ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุ ปี 50 มีเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศเข้ากลุ่มประเทศเอเชียถึง 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานข่าว
จากสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยยอดเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิล่าสุดสิ้นเดือน ก.ค.ของประเทศไทยและ
ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียโดย ณ สิ้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าสุทธิในกลุ่มเอเชียเกิดใหม่ 6 ประเทศ ทั้งสิ้น 15,537.2 ล้านดอลลาร์
สรอ. โดยไหลเข้าประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 3 ของกลุ่ม 3,428 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 116,552 ล้านบาท (34 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.)
ขณะที่อินเดียมีเงินไหลเข้าสูงสุดในภูมิภาค 9,188.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามมาด้วยไต้หวัน 5,998 ล้านดอลลาร์ สรอ. ฟิลิปปินส์
1,883.99 ล้านดอลลาร์ สรอ. อินโดนีเซีย 1,758.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับเกาหลีใต้มียอดเงินไหลออกทั้งสิ้น 7,073 ล้านดอลลาร์
สรอ. อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเงินไหลเข้าตั้งแต่ต้นปี 50 จนถึง 2 สัปดาห์แรกของเดือน ก.ค.มีเงินทุนไหลเข้าเอเชียทั้ง 6 ประเทศ
ทั้งสิ้น 25,174 ล้านดอลลาร์ สรอ. เข้าไต้หวันมากที่สุด 10,521 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามด้วยอินเดีย 7,675.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ไทยเป็นอันดับ 3 มีเงินไหลเข้า 3,677.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 125,028.2 ล้านบาท ฟิลิปปินส์ 1,823.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.
อินโดนีเซีย 1,619.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่เกาหลีใต้มีเงินไหลออก 497 ล้านดอลลาร์ สรอ. (แนวหน้า, ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ยอดจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.รุ่น 1 ถึง 75,000 ล้านบาท ผอส. ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ธปท.ได้เปิดจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.รุ่น 1 ประเภทออมทรัพย์อายุ 4 ปี ดอกเบี้ย
ร้อยละ 4.25 และอายุ 7 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 5 วงเงิน 40,000 ล้านบาท เป็นวันแรกเมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีประชาชน
ให้ความสนใจยื่นจองซื้อเป็นจำนวนมากถึง 75,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ธปท.พร้อมพิจารณาออกพันธบัตรเพิ่มเติม ส่วนจะเป็นวงเงินเพิ่ม
เท่าไหร่นั้น จะต้องขอพิจารณาอีกครั้ง (แนวหน้า, มติชน, ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท.เตือนค่าเงินบาทมีสิทธิผันผวนรอบใหม่ ผอส.ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวว่า แม้ว่าค่าเงินบาทช่วงนี้เคลื่อนไหวค่อนข้างมีเสถียรภาพ แต่มีโอกาสที่เงินบาทจะกลับมาผันผวนอย่างรุนแรงเหมือนช่วงก่อนหน้าได้อีก
เนื่องจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของ สรอ.ยังไม่จบลงทั้งหมด เพียงแค่ธนาคารกลางบางประเทศอัดฉีดสภาพคล่อง
เข้าระบบ ดังนั้น อาจจะเกิดปัญหาขึ้นอีกรอบก็เป็นได้ (มติชน)
4. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 มิ.ย.50 ลดลง 43,166 ล้านบาท ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิ.ย.50 มีจำนวน 3,168,426 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.72 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) หนี้สาธารณะ
ลดลง 43,166 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยลดลง 34,081 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 7,401 ล้านบาท
และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ลดลง 16,486 ล้านบาท ทั้งนี้ การลดลงของหนี้สาธารณะมีสาเหตุสำคัญจาก
การไถ่ถอนตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนด 5 หมื่นล้านบาท และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ชำระคืนเงินกู้จากตลาดซื้อคืนสุทธิ 16,491 ล้านบาท ส่วนหนี้
ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นหลัก ๆ เนื่องจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตร
วงเงินรวม 12,556 ล้านบาท สำหรับหนี้สาธารณะแยกเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2 ล้านล้านบาท เป็นหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
891,014 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 200,120 ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 45,716 ล้านบาท (แนวหน้า, มติชน,
โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
5. ไทยนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วง 7 เดือนปี 50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.17 รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลข
การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคช่วง 7 เดือนแรกปี 50 (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 6.32 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.75 จาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายการ สินค้าฟุ่มเฟือยซึ่งมีทั้งหมด 17 รายการที่อยู่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคพบว่า มีการนำเข้า
ขยายตัวถึงร้อยละ 20.17 มูลค่า 3.26 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ ผอ.สำนักบริหารการนำเข้า (สบน.) กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า
การนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ เช่น จีน รวมถึงการนำเข้าตามรสนิยมของผู้บริโภคไทย
ที่ยังยึดติดแบรนด์จากต่างประเทศ และผลของเงินบาทแข็งค่าทำให้ราคาสินค้าฟุ่มเฟือยลดลง ซึ่งแนวทางการแก้ไขยังทำได้ยาก เพราะค่านิยม
และกำลังซื้อของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน (มติชน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เยอรมนีจะควบคุมการส่งออกสัตว์ปีกหลังจากพบการระบาดของโรคไข้หวัดนก รายงานจากHamburg เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 50
รมว.เกษตรของเยอรมนีเปิดเผยว่า การพบการระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N1 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วจะส่งผลให้สหภาพยุโรปเข้มงวดการส่งออกเป็ด
ไก่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ปีกในภูมิภาค ทั้งนี้คาดว่ากรรมาธิการสหภาพยุโรปจะประกาศห้ามการส่งออกเป็ดไก่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเป็ดไก่
ในรัศมี 13 กม. โดยรอบฟาร์มในรัฐทางตอนใต้ของ Bavaria ที่พบการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N1 เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้
ยังคงมีมาตรการตรวจสอบในฟาร์มที่พบเชื้อไข้หวัดนกหลังจากที่พบเป็ดมากกว่า 400 ตัวตายภายในระยะเวลาอันสั้น ก่อนหน้านั้นในช่วงเดือน มิ.ย.
และ ก.ค. เยอรมนีได้พบนกป่าที่ตายจากเชื้อไข้หวัดนก H5N1ใน Bavaria และรัฐอื่นๆ แต่ไม่พบในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อการค้า ขณะที่รัสเซีย
ได้สั่งห้ามนำเข้าเป็ดไก่จากอิตาลีเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกหลังจากเกิดการระบาดขึ้น ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N1
ได้คร่าชีวิตคนไปแล้ว 195 คนทั่วโลกจากที่พบผู้ติดเชื้อ 322 คนและตามรายงานขององค์การอนามัยโลกได้มีการทำลายสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไข้หวัดนก
H5N1ไปแล้วหลายร้อยล้านตัวซึ่งส่วนใหญ่เกิดในภูมิภาคเอเชียแต่ในยุโรปไม่มีการรายงาน ณ ขณะนี้ (รอยเตอร์)
2. ไตรมาสที่ 2 ปี 50 ดัชนีชี้วัดภาคบริการของสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 15.6 เทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 27 ส.ค.50
The Department of Statistics เปิดเผยว่า The Business receipts index ซึ่งเป็นดัชนีสำหรับชี้วัดการเติบโตของภาคบริการ
สิงคโปร์ (โดยวัดจากรายได้ของภาคธุรกิจบริการ ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่ง การสื่อสาร การรักษาพยาบาล อสังหาริมทรัพย์ การเงิน
และประกันภัย) ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 15.6 เทียบต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการเติบโตของธุรกิจบริการ
ทางการเงินและประกันภัย รวมถึงบริการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หลังจากขยายตัวร้อยละ 11.7 เทียบต่อปีในไตรมาสแรก ส่วนดัชนีเมื่อ
ไม่รวมธุรกิจบริการทางการเงินและประกันภัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เทียบต่อปี เป็นผลจากการขยายตัวของธุรกิจบริการทางการศึกษา
และการดูแลสุขภาพ ขณะที่เมื่อเทียบต่อไตรมาส The Business receipts index เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 สวนทางกับไตรมาสก่อนหน้าที่
ลดลงร้อยละ 3.5 อนึ่ง ภาคบริการของสิงคโปร์ซึ่งมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 69 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ ขยายตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 47 นับเป็น
การชดเชยกับภาวะผันผวนของภาคการผลิตสิงคโปร์ (รอยเตอร์)
3. ทางการสิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อปี 50 เป็นร้อยละ 1-2 ต่อปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 28 ส.ค.50
