ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. การใช้บัตรเดบิตมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าบัตรเครดิตธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานระบบ
การชำระเงินประจำปี 49 โดยวิเคราะห์ถึงภาพรวมการใช้บัตรเอทีเอ็ม และบัตรเครดิตในปีที่ผ่านมา รวมถึงแนวโน้มในระยะต่อไปว่า ธพ.
ให้ความสำคัญกับการติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มเพิ่มมากขึ้น เพราะสามารถใช้เป็นธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่นเพื่อการโอนเงินและการชำระ
ค่าสินค้าและบริการ โดยปี 49 ธพ.ได้ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มจำนวนทั้งสิ้น 21,988 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 39% ขณะที่เครื่องสำหรับ
รูดบัตรเครดิตมีจำนวนทั้งสิ้น 208,492 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 104.84% เนื่องจากราคาเครื่องที่ถูกลงและการขยายธุรกิจด้านการ
รับชำระด้วยบัตรของ ธพ.มากขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมตลาดบัตรเครดิตและบัตรเดบิตจาก ธพ.และผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
(นอนแบงก์) ส่วนเมื่อพิจารณาในแง่การพิ่มขึ้นของบัตรประเภทต่างๆ จะพบว่า บัตรเอทีเอ็มมีจำนวน 30.9 ล้านใบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7%
ขณะที่บัตรเดบิตมีจำนวนทั้งสิ้น 14 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 26% ส่วนบัตรเครดิตมีจำนวนทั้งสิ้น 10.9 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 9.5% ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา
จำนวนบัตรเอทีเอ็มยังคงมีสัดส่วนสูงที่สุดคือ 55% แต่ปรับลดลงจากปีก่อนที่มีสัดส่วน 58% รองลงมาคือบัตรเดบิตคิดเป็น 25% เพิ่มขึ้นจาก
ปีก่อนที่มีสัดส่วน 22% ส่วนบัตรเครดิตมีสัดส่วนคงที่คือ 20% สำหรับแนวโน้มบ่งชี้ว่า ปัจจุบันลูกค้า ธพ.นิยมใช้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้น ขณะที่
บัตรเอทีเอ็มมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากใช้งานได้หลากหลายกว่า ทำให้ ธพ.หลายแห่งใช้นโยบายออกบัตรเครดิตให้ลูกค้าทดแทนการ
ออกบัตรเอทีเอ็ม พร้อมจัดรายการส่งเสริมการขายมากยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าในอนาคตบัตรเดบิตจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจนสูงกว่าบัตรเครดิต
(ข่าวสด, มติชน)
2. มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ค.50 ขยายตัว 20.9% จากปีก่อน รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศ
เดือน พ.ค.50 ว่ามีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 13,049.1 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 20.9% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนการ
ส่งออก 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 58,747.6 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 18.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับ
การนำเข้าเดือน พ.ค.มีมูลค่า 12,248 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 6.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้าช่วง
5 เดือนมีมูลค่า 53,420.7 ล.ดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้น 4.4% ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน พ.ค.เกินดุล 800 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ช่วง
5 เดือนเกินดุล 5,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค. ได้แก่ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรปริมาณ
เพิ่มขึ้น 7.9% มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 1.9% สินค้าอุตสาหกรรมมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 15% ส่วนกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ขยายตัวได้ดี
ทั้งนี้ ก.พาณิชย์เชื่อมั่นว่าการส่งออกทั้งปี จะขยายตัวตามเป้าหมายที่ 12.5% หรือมูลค่า 145,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน,
ไทยโพสต์, ข่าวสด, โพสต์ทูเดย์, มติชน)
3. ก.พาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 50 ว่าจะขยายตัว 2.0-2.5% รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ก.พาณิชย์คาดการณ์อัตรา
เงินเฟ้อปี 50 ว่าจะขยายตัว 2.0-2.5% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับปี 48 และ 49 ที่ขยายตัว 4.5 และ 4.7% โดยครึ่งปีหลัง
