ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ออกประกาศให้ บง.และ บค.บันทึกรายการเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสำหรับการคำนวณเงินกองทุน
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกประกาศถึงบริษัทเงินทุน (บง.) และบริษัท
เครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ทุกแห่ง ให้มีบันทึกรายการเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสำหรับการคำนวณเงินกองทุน ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่
1 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 และฉบับที่ 45 ของสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึก
บัญชีแบบใหม่ก่อนหน้านี้ และเพื่อให้การดำรงเงินกองทุนมีความถูกต้องและเป็นไปตามแนวทางเดียวกันทั้งระบบสถาบันการเงิน โดยการคำนวณ
เงินกองทุนของ บง.และ บค. จะใช้วิธีปรับงบการเงินย้อนหลังในการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี โดยให้นำกำไรสะสมที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากการ
ปรับงบการเงินย้อนหลังไปปรับปรุงกับรายการกำไรสุทธิคงเหลือหลังจากที่จัดสรรที่จะนับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินที่มี
ผลกระทบในรายการกำไรสะสมทำให้เงินกองทุนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ให้นำมาปรับเข้าหรือหักออกจากเงินกองทุนตามกฎหมายในงวดการบัญชีสิ้นสุด
วันที่ 30 มิ.ย.50 อย่างไรก็ตาม ธปท.เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีและการคำนวณเงินกองทุนดังกล่าวจะไม่มีผลย้อนหลังต่อการรายงาน
และการดำรงอัตราส่วนการกำกับดูแลต่างๆ เพราะ บง.และ บค. ได้ถือปฏิบัติก่อนประกาศฉบับนี้ออกมา (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.ระบุเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นไปตามค่าเงินเยน นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวถึงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 16 ก.พ. ว่า แข็งค่าขึ้นตามค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. โดย
ค่าเงินอื่นๆ ก็แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเปิดตลาดที่ระดับ 35.71 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น 0.14% จากวันที่
15 ก.พ. ส่วนค่าเงินบาทเทียบกับยูโรเปิดตลาดที่ 46.9051 บาท แข็งค่าขึ้น 0.10% จากวันก่อนหน้า ในส่วนภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายขณะนี้
หากพิจารณาจากอัตราแลกเปลี่ยน ถือว่าอยู่ในระดับปกติ (กรุงเทพธุรกิจ 17)
3. ก.คลังจัดทำ งปม.ปี 51 แบบขาดดุลต่อเนื่องอีก 1 ปี นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง เปิดเผยว่า จากการที่
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง เรียกประชุม 4 หน่วยงานหลักเพื่อพิจารณาจัดทำ งปม.ประจำปี 51 ประกอบด้วย
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ และ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายจัดทำ งปม.ขาดดุลต่อเนื่องไปอีก 1 ปี เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ในปีหน้าน้อยกว่ารายจ่ายที่จำเป็นต้องลงมาใน
ภาคเศรษฐกิจ ส่วนยอด งปม.จะขาดดุลเท่าไรยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่ง รมว.คลังได้สั่งการให้ สศค.ไปพิจารณายอดจัดเก็บภาษีของ 3 กรมจัดเก็บ ทั้ง
กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิตก่อน (ข่าวสด 17, กรุงเทพธุรกิจ 17)
4. ก.คลังเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.คลังอยู่ระหว่างการสรุปตัวเลข
เม็ดเงินเพื่อใช้ในการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยจะนำเสนอต่อ รมว.คลังภายในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินการจัดทำ
งปม.รายจ่ายประจำปี 51 ที่ต้องแล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.เช่นกัน สำหรับวงเงินที่จะใช้ในการเพิ่มทุนจะมาจาก งปม.ปี 51 ทั้งสิ้น เนื่องจาก
ก.คลังได้พิจารณาแล้วว่าในปี 50 เงินทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งหลายยังพอจะดำเนินธุรกิจไปได้ ทั้งนี้ ตัวเลขเบื้องต้นที่จะเสนอมีวงเงิน
ทั้งสิ้น 22,700 ล.บาท สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่จะได้รับการเพิ่มทุน ประกอบด้วย ธ.เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
จำนวน 2,700 ล.บาท ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำนวน 10,000 ล.บาท และ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
