เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมนี้ นาย อภิชาต ศักดิเศรษฐ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่แกนนำกลุ่มไทยรักไทยที่สนับสนุนนาย สมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนว่า รู้สึกเห็นใจอดีตส.ส.กลุ่มไทยรักไทยรักไทยที่จำเป็นต้องรวมตัวกันแล้วอพยพไปอยู่พรรคพลังประชาชนตามบัญชาของอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เพียงเพื่อการมีหลักประกันในการลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือหวังจะได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอีกครั้ง โดยไม่สามารถกำหนดอนาคตทางการเมืองของตัวเองได้ หรือแม้แต่การเลือกผู้นำทางการเมืองของตนเองก็ยังไม่มีสิทธิ ทราบว่าหลายคนในไทยรักไทยเองต้องฝืนใจกับการที่นาย สมัคร สุนทรเวช จะมาเป็นหัวหน้าพรรค แต่ต้องยอมจำนนเพราะเจ้าของพรรคตัวจริงต้องการอย่างนั้น
นายอภิชาต กล่าวด้วยว่า รู้สึกแปลกใจที่คนเดือนตุลาฯแกนนำกลุ่มไทยรักไทยบางคน ออกมาสนับสนุนนายสมัครอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ ทั้งๆที่เคยมีประสบการณ์อันเลวร้ายจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอดมาจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แกล้งทำเป็นลืมหรือลืมไปแล้วจริงๆก็ไม่รู้ว่านาย สมัคร สุนทรเวช มีบทบาทในการระดมพลังฝ่ายขวาเข้าห้ำหั่นกับขบวนการนิสิตนักศึกษาและประชาชนในห้วงเวลานั้นอย่างไร ประเทศต้องเข้าไปสู่ยุคมืด ประชาชนล้มตายจากภัยการเมืองในขณะนั้นมากมายขนาดไหน อยากเรียกร้องให้คนเหล่านี้ทบทวนกับท่าทีตนเองเสียใหม่
“จำไม่ได้หรือว่าเยาวชนคนหนุ่มสาวต้องหนีเข้าป่า กระเจิดกระเจิงไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง จำไม่ได้หรือว่าใครเป็นคนเอาพวกท่านเข้าคุก แล้วใครเป็นคนต่อสู้เรียกร้อง กดดันจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวออกมา วันนี้กลับเห็นผลประโยชน์ทางการเมืองเฉพาะหน้าจนถึงกับใช้เท้าลบอดีตอย่างนั้นหรือ” นายอภิชาต กล่าว
ส่วนทางด้านนายนริศ ขำนุรักษ์ อดีตส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ได้รายงานข่าวจากพื้นที่จังหวัดพัทลุงว่า ประชาชนไม่ได้สนใจและให้ความสำคัญกับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชนแต่อย่างใด แม้จะเป็นคู่แข่งขันในการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ก็ตาม เพราะจะเป็นใครก็คิดว่ายังเสมือนสู้อยู่กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพียงแต่อาจจะง่ายต่อการตัดสินใจเลือกผู้นำประเทศคนใหม่ ว่าภายใต้คุณสมบัติที่จะแก้ไขและพัฒนาปัญหาภายในประเทศกับมีภาพลักษณ์ที่ดีในต่างประเทศนั้น ระหว่างหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับนอมินี ของพ.ต.ท.ทักษิณง่ายที่จะเลือกใคร
แต่อย่างไรก็ตามยังมีการวิพากษ์วิจารณ์การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเลือกใครมาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนว่าย่อมเป็นการแสดงท่าที ความคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณว่าเป็นอย่างไร เช่น หากเลือกนายแพทย์สุรพงศ์ สืบวงศ์ลี หรือคนในพรรคไทยรักไทยเดิม เท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณทำพรรค ทรท.ในเชิงสถาบันแล้ว หากเลือกจากคนนอกเท่ากับยังคิดว่าคนภายในยังเป็นเสมือนลูกน้องในบริษัทเหมือนที่ผ่านมา หากเลือก พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ เท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีความประนีประนอมกับทุกฝ่ายมากขึ้นหากเลือกนายสมัคร สุนทรเวช เท่ากับพ.ต.ท.ทักษิณประกาศและพร้อมที่จะปะทะอย่างรุนแรงกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองซึ่งไม่ยกเว้นพวกที่แตกออกไปจากพรรคไทยรักไทยเดิม
ส่วนกรณี รท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต เดินทางไปประเทศอังกฤษสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเพื่อเขียนหนังสือทักษิณ Where are you โดยไม่ได้รับการอนุมัติให้เดินทางไปต่างประเทศและถูกตำหนิคาดโทษจากโฆษก คมช. ว่าเรื่องนี้อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อย่าผลักให้คนไปอยู่ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณเพิ่มขึ้นเพราะเรื่องแบบนี้ข้าราชการได้กระทำกันจนเป็นปกติโดยมีการเดินทางไปต่างประเทศที่ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบกันทุกวัน หาก คมช. จริงจังกับเรื่องนี้ก็ให้สั่งการให้ ตม.ต้องตรวจใบลาและใบอนุมัติไปต่างประเทศสำหรับข้าราชการทุกราย และหากจะสอบสวนเอาผิดก็ให้กระทำเป็นการภายในไม่ควรเปิดเผยเพราะจะเกิดปัญหาตามมาได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 ส.ค. 2550--จบ--
