4 -2.34 2.48
EU 10.49 2.49 5.43
Japan 11.63 -3.65 7.11
Asia Pacific 31.7 5.52 13.56
ที่มา : Semiconductor Industry Association (SIA)
ตลาดส่งออก
จากสถิติมูลค่าการส่งออก พบว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 264,265 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.42 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน โดยสินค้าที่มีการปรับเพิ่มขึ้นได้แก่ ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ และ เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุ
โทรศัพท์ เครื่องเรดาห์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.70 และ 9.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
สำหรับการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.85 โดยสินค้าสำคัญที่ผลักดันให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
คือ เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ , ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ และวงจรรวมและไมโครแอสแซม
บลี (Integraed Circuit) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.09 12.56 และ 3.10 ตามลำดับ โดยเฉพาะส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่มีการขยายตัวสูงมากในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21 23 ตามลำดับ และในส่วนของเครื่อง
ส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ที่มีการเติบโตค่อนข้างสูงมากในไตรมาสนี้ โดยตลาดที่ไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นมาก คือ เน
เธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 375.78 และ 9.19 ตามลำดับ
ตารางที่ 9 แสดงมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 4ปี 2549
รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 ปี 2549 เมื่อเทียบกับ
ปี2549 (ร้อยละ) ไตรมาส 4 ปี 2548
(ล้านบาท) (ร้อยละ)
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์รวม 264,265 2.42 6.85
1.ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ 150,770 6.7 12.56
2.วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี 67,865 -4.24 3.1
(Integrated Circuit)
3.วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 9,269 -10.17 -1.06
4.เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข 8,849 9.27 15.09
วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์
5.ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 8,639 -3.85 3.37
ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อพิจารณาตลาดส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของไทยแล้วจะพบว่าตลาดหลักส่วนใหญ่มีการขยายตัว โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรปที่มี
มูลค่าการส่งออก 49,032 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเพิ่มร้อยละ 34.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
รองลงมาตลาดสหรัฐอเมริกามีมูลค่าส่งออก 41,096 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3.3 การนำเข้า
จากรายงานการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 พบว่ามีมูลค่ารวม 172,051 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.74
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 11.21 โดยสินค้าสำคัญที่มีการปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก คือ วงจร
รวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) และอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 14.31 6.18 ตามลำดับ เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ตารางที่ 10 แสดงมูลค่านำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 4ปี2549
รายการสินค้า มูลค่าการนำเข้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับ เมื่อเทียบกับ
ปี2549 ไตรมาส 3 ปี 2549 ไตรมาส 4 ปี 2548
(ล้านบาท) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์รวม 172,051 -15.74 -11.21
1.วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี 71,160 -19.58 -14.31
(Integrated Circuit)
2. ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ 50,342 -12.2 -6.18
3. Mobile Telephone 13,360 -1.55 -18.72
4. วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 9,651 -2.39 0.41
5.ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 6,468 -28.8 -24.54
ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2550 และแนวโน้มปี 2550
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 คาดว่าน่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2549 โดยจะมา
จากสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาเพื่อรองรับกับการจำหน่ายในช่วง
ฤดูร้อน ขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์คาดว่าจะปรับตัวลดลงตามฤดูกาล (ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2549) อย่างไรก็ตามในปี 2550
การแข่งขันเครื่องรับโทรทัศน์ LCD/Plasma จะรุนแรงมากขึ้น ทำให้ราคาจะมีการปรับลดลงมาค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่
จะกระตุ้นให้การจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ LCD/Plasma เพิ่มมากขึ้น
ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2550 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 ซึ่งเป็นภาวะปกติของสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ที่จะทรงตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายปี อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม HDD
และ IC ที่เป็นไปตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่ Semiconductor Industry Association ของสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่าในปี 2550
ตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยจะมีมูลค่าจำหน่ายอยู่ที่ 273.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการสินค้า
เทคโนโลยีในตลาดโลกยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง(1) ได้แก่ Digital TV MP 3 โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ กล้องดิจิตอล โดย
คาดว่าปริมาณความต้องการจะขยายตัวถึงร้อยละ 44 20 10-15 10 6.5 ตามลำดับ ขณะเดียวกันในปี 2550 ยังมีปัจจัยเสี่ยงทางด้าน
สินค้าคงคลังของในตลาดโลกที่มีการสะสมมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2549 ที่อยู่ในระดับสูง จึงเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ของ
โลก และจะส่งผลต่อเนื่องมาถึงประเทศไทยได้ เพราะไทยเป็นหนึ่งในฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลก
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิต
เช่น ราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น แรงงานที่ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกจากนี้ การ
ปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย การรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้ ผลกระทบจาก
มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ ขณะที่ ผลกระทบจากเศรษฐกิจ
มหภาคโดยรวมที่อาจส่งผลกระทบกับภาคการผลิตและส่งออกได้ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นกระทบภาคการส่งออก เป็นต้น
หมายเหตุ (1) SIA 2006 Year End Results and Industry Short-Term Out Look Webcast February 2,2007
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-