จำนวน 10,000 ล.บาท (ข่าวสด, มติชน)
5. สศค.อยู่ระหว่างทบทวนประมาณการจีดีพีปี 50 รองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.กำลังทบทวน
ประมาณการผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ปี 50 อยู่ โดยปัจจัยบวกที่มีผลต่อจีดีพีคือ ราคาน้ำมันที่ลดลงกว่าที่เคยคาดไว้ซึ่งส่งผลดีต่ออัตราเงินเฟ้อ
รวมถึงแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศที่คาดว่าจะลดลงมากกว่าที่คาดไว้เดิม ส่วนปัจจัยเสี่ยงคือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและการลงทุนที่ชะลอตัวลง
ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน นอกจากนี้ ต้องพิจารณาปัจจัยเรื่องการเบิกจ่าย งปม.ว่าจะเร่งได้มากน้อยเพียงใด
เพราะการเบิกจ่าย งปม.มีส่วนช่วยให้การใช้จ่ายในประเทศโดยรวมดีขึ้น และทำให้ความเชื่อมั่นของการบริโภคและการลงทุนดีขึ้นตามด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสรอ. ในเดือนก.พ. ลดลงอย่างผิดคาด รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่
16 ก.พ. 50 ผลการสำรวจร่วมกันระหว่างรอยเตอร์ และม.มิชิแกน พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของสรอ. ในเดือน ก.พ. ลดลงอย่างผิดคาดจาก
เดือน ม.ค. ที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่เดือนธ.ค. 47 เนื่องจากความวิตกเรื่องการว่างงาน และภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้
ตัวเลขเบื้องต้นจากการสำรวจพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 93.3 ลดลงจากระดับ 96.9 ในเดือน ม.ค. ซึ่งก่อนหน้า
นั้นนักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ก.พ.จะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 97.0 และต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 93.5 โดยได้รับผลกระทบจากความ
วิตกเรื่องการว่างงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำและประชาชนในเขตมิดเวส อย่างไรก็ตามการใช้จ่าย
บริโภคส่วนบุคคลในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์จะได้รับผลกระทบอย่างมากก็ตาม ส่วนผลการสำรวจดัชนีภาวะ
เศรษฐกิจปัจจุบันในเดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 108.3 ลดลงจากระดับ 111.0 ในเดือน ม.ค. เช่นเดียวกับดัชนีความคาดหวังผู้บริโภคที่ลดลงอยู่ที่
ระดับ 83.7 จากระดับ 87.6 ในเดือน ม.ค. ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อทั้งปีคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนดัชนีภาวะเงินเฟ้อระยะ
5 ปีอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงจากที่ยืนอยู่ระดับ 3.0 ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 เดือน (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 16 ก.พ.50
ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9
ในเดือน ธ.ค.49 ขณะที่นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะลดลงร้อยละ 0.5 ขณะที่เมื่อเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ส่วนดัชนีราคา
ผู้ผลิตพื้นฐาน (ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เทียบต่อปีทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงมากกว่าที่
คาดการณ์ไว้ เนื่องจากราคาพลังงานลดลงอย่างรวดเร็ว โดยในเดือน ม.ค.50 ลดลงถึงร้อยละ 4.6 เทียบกับเดือน ธ.ค.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.2 และเดือน พ.ย.49 ที่กระโดดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.0 (รอยเตอร์)
3. ยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 มีจำนวน 2.5 พันล้านยูโร รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 16 ก.พ.50
Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 ลดลงเหลือ 2.5 พันล้านยูโรหรือ
ประมาณ 3.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากยอดเกินดุล 5.1 พันล้านยูโรในเดือน พ.ย.49 โดยยอดส่งออกมีจำนวน 118.1 พันล้านยูโรเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.48 ในขณะที่ยอดนำเข้ามีจำนวน 115.7 พันล้านยูโรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.48
อย่างไรก็ดีเมื่อมองทั้งปี 49 แล้ว Euro zone มียอดขาดดุลการค้ารวม 8.2 พันล้านยูโร เทียบกับปี 48 ที่มียอดเกินดุลการค้าจำนวน
16.2 พันล้านยูโร ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูงตลอดทั้งปี 49 ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนแรก (ม.ค. — พ.ย.)