ทางการสิงคโปร์เปิดเผยว่า ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในปี 50 เป็นร้อยละ 1-2 ต่อปี สูงกว่าประมาณการครั้งก่อนซึ่ง
อยู่ที่ร้อยละ 0.5-1.5 ต่อปี หลังจากอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค.50 สูงขึ้นถึงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบต่อเดือน ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการขึ้น
อัตราภาษี VAT จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.50, ราคาอสังหาริมทรัพย์และค่าจ้างที่สูงขึ้น นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ทางการสิงคโปร์ยังได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 50 เป็นร้อยละ 7-8 จากเดิมร้อยละ 5-7 หลังจากที่ภาค
การก่อสร้างและภาคการเงินขยายตัวอย่างรวดเร็วจนส่งผลให้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาขยายตัวถึงร้อยละ 14.4 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.50 จะขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน รายงานจากโซล
เมื่อ 27 ส.ค.50 ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้จะขยายตัวหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.4 ต่อเดือน
แม้ว่าจะชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อเดือนในเดือน มิ.ย.50
1.0 ต่อเดือนในเดือน พ.ค.50 และร้อยละ 3.2 ต่อเดือนในเดือน เม.ย.50 โดยนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือน
เม.ย.45 ทั้งนี้ เป็นผลจากการส่งออกไปยังจีนและประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวเร็วอื่น ๆ ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีชดเชยกับยอดส่งออกไปยัง
สรอ.ที่คาดว่าจะชะลอตัวลงจากผลกระทบของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ โดยหากเทียบต่อปีแล้ว คาดว่าผลผลิตในเดือน ก.ค.50 จะขยายตัว
ร้อยละ 12.0 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.49 ซึ่งนักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่าเป็นผลมาจากผลผลิตในเดือน ก.ค.49 ที่ลดลงมากโดย
ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.9 ต่อปีจากการนัดหยุดงานของคนงานในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ และจากแนวโน้มเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ยังขยายตัวดี
ทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา หลังจากที่เพิ่งขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว นับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน
เป็นครั้งแรก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ส.ค. 50 27 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.363 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1374/34.4734 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37250 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 791.17/11.21 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.56 66.90 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุ ปี 50 มีเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศเข้ากลุ่มประเทศเอเชียถึง 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานข่าว
จากสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยยอดเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิล่าสุดสิ้นเดือน ก.ค.ของประเทศไทยและ
ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียโดย ณ สิ้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าสุทธิในกลุ่มเอเชียเกิดใหม่ 6 ประเทศ ทั้งสิ้น 15,537.2 ล้านดอลลาร์
สรอ. โดยไหลเข้าประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 3 ของกลุ่ม 3,428 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 116,552 ล้านบาท (34 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.)
ขณะที่อินเดียมีเงินไหลเข้าสูงสุดในภูมิภาค 9,188.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามมาด้วยไต้หวัน 5,998 ล้านดอลลาร์ สรอ. ฟิลิปปินส์
1,883.99 ล้านดอลลาร์ สรอ. อินโดนีเซีย 1,758.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับเกาหลีใต้มียอดเงินไหลออกทั้งสิ้น 7,073 ล้านดอลลาร์
สรอ. อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเงินไหลเข้าตั้งแต่ต้นปี 50 จนถึง 2 สัปดาห์แรกของเดือน ก.ค.มีเงินทุนไหลเข้าเอเชียทั้ง 6 ประเทศ
ทั้งสิ้น 25,174 ล้านดอลลาร์ สรอ. เข้าไต้หวันมากที่สุด 10,521 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามด้วยอินเดีย 7,675.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ไทยเป็นอันดับ 3 มีเงินไหลเข้า 3,677.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 125,028.2 ล้านบาท ฟิลิปปินส์ 1,823.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.
