พลังประชาชน - พลังของใครเพื่อใคร
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
2 สิงหาคม 2550
ความจริงข่าวคราว เรื่อง กลุ่มไทยรักไทยเดิม ที่เป็นสายตรงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเชื่อมต่อกำลังทางการเมืองกับคุณสมัคร สุนทรเวช หรือกลุ่มสมัครนั้น เริ่มเป็นที่ระแคะระคายมากว่า 1 เดือนแล้ว เพียงแต่ในชั้นเริ่มแรก ดูจะเป็นข่าวคราวว่า กลุ่มไทยรักไทย อาจจะไปอาศัยพรรคประชากรไทย เป็นที่รวมพล ซึ่งก็ทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าจะเป็นไปได้หรือ ที่กลุ่มไทยรักไทย จะตกลงใจอย่างนั้น เพราะโดยสภาพจะแลดูเสมือนหนึ่งว่าต้องไปอาศัยพรรคประชากรไทยมากไป ซึ่งโดยวิสัยของคนอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ คงจะไม่ยอมทำเช่นนั้น
ในที่สุดหวยก็มาออกที่พรรคพลังประชาชนซึ่งแม้จะเป็นหนทางที่ไม่ต่างกัน แต่โดยที่พรรคพลังประชาชนยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกัน เพราะยังอยู่ในชั้นเพิ่งเริ่มต้น ความรู้สึกเสมือนหนึ่งไปอาศัยจึงไม่มีทั้งดูเหมือนสร้างใหม่โดย ไทยรักไทย มากกว่าเพราะจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองคาพยพ ภายในให้เป็นไปตามความประสงค์อย่างไรก็ย่อมได้
เรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอันมากในแง่มุมที่แตกต่างกันไป และที่ยังรู้สึกประหลาดใจว่าไม่น่าเป็นไปได้ก็มีอยู่
แต่สำหรับความเห็นของผม การเชื่อมต่อกำลังทางการเมืองระหว่างกลุ่มไทยรักไทย ของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับกลุ่มสมัคร ในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ แต่ประการใด เพราะถ้าหากยังจำกันได้ ในสมัยที่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเรืองอำนาจอยู่ ทั้งคู่ต่างมีความนิยมชมชอบซึ่งกันและเป็นกระบอกเสียงแทนกันมาโดยตลอด รวมทั้งยังมีองค์ประกอบทางการเมืองที่ลงตัวกันได้อย่างพอดี หลายประการด้วยกันทั้งในเรื่องบุคลิกภาพ และฐานความคิดทางการเมืองในเรื่องความรู้สึกมีศัตรูร่วมทางการเมือง รวมทั้งในเรื่องผลประโยชน์ร่วมทางการเมือง กล่าวคือ
1. ในเรื่องบุคลิกภาพและฐานความคิดทางการเมืองทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณสมัคร มีบุคลิกภาพและฐานความคิดทางการเมืองประเภทเดียวกัน คือต่างก็เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ถูกเสมอ ผิดไม่เป็น แพ้ไม่ได้ ความผิดพลาดเสียหายที่เกิดขึ้นต้องมีสาเหตุมาจากผู้อื่น หรือสิ่งอื่น ฐานความคิดทางการเมืองไม่ใช่เรื่องของทฤษฎีที่ตายตัว อาจคิดแบบขวาก็ได้ ซ้ายก็ได้ ตามแต่สถานการณ์ เพราะมิใช่ความมุ่งหมาย หากเป็นเพียงกลยุทธ์เพื่อรับใช้เป้าหมายที่มีตนเองเป็นศูนย์กลาง และที่มีความเหมือนกันสุด ๆ คือมีความจัดเจนในการทำการเมืองแบบเลือกข้างหรือแบ่งฝ่าย
2. ในเรื่องของความรู้สึกถึงความมีศัตรูร่วมทางการเมืองที่ตรงกัน ที่ใช้คำว่าความรู้สึกถึงความมีศัตรูร่วมก็เพราะว่าจะเป็นศัตรูจริงหรือไม่ก็สุดแท้แต่ แต่มีความรู้สึกว่าเป็นศัตรูที่จะต้องมีปฏิบัติการเอาคืน ข้อนี้ผมหมายถึงทั้งคู่ต่างมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และคตส. ด้วยกัน ทั้งนี้ก็โดยอาศัยหลักฐานอ้างอิง จากพฤติกรรมของการวิพากษ์วิจารณ์พลเอกเปรมฯ และกรรมการ คตส. หลายคนอย่างรุนแรง ในเวลาที่ผ่านมา
