ภายหลังการเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 150 ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) อย่างเป็นทางการเมื่อ
เดือนมกราคม 2550 เวียดนามได้รับการจับตามองมากที่สุดในฐานะประเทศที่จะก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งสำคัญในหลายอุตสาหกรรมของประเทศผู้ส่งออกทั่วโลก
รวมทั้งไทย ด้วยความได้เปรียบในหลายด้าน โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานมีราคาถูก และแรงงานมีศักยภาพสูงในการเรียนรู้ ตลอดจนการสนับสนุน
อย่างต่อเนื่องของรัฐบาลเวียดนามทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และการผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่าง
ประเทศ
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมของเวียดนามที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างโดดเด่นหลังเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO คือ อุตสาหกรรมแฟชั่น โดยเฉพาะ
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมรองเท้า ซึ่งล้วนเป็น อุตสาหกรรมที่เน้นใช้แรงงานในการผลิต จึงได้ประโยชน์จากความได้
เปรียบด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ (เฉลี่ยราว 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน) อีกทั้งยังได้รับอานิสงส์จากการลดอัตราภาษีและอุปสรรคทาง
การค้าต่าง ๆ ภายใต้กรอบ WTO ในการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่เวียดนามยังต้องพึ่งพาจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงมาก สำหรับราย
ละเอียดของการลดอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยสินค้าในกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าของเวียดนาม มีดังนี้
อุตสาหกรรม อัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ย อัตราภาษีนำเข้าที่ WTO อัตราภาษีนำเข้าที่ WTO
ปี 2548*(%) กำหนดในระยะเริ่มต้น (%) กำหนดในระยะสุดท้าย (%)
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 36.6 13.6 13.5
รองเท้า 45.0 35.8 27.2
หมายเหตุ : * อัตราภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียน
ที่มา : WTO, Vietnamese Authorities and IMF Staff Calculations
นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามยังมีกองทุนสนับสนุนการส่งออกเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน การตลาดการลงทุนเพื่อซื้อเครื่องจักร
และเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งให้การส่งเสริมการผลิตสินค้ากึ่งวัตถุดิบในประเทศ เช่น ผ้าผืนและด้าย รวมถึงการส่งเสริมการปลูกฝ้าย ทำให้มี
การคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า การส่งออกสินค้าแฟชั่นของเวียดนามในปี 2550 จะขยายตัวอย่างร้อนแรง ตามรายละเอียดดังนี้
รองเท้า คาดว่ามูลค่าส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 12.7 เป็น 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2550 เทียบกับ 3.55 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ ในปี 2549 ทั้งนี้ แม้ว่ารองเท้าจากเวียดนามจะถูกสหภาพยุโรป (European Union : EU) เก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping
Duty : AD) แต่เวียดนามยังสามารถขยายการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังตลาดหลักอื่น ๆ ได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรองเท้าหนัง ซึ่งสมาคมผู้ผลิตรองเท้า
หนังของเวียดนามคาดว่ามูลค่าส่งออกรองเท้าหนังไปสหรัฐฯ จะขยายตัวกว่าร้อยละ 40 ในปี 2550
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกสิ่งทออันดับ 16 ของโลก (ข้อมูลปี 2548) สำหรับในปี 2550 กระทรวงพาณิชย์
เวียดนามตั้งเป้าหมายอัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไว้ที่ร้อยละ 20 ด้วยมูลค่าสูงถึง 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ภายใต้
แผนพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอระยะ 5 ปี (2549-2553) รัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าหมายมูลค่าส่งออกสินค้าดังกล่าวไว้ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน
ปี 2553 ทั้งนี้ แม้ว่าสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มสำคัญของเวียดนามได้จำกัดปริมาณการนำเข้าสิ่งทอบางประเภทของเวียดนาม
ตามข้อตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศ ทำให้เวียดนามมีข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 กระทรวงการคลัง
ของเวียดนามได้อนุมัติยกเลิกค่าธรรมเนียมโควตาสำหรับผู้ผลิตสิ่งทอในประเทศที่ต้องการส่งออกไปสหรัฐฯ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ส่งออกพยายาม
รักษาและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ หากพิจารณาในอีกแง่มุมหนึ่ง ภาพลักษณ์ที่สดใสของอุตสาหกรรมแฟชั่นของเวียดนามอาจเป็นสัญญาณเตือนภัยสำหรับผู้ส่งออกไทยว่า
กำลังจะเผชิญกับคู่แข่งที่แข็งแกร่งขึ้นอีกหนึ่งรายนอกเหนือจากจีนซึ่งมีความได้เปรียบด้านต้นทุนแรงงานเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ
อุตสาหกรรมดังกล่าวนับเป็นโอกาสดีสำหรับนักลงทุนหรือผู้ส่งออกไทยที่ต้องการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทุกขณะ
ด้วยการย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนาม หรือจ้างโรงงานในเวียดนามผลิตสินค้าอีกทอดหนึ่ง รวมทั้งเปลี่ยนสถานภาพของเวียดนามจากคู่แข่งมาเป็นคู่
ค้าหรือพันธมิตรทางการค้าเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจบนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างกันต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2550--