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่เฉลี่ย 2.4% ส่วนอัตราเฉลี่ย 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) ขยายตัว 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
นอกจากนี้ โฆษก ก.พาณิชย์ กล่าวว่า ก.พาณิชย์ได้กำหนดมาตรการต่างๆ สำหรับใช้ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อไม่ให้เงินเฟ้อสูงขึ้น
ประกอบด้วย มาตรการทางกฎหมาย มาตรการบริหาร มาตรการเสริม และมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้บริโภค โดยมาตรการทางกฎหมาย
ได้กำหนดสินค้าและบริการควบคุม 35 รายการ และกำหนดแนวทางการนำสินค้าเข้าสู่บัญชีควบคุมทันทีหากมีแนวโน้มราคาเคลื่อนไหวผิดปกติ
พร้อมเพิ่มโทษปรับกรณีไม่แสดงราคาสินค้า ส่วนมาตรการบริหาร ได้แก่ กำหนดสินค้าที่ติดตามดูแล 200 รายการ และกำกับดูแลราคาทั้งต้นทาง
และปลายทาง เข้มงวดการตรวจสอบราคาและปริมาณการขาย สำหรับมาตรการเสริมนั้น ได้ทำโครงการร้านอาหารพันธมิตรธงฟ้าขายสินค้า
ราคาถูกเพื่อลดรายจ่ายผู้บริโภค ขณะที่มาตรการเสริมภูมิคุ้มกันผู้บริโภคนั้น ได้สร้างเครือข่ายแม่บ้านธงฟ้า 1569 เพื่อสอดส่องพฤติกรรม
ทางการค้า และกำหนดโทษสำหรับการขายสินค้าสูงกว่าราคาควบคุม (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งต่อไปเป็นร้อยละ 5.75 ต่อปีในเดือน ก.ค.50 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 20 มิ.ย.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.50 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการสำรวจหลังจากเพิ่งมีการ
เผยแพร่รายงานการประชุมของ ธ.กลางอังกฤษครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาซึ่งแสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติ 5 ต่อ 4 เสียง
ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี โดยในการสำรวจครั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ 44 คนจาก 64 คนคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้น
อัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในเดือน ก.ค.50 นี้ ในขณะที่อีก 19 คนซึ่งเป็นจำนวนที่ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการเผยแพร่
รายงานการประชุมดังกล่าวข้างต้นคาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในเดือน ส.ค.50 และอีก 1 คนที่เหลือคาดว่าจะไม่มีการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยอีกในปีนี้ โดยนักเศรษฐศาสตร์ 18 คนจาก 64 คนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.0 ภายในปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 10 คน
จาก 58 คนในผลสำรวจครั้งก่อน โดยผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ามีโอกาสร้อยละ 90 ที่อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.75 ต่อปี
และโอกาสร้อยละ 40 ที่จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.0 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 80 และ 30 ตามลำดับในการสำรวจครั้งก่อน ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษ
พยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค.50 พุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 3.1 ต่อปีก่อนที่จะ
ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี แต่ปริมาณเงินในระบบกลับขยายตัวถึงร้อยละ 13.8 ต่อปีในเดือน พ.ค.50 สูงสุดนับตั้งแต่
เดือน ต.ค.49 (รอยเตอร์)
2. ยอดสินเชื่อจำนองของอังกฤษในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 5.8 พัน ล. ปอนด์ รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 50
สมาคมธนาคารพาณิชย์อังกฤษ (British Bankers’ Association - BBA) เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. ยอดสินเชื่อจำนองเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น
ประมาณ 5.8 พัน ล. ปอนด์จากที่เพิ่มขึ้น 5.1 พัน ล. ปอนด์ในเดือน เม.ย. มากที่สุดในรอบ 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน พ.ย. ที่สินเชื่อจำนอง
เพิ่มขึ้นมากกว่า 6 พัน ล. ปอนด์ และสูงกว่าค่าเฉลี่ยรายเดือนที่ระดับ 5.4 พัน ล. ปอนด์ บ่งชี้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศยังคง
ขยายตัวดีอยู่ แม้ว่าจะมีสัญญานของการชะลอตัวลงบ้าง เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.0 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.