อินโดนีเซีย 1,619.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่เกาหลีใต้มีเงินไหลออก 497 ล้านดอลลาร์ สรอ. (แนวหน้า, ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ยอดจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.รุ่น 1 ถึง 75,000 ล้านบาท ผอส. ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ธปท.ได้เปิดจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.รุ่น 1 ประเภทออมทรัพย์อายุ 4 ปี ดอกเบี้ย
ร้อยละ 4.25 และอายุ 7 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 5 วงเงิน 40,000 ล้านบาท เป็นวันแรกเมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีประชาชน
ให้ความสนใจยื่นจองซื้อเป็นจำนวนมากถึง 75,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ธปท.พร้อมพิจารณาออกพันธบัตรเพิ่มเติม ส่วนจะเป็นวงเงินเพิ่ม
เท่าไหร่นั้น จะต้องขอพิจารณาอีกครั้ง (แนวหน้า, มติชน, ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท.เตือนค่าเงินบาทมีสิทธิผันผวนรอบใหม่ ผอส.ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวว่า แม้ว่าค่าเงินบาทช่วงนี้เคลื่อนไหวค่อนข้างมีเสถียรภาพ แต่มีโอกาสที่เงินบาทจะกลับมาผันผวนอย่างรุนแรงเหมือนช่วงก่อนหน้าได้อีก
เนื่องจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของ สรอ.ยังไม่จบลงทั้งหมด เพียงแค่ธนาคารกลางบางประเทศอัดฉีดสภาพคล่อง
เข้าระบบ ดังนั้น อาจจะเกิดปัญหาขึ้นอีกรอบก็เป็นได้ (มติชน)
4. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 มิ.ย.50 ลดลง 43,166 ล้านบาท ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิ.ย.50 มีจำนวน 3,168,426 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.72 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) หนี้สาธารณะ
ลดลง 43,166 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยลดลง 34,081 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 7,401 ล้านบาท
และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ลดลง 16,486 ล้านบาท ทั้งนี้ การลดลงของหนี้สาธารณะมีสาเหตุสำคัญจาก
การไถ่ถอนตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนด 5 หมื่นล้านบาท และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ชำระคืนเงินกู้จากตลาดซื้อคืนสุทธิ 16,491 ล้านบาท ส่วนหนี้
ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นหลัก ๆ เนื่องจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตร
วงเงินรวม 12,556 ล้านบาท สำหรับหนี้สาธารณะแยกเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2 ล้านล้านบาท เป็นหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
891,014 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 200,120 ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 45,716 ล้านบาท (แนวหน้า, มติชน,
โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
5. ไทยนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วง 7 เดือนปี 50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.17 รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลข
การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคช่วง 7 เดือนแรกปี 50 (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 6.32 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.75 จาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายการ สินค้าฟุ่มเฟือยซึ่งมีทั้งหมด 17 รายการที่อยู่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคพบว่า มีการนำเข้า
ขยายตัวถึงร้อยละ 20.17 มูลค่า 3.26 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ ผอ.สำนักบริหารการนำเข้า (สบน.) กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า
การนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ เช่น จีน รวมถึงการนำเข้าตามรสนิยมของผู้บริโภคไทย
ที่ยังยึดติดแบรนด์จากต่างประเทศ และผลของเงินบาทแข็งค่าทำให้ราคาสินค้าฟุ่มเฟือยลดลง ซึ่งแนวทางการแก้ไขยังทำได้ยาก เพราะค่านิยม
และกำลังซื้อของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน (มติชน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เยอรมนีจะควบคุมการส่งออกสัตว์ปีกหลังจากพบการระบาดของโรคไข้หวัดนก รายงานจากHamburg เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 50
รมว.เกษตรของเยอรมนีเปิดเผยว่า การพบการระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N1 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วจะส่งผลให้สหภาพยุโรปเข้มงวดการส่งออกเป็ด
ไก่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ปีกในภูมิภาค ทั้งนี้คาดว่ากรรมาธิการสหภาพยุโรปจะประกาศห้ามการส่งออกเป็ดไก่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเป็ดไก่
ในรัศมี 13 กม. โดยรอบฟาร์มในรัฐทางตอนใต้ของ Bavaria ที่พบการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N1 เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้
ยังคงมีมาตรการตรวจสอบในฟาร์มที่พบเชื้อไข้หวัดนกหลังจากที่พบเป็ดมากกว่า 400 ตัวตายภายในระยะเวลาอันสั้น ก่อนหน้านั้นในช่วงเดือน มิ.ย.
