สศอ. เผยอุตฯไทยยังขยายตัว ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจซึม ส่งดัชนีอุตฯ ก.พ. ขยายตัวร้อยละ 6 แต่ชะลอตัวจากปีก่อน แต่ผู้ประกอบการยังหวั่นปัจจัยเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนทางการเมือง และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม จากการจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ที่ผ่านมาว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.24 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีอุตสาหกรรมหลักหนุนการขยายตัวที่สำคัญ คือ การผลิตน้ำตาล การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ การผลิตเหล็ก การผลิตเครื่องปรับอากาศ หลอดอิเล็กทรอนิกส์ และ การผลิตสบู่และผงซักฟอก โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.32 ซึ่งปัจจัยหนุนที่ทำให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นยังคงเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สศอ. ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 200 ชุดในกลุ่มตัวอย่าง 16 อุตสาหกรรม พบว่าผู้ประกอบการร้อยละ 95 มีความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2550 จะมีทิศทางชะลอตัว ยกเว้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ร้อยละ 50 มีความคิดเห็นว่าทิศทางเศรษฐกิจภาพรวมยังคงมีโอกาสขยายตัว
ด้านคาดการณ์ยอดขายผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าในปี 2550 อุตสาหกรรมจะมียอดขายลดลงประมาณร้อยละ 10 - 30 ขณะที่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรม การผลิตอาหาร ผลิตสิ่งถักสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากไม้ ผลิตเครื่องเรือนเครื่องตกแต่ง ผลิตภัณฑ์จากยางและพลาสติก ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตเครื่องจักร และผลิตอุปกรณ์ขนส่ง มีความเห็นว่าอุตสาหกรรมจะมียอดขายลดลงมากกว่าค่าเฉลี่ย
โดยความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อปัจจัยเสี่ยงในด้านต่างๆ ดังนี้
การเมืองและเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการร้อยละ 67.31 มีความเห็นว่า ต้องการให้ภาวะการเมืองและเศรษฐกิจมีเสถียรภาพและมีกำกับดูแลในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมและมีเสถียรภาพ ด้านต้นทุนการผลิต ผู้ประกอบการร้อยละ 16.02 มีความเห็นว่า ต้องการให้รัฐฯ ช่วยกำกับดูแลเรื่องภาวะราคาน้ำมัน เนื่องจากเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญ ด้านอื่นๆ ผู้ประกอบการร้อยละ 16.67 ต้องการให้รัฐฯ ช่วยหาตลาดใหม่ๆ เพื่อเป็นการขยายฐานการส่งออกของประเทศ
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวว่า สศอ. ได้มีการคาดการณ์ภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2550 ว่า เศรษฐกิจภาพรวม ในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.1 - 4.5 ขณะที่ในไตรมาสแรกคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 โดยการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ
เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม คาดว่าในไตรมาสแรกของปี 2550 จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 และแนวโน้มการขยายตัวทั้งปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 4.9-5.3 เนื่องมาจากภาวะการส่งออกที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวอยู่ แต่มีทิศทางที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา ถึงแม้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าจะมีทิศทางที่ชะลอตัวลงก็ตาม
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.4 ชะลอตัวลงจากปี 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 โดยในไตรมาสแรกคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 เนื่องมาจากการชะลอตัวด้านการส่งออกเป็นสำคัญ ประกอบกับภาวะการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นทั้งจากประเทศ จีน และเวียดนาม เป็นต้น โดยมีปัจจัยท้าทายดังนี้
ปัจจัยท้าทายเศรษฐกิจปี 2550 รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุล {ขาดดุลจำนวน 146,200 ล้านบาท (งบรายจ่าย 1.56 ล้านล้านบาท งบรายได้ 1.46 ล้านล้านบาท)} จะส่งผลดีต่อการบริโภคและการลงทุนของภาครัฐฯ และส่งผลดีต่อการลงทุนของภาคเอกชนเช่นกัน
การลงทุนรถไฟฟ้ามูลค่ามากกว่า 150,000 ล้านบาท ภายใต้โครงการเมกกะโปรเจคของรัฐบาลชุดปัจจุบันจะส่งทำให้อุตสาหกรรมเหล็กมีโอกาสเติบโตมากกว่า 1,597 ล้านบาท และอุตสาหกรรมคอนกรีต 1,243 ล้านบาท
ระดับราคาสินค้าโลกและไทยที่ปรับตัวลดลงจะส่งผลให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น โดยระดับราคาของโลกลดลงจากร้อยละ 3.5 เหลือร้อยละ 3.3 ส่วนระดับราคาสินค้าของไทยลดลงจากร้อยละ 4.9 เหลือร้อยละ 2.7
สินค้าอุตสาหกรรมของจีนจะถูกเก็บภาษีนำเข้า และมาตรการ Safeguard มากขึ้นจากสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ โดยเฉพาะสิ่งทอจะส่งผลทำให้สินค้าไทยมีโอกาสเข้าไปขายได้มากขึ้น โดยน่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อที่แท้จริงและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป เมื่อภาพการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับลดลงและมีทิศทางแนวโน้มขาลงที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจต่อการใช้จ่ายและการลงทุน และทำให้ภาคธุรกิจและประชาชนประเมินต้นทุนทางการเงินจากการกู้ยืมได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการที่อัตราดอกเบี้ยลดลง ร้อยละ 0.25 จะทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.00056 ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทุก ร้อยละ 1 จะส่งผลต่อผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.06
