ภาวะผลผลิตภาคบริการในไตรมาส 1/2550 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าไตรมาสก่อนที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.9 เนื่องจากมีการขยายตัวของภาคการขนส่งและโทรคมนาคม ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 10 และร้อยละ 10.1 ตามลำดับเมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ภาคบริการด้านการค้าขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนมากกว่าไตรมาสที่แล้วซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ถือเป็นภาคส่วนที่ขยายตัวมากที่สุดในผลผลิตภาคบริการ
ภาวการณ์ส่งออกในไตรมาสที่ไตรมาส 1/2550 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 9.1 ลดลงจากไตรมาส 4/2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 13.0 เนื่องมาจากการส่งออกในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 52.8 ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 53.2 อุตสาหกรรมการผลิตแคโทด และผลิตภัณฑ์จากทองแดงขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 65.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 74.3 อนึ่งการส่งออก เสื้อผ้า ทองคำจากทองแดง น้ำมันดิบ ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งและความต้องการในตลาดโลกที่ลดลง ด้านภาวการณ์นำเข้ามีอัตราการนำเข้าหดตัวโดยอยู่ที่ร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ในไตรมาสนี้ฟิลิปปินส์เกินดุลที่ 54ป.8 พันล้านเปโซ
มาเลเซีย(7)
เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 1/2550 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วโดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.7 ในไตรมาสที่ 4/2549 เนื่องมาจากการส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนที่ลดลงแต่ภาครัฐได้มีการใช้จ่ายในการลงทุนมากขึ้นตามแผน The Ninth Malaysia Plan แต่ทั้งนี้มีปัจจัยบวกในด้านการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัว
ภาวะเงินเฟ้อในไตรมาส 1/2550 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากไตรมาสที่ 4/2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ลดลง และการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินริงกิตมาเลเซียส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าลดลง
(7) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2550
ภาวะผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1/2550 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่าไตรมาส 4/2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.3 เนื่องจากการผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ในไตรมาส 1/2550 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ต่ำลงโดยหดตัวที่ร้อยละ -3.9 จากเดิมในไตรมาส 4/2549 เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.3 ด้านอุตสาหกรรมปิโตรเลียมอยู่ที่ร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จากเดิมไตรมาสที่ 4/2549 อยู่ที่ร้อยละ 12.8 แต่ในอุตสาหกรรมยางยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มากกว่าไตรมาสที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 15.2
ภาวะการส่งออกในไตรมาสที่ไตรมาส 1/2550 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ลดลงจากไตรมาส 4/2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.6 เนื่องมาจากการส่งออกในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์หดตัวร้อยละ -1.9 ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ด้านภาวะการส่งออกยางขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 30.6 จากไตรมาสที่แล้วขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 29.8 ในการส่งออกสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้าหดตัวลงที่ -9.2 เนื่องจากการแข่งขันจากต่างประเทศที่สูง แต่การส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์เคมีและพลาสติก อาหารและบุหรี่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 31.9 และ 14.1 ตามลำดับ ด้านภาวะการนำเข้าในไตรมาสที่ไตรมาส 1/2550 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ลดลงจากไตรมาส 4/2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.8 เนื่องมาจากความต้องการด้านสินค้าทุนยังคงสูง แต่โดยรวมแล้วความต้องการสินค้านำเข้าลดลงจากไตรมาสก่อนโดยอยู่ที่ร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากไตรมาสที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 12.1
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวการณ์ส่งออกในไตรมาสที่ไตรมาส 1/2550 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 9.1 ลดลงจากไตรมาส 4/2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 13.0 เนื่องมาจากการส่งออกในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 52.8 ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 53.2 อุตสาหกรรมการผลิตแคโทด และผลิตภัณฑ์จากทองแดงขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 65.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 74.3 อนึ่งการส่งออก เสื้อผ้า ทองคำจากทองแดง น้ำมันดิบ ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งและความต้องการในตลาดโลกที่ลดลง ด้านภาวการณ์นำเข้ามีอัตราการนำเข้าหดตัวโดยอยู่ที่ร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ในไตรมาสนี้ฟิลิปปินส์เกินดุลที่ 54ป.8 พันล้านเปโซ
มาเลเซีย(7)
เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 1/2550 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วโดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.7 ในไตรมาสที่ 4/2549 เนื่องมาจากการส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนที่ลดลงแต่ภาครัฐได้มีการใช้จ่ายในการลงทุนมากขึ้นตามแผน The Ninth Malaysia Plan แต่ทั้งนี้มีปัจจัยบวกในด้านการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัว
ภาวะเงินเฟ้อในไตรมาส 1/2550 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากไตรมาสที่ 4/2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ลดลง และการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินริงกิตมาเลเซียส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าลดลง
(7) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2550
ภาวะผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1/2550 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่าไตรมาส 4/2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.3 เนื่องจากการผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ในไตรมาส 1/2550 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ต่ำลงโดยหดตัวที่ร้อยละ -3.9 จากเดิมในไตรมาส 4/2549 เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.3 ด้านอุตสาหกรรมปิโตรเลียมอยู่ที่ร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จากเดิมไตรมาสที่ 4/2549 อยู่ที่ร้อยละ 12.8 แต่ในอุตสาหกรรมยางยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มากกว่าไตรมาสที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 15.2
ภาวะการส่งออกในไตรมาสที่ไตรมาส 1/2550 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ลดลงจากไตรมาส 4/2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.6 เนื่องมาจากการส่งออกในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์หดตัวร้อยละ -1.9 ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ด้านภาวะการส่งออกยางขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 30.6 จากไตรมาสที่แล้วขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 29.8 ในการส่งออกสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้าหดตัวลงที่ -9.2 เนื่องจากการแข่งขันจากต่างประเทศที่สูง แต่การส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์เคมีและพลาสติก อาหารและบุหรี่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 31.9 และ 14.1 ตามลำดับ ด้านภาวะการนำเข้าในไตรมาสที่ไตรมาส 1/2550 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ลดลงจากไตรมาส 4/2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.8 เนื่องมาจากความต้องการด้านสินค้าทุนยังคงสูง แต่โดยรวมแล้วความต้องการสินค้านำเข้าลดลงจากไตรมาสก่อนโดยอยู่ที่ร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากไตรมาสที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 12.1
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-