นายอภิชาต กล่าวด้วยว่า รู้สึกแปลกใจที่คนเดือนตุลาฯแกนนำกลุ่มไทยรักไทยบางคน ออกมาสนับสนุนนายสมัครอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ ทั้งๆที่เคยมีประสบการณ์อันเลวร้ายจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอดมาจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แกล้งทำเป็นลืมหรือลืมไปแล้วจริงๆก็ไม่รู้ว่านาย สมัคร สุนทรเวช มีบทบาทในการระดมพลังฝ่ายขวาเข้าห้ำหั่นกับขบวนการนิสิตนักศึกษาและประชาชนในห้วงเวลานั้นอย่างไร ประเทศต้องเข้าไปสู่ยุคมืด ประชาชนล้มตายจากภัยการเมืองในขณะนั้นมากมายขนาดไหน อยากเรียกร้องให้คนเหล่านี้ทบทวนกับท่าทีตนเองเสียใหม่
“จำไม่ได้หรือว่าเยาวชนคนหนุ่มสาวต้องหนีเข้าป่า กระเจิดกระเจิงไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง จำไม่ได้หรือว่าใครเป็นคนเอาพวกท่านเข้าคุก แล้วใครเป็นคนต่อสู้เรียกร้อง กดดันจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวออกมา วันนี้กลับเห็นผลประโยชน์ทางการเมืองเฉพาะหน้าจนถึงกับใช้เท้าลบอดีตอย่างนั้นหรือ” นายอภิชาต กล่าว
ส่วนทางด้านนายนริศ ขำนุรักษ์ อดีตส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ได้รายงานข่าวจากพื้นที่จังหวัดพัทลุงว่า ประชาชนไม่ได้สนใจและให้ความสำคัญกับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชนแต่อย่างใด แม้จะเป็นคู่แข่งขันในการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ก็ตาม เพราะจะเป็นใครก็คิดว่ายังเสมือนสู้อยู่กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพียงแต่อาจจะง่ายต่อการตัดสินใจเลือกผู้นำประเทศคนใหม่ ว่าภายใต้คุณสมบัติที่จะแก้ไขและพัฒนาปัญหาภายในประเทศกับมีภาพลักษณ์ที่ดีในต่างประเทศนั้น ระหว่างหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับนอมินี ของพ.ต.ท.ทักษิณง่ายที่จะเลือกใคร
แต่อย่างไรก็ตามยังมีการวิพากษ์วิจารณ์การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเลือกใครมาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนว่าย่อมเป็นการแสดงท่าที ความคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณว่าเป็นอย่างไร เช่น หากเลือกนายแพทย์สุรพงศ์ สืบวงศ์ลี หรือคนในพรรคไทยรักไทยเดิม เท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณทำพรรค ทรท.ในเชิงสถาบันแล้ว หากเลือกจากคนนอกเท่ากับยังคิดว่าคนภายในยังเป็นเสมือนลูกน้องในบริษัทเหมือนที่ผ่านมา หากเลือก พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ เท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีความประนีประนอมกับทุกฝ่ายมากขึ้นหากเลือกนายสมัคร สุนทรเวช เท่ากับพ.ต.ท.ทักษิณประกาศและพร้อมที่จะปะทะอย่างรุนแรงกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองซึ่งไม่ยกเว้นพวกที่แตกออกไปจากพรรคไทยรักไทยเดิม
ส่วนกรณี รท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต เดินทางไปประเทศอังกฤษสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเพื่อเขียนหนังสือทักษิณ Where are you โดยไม่ได้รับการอนุมัติให้เดินทางไปต่างประเทศและถูกตำหนิคาดโทษจากโฆษก คมช. ว่าเรื่องนี้อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อย่าผลักให้คนไปอยู่ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณเพิ่มขึ้นเพราะเรื่องแบบนี้ข้าราชการได้กระทำกันจนเป็นปกติโดยมีการเดินทางไปต่างประเทศที่ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบกันทุกวัน หาก คมช. จริงจังกับเรื่องนี้ก็ให้สั่งการให้ ตม.ต้องตรวจใบลาและใบอนุมัติไปต่างประเทศสำหรับข้าราชการทุกราย และหากจะสอบสวนเอาผิดก็ให้กระทำเป็นการภายในไม่ควรเปิดเผยเพราะจะเกิดปัญหาตามมาได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 ส.ค. 2550--จบ--