3. ในเรื่องของผลประโยชน์ร่วมทางการเมือง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่อยู่ในฐานะที่จะวางมือทางการเมืองได้ ซึ่งเรื่องนี้ใครก็ตามที่พอจะรู้ทันการเมืองและรู้ทัน พ.ต.ท.ทักษิณ จะเข้าใจได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าเจ้าตัวจะประกาศว่า วางมือแล้ว เลิกแล้ว สักกี่ครั้งก็ตาม เพราะโดยธรรมชาติของคนที่ผิดไม่เป็น แพ้ไม่ได้อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่งก็คือ ผลประโยชน์ที่เป็นทรัพย์สินจำนวนมากมายมหาศาลที่กำลังถูกไล่ล่า คือยังอยู่ระหว่างการติดตามตรวจสอบของ คตส. เพื่อเอาคืนมาเป็นของรัฐ หรือเพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่รัฐ และแม้จะถือได้ว่า ได้ดำเนินการตามกระบวนการโดยชอบด้วยกฎหมายไปแล้วก็ตาม แต่ด้วยความเชื่อมั่นของคนที่เคยมีอำนาจทางการเมืองและก็เคยใช้อำนาจทางการเมือง อย่างได้ผลมาแล้วก็ย่อมมีความเชื่อมั่นต่อไปว่า ด้วยอำนาจทางการเมืองเท่านั้นที่จะสร้างอำนาจต่อรองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ตนและครอบครัวได้ การเชื่อมต่อกำลังทางการเมือง เพื่อสร้างพลังอำนาจทางการเมืองจึงได้เกิดขึ้น
ในขณะที่ คุณสมัคร สุนทรเวช เองก็ตกอยู่ในฐานะเดียวกันคือกำลังอยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบโดย คตส. เหมือนกัน การเชื่อมต่อกำลังทางการเมืองเข้าด้วยกันดังกล่าวนี้ จึงเป็นไปในลักษณะของผลประโยชน์ร่วมคือต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ที่น่าพึงพอใจสำหรับตน
อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อกำลังทางการเมืองระหว่างกลุ่มไทยรักไทยเดิมสายตรงของพ.ต.ท.ทักษิณ กับคุณสมัคร สุนทรเวช หรือกลุ่มสมัคร ในครั้งนี้ นอกเหนือจากจะเป็นการรวมพลังของผู้นำทางการเมืองพันธุ์เดียวกัน อย่างลงตัวแล้ว ยังเป็นการส่งสัญญาณทางการเมืองในหลายเรื่องด้วยกันคือ
1. เป็นการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า ที่ใครต่อใครแม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณเอง พยายามบอกกล่าวต่อสังคมมาโดยตลอดว่า ได้วางมือจากการเมืองแล้วไม่ยุ่งเกี่ยวด้วยแล้ว เพื่อความสุขของครอบครัว และเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการสร้างสมานฉันท์ในชาตินั้นไม่ใช่ความจริงแน่นอน ทั้ง ๆ ที่เป็นสิทธิอันชอบธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่จะดำเนินการทางการเมืองต่อไปได้ เมื่อยังมีคุณสมบัติครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
2. นอกเหนือจากจะเป็นการส่งสัญญาณว่าไม่วางมือแล้ว ไม่เลิกแล้ว การเชื่อมต่อกำลังทางการเมืองกันในครั้งนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในอันที่จะทุ่มเทและรวบรวมสรรพกำลังที่มีอยู่ ยิ่งกว่าที่เคยกระทำมาแล้วเสียอีก เพื่อชัยชนะทางการเมืองของกลุ่มตน ซึ่งก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมอีกนั่นเอง เว้นแต่จะมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายบ้านเมือง
3. โดยบุคลิกภาพและฐานความคิดทางการเมืองของผู้นำร่วม (ไม่ใช่นอมินี) ซึ่งมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ผิดไม่เป็น แพ้ไม่ได้ และมีความจัดเจนในการทำการเมืองแบบแบ่งฝ่าย ประกอบกับความรู้สึกว่าจะต้องมีปฏิบัติการเอาคืน จะทำให้สถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งความจริงก็ร้อนมาก ๆ อยู่แล้ว มีความร้อนแรงมากยิ่งขึ้น และจะมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันมากยิ่งขึ้น
4. จะมีการทุ่มเทพลังเงิน เพื่อการเมืองมากยิ่งขึ้นมากกว่าในคราวเลือกตั้งที่ผ่านมาแม้จะมากอยู่แล้วก็ตาม
เหล่านี้คือ สัญญาณทางการเมืองที่พอจะคาดหมายได้ในขณะนี้ ซึ่งจะเรียกว่าเป็นการลองของ รัฐธรรมนูญใหม่ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง รวมทั้งยังเป็นการท้าทายผู้ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้เริ่มคิดอ่านทำการบ้านเพื่อเตรียมการไว้รองรับสถานการณ์ที่ร้อนแรงได้แล้วตั้งแต่บัดนี้.