-พห-
เดือนมกราคม 2550 เวียดนามได้รับการจับตามองมากที่สุดในฐานะประเทศที่จะก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งสำคัญในหลายอุตสาหกรรมของประเทศผู้ส่งออกทั่วโลก
รวมทั้งไทย ด้วยความได้เปรียบในหลายด้าน โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานมีราคาถูก และแรงงานมีศักยภาพสูงในการเรียนรู้ ตลอดจนการสนับสนุน
อย่างต่อเนื่องของรัฐบาลเวียดนามทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และการผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่าง
ประเทศ
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมของเวียดนามที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างโดดเด่นหลังเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO คือ อุตสาหกรรมแฟชั่น โดยเฉพาะ
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมรองเท้า ซึ่งล้วนเป็น อุตสาหกรรมที่เน้นใช้แรงงานในการผลิต จึงได้ประโยชน์จากความได้
เปรียบด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ (เฉลี่ยราว 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน) อีกทั้งยังได้รับอานิสงส์จากการลดอัตราภาษีและอุปสรรคทาง
การค้าต่าง ๆ ภายใต้กรอบ WTO ในการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่เวียดนามยังต้องพึ่งพาจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงมาก สำหรับราย
ละเอียดของการลดอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยสินค้าในกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าของเวียดนาม มีดังนี้
อุตสาหกรรม อัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ย อัตราภาษีนำเข้าที่ WTO อัตราภาษีนำเข้าที่ WTO
ปี 2548*(%) กำหนดในระยะเริ่มต้น (%) กำหนดในระยะสุดท้าย (%)
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 36.6 13.6 13.5
รองเท้า 45.0 35.8 27.2
หมายเหตุ : * อัตราภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียน
ที่มา : WTO, Vietnamese Authorities and IMF Staff Calculations
นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามยังมีกองทุนสนับสนุนการส่งออกเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน การตลาดการลงทุนเพื่อซื้อเครื่องจักร
และเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งให้การส่งเสริมการผลิตสินค้ากึ่งวัตถุดิบในประเทศ เช่น ผ้าผืนและด้าย รวมถึงการส่งเสริมการปลูกฝ้าย ทำให้มี
การคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า การส่งออกสินค้าแฟชั่นของเวียดนามในปี 2550 จะขยายตัวอย่างร้อนแรง ตามรายละเอียดดังนี้
รองเท้า คาดว่ามูลค่าส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 12.7 เป็น 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2550 เทียบกับ 3.55 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ ในปี 2549 ทั้งนี้ แม้ว่ารองเท้าจากเวียดนามจะถูกสหภาพยุโรป (European Union : EU) เก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping
Duty : AD) แต่เวียดนามยังสามารถขยายการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังตลาดหลักอื่น ๆ ได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรองเท้าหนัง ซึ่งสมาคมผู้ผลิตรองเท้า
หนังของเวียดนามคาดว่ามูลค่าส่งออกรองเท้าหนังไปสหรัฐฯ จะขยายตัวกว่าร้อยละ 40 ในปี 2550
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกสิ่งทออันดับ 16 ของโลก (ข้อมูลปี 2548) สำหรับในปี 2550 กระทรวงพาณิชย์
เวียดนามตั้งเป้าหมายอัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไว้ที่ร้อยละ 20 ด้วยมูลค่าสูงถึง 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ภายใต้
แผนพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอระยะ 5 ปี (2549-2553) รัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าหมายมูลค่าส่งออกสินค้าดังกล่าวไว้ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน
ปี 2553 ทั้งนี้ แม้ว่าสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มสำคัญของเวียดนามได้จำกัดปริมาณการนำเข้าสิ่งทอบางประเภทของเวียดนาม
ตามข้อตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศ ทำให้เวียดนามมีข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 กระทรวงการคลัง
ของเวียดนามได้อนุมัติยกเลิกค่าธรรมเนียมโควตาสำหรับผู้ผลิตสิ่งทอในประเทศที่ต้องการส่งออกไปสหรัฐฯ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ส่งออกพยายาม
รักษาและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ หากพิจารณาในอีกแง่มุมหนึ่ง ภาพลักษณ์ที่สดใสของอุตสาหกรรมแฟชั่นของเวียดนามอาจเป็นสัญญาณเตือนภัยสำหรับผู้ส่งออกไทยว่า
กำลังจะเผชิญกับคู่แข่งที่แข็งแกร่งขึ้นอีกหนึ่งรายนอกเหนือจากจีนซึ่งมีความได้เปรียบด้านต้นทุนแรงงานเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ
อุตสาหกรรมดังกล่าวนับเป็นโอกาสดีสำหรับนักลงทุนหรือผู้ส่งออกไทยที่ต้องการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทุกขณะ
ด้วยการย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนาม หรือจ้างโรงงานในเวียดนามผลิตสินค้าอีกทอดหนึ่ง รวมทั้งเปลี่ยนสถานภาพของเวียดนามจากคู่แข่งมาเป็นคู่
ค้าหรือพันธมิตรทางการค้าเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจบนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างกันต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2550--
-พห-