ของปี 49 Euro zone มียอดขาดดุลการค้าพลังงานถึง 227.5 พันล้านยูโร เทียบกับยอดขาดดุลจำนวน 181.3 พันล้านยูโรในช่วงเวลาเดียว
กันปี 48 โดยเป็นการขาดดุลกับรัสเซียซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าน้ำมันหลักของ Euro zone จำนวน 37.9 พันล้านยูโรในช่วง 11 เดือนแรกของปี 49
เพิ่มขึ้นจากจำนวน 29.6 พันล้านยูโรในช่วงเวลาเดียวกันปี 48 ทั้งนี้หากนับรวมทั้งสหภาพยุโรปซึ่งมีสมาชิกจำนวน 25 ประเทศแล้ว ยอด
ขาดดุลการค้าในเดือน ธ.ค.49 จะมีจำนวนรวม 7.3 พันล้านยูโร (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านในอังกฤษเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 19 ก.พ.50
Property Web site Rightmove ของอังกฤษเปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษเดือน ก.พ.50 เทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ลดลงจากร้อยละ
13.5 ในเดือน ม.ค.50 นับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นต่ำสุดตั้งแต่เดือน ต.ค.49 ซึ่งเป็นสัญญาณว่าตลาดเริ่มมีเสถียรภาพท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่ม
สูงขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังไม่ได้มีการปรับตัวเลขตามปัจจัยอื่นอีกหลายอย่าง แต่อัตราการเพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ. ดังกล่าวอ่อนตัวที่สุดนับตั้งแต่มี
การสำรวจความคิดเห็นในรอบ 5 ปี และให้ความเห็นว่าการที่ ธ.กลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 3 ครั้ง นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49
อาจจะกำลังเริ่มต้นทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยชะลอตัวลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อของราคาบ้านยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ในขณะที่ราคาบ้านในกรุงลอนดอน
ยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ก.พ. 50 16 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.724 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5240/35.8457 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.86625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 688.01/14.97 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) n.a. 11,150/11,250 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.64 54.17 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/23.34** 25.59*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ออกประกาศให้ บง.และ บค.บันทึกรายการเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสำหรับการคำนวณเงินกองทุน
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกประกาศถึงบริษัทเงินทุน (บง.) และบริษัท
เครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ทุกแห่ง ให้มีบันทึกรายการเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสำหรับการคำนวณเงินกองทุน ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่
1 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 และฉบับที่ 45 ของสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึก
บัญชีแบบใหม่ก่อนหน้านี้ และเพื่อให้การดำรงเงินกองทุนมีความถูกต้องและเป็นไปตามแนวทางเดียวกันทั้งระบบสถาบันการเงิน โดยการคำนวณ
เงินกองทุนของ บง.และ บค. จะใช้วิธีปรับงบการเงินย้อนหลังในการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี โดยให้นำกำไรสะสมที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากการ
ปรับงบการเงินย้อนหลังไปปรับปรุงกับรายการกำไรสุทธิคงเหลือหลังจากที่จัดสรรที่จะนับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินที่มี
ผลกระทบในรายการกำไรสะสมทำให้เงินกองทุนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ให้นำมาปรับเข้าหรือหักออกจากเงินกองทุนตามกฎหมายในงวดการบัญชีสิ้นสุด
วันที่ 30 มิ.ย.50 อย่างไรก็ตาม ธปท.เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีและการคำนวณเงินกองทุนดังกล่าวจะไม่มีผลย้อนหลังต่อการรายงาน
และการดำรงอัตราส่วนการกำกับดูแลต่างๆ เพราะ บง.และ บค. ได้ถือปฏิบัติก่อนประกาศฉบับนี้ออกมา (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.ระบุเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นไปตามค่าเงินเยน นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวถึงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 16 ก.พ. ว่า แข็งค่าขึ้นตามค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. โดย