ปีที่แล้ว ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวของเดือน พ.ค. แสดงให้เห็นว่าสินเชื่อจำนองและยอดการอนุมัติสินเชื่อชะลอลง ส่วนผลการสำรวจอื่นๆชี้ว่าการ
เพิ่มขึ้นของราคาบ้านได้ชะลอลงแล้ว ในขณะที่ราคาบ้านในแถบ South East และ Northern Ireland ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จาก
ภาวะเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
3. เยอรมนีกำหนดให้การขาดดุล งปม.ของประเทศในปีนี้ลดลงเหลือร้อยละ 0.5 ของจีดีพี รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศ
เยอรมนี เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.50 เอกสารเผยแพร่ของ ก.คลังเยอรมนี เปิดเผยว่า รัฐบาลเยอรมนีกำหนดให้การขาดดุล งปม.ของเยอรมนี
ในปีนี้ลดลงเหลือประมาณร้อยละ 0.5 ของจีดีพี และคงอยู่ในระดับนั้นในปี 51 และคาดว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 0 ในปี 52 และ 53
และจะเริ่มเพิ่มขึ้นเป็นเกินดุลเล็กน้อยในปี 54 ทั้งนี้ การขาดดุล งปม.ของเยอรมนีได้ลดลงเหลือร้อยละ 1.6 ของจีดีพีในปี 49 ซึ่งเป็นครั้งแรก
นับตั้งแต่ปี 44 ที่การขาดดุล งปม.อยู่ในระดับต่ำกว่าที่สหภาพยุโรปกำหนดให้ประเทศสมาชิกจัดทำ งปม. แบบขาดดุลได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของ
จีดีพี (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 21 มิ.ย.50
รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค.50 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 389.5 พันล้านเยน (3.16 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3
เทียบต่อปี (ก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเกินดุลจำนวน 448.5 พันล้านเยน หรือเกินดุลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.9
แต่หากเทียบต่อเดือน เกินดุลลดลงร้อยละ 26.5 ที่จำนวน 788.5 พันล้านเยน (หลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ทั้งนี้ สาเหตุที่ญี่ปุ่นเกินดุลในเดือน
พ.ค.น้อยกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากมีการส่งออกน้อยกว่านำเข้า โดยมีการส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 15.1 ที่จำนวน 6.5651 ล้านล้านเยน
เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ที่จำนวน 6.1755 ล้านล้านเยน เทียบกับที่ตลาด
คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 อนึ่ง ในเดือน พ.ค.ญี่ปุ่นมีการส่งออกไปยังประเทศ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ที่จำนวน 1.3034 ล้านล้านเยน
เทียบต่อปี ขณะที่ส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.5 ที่จำนวน 1.0346 ล้านล้านเยน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 มิ.ย. 50 20 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.602 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3735/34.7165 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66953 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 777.10/22.11 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.78 67.32 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. การใช้บัตรเดบิตมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าบัตรเครดิตธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานระบบ
การชำระเงินประจำปี 49 โดยวิเคราะห์ถึงภาพรวมการใช้บัตรเอทีเอ็ม และบัตรเครดิตในปีที่ผ่านมา รวมถึงแนวโน้มในระยะต่อไปว่า ธพ.
ให้ความสำคัญกับการติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มเพิ่มมากขึ้น เพราะสามารถใช้เป็นธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่นเพื่อการโอนเงินและการชำระ
ค่าสินค้าและบริการ โดยปี 49 ธพ.ได้ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มจำนวนทั้งสิ้น 21,988 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 39% ขณะที่เครื่องสำหรับ
รูดบัตรเครดิตมีจำนวนทั้งสิ้น 208,492 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 104.84% เนื่องจากราคาเครื่องที่ถูกลงและการขยายธุรกิจด้านการ
รับชำระด้วยบัตรของ ธพ.มากขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมตลาดบัตรเครดิตและบัตรเดบิตจาก ธพ.และผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
(นอนแบงก์) ส่วนเมื่อพิจารณาในแง่การพิ่มขึ้นของบัตรประเภทต่างๆ จะพบว่า บัตรเอทีเอ็มมีจำนวน 30.9 ล้านใบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7%
ขณะที่บัตรเดบิตมีจำนวนทั้งสิ้น 14 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 26% ส่วนบัตรเครดิตมีจำนวนทั้งสิ้น 10.9 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 9.5% ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา
จำนวนบัตรเอทีเอ็มยังคงมีสัดส่วนสูงที่สุดคือ 55% แต่ปรับลดลงจากปีก่อนที่มีสัดส่วน 58% รองลงมาคือบัตรเดบิตคิดเป็น 25% เพิ่มขึ้นจาก
ปีก่อนที่มีสัดส่วน 22% ส่วนบัตรเครดิตมีสัดส่วนคงที่คือ 20% สำหรับแนวโน้มบ่งชี้ว่า ปัจจุบันลูกค้า ธพ.นิยมใช้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้น ขณะที่