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม จากการจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ที่ผ่านมาว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.24 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีอุตสาหกรรมหลักหนุนการขยายตัวที่สำคัญ คือ การผลิตน้ำตาล การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ การผลิตเหล็ก การผลิตเครื่องปรับอากาศ หลอดอิเล็กทรอนิกส์ และ การผลิตสบู่และผงซักฟอก โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.32 ซึ่งปัจจัยหนุนที่ทำให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นยังคงเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สศอ. ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 200 ชุดในกลุ่มตัวอย่าง 16 อุตสาหกรรม พบว่าผู้ประกอบการร้อยละ 95 มีความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2550 จะมีทิศทางชะลอตัว ยกเว้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ร้อยละ 50 มีความคิดเห็นว่าทิศทางเศรษฐกิจภาพรวมยังคงมีโอกาสขยายตัว
ด้านคาดการณ์ยอดขายผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าในปี 2550 อุตสาหกรรมจะมียอดขายลดลงประมาณร้อยละ 10 - 30 ขณะที่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรม การผลิตอาหาร ผลิตสิ่งถักสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากไม้ ผลิตเครื่องเรือนเครื่องตกแต่ง ผลิตภัณฑ์จากยางและพลาสติก ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตเครื่องจักร และผลิตอุปกรณ์ขนส่ง มีความเห็นว่าอุตสาหกรรมจะมียอดขายลดลงมากกว่าค่าเฉลี่ย
โดยความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อปัจจัยเสี่ยงในด้านต่างๆ ดังนี้
การเมืองและเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการร้อยละ 67.31 มีความเห็นว่า ต้องการให้ภาวะการเมืองและเศรษฐกิจมีเสถียรภาพและมีกำกับดูแลในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมและมีเสถียรภาพ ด้านต้นทุนการผลิต ผู้ประกอบการร้อยละ 16.02 มีความเห็นว่า ต้องการให้รัฐฯ ช่วยกำกับดูแลเรื่องภาวะราคาน้ำมัน เนื่องจากเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญ ด้านอื่นๆ ผู้ประกอบการร้อยละ 16.67 ต้องการให้รัฐฯ ช่วยหาตลาดใหม่ๆ เพื่อเป็นการขยายฐานการส่งออกของประเทศ
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวว่า สศอ. ได้มีการคาดการณ์ภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2550 ว่า เศรษฐกิจภาพรวม ในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.1 - 4.5 ขณะที่ในไตรมาสแรกคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 โดยการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ
เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม คาดว่าในไตรมาสแรกของปี 2550 จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 และแนวโน้มการขยายตัวทั้งปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 4.9-5.3 เนื่องมาจากภาวะการส่งออกที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวอยู่ แต่มีทิศทางที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา ถึงแม้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าจะมีทิศทางที่ชะลอตัวลงก็ตาม
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.4 ชะลอตัวลงจากปี 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 โดยในไตรมาสแรกคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 เนื่องมาจากการชะลอตัวด้านการส่งออกเป็นสำคัญ ประกอบกับภาวะการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นทั้งจากประเทศ จีน และเวียดนาม เป็นต้น โดยมีปัจจัยท้าทายดังนี้
ปัจจัยท้าทายเศรษฐกิจปี 2550 รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุล {ขาดดุลจำนวน 146,200 ล้านบาท (งบรายจ่าย 1.56 ล้านล้านบาท งบรายได้ 1.46 ล้านล้านบาท)} จะส่งผลดีต่อการบริโภคและการลงทุนของภาครัฐฯ และส่งผลดีต่อการลงทุนของภาคเอกชนเช่นกัน
การลงทุนรถไฟฟ้ามูลค่ามากกว่า 150,000 ล้านบาท ภายใต้โครงการเมกกะโปรเจคของรัฐบาลชุดปัจจุบันจะส่งทำให้อุตสาหกรรมเหล็กมีโอกาสเติบโตมากกว่า 1,597 ล้านบาท และอุตสาหกรรมคอนกรีต 1,243 ล้านบาท
ระดับราคาสินค้าโลกและไทยที่ปรับตัวลดลงจะส่งผลให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น โดยระดับราคาของโลกลดลงจากร้อยละ 3.5 เหลือร้อยละ 3.3 ส่วนระดับราคาสินค้าของไทยลดลงจากร้อยละ 4.9 เหลือร้อยละ 2.7
สินค้าอุตสาหกรรมของจีนจะถูกเก็บภาษีนำเข้า และมาตรการ Safeguard มากขึ้นจากสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ โดยเฉพาะสิ่งทอจะส่งผลทำให้สินค้าไทยมีโอกาสเข้าไปขายได้มากขึ้น โดยน่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อที่แท้จริงและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป เมื่อภาพการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับลดลงและมีทิศทางแนวโน้มขาลงที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจต่อการใช้จ่ายและการลงทุน และทำให้ภาคธุรกิจและประชาชนประเมินต้นทุนทางการเงินจากการกู้ยืมได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการที่อัตราดอกเบี้ยลดลง ร้อยละ 0.25 จะทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.00056 ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทุก ร้อยละ 1 จะส่งผลต่อผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.06
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-