********************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ส.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
2 สิงหาคม 2550
ความจริงข่าวคราว เรื่อง กลุ่มไทยรักไทยเดิม ที่เป็นสายตรงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเชื่อมต่อกำลังทางการเมืองกับคุณสมัคร สุนทรเวช หรือกลุ่มสมัครนั้น เริ่มเป็นที่ระแคะระคายมากว่า 1 เดือนแล้ว เพียงแต่ในชั้นเริ่มแรก ดูจะเป็นข่าวคราวว่า กลุ่มไทยรักไทย อาจจะไปอาศัยพรรคประชากรไทย เป็นที่รวมพล ซึ่งก็ทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าจะเป็นไปได้หรือ ที่กลุ่มไทยรักไทย จะตกลงใจอย่างนั้น เพราะโดยสภาพจะแลดูเสมือนหนึ่งว่าต้องไปอาศัยพรรคประชากรไทยมากไป ซึ่งโดยวิสัยของคนอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ คงจะไม่ยอมทำเช่นนั้น
ในที่สุดหวยก็มาออกที่พรรคพลังประชาชนซึ่งแม้จะเป็นหนทางที่ไม่ต่างกัน แต่โดยที่พรรคพลังประชาชนยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกัน เพราะยังอยู่ในชั้นเพิ่งเริ่มต้น ความรู้สึกเสมือนหนึ่งไปอาศัยจึงไม่มีทั้งดูเหมือนสร้างใหม่โดย ไทยรักไทย มากกว่าเพราะจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองคาพยพ ภายในให้เป็นไปตามความประสงค์อย่างไรก็ย่อมได้
เรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอันมากในแง่มุมที่แตกต่างกันไป และที่ยังรู้สึกประหลาดใจว่าไม่น่าเป็นไปได้ก็มีอยู่
แต่สำหรับความเห็นของผม การเชื่อมต่อกำลังทางการเมืองระหว่างกลุ่มไทยรักไทย ของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับกลุ่มสมัคร ในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ แต่ประการใด เพราะถ้าหากยังจำกันได้ ในสมัยที่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเรืองอำนาจอยู่ ทั้งคู่ต่างมีความนิยมชมชอบซึ่งกันและเป็นกระบอกเสียงแทนกันมาโดยตลอด รวมทั้งยังมีองค์ประกอบทางการเมืองที่ลงตัวกันได้อย่างพอดี หลายประการด้วยกันทั้งในเรื่องบุคลิกภาพ และฐานความคิดทางการเมืองในเรื่องความรู้สึกมีศัตรูร่วมทางการเมือง รวมทั้งในเรื่องผลประโยชน์ร่วมทางการเมือง กล่าวคือ
1. ในเรื่องบุคลิกภาพและฐานความคิดทางการเมืองทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณสมัคร มีบุคลิกภาพและฐานความคิดทางการเมืองประเภทเดียวกัน คือต่างก็เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ถูกเสมอ ผิดไม่เป็น แพ้ไม่ได้ ความผิดพลาดเสียหายที่เกิดขึ้นต้องมีสาเหตุมาจากผู้อื่น หรือสิ่งอื่น ฐานความคิดทางการเมืองไม่ใช่เรื่องของทฤษฎีที่ตายตัว อาจคิดแบบขวาก็ได้ ซ้ายก็ได้ ตามแต่สถานการณ์ เพราะมิใช่ความมุ่งหมาย หากเป็นเพียงกลยุทธ์เพื่อรับใช้เป้าหมายที่มีตนเองเป็นศูนย์กลาง และที่มีความเหมือนกันสุด ๆ คือมีความจัดเจนในการทำการเมืองแบบเลือกข้างหรือแบ่งฝ่าย
2. ในเรื่องของความรู้สึกถึงความมีศัตรูร่วมทางการเมืองที่ตรงกัน ที่ใช้คำว่าความรู้สึกถึงความมีศัตรูร่วมก็เพราะว่าจะเป็นศัตรูจริงหรือไม่ก็สุดแท้แต่ แต่มีความรู้สึกว่าเป็นศัตรูที่จะต้องมีปฏิบัติการเอาคืน ข้อนี้ผมหมายถึงทั้งคู่ต่างมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และคตส. ด้วยกัน ทั้งนี้ก็โดยอาศัยหลักฐานอ้างอิง จากพฤติกรรมของการวิพากษ์วิจารณ์พลเอกเปรมฯ และกรรมการ คตส. หลายคนอย่างรุนแรง ในเวลาที่ผ่านมา