บัตรเอทีเอ็มมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากใช้งานได้หลากหลายกว่า ทำให้ ธพ.หลายแห่งใช้นโยบายออกบัตรเครดิตให้ลูกค้าทดแทนการ
ออกบัตรเอทีเอ็ม พร้อมจัดรายการส่งเสริมการขายมากยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าในอนาคตบัตรเดบิตจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจนสูงกว่าบัตรเครดิต
(ข่าวสด, มติชน)
2. มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ค.50 ขยายตัว 20.9% จากปีก่อน รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศ
เดือน พ.ค.50 ว่ามีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 13,049.1 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 20.9% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนการ
ส่งออก 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 58,747.6 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 18.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับ
การนำเข้าเดือน พ.ค.มีมูลค่า 12,248 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 6.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้าช่วง
5 เดือนมีมูลค่า 53,420.7 ล.ดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้น 4.4% ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน พ.ค.เกินดุล 800 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ช่วง
5 เดือนเกินดุล 5,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค. ได้แก่ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรปริมาณ
เพิ่มขึ้น 7.9% มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 1.9% สินค้าอุตสาหกรรมมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 15% ส่วนกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ขยายตัวได้ดี
ทั้งนี้ ก.พาณิชย์เชื่อมั่นว่าการส่งออกทั้งปี จะขยายตัวตามเป้าหมายที่ 12.5% หรือมูลค่า 145,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน,
ไทยโพสต์, ข่าวสด, โพสต์ทูเดย์, มติชน)
3. ก.พาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 50 ว่าจะขยายตัว 2.0-2.5% รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ก.พาณิชย์คาดการณ์อัตรา
เงินเฟ้อปี 50 ว่าจะขยายตัว 2.0-2.5% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับปี 48 และ 49 ที่ขยายตัว 4.5 และ 4.7% โดยครึ่งปีหลัง
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่เฉลี่ย 2.4% ส่วนอัตราเฉลี่ย 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) ขยายตัว 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
นอกจากนี้ โฆษก ก.พาณิชย์ กล่าวว่า ก.พาณิชย์ได้กำหนดมาตรการต่างๆ สำหรับใช้ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อไม่ให้เงินเฟ้อสูงขึ้น
ประกอบด้วย มาตรการทางกฎหมาย มาตรการบริหาร มาตรการเสริม และมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้บริโภค โดยมาตรการทางกฎหมาย
ได้กำหนดสินค้าและบริการควบคุม 35 รายการ และกำหนดแนวทางการนำสินค้าเข้าสู่บัญชีควบคุมทันทีหากมีแนวโน้มราคาเคลื่อนไหวผิดปกติ
พร้อมเพิ่มโทษปรับกรณีไม่แสดงราคาสินค้า ส่วนมาตรการบริหาร ได้แก่ กำหนดสินค้าที่ติดตามดูแล 200 รายการ และกำกับดูแลราคาทั้งต้นทาง
และปลายทาง เข้มงวดการตรวจสอบราคาและปริมาณการขาย สำหรับมาตรการเสริมนั้น ได้ทำโครงการร้านอาหารพันธมิตรธงฟ้าขายสินค้า
ราคาถูกเพื่อลดรายจ่ายผู้บริโภค ขณะที่มาตรการเสริมภูมิคุ้มกันผู้บริโภคนั้น ได้สร้างเครือข่ายแม่บ้านธงฟ้า 1569 เพื่อสอดส่องพฤติกรรม
ทางการค้า และกำหนดโทษสำหรับการขายสินค้าสูงกว่าราคาควบคุม (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งต่อไปเป็นร้อยละ 5.75 ต่อปีในเดือน ก.ค.50 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 20 มิ.ย.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.50 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการสำรวจหลังจากเพิ่งมีการ
เผยแพร่รายงานการประชุมของ ธ.กลางอังกฤษครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาซึ่งแสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติ 5 ต่อ 4 เสียง
ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี โดยในการสำรวจครั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ 44 คนจาก 64 คนคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้น
อัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในเดือน ก.ค.50 นี้ ในขณะที่อีก 19 คนซึ่งเป็นจำนวนที่ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการเผยแพร่
รายงานการประชุมดังกล่าวข้างต้นคาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในเดือน ส.ค.50 และอีก 1 คนที่เหลือคาดว่าจะไม่มีการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยอีกในปีนี้ โดยนักเศรษฐศาสตร์ 18 คนจาก 64 คนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.0 ภายในปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 10 คน
