วันนี้ 17 เม.ย. 50 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงเกี่ยวกับแนวโน้มการเมืองหลังเทศกาลสงกรานต์ว่าสถานการณ์ทางการเมืองของไทยเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนมีความรู้สึกวิตกกังวลถึงสถานการณ์โดยมีความไม่มั่นใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในบ้านเมือง โดยความวิตกกังวลนั้นเกิดขึ้นจากผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมืองจากเหตุปัจจัยหลายด้านอันประกอบด้วย 1. ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมากในระยะเวลา 5 — 6 เดือนที่ผ่านมา 2. ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรหลายกลุ่ม ทั้งที่เคยเดินทางเข้ามาเคลื่อนไหวเรียกร้องจากรัฐบาลรวมทั้งกลุ่มอื่น ๆ ที่กำลังจะเข้ามาหลังจากเทศกาลสงกรานต์ 3. ช่วงปลายเดือนเมย. — พ.ค. จะมีความชัดเจนมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาในเรื่องการตรวจสอบการทุจริตในการเอาผิดกับนักการเมืองในรัฐบาลชุดที่ผ่านมาหลายโครงการ 4.กรณีการพิจารณายุบพรรค ซึ่งจะมีการวินิจฉัยในวันที่ 30 พค.ที่จะถึงนี้ เหตุปัจจัยนี้อาจส่งผลกระทบทางการเมืองมากพอสมควร ซึ่งขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญว่าจะออกมาอย่างไร อาจจะมีการเคลื่อนไหวของนักการเมืองบางส่วนทั้งก่อนหน้าที่จะมีการพิจารณาวินิจฉัย หรือแม้แต่หลังจากการวินิจฉัยแล้ว 5.การคัดค้านต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินการในปัจจุบัน ซึ่งมีหลายกลุ่ม หลายองค์กร ที่ไม่พอใจในหลาย ๆ ประเด็นของการยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ และอาจมีการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะถึงช่วงเวลาของการทำประชามติ
จากเหตุปัจจัยดังกล่าวนายองอาจกล่าวว่าล้วนแล้วแต่ผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมืองทั้งสิ้น และย่อมส่งผลให้เกิดคลื่นใต้น้ำ และคลื่นเหนือน้ำอันทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย เพิ่มมากขึ้น โดยปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องเข้าไปจัดการแก้ไข เพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายและจะต้องเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมาให้ได้
“ผมคิดว่าภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ จะต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยความระมัดระวัง ต้องแยกแยะคลื่นใต้น้ำ คลื่นบนน้ำ การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ที่กำลังจะออกมาอย่างมาก ควรมีการจำแนกแยกแยะให้เห็นชัดเจนว่ากลุ่มไหนเป็นใคร อย่างไร จะต้องไม่เข้าไปแก้ไขปัญหาแบบเหมารวม หากเข้าไปแก้ไขปัญหาแบบนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มมากขึ้น” นายองอาจกล่าว
ทั้งนี้นายองอาจยังกล่าวต่อไปอีกว่าที่ผ่านมารัฐบาลตกเป็นฝ่ายตั้งรับ และประเมินสถานการณ์ผิดพลาดจากความเป็นจริงอย่างมาก ในหลาย ๆ กรณี ดังนั้นนายองอาจจึงเสนอแนะว่ารัฐบาลจะต้องไม่ประเมินสถานการณ์เกินจริง หรือต่ำกว่าความเป็นจริง
“จากการที่รัฐบาลประเมินสถานการณ์พลาดหลายครั้ง ทำให้แทนที่รัฐบาลจะเป็นฝ่ายรุกในการเข้าไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทำให้รัฐบาลนั้นตกเป็นฝ่ายตั้งรับมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายรุก การเคลื่อนไหวที่จะมีขึ้นหลังจากนี้ต่อไปอยู่ที่รัฐบาลจะต้องระมัดระวังอีกประการหนึ่งคือจะต้องไม่ตกหลุมพรางที่แต่ละฝ่าย แต่ละกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวนั้น อาจจะมีวาระซ่อนเร้นที่ขุดบ่อล่อปลารัฐบาลเอาไว้” นายองอาจกล่าว พร้อมทั้งยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขสถานการณ์การเมืองหลังเทศกาลสงกรานต์ที่จะรุมเร้ารัฐบาลอย่างมากอย่างมีสติรอบคอบ บนหลักของกฎหมาย รัฐบาลควรจะใช้ข้อมูลที่รอบด้านมาพิจารณาในการเข้าไปแก้ไขปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็จะช่วยให้วิกฤตปัญหาที่รุมเร้ารัฐบาลได้
สำหรับเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี นายองอาจแสดงความเห็นว่าการปรับคณะรัฐมนตรีเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ นายกรัฐมนตรีควรปรับวิธีการทำงานของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลด้วย เพื่อช่วยทำให้งานเกิดผลสำเร็จมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาในอดีต
“ต้องยอมรับความจริงนะครับว่ารัฐบาลชุดนี้มีปัญหาเรื่องของวิธีการทำงาน ถึงแม้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลายท่านในรัฐบาลชุดนี้จะมีความตั้งใจดีที่อยากจะเข้ามาทำงานแก้ไขปัญหาในช่วงระยะเวลาที่มีอยู่ไม่ยาวนานนักก็ตาม แต่เนื่องจากปัญหาในเรื่องวิธีการทำงาน จึงทำให้รัฐบาลไม่สามารถสร้างผลงานหรือทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความมั่นใจ พึงพอใจในการทำงานของรัฐบาลอย่างที่ควรจะเป็น” นายองอาจกล่าว
โดยนายองอาจเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ควรปรับลักษณะการทำงานพร้อม ๆ กับการปรับครม. โดยมีความชัดเจนในการกำหนดการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ จัดลำดับความสำคัญของงาน รวมถึงการเข้าไปบริหารการทำงานของกลไกของรัฐในส่วนต่าง ๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งข้าราชการให้สนองตอบต่อนโยบาย ต่อแนวทางการทำงานของรัฐบาล ที่ประกาศเอาไว้หลายเรื่องด้วยกัน นอกจากนี้นายองอาจยังเชื่อว่าหากนายกรัฐมนตรีปรับวิธีการทำงาน และปรับครม. เวลาที่เหลืออยู่ของรัฐบาลจะช่วยให้เห็นผลงานเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นการทำหน้าที่ของ กกต. จากที่ผ่านมาภายใต้การนำของ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ กกต. มีหน้าที่ทั้งในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ กล่าวคือทำหน้าที่บริหารจัดการการเลือกตั้ง ออกกฎเกณฑ์ กติกา ข้อบังคับต่าง ๆ ในการเลือกตั้ง และเป็นผู้วินิจฉัยตัดสินในการให้ใบเหลือง ใบแดงกับผู้สมัครในการเลือกตั้งด้วย ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ มีความเห็นว่าการวินิจฉัยที่จะลงโทษในการเลือกตั้ง อาทิ การให้ใบเหลือง ใบแดง ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น ควรจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น ที่ไม่ใช่ กกต. ทั้งนี้อาจให้มี ศาลเลือกตั้ง ศาลยุติธรรม ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ขึ้นมาเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งต่าง ๆ นายองอาจให้เหตุผลว่าหากองค์กรเดียวเป็นทั้งผู้รับเรื่องไปสืบสวน สอบสวน ออกกฎระเบียบ และตัดสินวินิจฉัยเองนั้น น่าจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ซึ่งได้พบเห็นในช่วงของ กกต.ชุดที่ผ่านมา
“ในการร่างรัฐธรรมนูญคราวนี้รวมทั้งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งนั้น ควรจะแยกการพิจารณาใบเหลือง ใบแดง ให้เป็นเรื่องของศาล ไม่ว่าจะเป็นการตั้งศาลเลือกตั้งขึ้นมาหรือจะใช้ศาลยุติธรรม หรือศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาก็ดีเป็นองค์กรในการพิจารณา ผมคิดว่าน่าจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรมมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา” นายองอาจกล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 เม.ย. 2550--จบ--
จากเหตุปัจจัยดังกล่าวนายองอาจกล่าวว่าล้วนแล้วแต่ผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมืองทั้งสิ้น และย่อมส่งผลให้เกิดคลื่นใต้น้ำ และคลื่นเหนือน้ำอันทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย เพิ่มมากขึ้น โดยปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องเข้าไปจัดการแก้ไข เพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายและจะต้องเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมาให้ได้
“ผมคิดว่าภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ จะต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยความระมัดระวัง ต้องแยกแยะคลื่นใต้น้ำ คลื่นบนน้ำ การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ที่กำลังจะออกมาอย่างมาก ควรมีการจำแนกแยกแยะให้เห็นชัดเจนว่ากลุ่มไหนเป็นใคร อย่างไร จะต้องไม่เข้าไปแก้ไขปัญหาแบบเหมารวม หากเข้าไปแก้ไขปัญหาแบบนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มมากขึ้น” นายองอาจกล่าว
ทั้งนี้นายองอาจยังกล่าวต่อไปอีกว่าที่ผ่านมารัฐบาลตกเป็นฝ่ายตั้งรับ และประเมินสถานการณ์ผิดพลาดจากความเป็นจริงอย่างมาก ในหลาย ๆ กรณี ดังนั้นนายองอาจจึงเสนอแนะว่ารัฐบาลจะต้องไม่ประเมินสถานการณ์เกินจริง หรือต่ำกว่าความเป็นจริง