และ ก.ค. เยอรมนีได้พบนกป่าที่ตายจากเชื้อไข้หวัดนก H5N1ใน Bavaria และรัฐอื่นๆ แต่ไม่พบในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อการค้า ขณะที่รัสเซีย
ได้สั่งห้ามนำเข้าเป็ดไก่จากอิตาลีเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกหลังจากเกิดการระบาดขึ้น ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N1
ได้คร่าชีวิตคนไปแล้ว 195 คนทั่วโลกจากที่พบผู้ติดเชื้อ 322 คนและตามรายงานขององค์การอนามัยโลกได้มีการทำลายสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไข้หวัดนก
H5N1ไปแล้วหลายร้อยล้านตัวซึ่งส่วนใหญ่เกิดในภูมิภาคเอเชียแต่ในยุโรปไม่มีการรายงาน ณ ขณะนี้ (รอยเตอร์)
2. ไตรมาสที่ 2 ปี 50 ดัชนีชี้วัดภาคบริการของสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 15.6 เทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 27 ส.ค.50
The Department of Statistics เปิดเผยว่า The Business receipts index ซึ่งเป็นดัชนีสำหรับชี้วัดการเติบโตของภาคบริการ
สิงคโปร์ (โดยวัดจากรายได้ของภาคธุรกิจบริการ ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่ง การสื่อสาร การรักษาพยาบาล อสังหาริมทรัพย์ การเงิน
และประกันภัย) ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 15.6 เทียบต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการเติบโตของธุรกิจบริการ
ทางการเงินและประกันภัย รวมถึงบริการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หลังจากขยายตัวร้อยละ 11.7 เทียบต่อปีในไตรมาสแรก ส่วนดัชนีเมื่อ
ไม่รวมธุรกิจบริการทางการเงินและประกันภัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เทียบต่อปี เป็นผลจากการขยายตัวของธุรกิจบริการทางการศึกษา
และการดูแลสุขภาพ ขณะที่เมื่อเทียบต่อไตรมาส The Business receipts index เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 สวนทางกับไตรมาสก่อนหน้าที่
ลดลงร้อยละ 3.5 อนึ่ง ภาคบริการของสิงคโปร์ซึ่งมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 69 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ ขยายตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 47 นับเป็น
การชดเชยกับภาวะผันผวนของภาคการผลิตสิงคโปร์ (รอยเตอร์)
3. ทางการสิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อปี 50 เป็นร้อยละ 1-2 ต่อปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 28 ส.ค.50
ทางการสิงคโปร์เปิดเผยว่า ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในปี 50 เป็นร้อยละ 1-2 ต่อปี สูงกว่าประมาณการครั้งก่อนซึ่ง
อยู่ที่ร้อยละ 0.5-1.5 ต่อปี หลังจากอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค.50 สูงขึ้นถึงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบต่อเดือน ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการขึ้น
อัตราภาษี VAT จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.50, ราคาอสังหาริมทรัพย์และค่าจ้างที่สูงขึ้น นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ทางการสิงคโปร์ยังได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 50 เป็นร้อยละ 7-8 จากเดิมร้อยละ 5-7 หลังจากที่ภาค
การก่อสร้างและภาคการเงินขยายตัวอย่างรวดเร็วจนส่งผลให้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาขยายตัวถึงร้อยละ 14.4 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.50 จะขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน รายงานจากโซล
เมื่อ 27 ส.ค.50 ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้จะขยายตัวหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.4 ต่อเดือน
แม้ว่าจะชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อเดือนในเดือน มิ.ย.50
1.0 ต่อเดือนในเดือน พ.ค.50 และร้อยละ 3.2 ต่อเดือนในเดือน เม.ย.50 โดยนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือน
เม.ย.45 ทั้งนี้ เป็นผลจากการส่งออกไปยังจีนและประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวเร็วอื่น ๆ ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีชดเชยกับยอดส่งออกไปยัง
สรอ.ที่คาดว่าจะชะลอตัวลงจากผลกระทบของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ โดยหากเทียบต่อปีแล้ว คาดว่าผลผลิตในเดือน ก.ค.50 จะขยายตัว
ร้อยละ 12.0 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.49 ซึ่งนักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่าเป็นผลมาจากผลผลิตในเดือน ก.ค.49 ที่ลดลงมากโดย
ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.9 ต่อปีจากการนัดหยุดงานของคนงานในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ และจากแนวโน้มเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ยังขยายตัวดี
ทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา หลังจากที่เพิ่งขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว นับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน
เป็นครั้งแรก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ส.ค. 50 27 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.363 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1374/34.4734 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37250 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 791.17/11.21 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.56 66.90 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--