จาก 58 คนในผลสำรวจครั้งก่อน โดยผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ามีโอกาสร้อยละ 90 ที่อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.75 ต่อปี
และโอกาสร้อยละ 40 ที่จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.0 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 80 และ 30 ตามลำดับในการสำรวจครั้งก่อน ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษ
พยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค.50 พุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 3.1 ต่อปีก่อนที่จะ
ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี แต่ปริมาณเงินในระบบกลับขยายตัวถึงร้อยละ 13.8 ต่อปีในเดือน พ.ค.50 สูงสุดนับตั้งแต่
เดือน ต.ค.49 (รอยเตอร์)
2. ยอดสินเชื่อจำนองของอังกฤษในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 5.8 พัน ล. ปอนด์ รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 50
สมาคมธนาคารพาณิชย์อังกฤษ (British Bankers’ Association - BBA) เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. ยอดสินเชื่อจำนองเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น
ประมาณ 5.8 พัน ล. ปอนด์จากที่เพิ่มขึ้น 5.1 พัน ล. ปอนด์ในเดือน เม.ย. มากที่สุดในรอบ 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน พ.ย. ที่สินเชื่อจำนอง
เพิ่มขึ้นมากกว่า 6 พัน ล. ปอนด์ และสูงกว่าค่าเฉลี่ยรายเดือนที่ระดับ 5.4 พัน ล. ปอนด์ บ่งชี้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศยังคง
ขยายตัวดีอยู่ แม้ว่าจะมีสัญญานของการชะลอตัวลงบ้าง เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.0 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.
ปีที่แล้ว ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวของเดือน พ.ค. แสดงให้เห็นว่าสินเชื่อจำนองและยอดการอนุมัติสินเชื่อชะลอลง ส่วนผลการสำรวจอื่นๆชี้ว่าการ
เพิ่มขึ้นของราคาบ้านได้ชะลอลงแล้ว ในขณะที่ราคาบ้านในแถบ South East และ Northern Ireland ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จาก
ภาวะเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
3. เยอรมนีกำหนดให้การขาดดุล งปม.ของประเทศในปีนี้ลดลงเหลือร้อยละ 0.5 ของจีดีพี รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศ
เยอรมนี เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.50 เอกสารเผยแพร่ของ ก.คลังเยอรมนี เปิดเผยว่า รัฐบาลเยอรมนีกำหนดให้การขาดดุล งปม.ของเยอรมนี
ในปีนี้ลดลงเหลือประมาณร้อยละ 0.5 ของจีดีพี และคงอยู่ในระดับนั้นในปี 51 และคาดว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 0 ในปี 52 และ 53
และจะเริ่มเพิ่มขึ้นเป็นเกินดุลเล็กน้อยในปี 54 ทั้งนี้ การขาดดุล งปม.ของเยอรมนีได้ลดลงเหลือร้อยละ 1.6 ของจีดีพีในปี 49 ซึ่งเป็นครั้งแรก
นับตั้งแต่ปี 44 ที่การขาดดุล งปม.อยู่ในระดับต่ำกว่าที่สหภาพยุโรปกำหนดให้ประเทศสมาชิกจัดทำ งปม. แบบขาดดุลได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของ
จีดีพี (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 21 มิ.ย.50
รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค.50 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 389.5 พันล้านเยน (3.16 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3
เทียบต่อปี (ก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเกินดุลจำนวน 448.5 พันล้านเยน หรือเกินดุลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.9
แต่หากเทียบต่อเดือน เกินดุลลดลงร้อยละ 26.5 ที่จำนวน 788.5 พันล้านเยน (หลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ทั้งนี้ สาเหตุที่ญี่ปุ่นเกินดุลในเดือน
พ.ค.น้อยกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากมีการส่งออกน้อยกว่านำเข้า โดยมีการส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 15.1 ที่จำนวน 6.5651 ล้านล้านเยน
เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ที่จำนวน 6.1755 ล้านล้านเยน เทียบกับที่ตลาด
คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 อนึ่ง ในเดือน พ.ค.ญี่ปุ่นมีการส่งออกไปยังประเทศ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ที่จำนวน 1.3034 ล้านล้านเยน
เทียบต่อปี ขณะที่ส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.5 ที่จำนวน 1.0346 ล้านล้านเยน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 มิ.ย. 50 20 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.602 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3735/34.7165 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66953 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 777.10/22.11 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.78 67.32 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--