3. ในเรื่องของผลประโยชน์ร่วมทางการเมือง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่อยู่ในฐานะที่จะวางมือทางการเมืองได้ ซึ่งเรื่องนี้ใครก็ตามที่พอจะรู้ทันการเมืองและรู้ทัน พ.ต.ท.ทักษิณ จะเข้าใจได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าเจ้าตัวจะประกาศว่า วางมือแล้ว เลิกแล้ว สักกี่ครั้งก็ตาม เพราะโดยธรรมชาติของคนที่ผิดไม่เป็น แพ้ไม่ได้อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่งก็คือ ผลประโยชน์ที่เป็นทรัพย์สินจำนวนมากมายมหาศาลที่กำลังถูกไล่ล่า คือยังอยู่ระหว่างการติดตามตรวจสอบของ คตส. เพื่อเอาคืนมาเป็นของรัฐ หรือเพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่รัฐ และแม้จะถือได้ว่า ได้ดำเนินการตามกระบวนการโดยชอบด้วยกฎหมายไปแล้วก็ตาม แต่ด้วยความเชื่อมั่นของคนที่เคยมีอำนาจทางการเมืองและก็เคยใช้อำนาจทางการเมือง อย่างได้ผลมาแล้วก็ย่อมมีความเชื่อมั่นต่อไปว่า ด้วยอำนาจทางการเมืองเท่านั้นที่จะสร้างอำนาจต่อรองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ตนและครอบครัวได้ การเชื่อมต่อกำลังทางการเมือง เพื่อสร้างพลังอำนาจทางการเมืองจึงได้เกิดขึ้น
ในขณะที่ คุณสมัคร สุนทรเวช เองก็ตกอยู่ในฐานะเดียวกันคือกำลังอยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบโดย คตส. เหมือนกัน การเชื่อมต่อกำลังทางการเมืองเข้าด้วยกันดังกล่าวนี้ จึงเป็นไปในลักษณะของผลประโยชน์ร่วมคือต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ที่น่าพึงพอใจสำหรับตน
อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อกำลังทางการเมืองระหว่างกลุ่มไทยรักไทยเดิมสายตรงของพ.ต.ท.ทักษิณ กับคุณสมัคร สุนทรเวช หรือกลุ่มสมัคร ในครั้งนี้ นอกเหนือจากจะเป็นการรวมพลังของผู้นำทางการเมืองพันธุ์เดียวกัน อย่างลงตัวแล้ว ยังเป็นการส่งสัญญาณทางการเมืองในหลายเรื่องด้วยกันคือ
1. เป็นการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า ที่ใครต่อใครแม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณเอง พยายามบอกกล่าวต่อสังคมมาโดยตลอดว่า ได้วางมือจากการเมืองแล้วไม่ยุ่งเกี่ยวด้วยแล้ว เพื่อความสุขของครอบครัว และเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการสร้างสมานฉันท์ในชาตินั้นไม่ใช่ความจริงแน่นอน ทั้ง ๆ ที่เป็นสิทธิอันชอบธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่จะดำเนินการทางการเมืองต่อไปได้ เมื่อยังมีคุณสมบัติครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
2. นอกเหนือจากจะเป็นการส่งสัญญาณว่าไม่วางมือแล้ว ไม่เลิกแล้ว การเชื่อมต่อกำลังทางการเมืองกันในครั้งนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในอันที่จะทุ่มเทและรวบรวมสรรพกำลังที่มีอยู่ ยิ่งกว่าที่เคยกระทำมาแล้วเสียอีก เพื่อชัยชนะทางการเมืองของกลุ่มตน ซึ่งก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมอีกนั่นเอง เว้นแต่จะมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายบ้านเมือง
3. โดยบุคลิกภาพและฐานความคิดทางการเมืองของผู้นำร่วม (ไม่ใช่นอมินี) ซึ่งมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ผิดไม่เป็น แพ้ไม่ได้ และมีความจัดเจนในการทำการเมืองแบบแบ่งฝ่าย ประกอบกับความรู้สึกว่าจะต้องมีปฏิบัติการเอาคืน จะทำให้สถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งความจริงก็ร้อนมาก ๆ อยู่แล้ว มีความร้อนแรงมากยิ่งขึ้น และจะมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันมากยิ่งขึ้น
4. จะมีการทุ่มเทพลังเงิน เพื่อการเมืองมากยิ่งขึ้นมากกว่าในคราวเลือกตั้งที่ผ่านมาแม้จะมากอยู่แล้วก็ตาม
เหล่านี้คือ สัญญาณทางการเมืองที่พอจะคาดหมายได้ในขณะนี้ ซึ่งจะเรียกว่าเป็นการลองของ รัฐธรรมนูญใหม่ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง รวมทั้งยังเป็นการท้าทายผู้ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้เริ่มคิดอ่านทำการบ้านเพื่อเตรียมการไว้รองรับสถานการณ์ที่ร้อนแรงได้แล้วตั้งแต่บัดนี้.
********************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ส.ค. 2550--จบ--