“จากการที่รัฐบาลประเมินสถานการณ์พลาดหลายครั้ง ทำให้แทนที่รัฐบาลจะเป็นฝ่ายรุกในการเข้าไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทำให้รัฐบาลนั้นตกเป็นฝ่ายตั้งรับมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายรุก การเคลื่อนไหวที่จะมีขึ้นหลังจากนี้ต่อไปอยู่ที่รัฐบาลจะต้องระมัดระวังอีกประการหนึ่งคือจะต้องไม่ตกหลุมพรางที่แต่ละฝ่าย แต่ละกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวนั้น อาจจะมีวาระซ่อนเร้นที่ขุดบ่อล่อปลารัฐบาลเอาไว้” นายองอาจกล่าว พร้อมทั้งยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขสถานการณ์การเมืองหลังเทศกาลสงกรานต์ที่จะรุมเร้ารัฐบาลอย่างมากอย่างมีสติรอบคอบ บนหลักของกฎหมาย รัฐบาลควรจะใช้ข้อมูลที่รอบด้านมาพิจารณาในการเข้าไปแก้ไขปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็จะช่วยให้วิกฤตปัญหาที่รุมเร้ารัฐบาลได้
สำหรับเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี นายองอาจแสดงความเห็นว่าการปรับคณะรัฐมนตรีเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ นายกรัฐมนตรีควรปรับวิธีการทำงานของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลด้วย เพื่อช่วยทำให้งานเกิดผลสำเร็จมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาในอดีต
“ต้องยอมรับความจริงนะครับว่ารัฐบาลชุดนี้มีปัญหาเรื่องของวิธีการทำงาน ถึงแม้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลายท่านในรัฐบาลชุดนี้จะมีความตั้งใจดีที่อยากจะเข้ามาทำงานแก้ไขปัญหาในช่วงระยะเวลาที่มีอยู่ไม่ยาวนานนักก็ตาม แต่เนื่องจากปัญหาในเรื่องวิธีการทำงาน จึงทำให้รัฐบาลไม่สามารถสร้างผลงานหรือทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความมั่นใจ พึงพอใจในการทำงานของรัฐบาลอย่างที่ควรจะเป็น” นายองอาจกล่าว
โดยนายองอาจเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ควรปรับลักษณะการทำงานพร้อม ๆ กับการปรับครม. โดยมีความชัดเจนในการกำหนดการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ จัดลำดับความสำคัญของงาน รวมถึงการเข้าไปบริหารการทำงานของกลไกของรัฐในส่วนต่าง ๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งข้าราชการให้สนองตอบต่อนโยบาย ต่อแนวทางการทำงานของรัฐบาล ที่ประกาศเอาไว้หลายเรื่องด้วยกัน นอกจากนี้นายองอาจยังเชื่อว่าหากนายกรัฐมนตรีปรับวิธีการทำงาน และปรับครม. เวลาที่เหลืออยู่ของรัฐบาลจะช่วยให้เห็นผลงานเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นการทำหน้าที่ของ กกต. จากที่ผ่านมาภายใต้การนำของ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ กกต. มีหน้าที่ทั้งในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ กล่าวคือทำหน้าที่บริหารจัดการการเลือกตั้ง ออกกฎเกณฑ์ กติกา ข้อบังคับต่าง ๆ ในการเลือกตั้ง และเป็นผู้วินิจฉัยตัดสินในการให้ใบเหลือง ใบแดงกับผู้สมัครในการเลือกตั้งด้วย ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ มีความเห็นว่าการวินิจฉัยที่จะลงโทษในการเลือกตั้ง อาทิ การให้ใบเหลือง ใบแดง ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น ควรจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น ที่ไม่ใช่ กกต. ทั้งนี้อาจให้มี ศาลเลือกตั้ง ศาลยุติธรรม ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ขึ้นมาเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งต่าง ๆ นายองอาจให้เหตุผลว่าหากองค์กรเดียวเป็นทั้งผู้รับเรื่องไปสืบสวน สอบสวน ออกกฎระเบียบ และตัดสินวินิจฉัยเองนั้น น่าจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ซึ่งได้พบเห็นในช่วงของ กกต.ชุดที่ผ่านมา
“ในการร่างรัฐธรรมนูญคราวนี้รวมทั้งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งนั้น ควรจะแยกการพิจารณาใบเหลือง ใบแดง ให้เป็นเรื่องของศาล ไม่ว่าจะเป็นการตั้งศาลเลือกตั้งขึ้นมาหรือจะใช้ศาลยุติธรรม หรือศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาก็ดีเป็นองค์กรในการพิจารณา ผมคิดว่าน่าจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรมมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา” นายองอาจกล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 เม.ย. 2550--จบ--