ค่าเงินอื่นๆ ก็แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเปิดตลาดที่ระดับ 35.71 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น 0.14% จากวันที่
15 ก.พ. ส่วนค่าเงินบาทเทียบกับยูโรเปิดตลาดที่ 46.9051 บาท แข็งค่าขึ้น 0.10% จากวันก่อนหน้า ในส่วนภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายขณะนี้
หากพิจารณาจากอัตราแลกเปลี่ยน ถือว่าอยู่ในระดับปกติ (กรุงเทพธุรกิจ 17)
3. ก.คลังจัดทำ งปม.ปี 51 แบบขาดดุลต่อเนื่องอีก 1 ปี นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง เปิดเผยว่า จากการที่
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง เรียกประชุม 4 หน่วยงานหลักเพื่อพิจารณาจัดทำ งปม.ประจำปี 51 ประกอบด้วย
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ และ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายจัดทำ งปม.ขาดดุลต่อเนื่องไปอีก 1 ปี เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ในปีหน้าน้อยกว่ารายจ่ายที่จำเป็นต้องลงมาใน
ภาคเศรษฐกิจ ส่วนยอด งปม.จะขาดดุลเท่าไรยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่ง รมว.คลังได้สั่งการให้ สศค.ไปพิจารณายอดจัดเก็บภาษีของ 3 กรมจัดเก็บ ทั้ง
กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิตก่อน (ข่าวสด 17, กรุงเทพธุรกิจ 17)
4. ก.คลังเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.คลังอยู่ระหว่างการสรุปตัวเลข
เม็ดเงินเพื่อใช้ในการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยจะนำเสนอต่อ รมว.คลังภายในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินการจัดทำ
งปม.รายจ่ายประจำปี 51 ที่ต้องแล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.เช่นกัน สำหรับวงเงินที่จะใช้ในการเพิ่มทุนจะมาจาก งปม.ปี 51 ทั้งสิ้น เนื่องจาก
ก.คลังได้พิจารณาแล้วว่าในปี 50 เงินทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งหลายยังพอจะดำเนินธุรกิจไปได้ ทั้งนี้ ตัวเลขเบื้องต้นที่จะเสนอมีวงเงิน
ทั้งสิ้น 22,700 ล.บาท สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่จะได้รับการเพิ่มทุน ประกอบด้วย ธ.เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
จำนวน 2,700 ล.บาท ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำนวน 10,000 ล.บาท และ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
จำนวน 10,000 ล.บาท (ข่าวสด, มติชน)
5. สศค.อยู่ระหว่างทบทวนประมาณการจีดีพีปี 50 รองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.กำลังทบทวน
ประมาณการผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ปี 50 อยู่ โดยปัจจัยบวกที่มีผลต่อจีดีพีคือ ราคาน้ำมันที่ลดลงกว่าที่เคยคาดไว้ซึ่งส่งผลดีต่ออัตราเงินเฟ้อ
รวมถึงแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศที่คาดว่าจะลดลงมากกว่าที่คาดไว้เดิม ส่วนปัจจัยเสี่ยงคือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและการลงทุนที่ชะลอตัวลง
ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน นอกจากนี้ ต้องพิจารณาปัจจัยเรื่องการเบิกจ่าย งปม.ว่าจะเร่งได้มากน้อยเพียงใด
เพราะการเบิกจ่าย งปม.มีส่วนช่วยให้การใช้จ่ายในประเทศโดยรวมดีขึ้น และทำให้ความเชื่อมั่นของการบริโภคและการลงทุนดีขึ้นตามด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสรอ. ในเดือนก.พ. ลดลงอย่างผิดคาด รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่
16 ก.พ. 50 ผลการสำรวจร่วมกันระหว่างรอยเตอร์ และม.มิชิแกน พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของสรอ. ในเดือน ก.พ. ลดลงอย่างผิดคาดจาก
เดือน ม.ค. ที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่เดือนธ.ค. 47 เนื่องจากความวิตกเรื่องการว่างงาน และภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้
ตัวเลขเบื้องต้นจากการสำรวจพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 93.3 ลดลงจากระดับ 96.9 ในเดือน ม.ค. ซึ่งก่อนหน้า
นั้นนักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ก.พ.จะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 97.0 และต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 93.5 โดยได้รับผลกระทบจากความ
วิตกเรื่องการว่างงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำและประชาชนในเขตมิดเวส อย่างไรก็ตามการใช้จ่าย
บริโภคส่วนบุคคลในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์จะได้รับผลกระทบอย่างมากก็ตาม ส่วนผลการสำรวจดัชนีภาวะ
เศรษฐกิจปัจจุบันในเดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 108.3 ลดลงจากระดับ 111.0 ในเดือน ม.ค. เช่นเดียวกับดัชนีความคาดหวังผู้บริโภคที่ลดลงอยู่ที่
