กุ้งไทยงานหนักทวงคืนตลาดอียู

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 19, 2007 10:04 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          จากการที่ตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ที่ได้ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี) สินค้ากุ้งไทยเมื่อปี 2542 ต่อมาในปี 2545 อียูได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสารตกค้าง 100 % ก่อนจะประกาศยกเลิกมาตรการเหลือเพียงการสุ่มตรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 ทั้งสองเหตุการณ์ส่งผลให้การส่งออกกุ้งไปยังตลาดอียู ซึ่งเคยเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยลดลงอย่างมาก ล่าสุดในปี 2549 อียูได้คืนจีเอสพีสินค้ากุ้งให้ไทยเพื่อช่วยเหลือกรณีสึนามิ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ภาวะการแข่งขันตลาดกุ้งในอียูปี 2549 อินเดียเป็นประเทศผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ที่สุดไปอียู โดยมีส่วนแบ่งตลาดในปี่ที่ผ่านมา 29 % รองลงมาคือเอกวาดอร์ และบังคลาเทศ ส่วนจีนอยู่อันดับสี่ถือเป็นคู่แข่งที่มาแรงที่สุด ส่วนการส่งออกกุ้งไทยไปอียูในปีที่ผ่านมาอยู่อันดับที่ 17 มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 1%
ประธานกุล่มอุตสาหกรรมอาหาร และนายกสมาคมอาหารแข่เยือกแข็งไทย ได้ให้ความเห็นที่สอดคล้องกันว่า สาเหตุที่ไทยยังส่งออกกุ้งไปอียูไม่ได้มาก คือ
1. อียูเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก
2. อียูเองโดยเฉพาะสเปน อิตาลี ฝรั่งเศษ และอังกฤษ มีโรงงานแปรรูปกุ้งอยู่เป็น
จำนวนมาก ผลิตสินค้าขายทั่วยุโรป รวมถึงรัสเซีย ส่วนใหญ่ประเทศเหล่านี้จะนำเข้าวัตถุดิบกุ้งแช่แข็งจากประเทศที่มีราคาต่ำ เพื่อนำไปผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มส่งออกอีกต่อหนึ่ง
โดยอียูนำเข้ากุ้งจากอดีตประเทศอาณานิคม อาทิ มาดากัสการ์ เซเนกัล เอกวาดอร์ รวมถึงจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ขณะที่กุ้งไทยได้พัฒนาเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และสินค้าสำเร็จรูปแล้ว ทำให้อียูนำเข้ากุ้งไทยไม่มากนัก
ประเด็นวิเคราะห์
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลเร่งผลักดันการลงนามเอฟทีเอ ไทยกับญี่ปุ่น(JTEPA) ซึ่งเป็นตลาดสำคัญอีกตลาดหนึ่งเพราะตามข้อตกลงญี่ปุ่นจะลดภาษีสินค้ากุ้งลงเป็น 0 ทันที ณวันที่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ จะทำให้การส่งออกไปญี่ปุ่นได้มากขึ้น ซึ่งเป็นตัวช่วยอีกทางหนึ่ง
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