ระดับ 83.7 จากระดับ 87.6 ในเดือน ม.ค. ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อทั้งปีคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนดัชนีภาวะเงินเฟ้อระยะ
5 ปีอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงจากที่ยืนอยู่ระดับ 3.0 ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 เดือน (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 16 ก.พ.50
ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9
ในเดือน ธ.ค.49 ขณะที่นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะลดลงร้อยละ 0.5 ขณะที่เมื่อเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ส่วนดัชนีราคา
ผู้ผลิตพื้นฐาน (ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เทียบต่อปีทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงมากกว่าที่
คาดการณ์ไว้ เนื่องจากราคาพลังงานลดลงอย่างรวดเร็ว โดยในเดือน ม.ค.50 ลดลงถึงร้อยละ 4.6 เทียบกับเดือน ธ.ค.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.2 และเดือน พ.ย.49 ที่กระโดดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.0 (รอยเตอร์)
3. ยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 มีจำนวน 2.5 พันล้านยูโร รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 16 ก.พ.50
Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 ลดลงเหลือ 2.5 พันล้านยูโรหรือ
ประมาณ 3.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากยอดเกินดุล 5.1 พันล้านยูโรในเดือน พ.ย.49 โดยยอดส่งออกมีจำนวน 118.1 พันล้านยูโรเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.48 ในขณะที่ยอดนำเข้ามีจำนวน 115.7 พันล้านยูโรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.48
อย่างไรก็ดีเมื่อมองทั้งปี 49 แล้ว Euro zone มียอดขาดดุลการค้ารวม 8.2 พันล้านยูโร เทียบกับปี 48 ที่มียอดเกินดุลการค้าจำนวน
16.2 พันล้านยูโร ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูงตลอดทั้งปี 49 ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนแรก (ม.ค. — พ.ย.)
ของปี 49 Euro zone มียอดขาดดุลการค้าพลังงานถึง 227.5 พันล้านยูโร เทียบกับยอดขาดดุลจำนวน 181.3 พันล้านยูโรในช่วงเวลาเดียว
กันปี 48 โดยเป็นการขาดดุลกับรัสเซียซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าน้ำมันหลักของ Euro zone จำนวน 37.9 พันล้านยูโรในช่วง 11 เดือนแรกของปี 49
เพิ่มขึ้นจากจำนวน 29.6 พันล้านยูโรในช่วงเวลาเดียวกันปี 48 ทั้งนี้หากนับรวมทั้งสหภาพยุโรปซึ่งมีสมาชิกจำนวน 25 ประเทศแล้ว ยอด
ขาดดุลการค้าในเดือน ธ.ค.49 จะมีจำนวนรวม 7.3 พันล้านยูโร (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านในอังกฤษเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 19 ก.พ.50
Property Web site Rightmove ของอังกฤษเปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษเดือน ก.พ.50 เทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ลดลงจากร้อยละ
13.5 ในเดือน ม.ค.50 นับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นต่ำสุดตั้งแต่เดือน ต.ค.49 ซึ่งเป็นสัญญาณว่าตลาดเริ่มมีเสถียรภาพท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่ม
สูงขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังไม่ได้มีการปรับตัวเลขตามปัจจัยอื่นอีกหลายอย่าง แต่อัตราการเพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ. ดังกล่าวอ่อนตัวที่สุดนับตั้งแต่มี
การสำรวจความคิดเห็นในรอบ 5 ปี และให้ความเห็นว่าการที่ ธ.กลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 3 ครั้ง นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49
อาจจะกำลังเริ่มต้นทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยชะลอตัวลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อของราคาบ้านยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ในขณะที่ราคาบ้านในกรุงลอนดอน
ยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ก.พ. 50 16 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.724 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5240/35.8457 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.86625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 688.01/14.97 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) n.a. 11,150/11,250 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.64 54.17 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/23.34** 25.59*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--